ส่องแสงสู่สังคม


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตของเรามาตลอดเวลา ไม่ว่าจะมาจากการคิดค้นด้วยตัวเอง และ จากการซื้อมาใช้ ซึ่งวิธีการหลังนั้นเราใช้ซะเป็นส่วนใหญ่จนไม่เคยคิดถึงว่าสิ่งของนั้นมีหลักการทำงานอย่างไร และจะต่อยอดไปใช้ประโยชน์เพิ่มเติมได้อย่างไร โดยเฉพาะในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและนำแสงมาใช้ประโยชน์ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ไม่ว่าจะในเรื่องของทีวีจอแบน การแก้ปัญหาสายตา การจราจร การสื่อสาร และการตรวจเอกลักษณ์บุคคล เป็นต้น

 

เพื่อที่จะให้สังคมไทย โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของแสง และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โครงการ ส่องแสงสู่สังคม (Shining Spectrum to Society)” จึงได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีนางสุวรรณี ผู้เจริญชนะชัย เป็นหัวหน้าโครงการ และ ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร เป็นที่ปรึกษา โครงการนี้จะอาศัยการใช้สิ่งรอบๆ ตัวมาสื่อให้เห็นความเชื่อมโยงกับทฤษฎีหรือหลักการที่ได้เรียนมา (Connectedness) การกำหนดโจทย์และวิเคราะห์โจทย์หรือปัญหาเพื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยแก้ (Problem-based Learning และ Inquiry-based Learning) และ การชี้ให้เห็นถึงการผสมผสานของหลากหลายสาขาวิชาเพื่อแก้โจทย์ที่ต้องการ (Knowledge Integration) อันจะช่วยให้

·         เด็กไทยเกิดความตระหนักและสามารถเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ของแสงในชีวิตประจำวัน

·         เด็กไทยมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์เชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ผ่านการตั้งคำถามกับคำตอบในปรากฏการณ์ทางแสงหรือเทคโนโลยีที่ใช้แสงรอบๆ ตัว

·         เด็กไทยสามารถทำโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือ วิศวกรรมศาสตร์ ที่ใช้ความรู้ในเรื่องของแสงและศาสตร์ที่เกี่ยว รวมไปถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ในช่วงเริ่มต้นของโครงการฯ ทางทีมได้รวบรวมเนื้อหาระดับช่วงชั้นที่ 1-4 ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของแสงตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำมาพัฒนาชุดสื่อการสอนที่มีชื่อว่า "ลองเล่นโฟโทนิกส์" ขึ้น ซึ่งประกอบด้วยวัสดุและอุปกรณ์สำหรับใช้ทดลองเรื่องแสงเบื้องต้นจำนวน 20 รายการ คู่มือ 1 เล่ม และ สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเพื่อสาธิตการทดลองเรื่องแสงได้อย่างน้อย 17 เรื่อง วัสดุและอุปกรณ์ที่ให้มาสามารถนำไปต่อยอดเพื่อสาธิตเรื่องอื่นๆ ได้อีก ตามความต้องการของผู้ใช้

 

หมายเลขบันทึก: 208573เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2008 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • น่าสนใจมาก
  • กำลังทำวิจัยเรื่องนี้อยู่ครับ
  • การกำหนดโจทย์และวิเคราะห์โจทย์หรือปัญหาเพื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยแก้ (Problem-based Learning และ Inquiry-based Learning)
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท