Srinon
นาย อนนท์ นนท์ ศรีพิพัฒน์

รายงานผลการพัฒนานวัตกรรม


ผลการทดสอบประสิทธิภาพสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

รายงานผลการพัฒนานวัตกรรม  ผลการทดสอบประสิทธิภาพสื่ออิเล็กทรอนิกส์

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3  มัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนคงทองวิทยา อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1

งานวิจัยทางการศึกษาของ นางสุพัตรา  ศรีพิพัฒน์

 บทคัดย่อ

                 ในการทำวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำวิจัยโดยสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่  ซึ่งเป็นเนื้อหาจากแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยี  สาระการเรียนรู้พื้นฐาน (งานบ้าน) หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อาหารและโภชนาการ หน่วยย่อยที่ 1  การบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  และทดสอบประสิทธิภาพของสื่อ ศึกษาผลการใช้สื่อในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและเจตคติของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3  โรงเรียนคงทองวิทยา อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1  ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2550  มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพสื่อให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ คือ E1 / E2 = 80 / 80  เพื่อศึกษาหาความก้าวหน้าทางพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนหลังการใช้สื่อ  เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่ใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2550 ของโรงเรียนคงทองวิทยา โดยแบ่งเป็นกลุ่มเก่ง ปานกลาง อ่อน  เครื่องมือที่ใช้ได้ผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่  นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ประเมิน และวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องแต่ละรายการ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยรวบรวมจากแบบประเมิน แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมจากการทดลอง 3 ครั้ง คือการทดลองแบบเดี่ยว แบบกลุ่ม และแบบภาคสนาม โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน ผลการทำแบบฝึกกิจกรรม แต่ละหน่วยเนื้อหา และเก็บข้อมูลจากแบบทดสอบหลังเรียน  แบบประเมินความพึงพอใจ

                ผลการวิจัยพบว่าการทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยวได้ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ และเกณฑ์ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E1  / E2 = 87.93/60.00 ซึ่ง E2 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จึงได้พัฒนาและปรับปรุงบทเรียนนี้จึงนำไปใช้ทดสอบประสิทธิภาพแบบกลุ่ม ได้ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ และเกณฑ์ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E1  / E2 = 89.66 / 86.67 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกหน่วยเนื้อหาย่อย ถือว่าชุดการสอนชุดนี้สามารถนำไปใช้กับการทดลองภาคสนามได้โดยได้ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและเกณฑ์ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E1 / E2 = 91.23 / 86.67 ซึ่งได้ค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ทั้งด้านกระบวนการคือตัวกิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในสื่อ และด้านผลลัพธ์คือผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการทดสอบทุกหน่วยเนื้อหา ได้ค่าประสิทธิภาพ สูงกว่าเกณฑ์ทุกหน่วยเนื้อหา ถือว่าสื่อนี้มีประสิทธิภาพควรนำไปใช้สอนได้  ส่วนการทดสอบประสิทธิผลหรือความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของผู้เรียนพบว่า  คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนทุกหน่วยเนื้อหาที่ทดลอง  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นหลังจากใช้สื่อคิดเป็นร้อยละ 4.82 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อบทเรียนในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 4.11 และอยู่ในระดับมากทุกข้อ คืออยู่ในเกณฑ์ช่วง 3.51 – 4.50

หมายเลขบันทึก: 208565เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2008 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 06:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท