การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย


         วันนี้ (24 มี.ค.49) ผมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อชี้แจงเรื่องของ สคส.   แต่วาระของ สคส. อยู่ตอนหลัง ๆ จึงได้นั่งฟังการอภิปรายของคณะกรรมการ   ซึ่งมี ศ. ดร. ปรีดา  วิบูลย์สวัสดิ์ เป็นประธาน    มีกรรมการผู้แทนกระทรวงหรือหน่วยงานต่าง ๆ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

         ในวาระเรื่องโครงการ BRT (Biodiversity Research & Training) มีการถามกันเรื่องกลไกการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

         เรื่องนี้ค้างคาใจผมมานาน   คนมักมองว่าเป็นหน้าที่ของนักวิจัยและหน่วยจัดการงานวิจัยที่จะเอาผลงานวิจัยไป "จ่อปาก" ผู้บริโภคผลงานวิจัย

         ผมมองว่าถ้ายังคงสภาพแบบนี้   ประเทศเราไม่มีวันเจริญ

         กลไกการใช้ผลงานวิจัย   ส่วน "demand - side" สำคัญกว่าฝ่าย "supply - side"

         ฝ่าย "ผู้ใช้" ผลงานวิจัยต้องคอย "จ้อง" capture ผลงานวิจัยไปใช้   บ้านเมืองเราจึงจะเจริญ

         หน้าที่ของนักวิจัย & หน่วยจัดการงานวิจัย    คือจัดให้มีแหล่งความรู้และทำ public communication แก่บ้านเมือง  แล้วผู้ใช้ที่ฉลาดจะต้องเข้ามาขุดค้นหรือหยิบฉวยเอาไปใช้เอง

วิจารณ์  พานิช
 24 มี.ค.49

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 21049เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2006 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท