โครงการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการอาชีวศึกษายุคใหม่รุ่นที่ 2


ผมอยากให้การพัฒนาการเรียนรู้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง จึงจะเห็นผล

สวัสดีครับลูกศิษย์อาชีวศึกษาทุกท่าน

 

ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บรรยากาศของการเรียนรู้กับโครงการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการอาชีวศึกษายุคใหม่ รุ่นที่ 2  จำนวน 80 คน ครับ  การจัดการเรียนรู้สำหรับโครงการนี้ แบ่งเป็น 2 รุ่น ครับ รุ่นแรก จัดไปแล้วเมื่อวันที่ 17-19 กันยายน 2551  และสำหรับรุ่นที่ 2 จัดในวันที่ 22 – 24 กันยายน 2551 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ภูแก้ว ฮิลล์ เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์

 

            ผมได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมสำหรับผู้บริหารระดับสูงในอาชีวศึกษา เพื่อที่จะนำการเรียนรู้ไปพัฒนาและสร้างการต่อยอดให้กับ สำนักพัฒนาสมรรถนะครู และบุคลากรอาชีวศึกษา ครับ 

 

เพื่อเป็นช่องทางแห่งการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้   ผมก็ได้เปิด Blog นี้และคาดหวังว่าทุกท่านจะใช้ Blog เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้กัน และเป็นคลังสมองของพวกเรา และก็คงจะเป็นประโยชน์สำหรับชาว Blog ที่สนใจด้วย

 

                                    จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 207572เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2008 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (109)
อนันต์ สิทธิไชยากุล

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

- แนวคิดของกระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

- แนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ - บุคลิกภาพของคน

- แนวทางการอยู่อย่างฉลาดในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง

- กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงนวัตกรรม การคิดนอกกรอบ

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

เรื่องของการศึกษาบุคลิกภาพของเพื่อนร่วมงาน

การเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน

การทำงานเป็นทีม

เลอพงษื พิไสยสามนต์เขต

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านคุณภาพมนุษย์ ทรัพยากรและเทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พลังงาน

การพัฒนาทีมงานและการทำงานเป็นทีม

สุรพงษ์ เปล่งรัศมี

1. การพัฒนาที่ยั่งยืนมีองค์ประกอบด้านเทคโนโลยี, ทรัพยากร, คุณภาพมนุษย์

2. ส่วนของสมองที่ทำหน้าที่ต่างกัน / ส่วนของสมองที่แตกต่างของมนุษย์จากสัตว์

3. IQ, EQ, MQ, SQ

4. ความหมายของสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม

5. วิธีการทำกิจกรรมและทำงานเป็นทีม

6. กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

- กระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- การพัฒนาบุคลากร : ความแตกต่างของบุคลากร การมอบหมายงานให้เหมาะสมกับงาน

- กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์ และประโยชน์

- การคิดเชิงนวัตกรรม : เพื่อพัฒนาการผลิต กระบวนการ และการบริหารอาชีวศึกษา

- บุคลิกภาพของคน : พัฒนาทีมงาน , ครู บุคลากรการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อประสิทธิภาพของการทำงาน

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

- สามารถนำไปพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากร และการบริหารจัดการวิทยาลัย ,การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

- การสร้างทีมงาน ใช้คนให้ถูกกับงาน กำหนดเป้าหมายของงานให้ชัดเจน สื่อสารให้ทุกคนเข้าใจ และสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

1. การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นที่คุณภาพมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยคำนึงถึง

1.1 เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

1.2 งานฝีมือ

1.3 เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

1.4 พลังงาน

1.5 อาหาร

1.6 โรคติดต่อ

2. ระดับการพัฒนาบุคลากรรัฐ โดยคำนึงถึง

2.1 IQ 2.2 EQ 2.3 MQ 2.4 SQ

3. กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์

4. การคิดเชิงนวัตกรรม

5. กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ

ว่าที่ ร.ต. อธิป นันทตันติ

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

-ความเข้าใจในกระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและพัฒนาที่ยั่งยืน

-ผลกระทบต่อการทำงานของอาชีวศึกษา

-การเตรียมความพร้อามเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนผลงานที่เป็นเลิศ

-แนวคิดที่สำคัญของการสร้างและบริหารทีม

-เรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์

-เรียนรู้บทบาทของผู้นำทีมและลูกทีมที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ

-กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ

ว่าที่ ร.ต. บัณฑิต บุญนาศรี

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

1. โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี และผลกระทบต่อการทำงานของอาชีวศึกษา

- กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

- การอยู่อย่างฉลาดในสังคม และการเปลี่ยนแปลง

2. กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ

- บุคลิกภาพของคน-การประเมินการสร้างทีมงาน

- การสื่อสาร - การสร้างความสามารถทีมงาน

ประเสริฐ กำธรเจริญ

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

1.โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีและผลกระทบต่อการทำงานของอาชีวศึกษา

2.กลยุทธ์การสร้างทีมงาน

-แนวคิดการบริหารงานโครงการ

-แนวคิดการจัดกิจกรรม

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

แนวการพัฒนาอาชีวศึกษา จะต้องเป็นการพัฒนาเฉพาะด้านพัฒนาตามความต้องการของตลาดแรงงาน เน้นการสร้าง Brand ของตัวเอง สร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรและผู้เรียน

หลักการบริหาร

1. การพัฒนาคนเป็นเป้าหมายหลัก

2. เน้นการประหยัดแต่ให้ได้คุณภาพงาน

3. บริหารจัดการเป็นทีม (แบบมีส่วนร่วม)

วีระเดช เหลืองหิรัญ

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

การพัฒนาที่ยั่งยืนประกอบด้วย เทคโนโลยีทรัพยากรและคุณภาพมนุษย์ ซึ่งมนุษย์เป็นตัวปรกที่สำคัญในการพัฒนาด้าน ต่าง ๆ โดยที่ครูจะพัฒนาผู้เรียนได้ต้องคิดขบวนการเรียนการสอนเพื่อดึงให้ผู้เรียนแสดงความคิดออกมาให้ได้

การพัฒนาต้องให้ทุกส่วนเก่งแล้วดึงในส่วนที่เก่งในแต่ละยูนิต มีความเด่นในด้านใดแล้วนำส่วนที่เก่งนั้นมารวมกันเพื่อเกิดการพัฒนา

การสร้างทีมงานให้มีประสิทธิภาพต้องดูคนให้ออกในแต่ละคนมีบุคลิกใด นิสัยอย่างไร เพื่อมอบหมายให้ตรงกับบุคลิกของคน เพื่อให้งานนั้น ๆ บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงานของเราต้องมีการตั้งปณิธานชีวิตเพื่อดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมาย

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

ได้รู้จัก 1. ผอ.ศักดา ถาวรพจน์ ประธานอศจ.เพชรบูรณ์ ผอ.วีรพงษ์ หอมสุวรรณ ผอ.วท.เพชรบูรณ์ ที่มากล่าวต้อนรับ

2. รู้จักวิทยากร ท่าน ดร.เฉลิมพล เกิดมณี และคณะ

3. มีความรู้เรื่อง "โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี และผลกระทบต่อการทำงานของอาชีวศึกษา

4. มีความรู้เกี่ยวกับ "กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ"

5. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในการสร้างทีมงาน ฯลฯ

ศักดิ์สิทธิ์ แสงกลับ

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

- แนวคิดในการพัฒนาทรัพยากร และคุณภาพมนุษย์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม

- การดำรงงานอย่างฉลาด และสอดรับกับสิ่งแวดล้อม

ฯลฯ

Impact Global, IT : อาชีวศึกษา

GMOs, Energy, Environment

Gene DNA, 4Qs (Thinking ,Intution , Feeling & Sensing)

การคิดเชิงกลยุทธ์ , การคิดเชิงนวัตกรรม , สังคมความรู้ , การสร้างทีม , ปณิธาน ,

ประสิทธิ์ สิทธิวิบูลย์ชัย

มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี และผลกระทบต่อการทำงานของอาชีวศึกษา และกลยุทธการสร้างและการบริหารทีมงาน เพิ่มประสิทธิภาพ สามารถนำมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา

ทัศนา เพลงสันเทียะ

-โลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

-การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

-การบริหารทีมงาน

การให้โอกาสแก่บุคลากรเข้าทำงานร่วมกัน บนฐานความคิดความหลากหลายและกระบวนการที่เหมาะสม

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

1. ความเปลี่ยนแปลงของโลก กระแสโลกาภิวัตน์

2. การทำงานของสมอง และหลักการเรียนรู้ของคน

3. การจัดกระบวนการเรียนการสอน ต้องให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนและสร้างสถานะการให้เด็กได้มีโอกาสคิดด้วย

4. บุคลิกภาพของคน ที่เกี่ยวกับการบริหารทีมงาน

5. กลยุทธ์ในการสร้างทีมงาน

6. วิธีการบริหารทีมงานที่มีความแตกต่างกัน

7. การจัดลำดับความสำคัญของงานที่เหมาะสม

ว่าที่ ร.ต.ณรงค์ เกษตรภิบาล

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาคน

2. นวัตกรรม

3. การรู้จักบุคลิกของคน และการใช้คนในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ

4. การสร้างทีมงาน

5. การกำหนดวิสัยทัศน์ของตนเองและองค์กร

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

1. การพัฒนาบุคลิกภาพของผู้บริหาร

2. การพัฒนาที่ยั่งยืนตามกระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี

3. การประเมินของการทำงานเป็นทีม

4. กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

- การบริหารทีมงาน

- กลยุทธ์ในการสร้างทีมงาน

- บุคลิกภาพของคน

- การพัฒนาที่ยั่งยืน

ปิยวรรณ วรวิทย์รัตนกุล

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

กระแสโลกาภิวัตน์ การพัฒนาที่ยั่งยืน

สรรพสิ่งในโลกมีความเหมือนกัน

พลังงาน สภาพแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน

4Q การพัฒนาบุคคล สร้างทีมงาน

การสร้างคุณภาพบุคลากร การสร้างทีมงาน

การค้นพบตนเอง

นงเยาว์ กัลยาลักษณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ประสิทธิ์ สิทธิวิบูลย์ชัย

มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี และผลกระทบต่อการทำงานของอาชีวศึกษาและกลยุทธการสร้างและบริหารทีมงาน เพิ่มประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

เรียนรู้ผลกระทบต่อการทำงานของอาชีวศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีเพื่อนำมาพัฒนาอาชีวศึกษาเรียนรู้กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานเพิ่มประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 51

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาของชาติ

- การเรียนรู้บุคลิกภาพของมนุษย์และการเลือกใช้คนให้เหมาะกับงาน

- การจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับผู้เรียน

- การคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อ 22 ก.ย. 51

- กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

- การอยู่อย่างฉลาดในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง

- กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อ 22 ก.ย. 51

- กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บุคลิกภาพของคน

- การอยู่อย่างฉลาดในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง

- กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงนวัตกรรม

- ข้อคิดการมีวิชีวิตที่ประสบความสำเร็จ

- กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ

- การสร้างปณิธานของตนเองให้สอดคล้องกับการทำงาน

- การจัดลำดับความสำคัญของงาน

- การกำหนดการวิสัยทัศน์ของตนเอง

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

- เทคนิควิธีการเรียกคน

- การสร้างทีมงาน

- การหาทีมงาน

Workshop 24 กันยายน 2551

ฟัง Lecture และเทป ดร.จีระ กับ คุณพารณ แต่ละโต๊ะ สรุปเรื่องที่จะนำมาใช้ในวิทยาลัยของเราอย่างไร 1 เรื่อง

1. การสร้างความผูกพันของคนในองค์กรให้รักองค์กร ทุกสิ่งทุกอย่างในองค์กรมันขับเคลื่อนด้วยคน เพราะฉะนั้น คนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้าคนไม่รักองค์กรจะเหมือนสักแต่ว่าทำ

2. การสร้างคุณธรรมในการทำงาน สำหรับบุคลากรในสถานศึกษาทุกระดับ

3. การรักษาบุคลากรที่มีคุณค่าไว้ให้กับวิทยาลัยนาน ๆ

4. มีคติอยู่ว่าแบบอย่างที่ดีมีมากกว่าคำสอน ถ้าแสดงออกอย่างชัดเจนจะทำให้คนมีความสุข

ดร.จีระ อยากให้วิทยาลัยทุกแห่งมีห้องเกียรติยศ น่าจะไปค้นหามาว่าใครเป็นบุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ เน้นให้เด็กมี Soft Skill มีรูปแบบที่ดี

5. การสร้างบรรยากาศในองค์กรในการทำงาน

ดร.จีระ เสนอว่าน่าจะเป็น Issue 1 ในรุ่น 2 และน่าจะมี Benchmark ตัวอย่างที่หนึ่ง อยากให้โต๊ะนี้เขียนว่าบรรยากาศในการเรียนอยากทำอะไร 3 เรื่อง

6. การสร้างสังคมแห่งความศรัทธา เน้นเรื่องความรักในบุคลากรตั้งแต่ผู้บริหารถึงระดับนักเรียน

• ดร.จีระ เสนอว่า ต้องมอบงานให้คนที่มี commitment ต้องมีคนระดับลูกน้องหรือหัวหน้าเป็นระดับ Smart HR ต้องมอบให้คนที่รู้เรื่อง และ ผอ.ต้องเป็นคนขับเคลื่อนเรื่องคน องค์กรของวิทยาลัยต้องอยู่ที่เบอร์ 1

• ใน 1 ปีข้างหน้าต้องมีแผนพัฒนากรของอาชีวศึกษา การตั้งงบประมาณต้องกระจายไปในทุกจุดของวิทยาลัย

• ผอ.ไปวางแผน บุคคลที่จะดูแลโครงการ มีแผนปฏิบัติการ มีเงินสนับสนุน และมอบอำนาจให้ทำ

• การเรียนต้องเรียนเพื่อขึ้นไปสู่ตำแหน่ง อย่าเรียนเฉย ๆ

• อย่าดาวกระจาย เรื่องที่จำเป็นพูดเยอะ ๆ

• ต้องทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรม

• การเปลี่ยนแปลงเพื่อประโยชน์ต่อลูกค้า

7. สร้างวัฒนธรรมการใฝ่รู้ให้เกิดกับบุคลากรในองค์กร

ดร.จีระ เสริมว่าได้มาแล้วต้องแบ่งปัน คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ช่วยเขียนไปด้วยว่าทำอะไรต่อไป

8. สร้างวัฒนธรรมแห่งความสามัคคี เพื่อทำให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ามีความรักจะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ

9. นำแนวคิดท่านพารณไปสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอน จัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ ICT City

                กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ

-          บุคลิกภาพของคน

-          กระบวนการสร้างทีมงาน ประกอบด้วย การวางแผน การค้นหาจุดเด่น จุดด้วยและการเลือก วิธีการ (กลยุทธ์หรือกิจกรรม) การทดลองปฏิบัติ และประเมินผล การยอมรับความแตกต่าง

-          การสื่อสารในการทำงาน

-          การจัดหมวดหมู่ให้มีความเหมาะสม และการเปิดใจในการทำงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

                กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ

-          บุคลิกภาพของคน

-          กระบวนการสร้างทีมงาน ประกอบด้วย การวางแผน การค้นหาจุดเด่น จุดด้วยและการเลือก วิธีการ (กลยุทธ์หรือกิจกรรม) การทดลองปฏิบัติ และประเมินผล การยอมรับความแตกต่าง

-          การสื่อสารในการทำงาน

-          การจัดหมวดหมู่ให้มีความเหมาะสม และการเปิดใจในการทำงาน

นายบุญฤทธิ์ สังศรี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

- กระแสการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่มีผลต่อการพัฒนางาน

- การเรียนรู้พฤติกรรมบุคลากรในองค์กร

- การพัฒนางานท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง

- การเรียนรู้ตนเอง และการกำหนดวิสัยทัศน์

นายบุญฤทธิ์ สังศรี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

-          กระแสการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่มีผลต่อการพัฒนางาน

-          การเรียนรู้พฤติกรรมบุคลากรในองค์กร

-          การพัฒนางานท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง

-          การเรียนรู้ตนเอง และการกำหนดวิสัยทัศน์

นายสุรินทร์ นวลรอด

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

-          การเรียนรู้ถึงกระบวนการคิดจากบุคลิกภาพของคน ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ในการที่มอบหมายหน้าที่การงานให้ปฎิบัติให้ตรงกับความชอบ ความถนัดและเป็นการมองคนในแง่ดี ทุกคนมีความสามารถที่จะพัฒนาองค์กร จัดคนให้เข้ากับงาน พัฒนาองค์กรโดยใช้ทีมงาน และเข้าใจในการส่งเสริมบรรยากาศมิตรภาพในทีมงาน และในฐานะผู้นำให้เข้าใจถึงการตั้งเป้าหมาย ความต้องการผลของงานให้ชัดเจนเพื่อต้องการให้ทุกคนมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำที่จะกระทำทุกอย่างให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร คือคุณภาพของผลกระทบและยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เราในฐานพลเมืองโลก ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพที่สุด เพื่อจะได้ช่วยลดทุกสิ่งทุกอย่างที่มีปัญหาได้

นายประสงค์ สิงห์สุวภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

-          เทคนิคการทำงานเป็นทีม

-          การกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ การวิเคราะห์คน

-          การเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อน เพื่อผลงานที่เป็นเลิศ

-          แนวคิดสำคัญในการสร้างทีม บริหารทีม

นายสนธยา จันทร์สมบูรณ์

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

-          กระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล

-          การเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับงาน

-          การสร้างทีมงาน

-       การตั้งปณิธาน

นายสมศักดิ์ บุญโพธิ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

 

-          กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงาน

-          กระแสโลกาภิวัตน์และกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

-          การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

-          การอยู่อย่างฉลาดในสังคมแห่งการเรียนรู้

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

- การพัฒนาสู่ความยั่งยืน

- บุคลิกภาพของคน

- ความแตกต่างของคน

- กระบวนการคิด

- การคิดเชิงนวัตกรรม

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

 

                กลยุทธ์การสร้าง Team, 4QS, IQ, MQ ,SQ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

 

เรื่องเทคโนโลยี เกี่ยวกับการศึกษาอย่างมากไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เรื่อง การทำงานเป็นทีมทีมีประสิทธิภาพ เรื่องเทคนิคการบรรยายการให้ความรู้

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

- การคิดนอกกรอบ

- การสร้างทีมงาน

- การกำหนดวิสัยทัศน์

นวลอนงค์ ธรรมเจริญ

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

 

                การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบการบริหารที่จะต้องอาศัย การคิด การตัดสินใจ เชิงระบบ กระบวนการนำสู่ความสำเร็จ ที่ต้องพึ่งพาบทบาทของผู้นำองค์กรโดยเฉพาะผู้นำด้านการอาชีวศึกษาที่จะต้องปรับกระบวนการบริหาร ชัดการที่จะต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเทคโนโลยี

นางเพ็ญศรี อรรถทิมากุล

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

 

-          กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

-          การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

-          การอยู่อย่างฉลาดในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง

-          กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์

-          การคิดเชิงนวัตกรรม

กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงาน เพื่อประสิทธิภาพ

นายไพฑูรย์ แมลงภู่ทอง

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

 

-          โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การอยู่อย่างฉลาด ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิต คิดแบบพันธุกรรม (GMOs) การพัฒนาแนวความคิดของมนุษย์ คุณภาพชีวิตกับนวัตกรรม ประโยชน์ของการคิดเชิงกลยุทธ์และสร้างทีมงานบริหารเพื่อประสิทธิภาพ การประเมินการสร้างทีม ข้อคิดการสร้างทีมที่ประสบความสำเร็จ

นายวิษณุ นัคราโรจน์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

  1. โลกาภิวัตน์
  2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  4. กลยุทธ์การสร้างทีมงาน
  5. การบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ
นายอนันท์ งามสะอาด

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

1. 4 Q’s

2. การประเมินการสร้างทีม

3. โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี และผลกระทบต่อการทำงานของอาชีวศึกษา

• วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

• การพัฒนาที่ยั่งยืน

โดยใช้กิจกรรมที่น่าสนใจ

ฉวีวรรณ ศุกรวัชรินทร์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

1. บุคลิกภาพของคน

2. กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมเพื่อประสิทธิภาพ

3. เทคนิคการสื่อสารภายในองค์กร

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

• กระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งสามารถให้เกิดการพัฒนาบุคลากรจากแรงงานถึงนวัตกรรม

• การทำงานเป็นทีม

นางวิชชาพรรณ กิ่งวัชระพงศ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

  1. กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงาน เลือกคนให้เหมาะสมกับงาน

ผลกระทบต่อการทำงานของอาชีวศึกษา สืบเนื่องจากโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยี ทำงานอย่างไรในภาวะของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

น.ส. วสุมดี อิ่มแก้ว

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

1. ความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงเรื่องเทคโนโลยี มีผลกระทบกับการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์ในปัจจุบัน การจัดการอาชีวศึกษาจะช่วยพัฒนาสภาพแวดล้อม ดูแลผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมอย่างไรได้บ้าง

2. การรู้จักตัวเอง และรู้จักเพื่อนร่วมงาน เพื่อการทำงานได้อย่างมีความสุข

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

  • คนมี 4 ประเภทใหญ่ ๆ C/D/I/S แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร
  • การมอบหมายงานควรเลือกคนให้สอดคล้องกับงานแต่ละอย่าง
  • แนวคิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ
นายนเรศ เจริญศิลป์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ

  1. กระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล
  2. บุคลิกภาพของคน C/D/I/S
  3. กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์

Workshop 

แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

-          กลุ่มแรก  โต๊ะ 1-5

ยกตัวอย่างผู้นำในระดับโลกหรือประเทศ 2 ท่าน

- เลือกเพราะอะไร 2 ประเด็น

- และส่วนไหนที่นำไปใช้ในอาชีวะได้

   -     กลุ่มที่ 2 โต๊ะ 6-10

            -  คุณลักษณะของลูกน้องระดับกลางที่วิทยาลัย

               -  คุณลักษณะของผู้นำที่พึงประสงค์ 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

               -  ถ้าให้คะแนน 0-10 ให้เท่าไร

               -  จะมียุทธวิธีอย่างไรในการพัฒนาลูกน้องของเรา

............................................................................ 

กลุ่มที่ 1

พิจารณาบุคคลระดับโลกและระดับประเทศ

1.      คุณธานินทร์ เจียรวนนท์ เจ้าของ CP มีแนวคิดกว้างไกล โดยเฉพาะการทำธุรกิจครบวงจร

-  เน้นหลักอาหาร เนื่องจากมนุษย์ต้องกินอาหารทุกวันทุกมื้อ ผลิตอาหารขายได้ตลอด

     -  การผลิตพลังงาน ต.อ.กลางมีน้ำมันใต้ดิน ไทยมีพลังงานบนดินการปลูกพืชพลังงานทดแทน

2.      ท่านพุทธทาสภิกขุ  นำคำสอนของพระพุทธศาสนามาถ่ายทอด ใช้ในการเรียนการศึกษา เป็นบุคคลตัวอย่างของความเรียบง่าย และหลักเศรษฐกิจพอเพียง  

ดร.จีระ เสริมว่า คุณธานินทร์ มองด้าน Demand Size , ท่านพุทธทาส เน้นส่วนรวม ไม่ใช่ตัวเอง

 

กลุ่มที่ 6

ที่วิทยาลัยต้องการ คือรองผู้อำนวยการ และหัวหน้างาน

รองผู้อำนายการ

  1. ต้องมีการมุ่งมั่น
  2. ต้องเป็นผู้ประสานสิบทิศ ประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ ทำงานได้ดี
  3. ต้องใฝ่รู้ 

ยุทธวิธี

-          ต้องเป็นต้นแบบ

-          สร้างศรัทธาให้เขาและจุดประกายให้เขาดำเนินงานได้ ให้เกิดการปรับปรุงการเรียนรู้

-          จัดเวทีสัมมนาปะทะคารมทางปัญญา หาเวลาสร้างเวทีเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

     การให้คะแนนลูกน้อง ระดับ 7

 

กลุ่ม 500

แบบอย่างที่ดีในประเทศไทย คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

1.      ท่านสามารถขยายความรู้ แก่ บุคคล นักเรียนนักศึกษา

2.      ท่านเป็นนักการศึกษา พัฒนาการศึกษาทุกระดับ

3.      เป็นตัวอย่างการทำงาน

4.      เป็นผู้นำทางด้านการเรียนการสอน ในการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

บุคคลที่ 2 คิดถึง ลี กวน ยู เป็นนักปลุกกระแสให้คนสิงคโปร์รักชาติ แม้เกาะเล็ก แต่ทำอย่างไรให้อยู่ได้  สร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนทางปัญญาของสิงคโปร์

พยายามปลุกให้คนเป็น Knowledge People ไม่มีทรัพยากรแต่เอาเงินเข้าประเทศได้

 

กลุ่ม

ระดับหัวหน้าแผนกให้มีความรักในองค์กรโดยเฉพาะแผนกวิชาให้รักลูกศิษย์ ให้ลูกศิษย์ มีความรับผิดชอบ สามารถให้ลูกศิษย์ประกอบธุรกิจได้จริง

เน้นการพัฒนา ให้มีวินัย  ความรู้ คุณธรรม

ให้คะแนนระดับ 8  

 

กลุ่ม

บุคคลที่ยกย่อง คือ ร. 5 พระองค์ท่านเป็นแนวทางในการกำหนดแผนกลยุทธ์ ประเทศรอดพ้นมาได้จากการวางแผนกลยุทธ์ทั้งสิ้นให้ดำเนินตามแบบอย่างที่ลชัดเจน

คนที่ 2 มหาตะมะคานธี ต้นฉบับของ อารยะขัดขืน บางครั้งไม่ต้องทำตาม สอส มาก คิดเองบ้าง

 

กลุ่ม

-          ลูกน้องระดับกลาง มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม ใฝ่รู้

-          ลูกน้อง ที่พึ่งประสงค์ มีคุณธรรม จริยธรรม มองไกล ผู้นำ

-          ให้ขวัญกำลังใจ ให้โอกาส ทำอย่างต่อเนื่อง

-          ให้คะแนนระดับ 7

 

กลุ่มประธาน

ผู้นำระดับโลก  ขอนำต้นแบบผู้นำโลก 2 ค่าย

1. เติ้ง เสี่ยว ผิง เจ้าของสำนวนบันลือโลกว่า แมวสีอะไรก็ได้ขอให้จับหนูได้ก็แล้วกัน ทำให้จีนเป็นมหาอำนาจระดับโลกรองจากอเมริกา

ตัวอย่าง จีนจัดโอลิมปิกได้ดีที่สุดในระดับโลก

2. จอร์ช วอชิงตัน เลือกตั้ง 22 ครั้ง ชนะในครั้งที่ 22 สามารถประสบผลสำเร็จ แล้วนำพาประเทศที่ปกครองโดยระบบมลรัฐก้าวเข้าสู่ความยิ่งใหญ่ ทำลาย ค่ายทุกค่าย

การพัฒนาอาชีวศึกษาต้องเลียนแบบมหาบุรุษทั้ง 2   ต้องฝนทั่งให้เป็นเข็ม ผลิตบุคลากรให้เป็นที่ยอมรับของผู้นำในประเทศให้ได้ ก้าวตาม Chira Model แล้วจะสู่ความสำเร็จ

ดร.จีระ เสริม เติ้ง เสี่ยว ผิง คิดนอกกรอบ ทุนนิยมทางเศรษฐกิจ แต่เผด็จการทางการเมือง

อยากให้บรรยากาศแบบนี้ สามารถสร้างความต่อเนื่องได้

            ทำอะไรอย่างมีขั้นตอน  ความเจ็บปวด ทำให้ความสุขมีความหมาย

  

โต๊ะที่ 9

คุณลักษณะลูกน้องในวิทยาลัย

-          เปิดใจใฝ่ศึกษา หาความรู้ให้ตัวเอง หาวิธีการทำงาน วิธีการสอนในงานที่มอบหมาย

-          กระตือรือร้นไม่เฉื่อยชา

-          ยอมรับความคิดของคนอื่น ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

รูปแบบที่พัฒนา

-          Leadership Role By ดร.จีระ

-          5 E’s

ให้คะแนนระดับ 6

ดร.จีระ เสริมให้เปิดโอกาสให้แสดงออก และเมื่อสรุปต้องจับประเด็นให้ดี

 

กลุ่ม

-          ขอน้อมนำพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ เป็นผู้นำระดับโลก  ท่านมีพระราชกรณียกิจมากมาย มีทศพิธราชธรรม ไม่ว่าประเทศไทยอยู่ ณ จุดใด มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นศูนย์รวม  เกียรติของท่านเลื่องลือ และต่างชาติมอบรางวัลเกียรติยศสูงสุดหลายรางวัล

-          เศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักในการบริหาร

-          รู้ รัก สามัคคี  เพื่อสร้างความอยู่เย็นเป็นสุข 

2. เหมา เจอ ตุง ผู้ปฏิวัติคนในชาติ ในจีน สร้าง smart HR เติ้งเสี่ยว ผิง นำเอาวิธีการปฏิบัติให้เข้ากับสถานการณ์ เนื่องจากจีน แตกแยกเป็น ก๊ก เป็นเหล่า

ดร.จีระ บอกว่า เหมา เจอ ตุง บริหารการเปลี่ยนแปลงแล้วประสบความสำเร็จ

 

กลุ่ม

หัวหน้างาน และหัวหน้าแผนก

-          อยากให้มีมนุษยสัมพันธ์ และขีดความสามารถสร้างทีมงาน

-          เป็นผู้ที่ใฝ่รู้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

-          บทบาทของหัวหน้างานที่เจอกันส่วนมาก เป็นเรื่องที่อยากให้หัวหน้างานมีในองค์กร

-          มีการปะทะในเรื่องการแสดงความคิดเห็น เป็นเรื่องยากสำหรับการทำความเข้าใจกับคนบางกลุ่ม

อยากให้หล่อหลอมในการแสดงความคิดเห็น แล้วรวมรวมเป็นปัญญา

-          มีคุณธรรม จริยธรรม

-          ทัศนคติคิดเชิงบวก

การให้คะแนนระดับ 6

 ดร.จีระ อยากให้ใช้ 5 E’s เป็นเครื่องมือ

.....................................................................

1.I have taken knowledge from siminar to develope my collegues.

2.I reconized that I should to improve myself continue.

3.I rememer about Prof.Dr.chira tauch that we should to learn all the time and make our college to be learning society.

ดร.อนันท์ งามสะอาด

Dear Participants, Let me introduce my college as the following. 1.Detudom Technical College Localtion : 377 Chokchai-Detudom street Detudom District Ubonratchathanee Province 34160 Telephone number : 045-362098,045-319600 Fax : 045-362098 Web site : www.dtec.ac.th 2.philosophy : Good knowledge, Good skills,/Good ethics and leadership 3.Mission of DTEC to manage our vocational education with Dual - Vocational Training(DVT),advanced technology,protection of environment,maintain of culture and leadership in the community 4. Values of DTEC We are quality! we use teamwork and everybody works together to help the college DTEC is in our hearts 5.Strategies of DTEC 1 Participative Management 2. Proactive 3. Learning society 4. Student center

นายเพิ่มสิน เฉยศิริ

สวัสดีครับท่านอาจารย์จิระ

ผมได้นำเทคนิดการนั่งประชุมแบบกลุ่มมาใช้กับสมาชิกครู ก้อได้รับการตอบรับดี ในเรื่องความใหม่ และยังได้นำทฤษฎีหลายๆอย่างที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์มาเผยน่าน...เอ้ย...แพร่ เช่นทฤษฎี 2Rเป็นต้น แต่เป็นเพียงการเริ่มต้น คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะ สำหรับการเปลียนแปลง คงตอ้งใช้บริการblog ของอาจารย์เรือยๆนะครับ

สวัสดีครับ

นายวัชรพงศ์ ฝั้นติ๊บ

สิ่งที่ได้จากการอบรมพัฒนาสมรรถนะฯ คือ

- การพัฒนาสู่ความยั่งยืน

- บุคลิกภาพของคน

- ความแตกต่างของคน

- กระบวนการคิด

- การคิดเชิงนวัตกรรม

- กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงาน

- กระแสโลกาภิวัตน์และกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

- การอยู่อย่างฉลาดในสังคมแห่งการเรียนรู้

เรียน ศ.ดร. จิระ ที่เคารพ

ผมได้ประชุมรองผู้อำนวยการทั้ง 4 ฝ่าย และเล่าเรื่องที่ฝึกอบรมให้รองฟังได้แนะนำ และถ่ายเอกสารการฝึกอบรมให้รองไปศึกษาเป็นเบื้องต้น เพื่อจะได้เข้าใจและพร้อมที่จะพัฒนางานในโอกาสต่อไป เมื่อผมอบรมครบหลักสูตร

ผมรู้สึกภูมิใจที่สุด ที่ได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ และคิดว่าเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่ดีมาก ๆ กระตุ้นให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความสนใจตลอดเวลาผมมีความมั่นใจว่าจะได้นำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาคนในองค์กร ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแน่นอน

ถึงลูกศิษย์ รุ่น 1 และรุ่น 2 อาชีวะทุกท่าน

            ผมมีโอกาสได้ไปพบ ท่านเลขาเฉลียว และได้คุยกันกว่า 2 ชั่วโมงโดยการเชิญจากประธาน รุ่นที่ 2 ผ.อ.พิศ โนรี และประธานรุ่นที่ 1 ผ.อ.เด่นดวง คำตรง  มาร่วมด้วย งานเรื่องคน ต้องทำต่อ และต้องทำให้ดี

            วันนี้ผมมาที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นการอุ่นเครื่อง ก่อนที่ อาชีวะ รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 จะมาในประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ จากการเชิญของคณะเศรษฐศาสตร์ พูดให้กับนักศึกษาปริญญาโท หัวข้อ ทรัพยากรมนุษย์กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย  ให้กับนักศึกษาประมาณ 63 คนด้วยครับ

                         จีระ หงส์ลดารมภ์

นายเลอพงษ์ พิไสยสามนต์เขต

ถึงท่านอาจารย์จิระที่เคารพยิ่ง

ผลจากการอบรมโครงการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการอาชีวศึกษายุคใหม่ (รุ่นที่ 2) กระผมได้นำเนื้อหาสาระสำคัญไปถ่ายทอดในการประชุมครู (150 คน) เรื่องการเปลี่ยนของเทคโนโลยียุคโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์กรแห่งการเรียนรู้ ภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำในองค์กร และความคิดเชิงนวัตกรรมซึ่งคณะครูได้ให้ความสนใจมาก กระผมได้นำสาระบางเรื่องสอดแทรกเข้าไปในการปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการ จำนวน 440 คน เช่น การพัฒนาผู้นำและเรื่อง 4 Qs ด้วย

นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะกระผมได้นำไปชี้แจงในการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร ซึ่งมติที่ประชุมได้ให้คณะกรรมการนำไปขยายผลในโอกาสต่อไป

นายเลอพงษ์ พิไสยสามนต์เขต

สวัสดีครับท่านอาจารย์ สบายดีไหมครับ ขอบคุณอาจารย์ที่ให้คำแนะนำที่ดีกับผมและคณะผู้เข้ารับการอบรมด้วย

ขอบคุณครับ

นายนเรศ เจริญศิลป์

เรียนท่าน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการทุกท่าน

1.วันนี้ได้มีโอกาสเปิดBlog ได้เห็นความคืบหน้าของผู้บริหารที่ได้มีการติดต่อทาง Blog แล้ว รู้สึกดีใจที่ผู้บริหารได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและส่งการบ้านให้ท่านอาจารย์ สำหรับความคืบหน้าในการพบกันครั้งต่อไป ทาง สสอ.กำลังรอการจัดสรรงบประมาณจาก สอศ.ให้ชัดเจนก่อน และจะแจ้งกำหนดการให้ทราบต่อไป ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นช่วงธันวาคม 2551

2.ขอประชาสัมพันธ์ให้กับ ผอ.ทุกท่าน คือข้อมูลสรุปการบรรยายของ รมว.ศธ. และผู้บริหารระดับสูงของ สอศ.(วันที่15-16 ต.ค. 2551 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท)ได้ส่งข้อมูลให้ทาง Electronic mailของ Boga ให้ทุกวิทยาลัยแล้ว ส่วน VTR ที่มีการนำเสนอ 2 เรื่อง และข้อมูลสรุปการบรรยายดังกล่าว เมื่อ สสอ.Write เสร็จเรียบร้อยแล้วจะจัดส่งให้กับวิทยาลัยอีกครั้ง

3.ทีมงานของกลุ่มพัฒนานักบริหารฯ ทุกคนยังระลึกถึงบรรยากาศทางวิชาการและการสร้างกิจกรรมสัมพันธ์ที่เขาค้อ และคาดว่าอีกไม่นานจะได้พบบรรยากาศเดิมที่ จ.เชียงใหม่ และจ.เชียงราย

สวัสดีคะ

อนงค์

เรียนท่าน อ.จีระ ที่เคารพ

ผมเข้าในweb www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/แล้วไม่สามารถเข้าได้ blog บอกว่ามีข้อผิดพลาด ขอทราบสาเหตุหน่อยครับ

ด้วยความเคารพ

เพิ่มสิน เฉยศิริ

แบบทดสอบที่ 1

1.  จากการวิคราะห์ SWOT มีดังนี้

จุดเด่น (S)

1.  บุคลากรมีคุณวุฒิ และมีประสบการณ์การทำงาน

2.  บุคลากรมีความรับผิดชอบและตั้งใจที่จะทำงาน

3.  การให้การยอมรับผู้บริหารสถานศึกษา

4.  บุคลากรเป็นผู้ที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียนหาความรู้

5.  บุคลากรมีความใกล้ชิดกับชุมชน จึงได้รับการสนับสนุนทุกด้านจากชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการ

จุดด้อย (W)

1.  บุคลากรส่วนใหญ่เป็นอัตราจ้างชั่วคราว

2.  การทำงานร่วมกันร่วมมือกันเน้นเฉพาะกลุ่ม

3.  มักจะคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ

4.  ความเป็นนักวิชาการมีน้อย

5.  จิตสำนึกเรื่องคุณธรรมมีน้อย

โอกาส (O)

1.  พรบ.การอาชีวศึกษา

2.  นโยลายรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายของสำนักงานการอาชีวศึกษา

3.  การสร้างความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลง

4.  จัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อความก้าวหน้า

ปัญหาอุปสรรค (T)

1.  บุคลากรมีอัตราสูง มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง จึงเป็นอุปสรรคในการยอมรับผู้อื่น

2.  ขาดความมีจิตสำนึก เป้าหมายขององค์กร

3.  นโยบายระดับสูงกว่าเปลี่ยนแปลงบ่อย

4.  จำนวนบุคลากรมีจำกัด แต่งานที่ได้รับมอบหมายมีมากเกินไป

5.  งบประมาณค่อนข้างจำกัด

ปัญหาที่พบ

1  การทำงานร่วมกันเป็นทีมและร่วมมือกัน

วิธีการแก้ไขปัญหา

-  การประชุม

-  กำหนดเป้าหมายร่วมกัน

-  จัดกิจกรรมร่วมกันบ่อย ๆ

-  มอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจน

-  มีการสรุป มีการติดตาม และมีการประเมินผลงาน

-  ประกาศยกย่องผู้ประกอบคุณความดี และผู้ประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ

-  จัดสถานที่ที่เป็นกันเอง มีความเหมาะสมและเอื้อต่อการทำงานร่วมกัน

ปัญหาที่พบ

2  การขาดการเป็นนักวิชาการ

วิธีการแก้ไขปัญหา

-  การให้ความรู้ การอบรมสัมมนา

-  การมอบหมายงาน

-  จัดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย ที่จะศึกษาค้นคว้าได้ในทุกโอกาส

-  ศึกษาดูงานในแหล่งวิชาการ

-  ให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

กิจกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหา "เรื่องคน" ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

-  ประกาศยกย่องผู้ประกอบความดี และผู้ประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ

-  การมอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจน

-  การสร้างทีมงานและกำหนดเป้าหมายร่วมกัน

-  ศึกษาดูงานสถานที่ต่าง ๆ

-  จัดกิจกรรมด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการสังสรรค์ ด้านวิชาการ ฯลฯ

2.  หัวข้องานวิจัย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างเสริมคุณภาพครูวิทยาลัยการอาชีพไทรน้อย

นายสมศักดิ์ บุญโพธิ์

แบบทดสอบที่ 1

การวิเคราะห์ SWOT บุคลากรวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม

ก. ภายในองค์กร

1. จุดแข็ง (Strengths)

1.1 จำนวนกำลังคน

1.2 ศักยภาพของกำลังคน

1.3 ความมีน้ำใจ ถ้อยทีถ้อยอาศัย

1.4 วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

1.5 เทคโนโลยีในการพัฒนาบุคลากร

2. จุดอ่อน (Weaknesses)

2.1 พัฒนาตนเองไม่ตรงกับสาขางาน

2.2 ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

2.3 เฉลี่ยอายุของกำลังคนอยู่ในระดับปานกลาง – มาก

2.4 คำนึงถึงสิทธิมากกว่าหน้าที่

2.5 ขาดการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

2.6 ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากรค่อนข้างมาก

2.7 ขาดการประชาสัมพันธ์ด้านบุคลากรทั้งภายในและภายนอก

สถานศึกษา

ข. ภายนอกองค์การ

3. โอกาส (Opportunities)

3.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดให้ความร่วมมือ

3.2 สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาช่วยพัฒนาบุคลากร

3.3 ความร่วมมือจากสถานประกอบการในการศึกษาดูงาน

3.4 ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านภูมิปัญญา

ท้องถิ่น

3.5 การยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ และชุมชน

4. อุปสรรค (Threats)

4.1 งบประมาณน้อยที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากร

4.2 ขาดการสนับสนุนจากหน่วยเหนือด้านการพัฒนาบุคลากร เช่น

การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การศึกษาต่อ

4.3 ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับท้องถิ่นยังมีน้อย ทำให้ขาด

การส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากร / งบประมาณ

4.4 ชุมชน / ท้องถิ่นให้ความสนใจกับการใช้บุคลากรน้อย

ทำให้บุคลากรขาดการพัฒนาตนเองเพื่อสนองความต้องการ

ของชุมชน

4.5 หน่วยเหนือขาดการเสริมแรงในการพัฒนาบุคลากร เช่น

การศึกษาต่อโดยไม่คิดขั้นเงินเดือน

ปัญหาที่พบ

บุคลากรขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

วิธีการแก้ไขปัญหา

- จัดโครงการอบรมพัฒนาบุคลากร

- จัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด และให้เกิดความสามัคคี

- จัดการประชุมเพื่อเสริมสร้างความรู้

- มีการศึกษาดูงาน

กิจกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหา “เรื่องคน” ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

- จัดโครงการอบรมพัฒนาบุคลากร

- การมอบหมายหน้าที่

- จัดกิจกรรมในการทำงานร่วมกันเป็นทีม

- จัดการประชุม สัมมนา เพื่อรับฟังความคิดเห็นของแต่ละคน

- จัดโครงการศึกษาดูงาน

- มีการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน เช่น จัดงานสังสรรค์ มีการมอบรางวัลให้

แก่ผู้ปฏิบัติตนดีเด่น จัดสรรเงินรางวัลเป็นสัดส่วน

หัวข้องานวิจัยด้านบุคลากรที่น่าสนใจ คือ

- ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา

กุลฐนัญจ์ ดีเอื้อ

วิเคราะห์ SWOT ของการพัฒนาและบริหาร "คน" ขององค์กร

จุดเด่น

บุคลากรมีความรับผิดชอบ

บุคลากรทำงานตามสั่งได้ดี

จุดด้อย

1.ขาดแคลนบุคลากรที่มีประสบการณ์

2.บุคลากรตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงช้า

3.ประสิทธิภาพของการทำงานเป็นทีมน้อย

โอกาส

บุคลากรมีความพร้อมที่จะพัฒนา

ภัยคุกคาม

บุคลากรมุ่งประโยชน์ส่วนตน

ปัญหาที่พบ

มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรบ่อย เนื่องจากได้งานที่ดีกว่า

บุคลากรไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง

บุคลากรส่วนใหญ่ ไม่ค่อยอุทิศตนเพื่อองค์กร

กิจกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหา

1. กิจกรรมประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาบุคลากร

2. กิจกรรมสันทนาการ

3. กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

4.กิจกรรมศึกษาดูงาน

หัวข้อวิจัย

แนวทางการพัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการเรียนการสอน

ด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

นางสาวฉวีวรรณ ศุกรวัชรินทร์

แบบทดสอบที่  1
ข้อ 1  ขอให้วิเคราะห์ SWOT ของการพัฒนาและบริหาร “ คน ” ขององค์กรของท่านโดยละเอียด ปัญหาที่พบและวิธีการแก้ไขปัญหาหรือทางออกที่เป็นไปได้ พร้อมทั้งเสนอแนะกิจกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหา “ เรื่องคน ”  ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน - นอก วิทยาลัยอาชีวศึกษาหนองคาย

จุดแข็ง / แก้ไขปัญหา

1. ผู้เรียน

- ผู้สำเร็จการศึกษาผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ และเป็นที่ต้องการขงอตลาดแรงงาน

2. หลักสูตร

- หลักสูตรมีความหลากหลายยืดหยุ่น

3. ครูและบุคลากร

- มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ตรงตามสาขาวิชาชีพ

- มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

4. การบริหารจัดการ

- มีโครงสร้างและลำดับขั้นการบริหารอย่างมีระบบชัดเจน

- มีฐานข้อมูลศูนย์กำลังคนอาชีวศึกษา

5. งบประมาณ

- มีความยืดหยุ่น สามารถปรับแผนการใช้เงินได้และมีความคล่องตัวในการบริหารงบประมาณ

6. ทรัพยากร

- ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาครัฐและเอกชน

จุดอ่อน / ปัญหา

1. ผู้เรียน

- ค่านิยมของผู้เรียนด้านคหกรรม , ศิลปกรรมมีน้อย

- สถานศึกษาไม่สามารถคัดเลือกผู้เรียนได้

2. หลักสูตร

- ขาดความร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดทำหลักสูตร

3. ครูและบุคลากร

- บุคลากรขาดความสามารถในการวิจัย

- ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

- บุคลากรขาดความรู้ในการจัดอผนกุลยุทธ์

4. การบริหารจัดการ

- สาขางาน หัวหน้างาน มีภาระงานมากทำให้การบริหารจัดกหารไม่คล่องตัว

5. งบประมาณ

- ขาดระบบการจัดเก็บข้อมูล

6. ทรัพยากร

- ครุภัณฑ์ทางการศึกษาไม่เพียงพอตามมาตรฐาน

นางสาวฉวีวรรณ ศุกรวัชรินทร์

ข้อ 2 ขอให้ทุกท่านเสนอหัวข้อวิจัยที่ท่านสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของท่านและอาชีวศึกษาในอนาคต

หัวข้อวิจัยที่เสนอ คือ " พัฒนาครูด้านวิจัยในชั้นเรียน "

แบบทดสอบที่ 1

1

SWOT ANALYSIS SHEET

องค์ประกอบด้าน                    การพัฒนาและบริหารคน

ของ คณะ/หน่วยงาน         วิทยาลัยการอาชีพชัยบาดาล

STRENGTH  จุดแข็ง

WEAKNESS  จุดอ่อน

  • 1. ครูและบุคลากรในสถานศึกษาเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่ตรงและเหมาะสมกับสาขาวิชา
  • 2. ครูและบุคลากรอยู่ในวัยที่ตั้งใจทำงานจึงมีความกระตือรือร้นและแข่งขันกันในการปฏิบัติหน้าที่
  • 3. วิทยาลัยการอาชีพชัยบาดาลเป็นวิทยาลัยที่เปิดใหม่แต่มีการพัฒนาในระบบการเรียนการสอนที่ทัดเทียมกับวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเมืองทำให้นักเรียน - นักศึกษาที่จบการศึกษาไปมีอัตราการเข้าทำงานสูงในระดับต้น
  • 4. บุคลากรของวิทยาลัยทุกคนพร้อมทั้งผู้บริหารให้ความร่วมมือกับชุมชนเป็นอย่างดี
  • 5. สภาพแวดล้อมรวมถึงภูมิทัศน์ของวิทยาลัยเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนเพราะมีอาคารและพื้นที่ใช้สอยกว้างขวาง

  • 1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นคนรุ่นใหม่เพิ่งสำเร็จการศึกษาอาจจะขาดประสบการณ์ในการทำงาน
  • 2. ครูและบุคลากรขาดการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง
  • 3. ครูและบุคลากรมีการแข็งขันในการทำงานกันมากเกินไปทำให้ขาดความสามัคคีกันภายในสถานศึกษา
  • 4. ครูและบุคลากรมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกทำให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างล่าช้า
  • 5. ครูและบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ไม่ตรงตามสาขาวิชา
  • 6. ครูและบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ซ้ำซ้อนไม่มีการกระจายหน้าที่การทำงาน

 

OPPORTUNITIES  โอกาส

THREATS  อุปสรรค

  • 1. วิทยาลัยการอาชีพชัยบาดาลเป็นสถานศึกษาของภาครัฐ สามารถที่จะเติบโตและพัฒนาได้อีกอย่างมาก
  • 2. ครูและบุคลากรส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักในหมู่บ้านทำให้สามารถติดต่อประสานงานและได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี
  • 3. เป็นสถานศึกษาที่เปิดใหม่ทำให้มีบุคลากรที่มีความสามารถผ่านการสอบคัดเลือกมาบรรจุแต่งตั้งเป็นครูสอน
  • 1. สถานศึกษาอยู่ห่างไกลสิ่งอำนวยความสะดวก
  • 2. การคมนาคมไม่สะดวก
  • 3. เกิดความล่าช้าในการรับส่งเอกสารจากทางราชการ

แบบฟอร์มระบุปัญหาที่สำคัญ และแนวทางการแก้ไขปัญหา

ลำดับที่

ปัญหาที่สำคัญ

แนวทางการแก้ปัญหา และเป้าหมาย

1

ครูและบุคลากรมีการทำงานในหน้าที่ต่างๆซ้ำซ้อนกัน

กระจายครูและบุคลากรให้ทำงานในหน้าที่ที่ตนเองถนัดตามสาขาวิชา

2

ครูและบุคลากรขาดการพัฒนาตนเองทางด้านความรู้ความสามารถ

จัดให้ครูและบุคลากรได้เข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ

3

ขาดความสามัคคีในหมู่คณะมีการแบ่งพรรคแบ่งพวก

ปลูกจิตสำนึกถึงความเป็นครูการอยู่ร่วมกัน

จัดอบรมจริยธรรมแก่คณะครูและบุคลากร

4

ครูและบุคลากรมีการดำเนินการต่างๆอย่างไม่เป็นระบบแบบแผนไม่มีการติดต่อประสานงาน

จัดประชุม ทุกๆ เดือนเพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการของแต่ละงาน

5

 

มีการแข่งขันในการทำงานมากเกินไป

มีคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรประจำหน้าที่ต่างๆอย่างชัดเจน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 2.หัวข้อวิจัย  " ความพึงพอใจของบุคลากรต่องานที่วิทยาลัยการอาชีพชัยบาดาลมอบหมาย "

นายสุรศักดิ์ ศรีน้อย ผอ.วิทยาลัยกรอาชีพวังไกลกังวล

การวิเคราะห์ SWOT เพื่อการพัฒนาและบริหาร "คน"  วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล

 

การวิเคราะห์ SWOT

ประเด็น

ปัญหาและอุปสรรค

วิธีการแก้ไข

จุดแข็ง

(Strengths)

1.  วุฒิการศึกษา

-   ครูและบุคลากรทางการศึกษามีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทตรงสาขาวิชาชีพ

2.  ปริมาณ

-   จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนและพัฒนางานวิชาการ

3.  การทำงาน

-   บุคลากรมีศักยภาพทำงานเป็นทีม  เสียสละและอุทิศตนให้กับการทำงาน  มีคุณธรรมและจริยธรรม

4.  สวัสดิการและขวัญกำลังใจในการทำงาน

-   วิทยาลัยฯ จัดสวัสดิการบ้านพัก  ตรวจสุขภาพ  ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสวัสดิการร้านค้าไว้บริการอย่างทั่วถึง

-   ครูและบุคลากรทางการศึกษามีขวัญและกำลังใจในการทำงาน  รายได้ดีมั่นคงในอาชีพ

5.  บริการแหล่งเรียนรู้

-   วิทยาลัยฯ จัดให้มีศูนย์วิทยบริการ  เช่น  ห้องสมุด  อินเตอร์เน็ตไร้สาย  ซึ่งให้บริการบุคลากรทุกคน  ตลอด  24  ชั่วโมง

-   ครูและบุคลากรทางการศึกษาบางส่วนไม่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาการเรียนการสอนนักเรียน นักศึกษา ให้มีสมรรถนะด้านนวัตกรรม  และเทคโนโลยีตรงความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้

-   ครูมีสมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมน้อยไม่สามารถชี้แนะให้คำปรึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-  

นายสุรศักดิ์    ศรีน้อย

ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล

ครูบางส่วนขาดการเรียนรู้และค้นคว้าด้วยตนเอง  ทั้ง ๆ ที่วิทยาลัยมีสิ่งอำนวยการความสะดวก WI-FI ห้องสมุด  ศูนย์การเรียนรู้  ได้อย่างครบครัน

-   ศึกษาสมรรถนะและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูและบุคคลากรทางการศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล

-   จัดการฝึกอบรมให้ครูและบุคคลากรทางการศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนและการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

-   ฝึกอบรมครูให้มีความรู้และทักษะในการทำการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและถ่ายทอดให้แก่นักเรียน  นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

2.       2 –

การวิเคราะห์ SWOT

ประเด็น

ปัญหาและอุปสรรค

วิธีการแก้ไข

 

6.    ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  ด้านการบริหารจัดการและวิชาการ

-   ระบบ  E-Office ,  RMS ด้านงานบุคลากร  งานสารบรรณ  งานกิจการนักศึกษา ด้านการวัดและประเมินผล  ซึ่งบุคลากรทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้

 

 

จุดอ่อน

(Weaknesses)

2.       ด้านความและทักษะ

-   ครูและบุคลากรบางส่วนต้องได้รับการพัฒนาต้องได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ  เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และการบริหารจัดการ

-   ครูสาขาวิชาชีพบางส่วนต้องรับการพัฒนาความรู้  ทักษะวิชาชีพ  ให้ก้าวทันเทคโนโลยี  ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน

-   ครูบางส่วนต้องรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการศึกษาและทักษะการสอน

2.       การวิจัยและพัฒนา

-      ครูมีความรู้และทักษะการทำวิจัยและพัฒนาไม่เพียงพอ

 

-     ส่งเสริมให้ครูศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเองเป็น บุคคลแห่งการเรียนรู้  โดยส่งเสริมให้ทำผลงานวิชาการและการวิจัย  ซึ่งเป็นมาตรฐานวิทยฐานะของครู  โดยตั้งทีมงานให้คำปรึกษาและประเมินผลงานวิชาการ

นายสุรศักดิ์    ศรีน้อย

ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล

 

 

 

- 3 -

การวิเคราะห์ SWOT

ประเด็น

ปัญหาและอุปสรรค

วิธีการแก้ไข

 

3.  การศึกษาหาความรู้

-   ครูและบุคลากรบางส่วนยังไม่เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  ขาดการศึกษาและค้นคว้าให้ตนเอง

 

 

โอกาส 

(Opportunity)

1.    ประชาชน  ชุมชน  และสถานประกอบการให้ความเชื่อมั่นในคุณภาพของวิทยาลัยฯ และนักเรียน นักศึกษา

2.    ประชาชน  ชุมชน  และสถานประกอบการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาและช่วยปรับปรุงโรงฝึกงาน  ห้องปฏิบัติการ  เครื่องมือ                    เครื่องจักรและฝึกอบรมครู

3.    มีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษา  สถานประกอบการ

4.       การคมนาคมสะดวกต่อการเดินทางของนักเรียน  นักศึกษา

 

 

อุปสรรค 

(Threats)

-   สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  จัดงบประมาณเพื่อการพัฒนาครูและบุคลากรด้านเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศไม่ทั่วถึง

-   การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสถานศึกษาไม่เป็นระบบเดียวกันและด้อยประสิทธิภาพ

-     ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาความรู้และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการบริหารจัดการไม่ทั่วถึง

-         จัดงบประมาณให้เพียงพอ     

-         จัดศูนย์การเรียนรู้  On-line

-     มีการวัดและประเมินผลสมรรถนะด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  ของครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างจริงจังเพื่อเป็นตัวดัชนีชี้วัดการเลื่อนวิทยฐานะ

นายสุรศักดิ์ ศรีน้อย ผอ.วิทยาลัยกรอาชีพวังไกลกังวล

ศึกษาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล

การวิเคราะห์  SWOT เพื่อการพัฒนาและบริหาร "คน" วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์

 

การวิเคราะห์

ประเด็น

ปัญหาและอุปสรรค

วิธีการแก้ไข

จุดแข็ง

Strengths

1.  วุฒิการศึกษา

      -  ครูและบุคลากรทางการศึกษามีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี  และ  ปริญญาตรงตามสาขาวิชาชีพที่สถานศึกษาเปิดสอบ

2.  ประสบการณ์ในการทำงาน

      -  ครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนมากมีประสบการณ์ในด้านการทำการเรียนการสอนไม่น้อยกว่า  20  ปี

3.  ปริมาณ

      -  จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาเพียงพอต่อการให้บริการและอำนวยความสะดวกต่อการบริหารการจัดการเรียนการสอนทั้งครูผู้สอน  และผู้ให้บริการเหมาะสมกับนักเรียน  นักศึกษา  และสถานประกอบการ  ชุมชน  สังคม

-   ครู  และบุคลากรทางการศึกษาบางส่วนไม่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน  (อายุมาก  สอนแบบเดิม  ๆ  ที่เคยสอนดีกว่า , ทำงานแบบเดิมที่เคยทำ  มีข้อผิดพลาดและบกพร่องน้อย

-   ครูมีความรู้ความสามารถในด้านการวิจัย  และการสร้างนวัตกรรมใหม่  ๆ                          มาประกอบการสอนน้อยมาก

-   ครูขาดการเอาใจใส่ดูแลนักเรียน  นักศึกษา  โดยยึดผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่า

-  ครูไม่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ยึดครูเป็นสำคัญ

-  ครูบางส่วนขาดการพัฒนาการเรียนรู้และการค้นคว้าด้วยตนเอง

-  ศึกษาวิจัยความต้องการของครูและบุคลากรภายในวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์  ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

-  จัดฝึกอบรมให้ครูอย่างต่อเนื่อง  เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ

-  จัดฝึกอบรมการวิจัยอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเชิงปฏิบัติจริง  จนไปสู่เป้าหมายต่อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน  การสร้างนวัตกรรมใหม่  ๆ

-  สร้างขวัญกำลัง  โดยให้ค่าตอบแทนผู้ที่มีผลงานทางด้านการสร้างนวัตกรรมประกอบการเรียนการสอน

 

นายสุเมธ   ดาโรจน์

ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์

11  พฤศจิกายน  2551

 

 

 

 

การวิเคราะห์

ประเด็น

ปัญหาและอุปสรรค

วิธีการแก้ไข

จุดแข็ง

Strengths

4.  การทำงาน  บุคลากรมีศักยภาพในการทำงานเป็นทีม  เพราะโครงสร้างการบริหารงานด้านวิชาการของสถานศึกษา  เป็นการแบ่งงานเป็นสาขาวิชาชีพ  และการบริหารเน้นจัดห้องทำงานของบุคลากรเป็นฝ่าย  ๆ  One  Stop  Services 

5.  สวัสดิการและขวัญกำลังใจการทำงาน

      -  จัดสวัสดิการบ้านพักอาศัย  ได้ทั่วถึง

      -  ให้ค่าตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอ  และมั่นคง

      -  จัดสวัสดิการทุนสงเคราะห์ให้กับญาติพี่น้องของบุคลากรในกรณีเสียชีวิต

6.  บริการแหล่งการเรียนรู้

      -  จัดบริหารให้มีศูนย์วิทยบริการ  ห้องสมุด  Internet  ไร้สาย  ให้บริการทุกคน  ภายในห้องพักครู  และห้องปฏิบัติงาน  Offices  ทุก ๆ  ฝ่าย  และบริการภายนอกห้องตลอด  24  ชั่วโมง 

 

 

 

นายสุเมธ   ดาโรจน์

ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์

11  พฤศจิกายน  2551

 

 

 

 

 

 

 

การวิเคราะห์

ประเด็น

ปัญหาและอุปสรรค

วิธีการแก้ไข

จุดอ่อน

Weaknesses 

      1.  ด้านการพัฒนาความรู้  และทักษะในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  ประกอบการเรียนการสอน

      -  ครูบางส่วนที่อายุมากกว่า  45  ปีขึ้นไป  มีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยี  และสารสนเทศน้อยและสามารถใช้กับการบริหารการเรียนการสอนได้ไม่กว้างขาวง

       -   ครูบางสาขาวิชาไม่ค่อยสนใจต่อการพัฒนาการฝึกอบรม  เพื่อนำมาพัฒนากระบวนการเรียนการสอน

      -   ครูและบุคลากรบางส่วนไม่ใส่ใจต่อการเปลี่ยนแปลง  ไม่ปรับตนเองเข้าสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ

      -   ครูและบุคลากรบางส่วนไม่สนใจต่อการศึกษาดูงานในสถานประกอบการเพราะหวงรายได้ขอนตนเอง

ใหม่เพิ่มเติม

-  สภาพเศรษฐกิจของบุคลากรผันผวนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้บุคลากรไม่อยากพัฒนาตนเอง

-  ไม่กระจายอำนาจในการบริหารบุคลากรไปสู่สถานศึกษา

-  กระบวนการในการจัดซื้อ , จัดจ้าง  มีการรวมอำนาจในส่วนกลางในบางรายการทำให้การจัดซื้อจัดจ้างล่าช้าไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา

-  กระบวนการในการพัฒนาของบุคลากรของสำนักงานคระกรรมการการอาชีวศึกษาไม่เป็นระบบ  ขาดการติดตามและประเมินผล

-   ขวัญกำลังใจการทำงานไม่มีความเสมอภาคโดยเฉพาะการศึกษาต่อ ,  การศึกษา             ดูงาน

-  สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา

-  ศูนย์พัฒนา  KM  ให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา  มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ซึ่งกันและกัน

-  สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เรียนรู้ตลอดชีวิต

-  จัดเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้  KM  ภายในสถานศึกษา

-  จัดฝึกอบรมครู  ในด้านการวิจัยโดยเน้นการฝึกปฏิบัติจริง  จนได้ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

-  สร้างความร่วมมือ  หรือ องค์กรเอกชนอื่น  ๆ  เพื่อพัฒนาการทำวิจัยของครูและบุคลากรทางการศึกษา

 

นายสุเมธ   ดาโรจน์

ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์

11  พฤศจิกายน  2551

 

 

 

 

การวิเคราะห์

ประเด็น

ปัญหาและอุปสรรค

วิธีการแก้ไข

จุดอ่อน

Weaknesses 

2.   การวิจัยและพัฒนา  ครูและบุคลากรบางส่วน

      -  มีความรู้ไนการวิจัย  และน้อยมาก

      -  มีความสามารถในการปฏิบัติจริงได้แต่ไม่สามารเขียนบรรยายโดยใช้หลักการวิจัยได้

       -   ไม่แสวงหาแนวทางในการจัดทำนวัตกรรมใหม่ ๆ  ประกอบการเรียนการสอน  หรือหาความรู้เพิ่มเติม

 

 

โอกาส

Opportunity

  • 1. ชุมชน สังคม สถานประกอบการให้

ความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของนักเรียน  นักศึกษา  (คนอีสาน  มีทุนทางสังคม  คือ  ความซื่อสัตย์ , อดทน  มุ่งมั่น , ต่อการทำงาน ,  เสียสละต่อส่วนรวม)

2.  สังคม  ชุมชน  ให้ความช่วยเหลือในการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาทั้งด้านงบประมาณ  และด้านอื่น  ๆ   ในการพัฒนานวัตกรรมและครุภัณฑ์ประกอบการเรียนการสอน  โดยใช้สมาคมผู้ปกครอบ ,  สมาคมศิษย์เก่า  เป็นสื่อกลางในการประสานงานกับชุมชนและสถานประกอบการ

 

 

นายสุเมธ   ดาโรจน์

ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์

11  พฤศจิกายน  2551

 

 

การวิเคราะห์

ประเด็น

ปัญหาและอุปสรรค

วิธีการแก้ไข

โอกาส

Opportunity

3.   ผลงานของศิษย์เก่าที่เข้าไปทำงานในสถานประกอบการ  ทั้งภาครัฐและเอกชน  ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี  มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงขึ้น  ทำให้รุ่นน้อง  ๆ  มีงานทำตรงตามสาขางานที่สำเร็จการศึกษา

4.  สถานศึกษาตั้งอยู่ในชุมชนเมือง  การคมนาคมสะดวกสบาย , มีชื่อเสียงมายาวนานกว่า  50  ปี

5.  ส่วนราชการในระดับจังหวัด  ให้ความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษา  ได้เป็นอย่างดี

 

 

อุปสรรค

Threats

-  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  (สอศ.)                            จัดงบประมาณไม่ตอบสนอง  ความต้องการของสถานศึกษา  โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ทั่วถึง  และไม่เป็นธรรม

-  ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับพัฒนาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศได้ไม่ทั่วถึง

-  จัดงบประมาณให้เพียงพอ

-  จัดศูนย์การเรียนรู้แบบ  On - Line

-  จัดงบประมาณตามแบบยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา

 

 

นายสุเมธ   ดาโรจน์

ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์

11  พฤศจิกายน  2551

 

 

 

 

 

 

 

การวิเคราะห์

ประเด็น

ปัญหาและอุปสรรค

วิธีการแก้ไข

อุปสรรค

Threats

-   การเชื่อมโยงสารสนเทศ  ระหว่าง  สอศ.  กับสถานศึกษาไม่เป็นระบบเดียวกัน  ด้อยประสิทธิภาพ

-  ครุภัณฑ์ล้าสมัย  ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี

-   การตั้งของบประมาณสถานศึกษาไม่ได้ทำเอง  ,  ทำแต่ไม่ได้ใช้ , แล้วแต่  สอศ.  จะจัดให้  (เป็นมาแล้ว  5  ปี)

-  ขาดเครื่องมือ  และ  อุปกรณ์ในการใช้  และการพัฒนาองค์ความรู้

-   สำนักนโยบายและแผนไม่ใส่ใจต่อแผนพัฒนาสถานศึกษาและพันธกิจของสถานศึกษา

-  พัฒนาครูและบุคลารอย่างจริงจัง , ให้ทุนการศึกษาต่อ  ศึกษาดูงานต่างประเทศ

-  พัฒนากระบวนการนำเสนอผลงานทางด้านวิชาการเพื่อเพิ่มวิทยฐานะของครู

-  สอศ.  จะต้องนำแผนกลยุทธหรือแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาประกอบการพิจารณาให้งบประมาณ

 

นายสุเมธ   ดาโรจน์

ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์

11  พฤศจิกายน  2551

 
นายเลอพงษ์ พิไสยสามนต์เขต

นายเลอพงษ์  พิไสยสามนต์เขต  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร

แบบทดสอบที่  1

I.        วิเคราะห์   SWOT  ของการพัฒนาและบริหาร  “คน”  ขององค์กรของท่านโดยละเอียด ปัญหาที่พบและวิธีการแก้ไขปัญหาหรือทางออกที่เป็นไปได้  พร้อมทั้งเสนอแนะกิจกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหา  “เรื่องคน”  ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

ปัญหาที่พบในการบริหารบุคลากร

                ปัญหาที่พบในการบริหารบุคลากรของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา  ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่พบในการบริหารบุคลากรในระบบราชการทั่วไปซึ่งมีปัญหาหลักๆ  คือ   บุคลากรขาดความกระตือรือล้นและขาดการทุ่มเทในการทำงานตามหน้าที่ ขาดขวัญกำลังใจในการทำงานเนื่องจากไม่เชื่อมั่นในการพิจารณาความดีความชอบ  ค่าตอบแทนที่ได้รับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย  ขาดความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ฯลฯ  ซึ่งถ้าเราต้องการหาวิธีการแก้ไขปัญหาหรือทางออกที่เป็นไปได้  การใช้วิธีการวิเคราะห์  SWOT   Matrix   สามารถนำมาช่วยวิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาได้ดังนี้       

1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก  เพื่อพิจารณาหาโอกาสและข้อจำกัด  สำหรับนำไปวิเคราะห์ SWOT

หัวข้อที่พิจารณา

โอกาส

ข้อจำกัด

-  นโยบายของภาครัฐ

 

 

 

 

 

 

 

- ระเบียบกฎเกณฑ์ของ ราชการ

 

 

 

หัวข้อที่พิจารณา

-  มีการส่งเสิมและสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

-  มีนโยบายเปิดการสอนถึงระดับปริญญาตรีในอนาคตส่งผลให้บุคลากรต้องพัฒนาตนเองเพื่อรองรับการสอนระดับปริญญาตรี

-  มีระเบียบกฎเกณฑ์แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงทำให้พนักงานและข้าราชการมีความมั่นใจในการปฎิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์นั้นๆ

โอกาส

-  ขาดการติดตามและประเมินผลโครงการต่าง ๆอย่างจริงจัง

 

-  ขาดการนำผลที่ได้ไปพัฒนาองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม

 

 

 

-  มีระเบียบขั้นตอนในการ

    ปฎิบัติค่อนข้างมากส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการปฎิบัติงาน

 

 

ข้อจำกัด

-  เทคโนโลยีต่าง ๆ

-  มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก

-  การเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ สามารถเข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็วทางระบบ Internet

-  บุคลากรขาดความสามารถในการใช้ เทคโนโลยี

 

 

-  เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้งานไม่ทันสมัย

2.  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กรเพื่อพิจารณาหา จุดแข็ง และ จุดอ่อน ขององค์กรสำหรับนำไปวิเคราะห์  SWOT

หัวข้อที่พิจารณา

จุดแข็ง

จุดอ่อน

 -  บุคลากร

 

 

 

 

 

 

 

 

-  ค่าตอบแทน

 

 

 

 

 

-  ปัจจัยการดำเนินงาน,โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

 

-  บุคลากรมีการศึกษา  ค่อนข้างดีส่วนใหญ่จบการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป

-  บุคลากรส่วนใหญ่มีความกระตือรือล้นในการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น

 

 

-  ค่าตอบแทนแน่นอนสม่ำเสมอเมื่อเกษียนราชการมีเงินบำนาญให้ใช้จ่าย

-  มีการจ่ายค่าล่วงเวลาเมื่อมีการสอนเกินจำนวนชั่วโมงที่กำหนด

-  ที่ตั้งวิทยาลัยอยู่ใกล้ กทม.ทำให้สามารถเข้ามาอบรมศึกษาในสถานศึกษาในกทม.ได้สะดวก

-  การยอมรับในระบบบังคับบัญชามีค่อนข้างน้อย  เนื่องจากบุคลากรมีระดับการศึกษาใกล้เคียงกัน

- ไม่ค่อยยอมรับผลงานหรือความสำเร็จของบุคคลอื่นในองค์กร

-  ขาดความเป็นเอกภาพในการพัฒนาองค์กร

-  ค่าตอบแทนเมื่อเทียบกับภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจค่อนข้างน้อยทำให้บุคลากรบางส่วนหางานพิเศษทำเพื่อเพิ่มรายได้ส่งผลให้การทุ่มเททำงานตามหน้าที่น้อยลง

 

-

 

หัวข้อที่พิจารณา

จุดแข็ง

จุดอ่อน

-  ระบบสารสนเทศ

 

 

 

 

 

-  ความคุ้มค่าของการใช้ งบประมาณและเวลา

 

 

-  การบริหารจัดการในวิทยาลัย

 

 

 

 

 

 

-  การพัฒนาองค์กร

- วิทยาลัยจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากร

 

 

 

- บุคลากรมีความกระตือรือล้นในการจัดทำโครงการต่างๆ ภายใต้เงื่อนไข งบประมาณ  และเวลา

ที่กำหนด

- สถานศึกษามีผู้ปฎิบัติหน้าที่  5 ท่านครบตามโครงสร้างของการบริหารสถานศึกษา

 

 

 

 

-  บุคลากรมีประสบการณ์  ความรู้ความสามารถที่จะนำมาพัฒนาวิทยาลัย

-  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ของบุคลากรยังมีน้อย  มีบุคลากรเพียงไม่กี่คนที่สามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างชำนาญและมีประสิทธิภาพ

 -   ผลสัมฤทธิ์ของโครงการบาง

     โครงการยังค่อนข้างน้อยเมื่อ

      เทียบกับเวลาและงบประมาณ

      ที่ใช้ไป

-  ขาดความเป็นเอกภาพในการทำงานของผู้บริหาร

-  การพิจารณาตอบแทนความดีความชอบในการทำงานยังไม่เป็นที่ยอมรับของบุคลากรส่วนใหญ่ ทำให้บุคลากรขาดความทุ่มเทในการทำงาน

-  บุคลากรส่วนใหญ่ยังขาดคุณสมบัติด้านการทำงานเป็นทีม

3. การนำผล โอกาส และข้อจำกัดจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก  พร้อมทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อน จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร มาจัดทำ  SWOT   Matrix   เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหาร “คน” ในองค์กร

SWOT   Matrix  

         

 

   สภาพแวดล้อม

    ภายในองค์กร                   

                    

 

สภาพแวดล้อม

ภายนอกองค์กร

 

 

จุดแข็ง  ( Strengths )                                       

-  บุคลากรมีการศึกษาดี จบ   ปริญญาตรีขึ้นไป                           

- ค่าตอบแทนสม่ำเสมอ เกษียน ราชการมีบำนาญ                         

-  มีการจ่ายค่าล่วงเวลาเมื่อสอนเกินชั่งโมงที่กำหนด                          

-  บุคลากรส่วนใหญ่อยากพัฒนาตนเอง

จุดอ่อน   ( Weakness )                                                

-  ไม่ค่อยยอมรับในระบบบังคับ บัญชา                                       -  ค่าตอบแทนน้อยหางานนอกทำไม่ทุ่มเท                                                    

-  ไม่ยอมรับในการพิจารณาผลตอบแทน                                            -  ความสำเร็จของโครงการมีน้อย 

-  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆน้อย                                                            

- ไม่ค่อยยอมรับผลงานและความสำเร็จของ คนอื่น                                              

-  ขาดความเป็นเอกภาพในการพัฒนา องค์กร

โอกาส   ( Opportunities )                           

-  มีการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง                     

-  มีกฎระเบียบแน่นอนตายตัวไม่เปลี่ยนแปลง 

-  มีเทคโนโลยีใหม่ๆราคาถูก                                

-  สามารถเข้าถึงความรู้ใหม่ๆได้สะดวกทาง Internet                                   

-  มีนโยบายเปิดสอนถึงปริญญาตรีในอนาคต

-  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก ในสาขาที่ตรงตามวิชาที่สอนเพื่อรองรับการเปิดสอนระดับปริญญาตรีในอนาคต

 

( SO  strategies )

-  จัดโครงการอบรมการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องโดยใช้บุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญภายในองค์กรเป็นหลัก

 

 

 

( WO strategies )

ข้อจำกัด  ( Threats )                                     

- ไม่มีการติดตามประเมินผลโครงการต่างๆ อย่างจริงจัง                   

-  มีระเบียบขั้นตอนปฎิบัติมาก

- ไม่มีการนำผลจากการอบรมสัมนา

ไปใช้พัฒนาองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม                               

-  กำหนดให้มีผู้บริหารระดับสูงรับผิดชอบการติดตามประเมินผลโครงการต่างๆ ที่จัดขึ้นอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

 

( ST strategies )

-  กำหนดหลักเกณฑ์วิธีปฎิบัติในการพิจารณาผลตอบแทนความดีความชอบอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมสามารถตรวจสอบได้

 

( WT strategies )

4.  การนำกลยุทธิจาก  SWOT   Matrix   มากำหนดกิจกรรมโครงการที่เป็นรูปธรรมในเรื่อง   “คน”

 

โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพครู

 

1.  ความสอดคล้องกับนโยบาย  :  นโยบาย สอศ.

1.1  หน่วยงานที่รับผิดชอบ              แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์  ฝ่ายวิชาการ

2.  หลักการและเหตุผล :

                หน้าที่หลักของครู คือ การสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้และเทคนิควิธีการ แต่ด้วยในปัจจุบันการเรียน การสอนมีรูปแบบมากมายต่างๆกัน เพื่อเป็นการพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียน การสอน ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อให้ครูได้พัฒนาตนเองให้ทันสมัยตามรูปแบบการเรียน การสอนที่ใหม่ๆจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

3.  วัตถุประสงค์ของโครงการ :

3.1  เพื่อฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพครูให้ด้านคอมพิวเตอร์สำหรับทำสื่อการเรียนการสอน   CAI

3.2  เพื่อฝึกอบรมเทคนิคการสอนของครู

3.3  เพื่อให้ครู อาจารย์สามารถผลิตสื่อการเรียน การสอน CAI ได้

3.4  เพื่อให้ครู อาจารย์สามารถจัดทำ E-book , Web page, Web board ได้

 

4.  เป้าหมาย :

4.1  ครู อาจารย์ แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ จำนวน 32 คน

4.2  ครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาครที่สนใจ

 

5.  กิจกรรม/วิธีดำเนินงาน พร้อมแสดงผังขั้นตอนการดำเนินงาน (Flow chart)

1.คณะกรรมการจัดประชุมปรึกษาหารือ กำหนดกรอบแนวทาง

2.เสนอกรอบแนวทางปฏิบัติ

3.ผู้บริหารพิจารณา

4.คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ

5.สรุป รายงานผลตามโครงการ

6.Output, Outcome

6.  งบประมาณในการดำเนินโครงการ :

 

รายการ

 

จำนวน/หน่วย

หมวดเงิน/จำนวนเงิน

 

หมายเหตุ

เงินงบประมาณ

เงินรายได้

เงินอุดหนุน

กศ.พฐ.

ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ

 

 

20,000

 

 

 

รวม

 

20,000

 

 

 

 

7.  แผนปฏิบัติงาน/โครงการ :

                7.1  ตัวชี้วัดผลงาน เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

ครู อาจารย์ แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ จำนวน 32 คน มีเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบและสามารถผลิตสื่อการเรียนการสอนCAI จัดทำ E-book  , Web page, Web board  ได้

7.2  รายละเอียดกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงาน

ขั้นตอนการดำเนินงาน

พ.ศ. 2551

พ.ศ. 2552

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

1. เสนอโครงการเพื่อพิจารณา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ดำเนินการตามโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรียนท่าน อาจารย์จีระ ที่เคารพ

นายวิม กัลปนาท ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างตาก

1. วิเคราะห์ SWOT ของการพัฒนาและบริหาร “คน” ของวิทยาลัยสารพัดช่างตาก

1.จุดอ่อน

- บุคลากรเป็นลูกจ้างชั่วคราวมากมีการ Turn over มากเพราะขาดความ มั่นคงในอาชีพ

- บุคลากรบางส่วนที่เข้ามาใหม่มีความรู้ความสามารถน้อย

- มีบุคลากรบางส่วนแบ่งพรรคแบ่งพวกทำให้การดำเนินงานบางส่วนขาดการประสานงาน

- บุคลากรส่วนใหญ่ไม่ต้องการเป็นหัวหน้างานเพราะขาดสิ่งจูงใจ

- บุคลากรบางส่วนยังขาดความรับผิดชอบ

2.จุดแข็ง

- สถานศึกษามีโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

- บุคลากรระดับหัวหน้างานส่วนใหญ่มีศักยภาพในการทำงานสูงและมีความคิดริเริ่มที่ดี

- การบริหารจัดการเรื่องสวัสดิการบ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวกมีเพียงพอและเหมาะสม

- สถานศึกษาตั้งอยู่ในเมือง การคมนาคมสะดวก

- ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน

- มีวัฒนธรรม องค์กรที่ดีในเรื่องของการให้ความร่วมมือการดำเนินงานต่าง ๆ

- มีการมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงานชัดเจนตรงตามความสามารถและความถนัดและความสมัครใจทำให้ผลงานที่ได้รับมอบหมายมีคุณภาพ

- บุคลากรมีการร่วมแรงร่วมใจในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

3.อุปสรรค

- กฎระเบียบ ข้อบังคับซึ่งปฏิบัติบางอย่างไม่เอื้อต่อการพัฒนาคน

- มีบุคลากรบางคนชอบร้องเรียนไม่คิดนอกกรอบ

- สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ค่าตอบแทนไม่เพียงพอต่อรายจ่ายของบุคลากรบางส่วน

- การสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพตามสถานศึกษากำหนดเป็นไปได้ยากเพราะมีตัวเลือกน้อย

4.โอกาส

- ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้ความสำคัญในการพัฒนาคน

- เปิดโอกาสให้บุคลากรทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ

- ปัจจุบันมีการเปิดโอกาสให้สอบเป็นข้าราชการและพนักงานราชการทำให้ลูกจ้างชั่วคราวมีขวัญและกำลังใจที่จะทำงานต่อไป

ปัญหาที่พบและวิธีแก้ไขปัญหาหรือทางออกที่เป็นไปได้พร้อมทั้งเสนอแนะกิจกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหา “เรื่องคน” ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

วิทยาลัยสารพัดช่างตากมีข้าราชการครู 20 คน ลูกจ้างประจำ 5 คน พนักงานราชการ 4 คน ครูจ้างสอน 46 คน เจ้าหน้าที่ 25 คน รวมทั้งสิ้น 100 คน

ปัญหา

1.ปัญหาลูกจ้างชั่วคราว (ครู,เจ้าหน้าที่) ออกบ่อยเนื่องจากได้งานหใหม่ที่ดีกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานไม่คงที่

แนวทางแก้ปัญหา

- ให้ขวัญและกำลังใจ สวัสดิการ เช่นทำธุรการนอกเวลาสำหรับเจ้าหน้าที่และค่าตอบแทนการสอนที่เกินภาระงานของครูผู้สอน

- มีนโยบายให้บุคลากรครูจัดทำแฟ้มสะสมผลงานเพื่อใช้ประโยชน์ในการสอบข้าราชการครู และพนักงานราชการ

ปัญหา

2.ปัญหาบุคลากรครู ขาดคุณภาพได้คนไม่เก่งมาเป็นครูบางสาขาหาผู้จบปริญญาตรีมาสอนยาก

แนวทางแก้ปัญหา

- มีการจัดอบรม Traming ในสาขางาน/นิเทศ

- ส่งครูเข้าฝึกอบรมในสาขาที่สอนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

- สนับสนุนให้สอบมาตรฐานฝีมือ

- ศึกษาดูงานทั้งสถานประกอบการและสถานศึกษาต้นแบบ

- ฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานและใช้ระบบการประเมินแบบเข้มข้น

ปัญหา

3.ปัญหาบุคลากรบางส่วนไม่กระตือรือร้นในการทำงาน บางคนทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ค่อยได้ต้องเปลี่ยนหน้าที่บ่อย ๆ

แนวทางแก้ปัญหา

- ส่งเสริมให้บุคลากรทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยะฐานะ

- มีการประเมินผลงาน ความดีความชอบตามผลการปฏิบัติงาน

ปัญหา

4.บุคลากรบางส่วนแบ่งพรรคแบ่งพวกขาดความสามัคคี

แนวทางแก้ปัญหา

- ฝึกอบรมใช้แนวคิดทฤษฎีในการพัฒนาคน เช่น ทฤษฎี 4 Q

- จัดกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรมีความสามัคคี

2.เสนอหัวข้อวิจัยที่สนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของวิทยาลัยสารพัดช่างตาก

- การศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดตาก

- ศึกษาความพึงพอใจ ของบุคลากรในวิทยาลัยสารพัดช่างตาก

********************************************

SWOT   ANALYSIS

นางสุภัทรา    สัจจา    ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี

1.   การวิเคราะห์  SWOT  ของการพัฒนาและบริหารคนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี

       1.1)   ครู

จุดแข็ง  (Strengths)

จุดอ่อน  (Weaknesses)

1.  มีความรู้ความสามารถตามสาขาวิชาที่เปิดสอน

1.    ปริมาณไม่เพียงพออัตราจ้างครูพิเศษ

2.  มีความเสียสละ อุทิศตน  และมีความตั้งใจ

       และมีปัญหาการลาออก

     ในการปฏิบัติหน้าที่

2.    ภาระงานมาก

3.   มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน  มีค่าตอบแทน

3.    ไม่เห็นความสำคัญของการทำวิทยฐานะ

       ครบตามระเบียบ

 

4.   บุคลากรเป็นที่ยอมรับและสามารถประสานงาน

 

       กับชุมชนได้อย่างดี

 

โอกาส  (Opportunities)

อุปสรรค (Threats)

1.    ส่งเสริมสนับสนุนในการเพิ่มวิทยฐานะ

1.    ครูไม่กระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง

2.    ส่งเสริมสนับสนุนในการศึกษาต่อตรงสาขาวิชา

2.    ไม่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ใน

       ให้สูงขึ้น

       การเรียนการสอน

3.    ชุมชน  ประชาชน  สถานประกอบการยอมรับ

3.    ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

       และเชื่อมั่นในคุณภาพ

 

4.    เปิดโอกาสให้แสดงความรู้ความสามารถ

 

 

1.2)     ผู้เรียน

 

จุดแข็ง  (Strengths)

จุดอ่อน  (Weaknesses)

1.    มีระเบียบวินัย

1.    มีจำนวนการลาออกระหว่างเรียนสูง

2.    ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ

2.    เป็นวัยรุ่นจึงมีพฤติกรรมที่ขัดต่อระเบียบวินัย

3.    สถานประกอบการยอมรับความรู้ความสามารถ

3.    ขดความอดทนในการเรียนภาคปฏิบัติ

โอกาส  (Opportunities)

อุปสรรค (Threats)

1.    ได้รับความรู้จากครูที่มีความรู้ความสามารถ

1.    ยากจน

       ตรงตามสาขาวิชาที่เปิดสอนและตามหลักสูตร

2.    ครอบครัวแตกแยก

2.    เปิดโอกาสได้เรียนตรงตามสาขาตามความสมัครใจ

3.    ขาดคุณลักษณะบางประการของความเป็นคนดี

3.    มีกิจกรรมส่งเสริมด้านการเรียนการสอน

 

       ด้านคุณธรรม จริยธรรมและกิจกรรมหารายได้

 

       ระหว่างเรียน

 

              1.3)   วิธีการแก้ไขปัญหาโดยมีการจัดทำโครงการ   ดังนี้

                ครู

1.      โครงการส่งเสริมการจัดทำผลงานทางวิชาการและวิจัยเพื่อเพิ่มวิทยฐานะให้สูงขึ้น

(โครงการร่วมด้วย ช่วยกัน)

                         2.    โครงการส่งเสริมความรู้การใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศในการพัฒนาการเรียนการสอน

                                และการบริหารงาน  (โครงการกบนอกกะลา)

                         3.    โครงการศึกษาดูงานภายในและต่างประเท  (โครงการดูเขา ดูเรา)

                         4.    โครงการจัดกิจกรรมยกย่อง/ส่งเสริม/สังสรรค์/นันทนาการ (โครงการอยู่รวมดี มีสุข)

              ผู้เรียน

                         1.    โครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ (บุรี)

                         2.    โครงการส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน

                         3.    โครงการจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคม

                         4.    โครงการส่งเสริมการเล่นกีฬา/ดนตรี/นันทนาการ

 

2.   หัวข้อวิจัย  คือ  การศึกษาผลการดำเนินงานคุณธรรมนำความรู้ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี

 

                                                                                       

นางสุภัทรา    สัจจา

ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี

วันที่  13  พฤศจิกายน  2551

 

นายวัชรพงศ์ ฝั้นติ๊บ

1.วิเคราะห์ SWOT ของการพัฒนาและบริหาร “ คน” ขององค์กรของท่านโดย ละเอียด

2.ปัญหาที่พบและวิธีการแก้ไขปัญหาหรือทางออกที่เป็นไปได้

3.เสนอแนะกิจกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหา “ เรื่องคน ” ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

จุดแข็ง

1.บุคลากรมีทักษะและประสบการณ์ในการปฎิบัติงาน

2.บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในการปฎิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

3.บุคลากรมีความรับผิดชอบและสามารถปฎิบัติงานให้สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด

4.บุคลากรในวิทยาลัย ฯ มีความเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

จุดอ่อน

1.บุคลากรในระดับปฎิบัติงานมีจำนวนไม่เพียงพอกับปริมาณงาน

2.ขาดการฝึกอบรมที่จำเป็นต่อการปฎิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายพิเศษ

3.บุคลากรส่วนใหญ่เป็นอัตราจ้าง ทำให้ขาดแรงจูงใจในการปฎิบัติงาน และมีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรบ่อย

4.บุคลากรเดินทางไปปฎิบัติราชการจำนวนบ่อยครั้ง

โอกาส

1.มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรแต่ละคนเป็นลายลักษณ์อักษร

2.มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบงานได้อย่างชัดเจน เพื่อให้บุคลากรสามารถปฎิบัติงานได้ตามวัตถุประสงค์การดำเนินงานของวิทยาลัย ฯ

3.มีหัวหน้างานคอยกำกับดูแลการปฎิบัติงานของบุคลากรระดับปฎิบัติงาน ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

4.มีการประเมินการปฎิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดเป็นครั้งคราว และจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร

อุปสรรค

1.มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรแต่ละคนกระจุกอยู่เพียงคนใดคนหนึ่ง ทำให้การปฎิบัติงานเกิดข้อบกพร่องและการดำเนินงานไม่สะดวก

2.ขาดการรับฟังข้อเรียกร้องหรือข้อเสนอแนะของบุคลากรในวิทยาลัย ฯ ทำให้ไม่ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละแผนก

1.ปัญหาที่พบ

บุคลากรไม่เพียงพอต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ ทำให้บุคลากรเกิดการตึงเครียดในการปฎิบัติงาน และขาดการร่วมมือกันในการปฎิบัติงาน เนื่องจากแต่ละคนต่างต้องการปฎิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จเท่านั้น

วิธีการแก้ไขปัญหา

1.เนื่องจากงบประมาณมีค่อนข้างจำกัดในการเพิ่มบุคลากรในวิทยาลัย ฯ จึงควรมีการจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบแยกประเภทเป็นงานหนัก-งานเบา แล้วเฉลี่ยให้บุคลากรในแต่ละคนให้ตรงตามสายงานที่บุคลากรนั้นรับผิดชอบ

2.พยายามลดขั้นตอนในการปฎิบัติงานให้กระชับที่สุด

3.นำนักศึกษาของวิทยาลัย ฯ ในระดับ ปวช.3 มาฝึกงานกับบุคลากรในวิทยาลัย ฯ

2.ปัญหาที่พบ

บุคลากรขาดการฝึกอบรมความรู้เฉพาะด้านในการปฎิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายพิเศษ

วิธีการแก้ไขปัญหา

1.เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่พิเศษให้แก่บุคลากรควรมีการจัดส่งบุคลากรเข้าฝึกอบรมความรู้เฉพาะด้านก่อนการปฎิบัติงานนั้น เพื่อให้ทราบวิธีในการปฎิบัติงาน

กิจกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่อง “ คน ”

1.จัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรเป็นประจำทุกปี

2.จัดการประชุม สัมมนาหรือกล่องรับฟังความคิดเห็นจากบุคลากรในวิทยาลัย ฯ เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรในวิทยาลัย ฯ

3.จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรักความสามัคคีในองค์กร เช่น พาไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดเป็นประจำทุกปี จัดงานวันปีใหม่ในวิทยาลัย ฯ ฯลฯ เป็นต้น

4.การให้รางวัลและยกย่องแก่บุคลากรที่มีการปฎิบัติงานดีเด่นเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากร

5.จัดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกรักองค์กรให้เกิดขึ้นในวิทยาลัย ฯ ดังคำกล่าวที่ว่า “ วิทยาลัยไม่ใช่ของผู้ใดผู้หนึ่ง แต่เป็นของทุกคน ”

กำหนดหัวข้อวิจัยที่ท่านสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของท่านและอาชีวศึกษา

ในอนาคต

การศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกตามกรอบมาตรฐานการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยสารพัดช่างลพบุรี

นายสนธยา จันทร์สมบูรณ์

1.วิเคราะห์ SWOTของการพัฒนาและบริหารคนขององค์กร

จุดแข็ง  

1.บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ

2.บุคลากรมีความเข็มแข็ง ความสามัคคึในหมู่คณะ

3.บุคลากรส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ วัยหนุ่มสาว ตั้งใจทำงาน

4.บุคลากรส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ จึงได้รับการสนับสนุน และรวมมือในการทำงานจากชุมชน

จุดอ่อน

1.บุคลากรส่วนใหญ่เป็นครูอัตราจ้าง

2.บุคลากรมีการเปลี่ยนงานบ่อย

3.บุคลากรมีภาระงานที่รับผิดชอบมาก

4.บุคลากรเป็นคนหนุ่มสาวยังขาดประสบการณ์ในการทำงาน

5.ความมีคุณธรรมจริยธรรมของความเป็นครูยังมีน้อย

โอกาส

1.ได้รับความร่วมมือจากชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ และผู้นำท้องถิ่น

2.ได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการในพื้นที่และต่างพื้นที่

3.สถานศึกษาสามารถร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาสถานศึกษา

4.มี พ.ร.บ.อาชีวศึกษา

อุปสรรค

1.งบประมาณที่ได้รับมีจำนวนจำกัด

2.ขาดการสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรจากต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

3.จำนวนงานที่ทำมากกว่าจำนวนบุคลากรที่มีอยู่

4.ขาดการสนับสนุนทางด้านความก้าวหน้าของครูจ้างสอนและลูกจ้างชั่วคราว

ปัญหาที่พบ

1.บุคลากรมีการเปลี่ยนงานบ่อยเนื่องจากขาดความมั่นคง

วิธีการแก้ไข

1.1 ประชุมชี้แจ้งให้ทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้า

1.2 จัดสวัสดิการต่างๆที่สามรถจัดให้ได้

1.3 ให้ขวัญกำลังใจบุคลากรในโอกาส และวาระต่างๆเพื่อให้เกิดความรักองค์กร

2.บุคลากรขาดทักษะในการทำงาน

วิธีการแก้ไข

2.1 ประชุม จัดอบรม ชี้แจ้ง ให้เข้าใจในงานที่รับผิดชอบ

2.2 จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน

2.3 ให้ศึกษาเอกสาร ตำรา เพิ่มเติม

2.4 สอนงานให้เป็นรายบุคคล

3.บุคลากรขาดการพัฒนาด้านวิชาการ

วิธีการแก้ไข

3.1 ส่งเข้ารับการฝึกอบรมในหน่วยงานของรัฐและเอกชน

3.2ให้ผู้ที่ส่งไปฝึกอบรมหลังจากกลับมาแล้วให้ถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงานในสาขาวิชาชีพของตนเองได้รับรู้ด้วย

3.3 ส่งเสริมให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

 

2. หัวข้อวิจัย "ศึกษาความต้องการของสถานประกอบการและชุมชนต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว"

นายไพฑูรย์ แมลงภู่ทอง ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพหนองหาน

ข้อที่ 1.การวิเคราะห์ Swotของการพัฒนาและบริหาร"คน" ปัญหา,วิธีการแก้ปัญหา

จุดเด่นของบุคลากร

บางส่วนเป็นครูที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานสูงมีเทคโนโลยีใหม่และนำมาใช้ในการเรียน การสอนทำให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม

จุดด้อย

ครูที่จบใหม่ขาดประสบการณ์ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องใช้เวลาในการศึกษาต่อและหาครูในส่วนที่ขาดแคลนยาก

โอกาศ

ผู้อยู่ในท้องถิ่น สามารถทำงานให้หมู่บ้านได้ และทางสถานศึกษามีคนในพื้นที่สามารถดูแลนักศึกษาได้ดี และให้ชุมชนอบรมนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

อุปสรรค

สถานศึกษาอยู่เขตอำเภอผู้เรียนมีค่านิยมไม่ต้องการเรียนใกล้บ้าน มีความต้องการเข้าไปเรียนในตัวเมือง ครูก็เช่นเดียวกันถือว่าทำงานในเมืองมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่าชนบทและครูที่ทำงานอยู่จะมองหาที่ทำงานที่ดีกว่า เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล หรือที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ ทำให้โอกาสของผู้เรียนเสียไปมาก การเรียนไม่ต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ

พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องให้มีความมั่นคงในการทำงาน เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรไปพร้อม ๆ กัน

ข้อที่ 2 เรื่องหัวข้อวิจัย "การพัฒนาสรรถนะครู-เจ้าหน้าที่วิทยาลัยการอาชีพหนองหาน"

นายสมประสงค์ สิงห์สุวรรณ

การวิเคราะห์ SWOT ของการพัฒนาและบริหารคนขององค์กร

จุดแข็ง (Strengths)

1. ผู้บริหารมีศักยภาพในการบริหารจัดการสูง มีเป้าหมาย นโยบายและกลยุทธ์ที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบ

2. สามารถพัฒนาระบบบริหารงานของคณะผู้บริหารและบุคลากรให้สามารถทำงานเป็นทีม ด้วยความรักและสามัคคีต่อกัน ก่อให้เกิดความเอื้อเฟื้อ ส่งผลดีต่อการบริหารงานในด้านต่างๆให้มีประสิทธิภาพในทุกๆฝ่าย

3. มีการให้การสนับสนุนการพัฒนาทั้งทางด้านวิชาการ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารบุคลากรเพิ่มมากขึ้น มีการจัดสรรสวัสดิการช่วยเหลือบุคลากรและสร้างเสริมสุขภาพที่ดี

จุดอ่อน (Weaknesses)

1. บุคลากรขาดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง บุคลากรส่วนมากเป็นครูอัตราจ้างทำให้ไม่มีความมั่นคงในการทำงาน ขาดขวัญและกำลังใจ

2. ความไม่เพียงพอด้านคุณภาพของบุคลากร ประกอบกับการเข้าออกของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

3. บุคลากรยังไม่ให้ความสำคัญต่อกิจกรรม โครงการที่จัดไม่มากเท่าที่ควร เข้าร่วมกิจกรรมน้อย

4. บุคลากรมีภาระสอนมาก อาจส่งผลการมีส่วนร่วมในการบริหารน้อยลง

โอกาส (Opportunities)

1. มีการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้บุคลากรอบรม สัมมนานอกสถานที่ ทำให้สามารถนำความรู้ ประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในงาน รวมทั้งเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

2. การพัฒนาระบบการบริหารของวิทยาลัยฯที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้จำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น

3. บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

4. วิทยาลัยฯได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกจังหวัดเป็นอย่างดี

อุปสรรค (Threats)

1. การสรรหาบุคลากรค่อนข้างทำได้ยาก เนื่องจากวิทยาลัยฯตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างใกลชุมชน ทำให้เกิดปัญหาด้านที่พัก การเดินทาง

2. วิทยาลัยฯไม่มีงบประมาณในการให้การสนับสนุนด้านการศึกษาต่อให้แก่บุคลากร มีงบประมาณในการจัดสรรอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอต่อจำนวนบุคลากร

3. ในปัจจุบันเกิดปัญหาการเข้าออกของบุคลากรบ่อยครั้ง

การจัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา

1. จัดให้มีโครงการสนับสนุน ส่งเสริมในเรื่องการศึกษาต่อ

2. จัดอบรมสัมมนาทั้งในและนอกสถานที่ เพื่อให้เกิดความรู้และประสบการณ์

3. ปลูกฝังด้านคุณธรรม จริยธรรม ปลูกจิตสำนึกของความเป็นครู สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้เกิดขึ้น โดยการจดฝึกอบรมแบบเข้มข้น มีการดูงาน ทัศนศึกษา และจัดกิจกรรมต่างๆที่จะส่งผลสัมฤทธิ์ให้เกิดแก่บุคลากร

หัวข้อวิจัย

การสำรวจความต้องการทรัพยากรของบุคลากรที่มีผลต่อการทำงานของบุคลากรสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี

นายสมประสงค์ สิงห์สุวรรณ

ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพกบินทร์บุรี

เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2551

นายอนันต์ สิทธิไชยากุล

สภาพบุคลากรของวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี

จากการวิเคราะห์ SWOT มีดังนี้

จุดเด่น (S)

1. ครูมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

2. ครูส่วนใหญ่เป็นครูท้องถิ่นและรับราชการมานาน

3. ผู้บริหารภายในท้องถิ่นส่วนมากเป็นศิษย์เก่าของวิทยาลัย

4. ครูมีลูกศิษย์จำนวนมากอยู่ในสถานประกอบการ

5. ครูส่วนใหญ่เป็นที่ยอมรับและนับถือของบุคคลทั่วไปในชุมชนและท้องถิ่น

6. บุคลาการมีคุณวุฒิการศึกษาตรงกับสายงานที่ปฏิบัติ

7. บุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการให้บริการด้านวิชาการในสาขาวิชาชีพกับชุมชนและท้องถิ่น

8. บุคลากรเป็นผู้ที่ใฝ่รู้ในการพัฒนาตนเองด้านการศึกษาต่อ

จุดด้อย (W)

1. บุคลากรบางส่วน ขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนางานและไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

2. บุคลากรบางส่วนไม่เข้าใจกรอบการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง

3. บุคลากรบางส่วนขาดความเสียสละและการให้ความร่วมมือในการทำงานเพื่อส่วนรวม

4. บุคลากรขาดการพัฒนาตนเองในด้านการทำผลงานวิชาการและผลงานวิจัย

โอกาส (O)

1. สถานศึกษาสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรในการฝึกอบรมในด้านวิชาชีพและการพัฒนาการเรียนการสอน

2. สถานศึกษาจัดทำโครงการ/กิจกรรม ที่ส่งเสริมให้บุคลากรได้พัฒนาองค์ความรู้ในการปฏิบัติงาน

3. มีระบบการบริหารสถานศึกษาและจัดการศึกษาโดยให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

4. พรบ. การอาชีวศึกษา

5. นโยบายของรัฐบาลและนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

6. การยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ และชุมชน

7. มีสถานประกอบการจำนวนมากที่ให้ความสนับสนุนในการจัดการศึกษาของวิทยาลัย

ปัญหาอุปสรรค (T)

1. บุคลากรส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาของรัฐในปัจจุบัน

2. จำนวนบุคลากรมีจำกัดไม่สามารถแยกครูผู้สอนและครูปฏิบัติงานสายส่งเสริมสนับสนุนการสอนได้ต้องใช้บุคคลคนเดียวกัน

3. บุคลากรบางส่วนไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารขององค์กร

4. บุคลากรบางส่วนมีอคติต่อระบบการบริหารงาน

ปัญหาที่พบ

1. บุคลากรขาดความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามกรอบหน้าที่ของตนเอง

วิธีการแก้ปัญหา

1. กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกส่วน หน่วยงานและแผนกวิชา

2. ประชุมชี้แจงและจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (แผนกวิชาประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง)

3. กำหนดให้มีการนิเทศติดตามผลการปฏิบัติงาน

4. ศึกษาดูงานนอกสถานศึกษา

ปัญหาที่พบ

2. บุคลากรบางส่วนขาดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน

วิธีการแก้ปัญหา

1. การประชุม

2. มอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจน

3. นิเทศติดตามการปฏิบัติงาน

4. จัดกิจกรรมส่งเสริม ยกย่องผู้ประกอบความดี เช่น มอบวุฒิบัตร, ครูดีศีอาชีวะ

กิจกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหา “ เรื่องคน” ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

1. จัดระบบบริหารงานของสถานศึกษา ในรูปคณะกรรมการสถานศึกษา

2. กระจายอำนาจบริหารงานที่แผนกวิชาและหน่วยงาน โดยกำหนดให้แผนกวิชาจัดประชุมบุคลากร

อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

3. กำหนดให้รองผู้อำนวยการทุกฝ่าย ควบคุมดูแลช่วยเหลือการปฏิบัติงานของแผนกวิชา

4. จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน

5. จัดโครงการทัศนศึกษานอกสถานที่

6. จัดโครงการส่งเสริมคนดีศรีอาชีวะ

แนวทางการพัฒนาองค์กรในอนาคต

1. ด้านบุคลากร

1.1 ส่งเสริมให้บุคลากรทำผลงานทางวิชาการ , งานวิจัย และนวัตกรรมประกอบการเรียนการสอน

และเลื่อนวิทยฐานะ

1.2 ส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาโดยจัดประชุมชี้แจง

และทัศนศึกษานอกสถานที่

ส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานอาชีวศึกษาโดยใช้ระบบประกันคุณภาพของ

สถานศึกษา

2. ด้านสถานที่

2.1 พัฒนาโรงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ คือ จัดหาสถานที่โรงอาหารใหม่โดยแยกออกจากหอประชุม

2.2 พัฒนาโรงจอดรถของนักเรียน/นักศึกษา หน้าวิทยาลัย คือ ปรับปรุงโรงจอดใหม่โดยจัดทำหลังคา

และพื้นที่

2.3 จัดภูมิทัศน์ภายในวิทยาลัยให้สวยงามและร่มรื่น

2.4 ปรับปรุงห้องน้ำนักเรียน/นักศึกษา ในด้านความสะอาด

2.5 ปรับปรุงโต๊ะเก้าอี้และพัดลมภายในห้องเรียน

2.6 ปรังอาคารเรียนและอาคารสำนักงานโดยการทาสีใหม่

3. ด้านผู้เรียน

3.1 ปรับปรุงเรื่องการแต่งกายของนักเรียน/นักศึกษา วิธีแก้ไขให้ครูผู้สอนแต่ละวิชาตัดคะแนนจิตวิสัย

และแจ้งฝ่ายปกครอง

3.2 ปรับปรุงพฤติกรรมของผู้เรียนในด้านความมีวินัย การเข้าเรียน, การทิ้งขยะและความรับผิดชอบ

3.3 ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา วิธีแก้ไข จัดระบบการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอน

3.4 ปรับปรุงผลสัมฤทธิ์การเรียนของผู้เรียน วิธีแก้ไข จัดระบบการนิเทศติดตามการจัดการเรียน

การสอน

3.5 ปรับปรุงผู้เรียนออกกลางคัน วิธีแก้ไข จัดระบบการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอน

3.6 ส่งเสริมผู้เรียนให้ค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้ คือห้องสมุด ห้องอินเตอร์เน็ต

4. ด้านสถานศึกษา

4.1 กำหนดให้วิทยาลัยเป็นสถานที่แหล่งความรู้การเรียนรู้ในด้านวิชาชีพ

4.2 จัดตั้งศูนย์วิจัย นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

4.3 จัดทำศูนย์ทดลองการทำธุรกิจ SME เพื่อสนับสนุนการหารายได้ระหว่างเรียนภายในสถานศึกษา

2.ผลงานวิจัยที่จะจัดทำในอนาคต คือ ศึกษาสาเหตุการออกลางคันของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี

<table style="width: 498pt; border-collapse: collapse;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="664">

<colgroup span="1"><col style="width: 241pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 11739;" span="1" width="321"></col><col style="width: 257pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 12544;" span="1" width="343"></col></colgroup>

<tbody>

<tr style="height: 25.5pt; mso-height-source: userset;" height="34">

<td class="xl35" style="border-right: black 0.5pt solid; border-top: windowtext 0.5pt solid; border-left: windowtext 0.5pt solid; width: 498pt; border-bottom: windowtext 0.5pt solid; height: 25.5pt; background-color: transparent;" colspan="2" width="664" height="34"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;"><strong>SWOT<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp; </span>Analysis</strong></span></td>

</tr>

<tr style="height: 1.5pt; mso-height-source: userset;" height="2">

<td class="xl24" style="height: 1.5pt; background-color: transparent; border: #e0dfe3;" height="2"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;"><strong></strong></span></td>

<td class="xl24" style="background-color: transparent; border: #e0dfe3;"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;"><strong></strong></span></td>

</tr>

<tr style="height: 23.25pt; mso-height-source: userset;" height="31">

<td class="xl28" style="height: 23.25pt; background-color: transparent; border: windowtext 0.5pt solid;" height="31"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;"><strong><span style="text-decoration: underline;">ปัจจัยภายใน</span></strong></span></td>

<td class="xl28" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: windowtext 0.5pt solid; border-left: windowtext; border-bottom: windowtext 0.5pt solid; background-color: transparent;"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;"><strong><span style="text-decoration: underline;">ปัจจัยภายนอก</span></strong></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl34" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: windowtext; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;"><strong><span style="text-decoration: underline;">จุดเด่น</span></strong></span></td>

<td class="xl34" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: windowtext; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><strong><span style="text-decoration: underline;"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">โอกาส</span></span></strong></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">1.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ครูมีความชำนาญในสาขาวิชาชีพที่เปิดสอนทุกสาขาวิชา</span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">1.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>มีสถานประกอบการ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ชุมชน<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>และสังคมให้ความร่วมมือ ในการจัด</span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">2.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>เป็นสถานศึกษาที่เปิดสอนมานาน<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>107<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ปี<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>มีชื่อเสียงเป็นที่</span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>การเรียนการสอน<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>พร้อมทั้งจัดสถานที่ และครุภัณฑ์มาตรฐานเพื่อ</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>รู้จักของผู้ปกครอง<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp; </span>ชุมชน<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>และ สังคม</span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>เพื่อฝึกปฏิบัติวิชาชีพเป็นอย่างดีสำหรับนักเรียนนักศึกษา</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">3.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และมีภาวะผู้นำ มีการกระจายอำนาจ</span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">2.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>มีสมาคมศิษย์เก่าและสมาคมผู้ปกครองฯ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ให้การสนับสนุนในการ</span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>การบริหารงาน และมีการมอบหมายงานชัดเจนมีนโยบาย</span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ระดมทรัพยากร<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>เพื่อสนับสนุนในการพัฒนาอาคารสถานที่อย่าง</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>แสดงถึงการบริหารจัดการ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>มีพันธกิจที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์</span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ต่อเนื่อง</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>เปิดโอกาสให้บุคคลภายในและภายนอกมีส่วนร่วมในการ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;</span></span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">3.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ใกล้แหล่งเรียนรู้และสื่อเทคโนโลยีทันสมัย สะดวกและรวดเร็ว</span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>บริหารสถานศึกษา</span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ในการจัดทำสื่อนวัตกรรม และพัฒนาการจัดการเรียนการสอน</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">4.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>สถานศึกษามีกระบวนการจัดการความรู้ที่นำไปสู่ความสำเร็จ</span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">4.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>อยู่ใจกลางเมืองหลวง สะดวกในเรื่องการจัดหาวัสดุ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ครุภัณฑ์ที่ใช้</span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ในการพัฒนาองค์กร<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>รวมทั้งการกำกับติดตาม<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>เพื่อการพัฒนา<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;</span></span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ในการฝึกปฏิบัติได้อย่างหลากหลายและราคาถูก<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;</span></span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>องค์กร</span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="mso-spacerun: yes;"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">&nbsp;</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;">5.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>Good<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>Practice ของสถานศึกษาคือ การจัดศูนย์บ่มเพาะ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;</span></span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">&nbsp;</span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ที่สามารถฝึกนักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง</span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="mso-spacerun: yes;"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">&nbsp;</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">6.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>มีการระดมทรัพยากรจากบุคคลภายนอกเพื่อพัฒนาอาคาร</span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">&nbsp;</span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>สถานที่และจัดการศึกษา</span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">&nbsp;</span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl31" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3 0.5pt; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">7.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>บุคลากรที่รับผิดชอบและเสียสละเต็มร้อยมีประมาณ 70%</span></td>

<td class="xl31" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext; border-bottom: #e0dfe3 0.5pt; background-color: transparent;"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">&nbsp;</span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl32" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><strong><span style="text-decoration: underline;"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">จุดด้อย</span></span></strong></td>

<td class="xl33" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><strong><span style="text-decoration: underline;"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">อุปสรรค</span></span></strong></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl26" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">1. ขาดการทำงานวิจัย ทั้งวิจัยในชั้นเรียนและวิจัยสถาบัน</span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">1. ใช้เวลามากในการเดินทางเนื่องจากการจราจรในกรุงเทพฯ</span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl26" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">2. การปฏิบัติงานทุกฝ่ายที่ต้องใช้ระบบ PDCA ในการบริหาร</span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;">2.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของคนกรุงเทพฯ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;</span></span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl26" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>และประเมินโครงการ</span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ทำให้ครูไม่เสียสละและอุทิศเวลาเท่าที่ควร</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl26" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">3. บุคลากรยังไม่เห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพ</span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">3.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>เศรษฐกิจและสภาวะค่าใช้จ่ายของสังคมคนกรุงเทพฯ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ค่อนข้างสูง</span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl26" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">4. มีบุคลากรที่ขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองและ</span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ทำให้คิดถึงตนเองมากกว่าส่วนรวม</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl26" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ประมาณ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>20%<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;</span></span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">4.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลต้องไม่เกิดบนพื้นฐานของการบังคับ</span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl26" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;">5.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>มีบุคลากรที่ยังมีความเห็นแก่ตัว ขาดความรับผิดชอบ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;</span></span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>แต่ด้วย<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span><span class="font7"><span style="text-decoration: underline;"><strong>วัยวุฒิ</strong></span></span><span class="font9"><span style="mso-spacerun: yes;"><strong>&nbsp;&nbsp; </strong></span></span><span class="font8">ของครูและรับราชการมานาน<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>จึงขาดความ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;</span></span></span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl26" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ไม่เสียสละ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>และพยายามหาแนวร่วม<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ทำให้เกิด<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;</span></span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>กระตือรือร้นและไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl26" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ความแตกแยกในองค์กร<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ประมาณ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>10%</span></span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">5.<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>สังคมและวัฒนธรรมปัจจุบันมองว่า<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ความผิดพลาดเป็นเรื่องไม่ดี</span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl26" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">&nbsp;</span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ต้องหลีกเลี่ยง<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ถ้าเกิดขึ้นแล้วต้องปกปิดมิดชิด<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ทุกคนจึงเรียนรู้</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl26" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">&nbsp;</span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>และยอมรับด้านเดียว คือ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>ด้านความสำเร็จ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>โดยไม่เรียนรู้ว่า</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl26" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">&nbsp;</span></td>

<td class="xl29" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: #e0dfe3; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ก่อนจะสำเร็จต้องผ่านสิ่งใดมาบ้าง<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>และไม่เรียนรู้ว่า อะไรผิด</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 21pt;" height="28">

<td class="xl27" style="border-right: #e0dfe3; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: windowtext 0.5pt solid; height: 21pt; background-color: transparent;" height="28"><span style="font-size: large; font-family: Angsana New;">&nbsp;</span></td>

<td class="xl30" style="border-right: windowtext 0.5pt solid; border-top: #e0dfe3; border-left: windowtext 0.5pt solid; border-bottom: windowtext 0.5pt solid; background-color: transparent;" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>ควรหลีกเลี่ยงหรือจะช่วยแก้ปัญหาอย่างไร<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>เพือ่ให้เกิดการพัฒนา</span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 23.25pt;" height="31">

<td class="xl22" style="height: 23.25pt; background-color: transparent; mso-ignore: colspan; border: #e0dfe3;" colspan="2" height="31" align="left"><span style="text-decoration: underline;"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><strong>หมายเหตุ<span class="font6"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span></span></strong><span class="font5">จุดเด่น - จุดด้อย<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>นำมาจากผลการประเมินภายนอก<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>รอบ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>2<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>เมื่อวันที่<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>14-16<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>กุมภาพันธ์<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>2550<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>และ<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;</span></span></span></span></span></td>

</tr>

<tr style="height: 23.25pt;" height="31">

<td class="xl23" style="height: 23.25pt; background-color: transparent; mso-ignore: colspan; border: #e0dfe3;" colspan="2" height="31" align="left"><span style="font-size: large;"><span style="font-family: Angsana New;"><span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>การประเมินภายในโดยต้นสังกัด<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span>เมื่อวันที่<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>25-26<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>กันยายน<span style="mso-spacerun: yes;">&nbsp; </span>2551</span></span></td>

</tr>

</tbody>

</table>

Swot Analysis

การพัฒนาและบริหารคนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา

 

(นางสาววสุมดี  อิ่มแก้ว)

ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา

นางสาวจริยา กมุทมาศ

การวิเคราะห์ SWOT ของการพัฒนาและบริหารคนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมละออ

    ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในหลากหลายสาขาวิชาชีพ

       มีประสบการณ์สูงในการสอนด้านวิชาชีพ

W    ครูผู้สอบส่วนใหญ่มีอายุมากสุขภาพไม่แข็งแรง

       ครูขาดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ

       ครูขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

       ภาพพจน์ของนักเรียน นักศึกษาไม่เป็นที่ยอมรับของชุมชน

       โดยรอบสถานศึกษา

O     บางสาขาวิชาชีพครูผู้สอนได้รับความร่วมมือจาก

       สถานประกอบการเป็นอย่างดี

T     ชุมชนไม่ให้ความสำคัญกับสถานศึกษา

วิธีการแก้ไขปัญหา

1. สร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ

     กิจกรรม จัดอบรมประชุมสัมมนาหัวข้อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรเพื่อให้เกิดการร่วมคิด-ร่วมทำ

2.  สร้างขวัญและกำลังใจ

     กิจกรรม

     (1) จัดกิจกรรมดูแลสุขภาพของบุคลากรภายในสถานศึกษา เช่น ตรวจร่างกายประจำปี  จัดให้มีการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ  3  วัน

     (2) จัดกิจกรรมสันทนาการระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษาอย่างน้อยภาคเรียนละ  2  ครั้ง

     (3) ติดตามผลการปฏิบัติงานในแต่ละกิจกรรม โดยกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจนเพื่อให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติงานได้ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด

3.  สร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ชุมชน

     กิจกรรม

     (1) การประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษาให้ชุมชนทราบอย่างต่อเนื่อง

     (2) เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

     (3) สร้างความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา

หัวข้องานวิจัย

     การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมละออ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง

ผลการวิเคราะห์ด้านบุคลากรของสถานศึกษา

จุดแข็ง

๑.บุคลากรอยู่ในวัยทำงาน มีความพร้อมในการพัฒนาตนเอง

๒.บุคลากรฝ่ายบริหารมีความอาวุโส และมีประสบการณ์การบริหารสถานศึกษา

๓.บุคลากรมีคุณวุฒิตรงสายวิชาที่สอน

๔.บุคลากรส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่

จุดอ่อน

๑.บุคลากรเคยชินกับวัฒนธรรมองค์กรเดิม ไม่พัฒนางานในความรับผิดชอบเท่าที่ควร

๒.บุคลากรขาดทักษะในการทำงานเป็นทีม

๓.บุคลากรขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน (ทำก็ได้ ไม่ทำก็ไม่มีผลอะไร ขาดการติดตามงาน และการให้กำลังใจ)

๔.การมอบหมายงานบุคลากรปฏิบัติไม่เหมาะสม

โอกาส

๑.มี พ.ร.บ.อาชีวศึกษา ๒๕๕๑ สนับสนุนการกระจายอำนาจในการบริหารงานบุคคล และขยายการจัดการอาชีวศึกษาให้เข้มแข็งขึ้น

๒.มีผู้บริหารระดับสูงใหม่ (เลขาธิการ และรองเลขาธิการ) ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารงานบุคคล

อุปสรรค

๑.บุคลากรของวิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง มากกว่าร้อยละ ๕๐ เป็นอัตราจ้าง ทำให้ขาดความมั่นคงในการทำงาน

๒.การบรรจุครู หรือพนักงานราชการทดแทนครูที่ย้ายไปสถานศึกษาอื่น ๒ ตำแหน่ง ยังไม่ได้รับการบรรจุใหม่

1. บริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม และทำงานเป็นทีม โดยเน้น

สถานศึกษาน่าอยู่ บุคลากรและนักศึกษามีความสุข

เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่มาตรฐานการอาชีวศึกษา

2. ปรับปรุงภูมิทัศน์ แนวรั้วหน้าวิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง อาคารอำนวยการ ฐานพระพุทธรูป อาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ และจัดสำนักงานแผนกวิชาให้เหมาะสมมากขึ้น

3. ปรับปรุงห้องเรียนรวม พร้อมจัดโสตทัศนูปกรณ์ จำนวน 1 ห้อง ที่อาคารเรียนและปฏิบัติการ (ช่างอุตสาหกรรม)

4. ปรับปรุงห้องน้ำอาคารเรียนและปฏิบัติการ (ช่างอุตสาหกรรม) ซึ่งชำรุด เสียหายทั้ง 4 ชั้น และห้องน้ำ ห้องส้วม 3 หน่วย จำนวน 3 หลัง

5. ปรับปรุงห้องพักครูเวร จัดสร้างป้อมยาม และจัดระบบ การอยู่เวร – ยาม ให้มีประสิทธิภาพ

6. จัดตั้งศูนย์ IT Clinic เพื่อการฝึกทักษะการซ่อมและประกอบคอมพิวเตอร์ให้กับนักศึกษา และการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของวิทยาลัยฯ

7. จัดห้องและเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม 1 ห้องให้เพียงพอกับการจัดการเรียนการสอน และการค้นคว้าด้วยตนเองของนักศึกษา

8. ขยายการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นอย่างหลากหลายตามความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ให้กับประชาชนและนักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย เพิ่มเติม จำนวน 1,000 คน

9. จัดตั้งศูนย์การเรียนเครือข่ายเทียบโอนประสบการณ์ จำนวน 2 ศูนย์

10. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ และ สนับสนุนโครงการหารายได้ระหว่างเรียนของนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น

11. ปรับวัฒนธรรมองค์กรสู่ความเป็นเลิศ แบบมีส่วนร่วม

11.1 เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

11.2 บูรณาการเรียนการสอนเป็นชิ้นงาน โครงการ

11.3 บูรณาการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในทุกแผนกวิชา

11.4 ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ปฎิรูปวิธีสอบ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

11.5 ดำเนินกิจกรรม 5 ส ในวิทยาลัยฯ ทุกแผนกวิชา ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

11.6 จัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากร อย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง

11.7 ดำเนินการแนะแนวการศึกษาต่อเชิงรุก

11.8 ขยายความร่วมมือกับสถานประกอบการ โดยให้ครูทุกคนมีสถานประกอบการคู่ใจ อย่างน้อย 1 คน ต่อ 1 แห่ง

11.9 พัฒนาการดำเนินกิจกรรมองค์การวิชาชีพ เตรียมความพร้อมส่งนักศึกษารางวัลพระราชทาน

12. จัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา ระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ 2552 - 2554) และปรับแผนปฏิบัติการประจำปีให้บุคลากรอัตราจ้างทุกคน ได้รับเงินเดือนครบทุกเดือน (12 เดือน / ปี) และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

วิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง

STRENGTH

1.บุคลากรมีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง

2.บุคลากรอยู่ในวัยทำงาน

3.บุคลากรส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในท้องถิ่น

4.บุคลากรมีพฤติกรรมยืดหยุ่น

5.บุคลากร ได้รับมอบหมายหน้าที่ตรงกับ ความรู้ ความสามารถ ทำให้งานมี

ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ดี

6.บุคลากรได้รับการ ส่งเสริมในการ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

WEAKNESS

1.บุคลากรมีภาระงานอื่น ๆ หลายหน้าที่ ซึ่งนอกเหนือจากการสอน

2.บุคลากรขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการวิเคราะห์งาน

3.บุคลากรขาดความมุ่งมั่น ตระหนักในหน้าที่

4.บุคลากรสืบทอดวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เหมาะสม ถูกต้อง

5.บุคลากรขาดความกระตือรือร้น

6.บุคลากรขาดทักษะในการวิจัย

7.ขาดการแข่งขันการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ ในเชิงสร้างสรรค์

8.ขาดการนำความรู้ ประสบการณ์จากการศึกษาดูงาน อบรม สัมมนา มาประยุกต์ใช้ในหน้าที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง

OPPORTUNITIES

1.บุคลากรมีความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น

2.บุคลากรมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนในท้องถิ่น

3.บุคลากรยอมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา

4.การบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร เป็นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม

THREATS

1.ข้อจำกัดด้านกฎหมาย เรื่องการละเมิดสิทธิ มนุษยชนมีมากเกินไป

2.ความมั่นคงในการปฏิบัติงาน

ปัญหาที่พบ

1.บุคลากรขาดความกระตือรือร้น

2. ขาดการนำความรู้ ประสบการณ์จากการศึกษาดูงาน อบรม สัมมนา มาประยุกต์ใช้ใน หน้าที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง

3.บุคลากรขาดทักษะในการวิจัย

แนวทางแก้ไข

- สร้างความตระหนัก และ แรงจูงใจ (การติดตามผล ประเมินผล และการให้รางวัล)

- จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

- จัดกิจกรรม KM

เป้าหมาย

- ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ของบุคลากร

ข้อ 2. หัวข้อวิจัยที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของบุคคล และ การอาชีวศึกษาในอนาคต

คือ สำรวจความต้องการกำลังคนด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อการพัฒนาอาชีพในชุมชนอย่างยั่งยืน

นายภูวเดช อินทรพรหม ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพคำม่วง

วิทยาลัยการอาชีพคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการพัฒนาและบริหารองค์กร Strengths จุดแข็ง 1. บุคลากรมีพฤติกรรมทำงานเป็นทีม 2. มีแผน/โครงการ พัฒนาบุคลากร 3. บุคลากรส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ 4. บุคลากรอยู่ในวัยทำงาน 5. บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา 6. บุคลากรมีจำนวนที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการและพัฒนาความรู้ความสามารถ 7. บุคลากรมีคุณวุฒิตรงตามสาขาที่สอน 8. บุคลากรยอมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา Weaknesses จุดอ่อน 1. บุคลากรได้รับการมอบหมายมากกว่า 1 หน้าที่ 2. บุคลากรขาดความริเริ่มสร้างสรรค์และวิเคราะห์งาน 3. บุคลากรขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน(อัตราจ้างชั่วคราว) 4. บุคลากรขาดภาวะผู้นำและไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน 5. บุคลาการขาดทักษะการวิจัย 6. มีการเข้า - ออก ของบุคลากรบ่อย(อัตราจ้างชั่วคราว) Opportunities โอกาส 1. มีเครือข่ายชุมชน องค์กรภายนอก ให้ความร่วมมือในการพัฒนาและบริหาร 2. มีระบบ ICT ให้องค์ความรู้หลากหลายในการพัฒนาบุคลากร 3. บุคลากรมีความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นอย่างดี 4. มี พรบ.อาชีวศึกษา Threats อุปสรรค 1. ที่ตั้งสถานศึกษา ห่างไกลชุมชนและตัวจังหวัด ทำให้การติดต่อกับองค์กรภายนอกต้องใช้ทั้งงบประมาณและเวลา 2. บุคลากรมากกว่า 80 % เป็นอัตราจ้าง 3. งบประมาณที่ได้รับมีจำนวนจำกัดและถูกใช้หมดไปกับค่าตอบแทนบุคลากร งานวิจัย การศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในและภายนอกสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพคำม่วง

บันทึกความทรงจำ

ข้าพเจ้า นายสุพล สวัสดี ตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างกระบี่ จังหวัดกระบี่

เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 3-9201-00663-00-8 ขอบันทึกความทรงจำในเป้าหมายงานที่จะบริหารจัดการและปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ 2552 ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับ และศักยภาพที่มีไว้พอสังเขป..ดังนี้..

1. กำหนดคุณสมบัติพึงประสงค์ และนำลงสู่การปฏิบัติให้นักศึกษาที่จบจากวิทยาลัยสารพัดช่างกระบี่ มีคุณสมบัติดังนี้

1. มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ

2. มีองค์ความรู้ สู่อาชีพ

3. มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้

2. ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้ครูผู้สอน รวมทั้งบุคลากรทุกคนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเงินเดือนปกติคนละ 2,000-5,000 บาท ต่อเดือนโดยเฉลี่ย

3. ให้บริการงานอาชีพ และฝึกอาชีพแก่ชุมชนอย่างน้อย 20 อาชีพ มีผู้รับบริการอย่างน้อย 10,000 คน และสร้างกลุ่มอาชีพสามารถประกอบอาชีพได้ทุกอาชีพ

อาชีพละ 2 กลุ่ม รวมทั้งจังหวัด 16 กลุ่ม

4. ทำการเทียบโอนให้ผู้ด้อยโอกาสทางคุณวุฒิได้ไม่น้อยกว่า 3 สาขาวิชา จำนวนไม่น้อยกว่า 200 คน

5. ร่วมมือกับสถานประกอบการ หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในการผลิตนักศึกษาในรูปแบบ และโอกาสต่าง ๆ ร่วมกันอย่างน้อย 100 แห่ง

จากบันทึกความทรงจำดังกล่าวข้างต้น กระผมจะถือเป็นหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติด้วยความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน อดกลั้น อดออม มีสติ ยึดความพอเพียง คุ้มค่า และการอยู่ร่วมกันโดยสันติของสังคม เพื่อเป็นของขวัญให้พ่อแม่ ผู้บังคับบัญชาและประชาชน เพื่อเป็นรางวัล และทดแทนคุณแผ่นดินให้แก่ชีวิต

1. SWOT การพัฒนาและบริหารคนของวิทยาลัยฯ

จุดเด่น

1. มีพื้นที่น้อย อยู่ในเขตชุมชน

2. บทบาทหน้าที่สอดคล้องความต้องการของสังคม และชุมชน

3. ผู้ใช้บริการมีความหลากหลายทั้งอายุ เพศ วัย และสถานภาพ

4. สถานที่ตั้งเป็นจังหวัด แหล่งท่องเที่ยว

จุดด้อย

1. มีบุคลากรน้อย

2. คุณภาพเฉพาะทางบุคลากรต่ำ

3. สถานภาพบุคลากรไม่มั่นคง เพราะเป็นอัตราจ้างส่วนใหญ่

4. การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาไม่แน่นอน และต่อเนื่อง

5. งบประมาณน้อยไม่แน่นอน และไม่ทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มปีงบประมาณ

6. สังคมขาดคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ

อุปสรรค

1. ไม่ครอบคลุมภารกิจที่รับผิดชอบ

2. ปฏิบัติงานได้ไม่เต็มที่ต้องเรียนรู้เพิ่ม

3. ขาดขวัญ กำลังใจ กังวลกับความมั่นคงอยู่ตลอดเวลา

4. งานไม่ต่อเนื่อง ไม่เป็นแนวทางเดียวกัน

5. ไม่สามารถวางแผนการปฏิบัติงานให้ชัดเจน แน่นอนได้

6. การบริหารจัดการยาก และประสบปัญหาสูงกว่าปกติ

โอกาส

1. พัฒนาสถานที่ได้สะดวก ง่าย

2. สังคม/ชุมชนให้ความสนใจที่จะใช้ประโยชน์สูง

3. การเข้าถึงสังคม/ชุมชนมีมาก

4. มีโอกาสฝึกอาชีพได้หลากหลาย

2. การวิเคราะห์ SWOT ของการพัฒนาและบริหารคนของวิทยาลัยฯ

ปัญหาที่พบ

2.1 การพัฒนา

2.1.1 แนวทางพัฒนาไม่ต่อเนื่อง

2.1.2 การกำหนดบทบาทประเภทสถานศึกษาไม่ชัดเจน

2.1.3 งบประมาณน้อย และไม่ทราบจำนวนที่ชัดเจนแน่นอนล่วงหน้า

วิธีแก้/ทางออก/ กิจกรรม

กำหนดจัดทำแผนให้ชัดเจน ต่อเนื่อง ระยะยาว กำหนดจัดทำแผนให้ชัดเจนต่อเนื่องทั้งระยะยาว และประจำปี

- ประกาศจุดยืน และถือปฏิบัติให้ชัดเจนด้วยความมานะ พยายามและอดทน

- เรียกร้องผู้เกี่ยวข้อง และจัดทำแผนการใช้โดยการคาดคะเน

2.2 การบริหารคน

2.2.1 จำนวนคนน้อย

2.2.2 สถานภาพครูส่วนใหญ่จ้างสอนชั่วคราว ขาดกำลังใจ ออกบ่อย

2.2.3 คุณภาพบุคลากรขาดทักษะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

2.2.4 การขาดคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ

วิธีแก้/ทางออก/ กิจกรรม

- จ้างคนเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มค่าตอบแทน ตามสัดส่วนของงานที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้น

- ทำสัญญา-ข้อตกลงให้ชัดเจน รัดกุมขึ้น และให้โอกาสก่อนเมื่อมีอัตรา/ตำแหน่ง

- สรรหาเพิ่ม/ให้การอบรม และอนุญาตศึกษาดูงานเฉพาะทาง

- กำหนดการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมภิบาล ให้ชัดเจน และมีการประเมินผลต่อเนื่อง

ต่อจาก..บล็อก..บันทึกความทรงจำ ของนายสุพล สวัสดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างกระบี่

3. หัวข้อวิจัยที่สนใจจะทำการศึกษา

"การศึกษารูปแบบที่เหมาะสม ต่อการจัดการศึกษาด้านการโรงแรมและบริการ" งานการบริการอาหารและเครื่องดื่ม ระดับ ปวส. วิทยาลัยสารพัดช่างกระบี่"

โดย สุพล สวัสดี รุ่นที่ 1

[email protected] phone 089-7297444

นายวิษณุ นัคราโรจน์

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เนื่องด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้า

นายวิษณุ นัคราโรจน์ ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม เมื่อวันที่

30 ตุลาคม 2551 นั้น

ข้าพเจ้าจึงขออนุญาตเลื่อนการส่งงานไปเป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2551

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

นายวิษณุ นัคราโรจน์

SWOT วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน

ต.ทองมงคล อ.บางสะพาน

จ.ประจวบคีรีขันธ์

จุดแข็ง

1.บุคลากรมีระดับการศึกษาและอายุใกล้เคียงกัน (วัยหนุ่ม-สาว)

2.บุคลากรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

3.สถานที่น่าอยู่ และมีพื้นที่บริการไม่ซ้ำซ้อนกับสถาบันอาชีวะอื่น ๆ

จุดอ่อน

1.บุคลากรส่วนใหญ่เป็นอัตราจ้างชั่วคราว

2.การทำงานเป็นทีมมีน้อย

3.มองผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง

4.มีประสบการณ์น้อย

5.ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

6.บุคลากรออกบ่อย

โอกาส

1.บุคลากรพร้อมรับการพัฒนา

2.ประชาชน ชุมชน และสถานประกอบการให้ความร่วมมือ

อุปสรรค

1.งบประมาณค่อนข้างจำกัด

2.นโยบายระดับ สอศ. มีมาก และมอบหมายให้ทำมากเกินไป

3.ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศด้อยคุณภาพ

4.ขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ในการพัฒนางาน

5.อาคารสถานที่ขาดการบำรุงรักษา (เสื่อมสภาพ)

การวิเคราะห์ SWOT ของการพัฒนาและการบริหาร “คน”

ขององค์กร “วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน”

การบริหารจัดการ “คน” เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด และบริหารยากที่สุด เพราะเมื่อใดก็แล้วแต่ คนในองค์กรขัดแย้งกัน หรือทำงานกันไม่ได้ องค์กรพัง ในทางกลับกัน ทุกคนในองค์กรสามัคคีกัน ร่วมกันทำสิ่งไม่ดี เช่น รวมหัวกันโกง ทุจริต ก็เป็นเหตุให้องค์กรพังเช่นกัน ดังนั้น การบริหารจัดการคน นอกจากทำให้รักสามัคคีแล้ว จะต้องให้ทุกคนมีจิตร่วมกัน จะปฏิบัติงานในเชิงสร้างสรรค์ เห็นกับความเจริญรุ่งเรืองขององค์กรเป็นที่ตั้ง และช่วยกันรักษาองค์กรไว้ให้ได้ ซึ่งหมายถึง ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของทุกคนในองค์กรด้วย ดังนั้น การจะปฏิบัติงานในองค์กรให้สำเร็จและมีความเจริญก้าวหน้า “คน” จะต้องดำเนินงานตามหลัก PDCA ที่จะนำมาศึกษาและวิเคราะห์ ในการพัฒนาและบริหาร “คน”

1. การวางแผน (Planning)

ปัญหาที่พบ

คนขาดความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการวางแผน ซึ่งสามารถ แยกได้ดังนี้

- การวางแผนการปฏิบัติงานประจำปี / ประจำเดือน / ประจำวัน เช่น การจัดทำแผนการสอน , การจัดทำโครงการเสนอ เป็นต้น

- การวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณเป็นการจัดงบประมาณให้พอเหมาะ พอดี เหมาะสมกับงบประมาณที่ได้รับโดยสนับสนุนภาระงานตามผลผลิตที่ตั้งเป้าหมายไว้

- การวางแผนการจัดการ “คน” ให้เหมาะสมกับงานและความสามารถ โดยยึดโครงสร้างการบริหารขององค์กรเป็นตัวตั้งพร้อมมอบหมายภาระหน้าที่ให้ชัดเจน

วิธีการแก้ไขปัญหา

1. จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่อง ต่าง ๆ เช่น

- การเขียนแผนการสอนฐานสมรรถนะ

- การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

- การเขียนโครงการ

- ฯลฯ

2. ชี้แจงทำความเข้าใจกับบุคลากรให้ทราบถึงการได้มาของงบประมาณและวิธีการใช้จ่ายงบประมาณให้ตรงกับเป้าหมายและผลผลิต โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณ

3. จัดโครงสร้างภายในองค์กรให้ชัดเจนพร้อมภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบ

4. ให้บุคลากรทุกคนเสนอความต้องการในการที่จะปฏิบัติงานตามโครงสร้างที่กำหนดไว้ตามความรู้ความสามารถ และในแต่ละภาคเรียนให้ทุกคนสรุปผลการปฏิบัติงาน

5. จัดระบบการนิเทศ ติดตาม พร้อมที่จะปรับปรุงได้ตลอดเวลา เพื่อประสิทธิภาพของงาน

กิจกรรมข้อเสนอแนะ

1. จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่บุคลากร ทุกคน

2. จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน

3. ประชุมชี้แจง สร้างความเข้าใจร่วมกัน

4. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน

5. จัดโครงการให้ทุกคนเสนอแนะแสดงความคิดเห็น และนำข้อเสนอแนะที่ผ่านการพิจารณา มาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม และจัดรางวัลให้ตามความเหมาะสม

6. ติดตามและประเมินผลโดยสำรวจความพึงพอใจ ของการปฏิบัติทุกระดับ ทุกงาน ให้ทุกคนทราบทุก ๆ ภาคเรียน

2. การลงมือปฏิบัติงาน (Doing)

ปัญหาที่พบ

- ขาดทักษะ

- ขาดการประสานงาน

- สื่อสารไม่เข้าใจ

- ขาดการทำงานเป็นทีม

- ขาดการประชาสัมพันธ์

- ข้อมูลไม่สมบูรณ์

วิธีการแก้ไขปัญหา

- เพิ่มทักษะโดยการพัฒนาองค์ความรู้ให้สามารถปฏิบัติงานได้ ในหน้าที่ที่รับผิดชอบ เช่น ส่งไปอบรม, ไปศึกษาต่อในสาขาที่ขาดแคลน ฯลฯ

- ชี้แจง ทำความเข้าใจตลอดเวลาที่มีการปฏิบัติงาน ให้ความเอาใจใส่ต่อทุก ๆ คนที่ปฏิบัติงาน มอบหมายหน้าที่เป็นกรณีพิเศษ สร้างแรงจูงใจ เสริมแรงให้ทุกคนเห็นเป้าหมายของงานร่วมกัน ให้ทุกคนเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จร่วมกัน ให้ทุกคนสามารถชี้แจงและอธิบายผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ ทุกคนร่วมกันค้นหาวิธีการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพร่วมกัน

- สร้างองค์กรประชาธิปไตย ยึดหลักธรรมาภิบาล ปฏิบัติดี ได้รับคำยกย่องชมเชย ปฏิบัติผิดพลาด ได้รับการปลอบขวัญ ให้สามารถแก้ไขใหม่ได้ ไม่ซ้ำเติม

กิจกรรมข้อเสนอแนะ

- มีแผนการฝึกอบรมให้กับทุกคนตลอดปีการศึกษา ตามภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบ

- การจัดทำ OD

- การจัดกิจกรรมทัศนศึกษา ดูงาน

- การจัดกิจกรรม ค่ายคุณธรรม จริยธรรม

- การวิจัย “ความพึงพอใจการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกคนในองค์กร

- การชี้แจงข้อมูลข่าวสาร โดยวิธีการต่าง ๆ ให้ทุกคนได้รับทราบอย่างทั่วถึงและทันเวลา

- การบริหารจัดการข้อมูลให้ ทันสมัย

3. การตรวจสอบ (Checking)

ปัญหาที่พบ

- ขาดการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน

- ขาดความรู้ในเรื่องการนิเทศงาน เช่น การนิเทศการสอนของครู , การนิเทศการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษา , ฯลฯ

- ขาดการรายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่

- ไม่เข้าใจวิธีการรายงาน

- ไม่มีรูปแบบการรายงานที่ชัดเจน

วิธีการแก้ไขปัญหา

- ให้ความรู้เรื่องการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน รูปแบบการรายงาน , วิธีการรายงานและผลประโยชน์ที่เกิดจากการรายงานผล ต้องให้ความเข้าใจให้ชัดเจน

- จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติงานให้ชัดเจน

- จัดทำมาตรฐานของงานในหน้าที่ เป็นข้อ ๆ และรูปแบบการประเมินชัดเจน ให้บุคลากรทราบ จะได้จัดทำรายละเอียดการปฏิบัติงานได้ตรงเป้าหมาย

- ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกภาคเรียน ด้วยความเป็นธรรมและทุกคนสามารถยอมรับได้ในหลักเกณฑ์และวิธีการที่นำมาใช้

กิจกรรมข้อเสนอแนะ

- จัดการฝึกอบรมในเรื่องการนิเทศ ติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรทุกคน

- จัดทำตารางการนิเทศและติดตามผล และปฏิบัติการนิเทศอย่างสม่ำเสมอและตรงตามระยะเวลาทุกครั้ง

- สนับสนุนจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุให้พร้อมกับทุกงาน ทุกฝ่าย ที่ใช้ประกอบการทำรายงานผลการปฏิบัติงาน

- มีคลังข้อมูลให้ทุกคนสามารถแชร์เข้าสืบค้นได้อย่างคล่องตัว ไม่ปิดบังอำพราง สามารถนำข้อมูลที่วิเคราะห์มาใช้อ้างอิงได้ทันที

4. นำผลการประเมินมาปรับปรุง (Acting)

ปัญหาที่พบ

- วิธีการปรับปรุงการปฏิบัติงานของบุคลากรในระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว ตรงนี้จะขาดมาก ไม่ค่อยได้นำข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ ทั้งปรับปรุงงานได้ดีกว่าเก่าได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่เป็นงานประจำแบบเดิม ตลอดปีการศึกษา

- วางแผนการดำเนินงานในระยะยาว ตั้งเป้าหมายในอนาคตว่าจะให้องค์กรนั้นมีหน้าตาอย่างไร ดีกว่าปัจจุบัน ระดับไหน ตรงนี้ส่วนใหญ่จะตั้งวิสัยทัศน์ไว้ แต่ไม่ค่อยได้ทบทวน

วิธีการแก้ไขปัญหา

- จัดให้ทุกงานทำการประเมินผลด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อค้นหาความพึงพอใจ ความเหมาะสม และความสำเร็จในการปฏิบัติงานแต่ละภาคเรียน แต่ละโครงการ แต่ละกิจกรรม และนำผลมาชี้แจง ประชุม หาความภาคภูมิใจร่วมกัน หรือหาแนวทางแก้ไขในการปฏิบัติครั้งต่อไป

- จัดทำวิสัยทัศน์ ร่วมกันทั้งหมดภายในองค์กร โดยสามารถปรับปรุงได้ตลอดทุก ๆ ปี ตามสถานะการณ์ ไม่ยึดติด แต่สามารถยืดหยุ่นได้

กิจกรรมข้อเสนอแนะ

- จัดกิจกรรม สร้างความเข้าใจและสร้างความตระหนัก รับผิดชอบร่วมกันของทุกคนในองค์กร เช่น การทำ OD เป็นต้น

- จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคีภายในองค์กรในโอกาส ต่าง ๆ เช่น งานวันขึ้นปีใหม่ , งานวันผู้สูงอายุ , งานวันเกิดขององค์กร เป็นต้น

- สร้างวัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานร่วมกันในการปฏิบัติงาน

หัวข้อวิจัย “กระบวนการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในการบริหารวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ประจำปีการศึกษา 2551”

นายสุรินทร์ นวลรอด

ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน

[email protected]

การวิเคราะห์ SWOT ของการพัฒนาและการบริหาร “คน”

ขององค์กร “วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์(ลาดขวาง)

จุดเด่น(s)

1.บุคลากรมีวุฒิ และประสบการณ์การทำงานสูง

2.ให้การยอมรับในทีมบริหารวิทยาลัย

3.มีความรับผิดชอบตั้งใจทำงานดี

4.มีความรักในองค์กร

5.เป็นบุคคลในท้องถิ่นมีความใกล้ชิดกับชุมชน

จุดด้อย(w)

1.ขาดความเป็นนักวิชาการ

2.ขาดทักษะในการทำงานเป็นทีม

3.ขาดความชำนาญในการทำวิจัย

โอกาส(O)

1. แนวนโยบาย สอศ. สนับสนุนการพัฒนาบุคลากร

2.การส่งเสริมในการทำงานเป็นทีม

3.การสนับสนุนการทำผลงานทางวิชาการ การวิจัยและพัฒนา

อุปสรรค(T)

1.บุคลากรมีภาระงานค่อนข้างมาก ทั้งงานการสอนและหน้าที่พิเศษ

2.งบประมาณในด้านการพัฒนาบุคลากรค่อนข้างน้อย

ปัญหาที่พบ

1. การทำงานร่วมกันเป็นทีม

วิธีการแก้ปัญหา

1. มีการประชุม ชี้แจง มอบหมายงาน

2. กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ร่วมกัน

3. มีการติดตามงานอย่างต่อเนื่องสมำเสมอ

หัวข้อวิจัย

การสร้างทีมงานคุณภาพเพื่อการพัฒนาสถานศึกษาอย่างยั้งยืน

นางอรัญญา กิมภิระ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการพัฒนาและบริหารองค์กรในการพัฒนา “คน”

วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง

Strengths จุดแข็ง

1. มีการจัดทำแผนงาน/โครงการ พัฒนาบุคลากร

2. บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา

3. บุคลากรส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่

4. บุคลากรอยู่ในวัยทำงาน มีประสบการณ์และความชำนาญด้านทักษะวิชาชีพ

5. บุคลากรมีความรู้ความสามารถตรงกับงานที่ได้รับมอบหมาย มีคุณวุฒิตรงตามสาขาที่สอน

Weaknesses จุดอ่อน

1. ผู้บริหารมีภาระงานในส่วนกลาง นอกเหนือจากงานบริหารสถานศึกษา

2. การขัดแย้งกันระหว่างบุคลากรซึ่งปฏิบัติงานสอนต่างหลักสูตรกัน แนวทางปฏิบัติและผลประโยชน์แตกต่างกัน

3. ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และวิเคราะห์งาน

4. บุคลากรมีภาระงานมากทั้งการสอนและหน้าที่พิเศษ

5. บุคลากรบางส่วนขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน

6. บุคลากรขาดทักษะการเป็นนักวิชาการ และการวิจัย

7. ขาดการนิเทศ กำกับ ติดตาม ผลการปฏิบัติงานให้ครบวงจรทั้งระบบ

Opportunities โอกาส

1. มีเครือข่ายชุมชน องค์กรภายนอก ให้ความร่วมมือในการพัฒนาและบริหาร

2. มีแผนการพัฒนาระบบสารสนเทศ ICT ให้องค์ความรู้หลากหลายในการพัฒนาบุคลากร

3. นโยบายของต้นสังกัดสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร

Threats อุปสรรค

1. สถานศึกษามีสาขาอยู่อีกแห่งในอำเภอแม่เมาะซึ่ง ห่างไกลชุมชนและตัวจังหวัด ทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณและเวลาในการเดินทาง ประสานงาน บริหารจัดการ

2. การทำงานสองแห่งซึ่งมีบริบทในการบริหารจัดการแตกต่างกันเกณฑ์การปฏิบัติไม่ชัดเจน

แนวทางการแก้ไขปัญหา

1.ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำสูง สร้างความผูกพัน สร้างคุณธรรมในการทำงาน สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศในการทำงานที่เหมาะสมโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม

2. พัฒนาบุคลากรโดยการให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างภาวะผู้นำ สร้างความร่วมมือ รักองค์กร สร้าง

ความตระหนักในบทบาทภารกิจใหม่ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร

หัวข้องานวิจัย

การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการอาชีวศึกษา โดยการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

เรียน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพ

ดิฉันขอขอบพระคุณที่อาจารย์ให้ความรู้แก่พวกเรา และได้แรงบันดาลใจในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัย

ดิฉันได้เริ่มโครงการแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2551 โดยพัฒนาบุคลากรในวิทยาลัย 41 คน ชื่อโครงการฝึกอบรมการเขียนแผนการสอนฐานสมรรถนะและการวิจัย ใช้เวลาดำเนินการ ระหว่าง เดือนตุลาคม 2551 ถึง เดือนสิงหาคม 2552 รวม 11 เดือน ฝึกอบรมและประเมินผล 5 ครั้ง จำนวนวัน 5 วัน, 2 วัน, 5 วัน, 2 วัน และ 5 วัน (ขออนุญาตใช้รูปแบบของอาจารย์ค่ะ) คณะวิทยากร 3 – 6 ท่าน

ผลการดำเนินงานช่วงที่ 1 จะนำเสนออาจารย์ในการอบรมกับอาจารย์ครั้งต่อไปค่ะ

ขอแสดงความนับถือ

นางเพิ่มสุข นิติสิงห์

นายวรรโณ นาคเพชรพูล (วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช)

การวิเคราะห์ SWOT การพัฒนาและบริหารบุคลากรวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช

จุดแข็ง (Strengths)

1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตัวของบุคลากรทางด้านวิชาชีพมีคุณภาพและศักยภาพสูง

2. บุคลากรมีความสนใจใฝ่รู้ในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

3. บุคลากรส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องถิ่นของตนเอง

จุดอ่อน (Weaknesses)

1. บุคลากรมีความเชื่อมั่นในตนเองในแต่ละสาขาวิชาชีพสูง

เกินไป ทำให้ขาดการบูรณาการด้านวิชาชีพซึ่งกันและกัน

2. บุคลากรอัตราจ้างขาดแรงจูงใจในการทำงาน

3. ครูขาดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ

4. บุคลากรขาดความมุ่งมั่น ตระหนักในหน้าที่

โอกาส (Opportunity)

1. บุคลากรเป็นที่ยอมรับของชุมชนในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น

ด้านศิลปกรรม

2. บุคลากรมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนท้องถิ่น

3. บุคลากรเป็นที่ยอมรับของชุมชนและหน่วยงานทั้งภาครัฐ

และเอกชน ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับ

ตนเองและองค์กร

อุปสรรค (Threats)

1. การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการและพัฒนา

บุคลากรขาดความต่อเนื่อง

2. บุคลากรบางส่วนขาดการนำประสบการณ์การศึกษาดูงาน

อบรมสัมมนา มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

3. บุคลากรบางส่วนยอมรับการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า

4. ขาดแคลนครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา

แนวทางแก้ไข

1. สร้างแรงจูงใจในการทำงาน จัดศึกษาดูงาน อบรม

สัมมนาทั้งในและนอกสถานที่ เพื่อก่อให้เกิดการมี

ส่วนร่วมคิด ร่วมทำของบุคลากร

2. ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน สร้างความ

ตระหนัก แรงจูงใจโดยการให้รางวัล

3. จัดทำโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการ

อาชีวศึกษา สร้างคนดี คนเก่งสู่ความเป็นเลิศ

หัวข้อวิจัย

การศึกษาความต้องการพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช

ข้อ 1 การศึกษาและจัดทำ SWOT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกำลังคน

วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี อาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี

โดย : นายประสิทธิ์ สิทธิวิบูลย์ชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี

********************************

1. การวิเคราะห์จุดแข็ง (streng) บุคลากร วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี

ครูและบุคลากร - มีวุฒิการศึกษาตรงกับสาขาวิชาชีพที่สอน และหลากหลาย

- มีทักษะประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน

- มีเจตคติที่ดีในการทำงานเพื่อพัฒนาองค์กร

2. การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weak) บุคลากรวิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี

ครูและบุคลากร - มีภาระงานการสอนมาก

- กิจกรรมเสริมหลักสูตรมีมาก

- ขาดทักษะในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ พัฒนาการจัดการเรียนการสอน

- ขาดทักษะในการจัดทำสื่อการสอน CAI และ E - learning

- ใช้เทคนิควิธีการสอนแบบดั้งเดิม

- ครูอัตราจ้างเปลี่ยนงาน ทำให้กระทบต่อการจัดการเรียนการสอน

ของแผนก

3. การวิเคราะห์โอกาส (opportunity) ของบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี

ครูและบุคลากร - บุคลากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาว มีแรงจูงใจในตัวเองสูง

- บุคลากรมีความกระตือรือล้นในการพัฒนาตนเอง

- สอศ. มีนโยบายการพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจน

4. การวิเคราะห์อุปสรรค (treat) ของบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี

- เวลาที่ใช้ในการจัดประชุมสัมมนา ไม่ตรงกับความพร้อมของบุคลากร

- บุคลากรส่วนใหญ่พัฒนาตนเอง ด้วยการเรียนต่อในวันเสาร์ - อาทิตย์

ข้อ 2. หัวข้อวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร

********************************

1. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของผู้สำเร็จการศึกษา ปวช. และ ปวส. ที่ศึกษาต่อ และมีงานทำประจำปีการศึกษา 2549 – 2551 เพื่อการพัฒนาบุคลากร

2. สำรวจความต้องการในการพัฒนาตนเองของครู และบุคลากรทางการศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี ตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

3. การประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี

ประจำปีการศึกษา 2550

นายอุดร เห็นชอบดี

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอนำส่งแบบทดสอบที่ท่านมอบหมายให้ดำเนินการ

1. การวิเคราะห์ SWOT ของการพัฒนาและการบริหาร “คน” ของวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด

นายอุดร เห็นชอบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด

จุดแข็ง (Strengths : S)

- ทีมบริหาร มีประสบการณ์ในการทำงานและบริหารงานเป็นทีมเดียวกัน

- บุคลากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพในการทำงาน

- มีการจัดสรรงบประมาณจัดซื้อวัสดุอย่างทั่วถึงและครบทุกภาคเรียนตามจำนวน งบประมาณที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน

- มีความร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการเรียนการสอนร่วมกันอย่างชัดเจน

- นำรูปแบบการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาบุคลากร

- มีการจัดทำแผนงานและโครงการพัฒนาบุคลากร

จุดอ่อน (Weaknesses : W)

- บุคลากรขาดทักษะในการทำงานเป็นทีม

- บุคลากรขาดความเข้าใจในระบบการทำงาน รอรับคำสั่งขาดกระบวนการคิดที่สร้างสรรค์

- บุคลากรขาดความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย

- การใช้บุคลากรซ้ำซ้อนหลายงานทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

- บุคลากรขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองและพัฒนางาน

- บุคลากรยังขาดความเป็นจิตอาสามองเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม

- บุคลากรบางส่วนยังมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

- บุคลากรขาดการฝึกอบรมสัมมนาในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านวิชาชีพอย่างทั่วถึง

โอกาส (Opportunities : O)

- สร้างกระบวนการทำงานในเชิงระบบ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

- ส่งเสริมให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ

- สถานประกอบการ สังคม ชุมชนให้การยอมรับ เชื่อมั่น เชื่อถือและให้ความร่วมมือ

- มีเครือข่ายสถานประกอบการให้ความร่วมมือในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน

- บริหารงานภายใต้ความขัดแย้งและปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์

- พัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำของบุคลากรในองค์กร

- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้เปิดโอกาสและสนับสนุนให้บุคลากรศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

- สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรที่เป็นงบประมาณ บุคคล วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องจักรสนับสนุนการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

- สถานประกอบการให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานศึกษาและสนับสนุนการรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน

อุปสรรค (Threats : T)

- นโยบายการพัฒนาบุคลากรของส่วนกลางไม่ชัดเจนและไม่ต่อเนื่อง

- รัฐบาลเปลี่ยนแปลงบ่อย ขาดงบประมาณสนับสนุนจากส่วนกลาง

- งบประมาณสนับสนุนค่อนข้างจำกัด

แนวการแก้ไข

- ส่งเสริมให้ครูผู้สอนและนักศึกษาเห็นคุณค่าและตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาสถานศึกษา

- ส่งเสริมให้ครูผู้สอนพัฒนาการจัดทำสื่อการสอนขึ้นใช้เอง

- มีการติดตามและประเมินผลในงานที่มอบหมายให้บรรลุตามวัตถุประสงค์สูงสุด

- การวางแผนการใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

- ปลูกจิตสำนึกให้มีความสามัคคีและการทำงานเป็นทีมเห็นคุณค่าการพัฒนาองค์กร

- การพัฒนารูปแบบการสื่อสารภายในองค์กร

- สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

- ส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักถึงคำว่า เรา มากกว่าตัวเราเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายร่วมกัน

ข้อเสนอแนะ

- จัดหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้ทุกคนในองค์กรได้เข้าถึงข้อมูลอย่างทั่วถึง

- ส่งเสริมให้รักที่จะทำงานมากกว่าที่จะทำงานตามหน้าที่และสร้างจิตสำนึกให้มีความรักต่อองค์กร

- พัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization) โดยเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน

- ปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในองค์กร สร้างองค์กรใหม่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และทุกคนในองค์กรมีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและเรียนรู้เป็นทีม

2. หัวข้อวิจัยที่สนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในองค์กรและอาชีวศึกษาในอนาคต

เรื่อง การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) : กรณีวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด

นายสุโข แก้วบุญเรือน

SWOT การพัฒนาและบริหารคน

ของวิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง

Strength

1. มีการบริหารงานโดยให้บุคลากรทุกคนได้รับรู้และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ

2. ดำเนินการส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาตนเอง

3. ดำเนินการจัดสวัสดิการค่าตอบแทนและที่พักอาศัยให้ตามสมควร

4. บุคลากรส่วนใหญ่มีความพร้อมในการร่วมมือในการทำงาน

Weakness

1. บุคลากรร้อยละ 80 เป็นอัตราจ้างทำให้ไม่มีความมั่นคงในชีวิต

2. มีการเปลี่ยนบุคลากรทุก ๆ ภาคเรียนทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง

3. บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาจนมีความชำนาญแล้วจะลาออกไปทำงานที่อื่นที่มีความมั่นคงกว่า

4. บุคลากรที่รับเข้ามาทำงานใหม่จะต้องเริ่มการพัฒนาใหม่เสมอ

Opportunity

1. มีผู้จบการศึกษาใหม่พร้อมที่จะมาร่วมงาน

2. ชุมชนภายนอกพร้อมให้ความร่วมมือกับการดำเนินงานของวิทยาลัย

Threat

1. ไม่มีการเพิ่มจำนวนข้าราชการในสถานศึกษา

2. การสนับสนุนงบประมาณด้านบุคลากรจาก สอศ ไม่เพียงพอ

3. หน่วยงานอื่น เช่น สพฐ มีการสอบบรรจุข้าราชการทำให้ครูสามัญและครูวิชาชีพบางสาขาไปสอบบรรจุได้และลาออกไป

กิจกรรม ที่คาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาด้านคน ของวิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง

1. จัดกิจกรรมที่สามารถสร้างความสามัคคีและรักองค์กร เช่น กีฬาภายใน สังสรรค์เนื่องในโอกาสต่าง ๆ กิจกรรมทัศนศึกษาร่วมกัน

2. จัดโครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ เช่น สถานศึกษาอื่น ที่มีความเด่นในด้านต่าง ๆ สถานประกอบการ

3. จัดส่งบุคลากรเข้ารับการพัฒนาในสาขางานที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบการ สถาบันการศึกษา

4. จัดวิทยากรมาให้ความรู้เพิ่มเติม

5. ขออัตรากำลังข้าราชการเพิ่มขึ้น จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

6. จัดสรรงบประมาณค่าตอบแทนพิเศษให้เพียงพอ

หัวข้องานวิจัย

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาสู่มาตรฐานการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง

นายสุโข แก้วบุญเรือน

ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง

12 พฤศจิกายน 2551

นายไพรัช   วิมาลา       ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน

 

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการพัฒนาและบริหารองค์กรในการพัฒนา คน

วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน

 

Strengths  จุดแข็ง

1.  มีการจัดทำแผนงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร

2.  บุคลากรมีคุณวุฒิตรงตามสาขาที่สอน

3.  บุคลากรส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่

4.  มีการบริหารงานบุคลากรที่ดี สามารถประสานการปฏิบัติงานได้และทำงานเป็นทีม

5.  บุคลากรมีความรู้ความสามารถตรงกับงานที่ได้รับมอบหมาย

6. บุคลากรมีความรัก ความสามัคคี มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้เกียรติผู้อาวุโส

 

Weaknesses  จุดอ่อน

1.  บุคลากรมีภาระงานมากทั้งการสอนและหน้าที่พิเศษ

2.  อัตรากำลังข้าราชการและพนักงานราชการน้อย ต้องใช้งบประมาณจ้างบุคลากรเพิ่มมากเป็นผลให้กระทบงบประมาณในการพัฒนาสถานศึกษา

3.  บุคลากรขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และวิเคราะห์งาน

4.  การนิเทศ กำกับ ติดตาม ผลการปฏิบัติงาน ยังไม่เป็นระบบ

5. บุคลากร มีประสบการณ์และความชำนาญด้านทักษะวิชาชีพน้อย

 

Opportunities  โอกาส

1.  เป็นสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาแห่งเดียวในตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน

2.  พัฒนาบุคลากรโดยกำหนดแผนการพัฒนาระบบสารสนเทศ ICT  ให้เกิดองค์ความรู้หลากหลาย

3.  นโยบายของต้นสังกัดสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร

 

Threats  อุปสรรค

1.  อัตรากำลังข้าราชการและพนักงานราชการน้อยบุคลากรบางส่วนขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน เนื่องจากโอกาสบรรจุเป็นข้าราชการประจำน้อย

2. จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีภูมิประเทศ ที่ตั้งห่างไกลค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง มีความเสี่ยงภัยทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงานสำหรับคนต่างถิ่น

 

 

แนวทางการแก้ไขปัญหา

                1. พัฒนาบุคลากรโดยการให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างความร่วมมือ รักองค์กร สร้างขวัญและกำลังใจ จัดสวัสดิการให้บุคลากร

2. จัดทำโครงการสร้างเสริมประสบการณ์และความชำนาญด้านทักษะวิชาชีพเพิ่มขึ้น

 

หัวข้องานวิจัย

                การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน

ว่าที่ร้อยตรีณรงค์ เกษตรภิบาล วิทยาลัยเทคนิคระยอง

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม(SWOT Analysis)

ของวิทยาลัยเทคนิคระยอง จังหวัดระยอง

Strengths  จุดแข็ง

1.  ได้รับรางวัลสถานศึกษารางวัลพระราชทานประจำปีการศึกษา 2550

2.  ผู้นำมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่ชัดเจน

3.  มีการจัดการเรียนการสอนเป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการ

4.  มีแผนการดำเนินงาน โครงการ งบประมาณเพียงพอและโปร่งใส ตรวจสอบได้

5.  มีความมั่นคงทางการเงิน

6.  จำนวนบุคลากรเพียงพอต่อการพัฒนาและมีความรู้ความสามารถด้านวิชาชีพ

7.  บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

8.  บุคลากรมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน

9.  มีอาคารเรียน สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก พร้อมต่อการพัฒนาและการบริหาร

10. บรรยากาศสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาสวยงามเป็นระเบียบ

11. มีผลงานความภาคภูมิใจ เช่น รางวัลสิ่งประดิษฐ์ รางวัลนักขายดีเด่น

Weaknesses  จุดอ่อน

1.  บุคลากรสายการสอนมีชั่วโมงการสอนมาก

2.  บุคลากรสายสนับสนุนมีน้อย

3.  ครูมีการพัฒนาตนเองน้อยเพราะมีชั่วโมงสอนมาก

4.  ครูมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่ดีเท่าที่ควร

5.  ครูให้ความร่วมมือในการติดตามผลการเรียนของนักเรียน นักศึกษาไม่ดีเท่าที่ควร

6.  ครูมีทักษะในการสื่อสารด้านภาษาต่างประเทศไม่ดีเท่าที่ควร

7.  การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึงเนื่องจากเป็นองค์กรขนาดใหญ่

8.  ครุภัณฑ์ที่มีอยู่มีอายุการใช้งานนานเกิน 10 ปี ไม่มีประสิทธิภาพ

9.  นักเรียน นักศึกษา ขาดวินัยในตนเอง

Opportunities  โอกาส

1.  สมศ. ให้การรับรองคุณภาพการศึกษา

2.  ชุมชน สถานประกอบการ ผู้ปกครอง หน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุน การจัดการศึกษา อุปกรณ์ อาคารสถานที่

3.  สถานประกอบการให้ความร่วมมือรับนักเรียน นักศึกษาเข้าทำงานและฝึกงานอย่างต่อเนื่อง

4.  หน่วยงานต้นสังกัดให้การยอมรับ ไว้วางใจ ให้จัดกิจกรรมตามนโยบายระดับภาคและระดับชาติ

Threats  อุปสรรค

1.  ผู้ปกครองส่วนน้อยไม่ให้ความร่วมมือในการดูแล นักเรียน นักศึกษา

2.  ที่อยู่ของผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา ไม่แน่นอนทำให้ขาดการติดต่อ

3.  สื่อและสถานที่ล่อแหลมอยู่ใกล้สถานศึกษา

4.  สื่อมวลชนท้องถิ่นเห็นความสำคัญต่อสถานศึกษาในระดับปานกลาง

นายกมล ชุ่มเจริญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย

จุดแข็ง (S)

1. บุคลากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานซึ่งมีความพร้อมที่จะทำงาน

2. ผู้บริหารให้การส่งเสริมสนับสนุนการทำงาน

3. บุคลากรมีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในงานที่รับผิดชอบ

4. มีเทคโนโลยีที่เพียงพอและทันสมัย

5. มีงบประมาณสนับสนุนในการทำงาน

6. บุคลากรส่วนใหญ่มีความสามารถในการใช้ IT ขั้นพื้นฐาน และมีความพร้อมที่จะพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น

7. เป็นองค์กรขนาดกลาง พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง

จุดอ่อน (W)

1. การกระจายความรับผิดชอบการทำงานไม่ทั่วถึง เช่น บางคนมีภาระงานมาก แต่ในขณะที่บางคนไม่มี

2. การรับบุคลากรที่มีคุณวุฒิไม่ตรงกับงาน

3. ขาดการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึงภายในหน่วยงาน

4. บุคลากรมีโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้อย

5. การพัฒนาบุคลากรไม่สอดคล้องกับภาระงานและความรู้ความสามารถ

6. มีเทคโนโลยีที่เพียงพอ แต่ไม่กระจายอย่างทั่วถึง

7. ไม่มีกระบวนการในการถ่ายทอดความรู้จากผู้มีประสบการณ์

8. บุคลากรฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนไม่เพียงพอและขาดประสบการณ์

9. บุคลากรขาดความพร้อมในการเรียนรู้งานในหน้าที่

10. บุคลากรบางส่วนมีขีดสมรรถนะต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมกับงาน

โอกาส (O)

1. วิทยาลัย ฯ จัดการศึกษาระบบอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี นักเรียน นักศึกษา จึงออกฝึกงานที่สถานประกอบการ ทำให้ไม่สิ้นเปลืองวัสดุฝึก และสามารถนำงบประมาณมาบริหารจัดการในส่วนอื่น ๆ ได้

2. มีการบริหารการใช้ทรัพยากรบุคคลร่วมกับสถานประกอบการ

3. ผู้บริหารมีความสามารถในการหางบประมาณจากหน่วยงานภายนอกเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการภายในวิทยาลัย ฯ

4. ชุมชนให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

5. สถานที่ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมและชุมชนที่มีความต้องการกำลังคนสูง

อุปสรรค (T)

1. ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการนิเทศนักศึกษาฝึกงาน เมื่อเกิดปัญหาจึงทำให้สถานประกอบการบางแห่งงดรับนักศึกษาในปีต่อไป

2. งบประมาณในส่วนของการจ้างบุคลากรไม่เพียงพอ

หัวข้อวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่ายและอาชีวศึกษาในอนาคต

งานวิจัยเรื่อง ปัญหา สาเหตุ และแนวทางการบริหารระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย

ว่าที่พันตรี วาฑิต พิมพะนิตย์

ผลการวิเคราะห์ SWOT และวิธีการแก้ไขในการพัฒนาและการบริหาร "คน"
ของวิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคาม
จุดแข็ง(Strength : S) จุดอ่อน(Weakness : W) โอกาส(Treat : T) อุปสรรค(Opportunity : O) วิธีแก้ไข ข้อเสนอแนะ
1. ด้านบุคลากร
1.1 ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกลและใช้ยุทธศาสตร์การบริหารงานเชิงรุกแนวใหม่ทันเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงตามนโยบาย
1.2 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถด้านวิชาการที่หลากหลาย
1.3 บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
1.4 บุคลากรมีความสามัคคี
1.5 ครูมีวุฒิการศึกษาตรงตามสาขาที่เปิดสอน
1.6 บุคลากรมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ผลสัมฤทธิ์ของงาน
1.7 แต่ละแผนก ฯ ให้ลงนามความร่วมมือ การปฏิบัติงานกับสถานศึกษา 1.1 ข้าราชการมีจำนวนน้อย
1.2 ครูมีภาระหน้าที่มาก
1.3 บุคลากรมีการเปลี่ยนแปลงงานบ่อย
1.4 บุคลากรส่วนใหญ่ขาดทักษะด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย

 

1.1 ผู้บริหารส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองในเรื่องการทำงาน เช่น การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น การอบรม สัมมนา ในสถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ
1.2 สถานศึกษามีนโยบายที่เปิดกว้าง เอื้อประโยชน์แก่บุคลากร และนักเรียนนักศึกษา ในการเรียน หลักโรงเรียน - โรงงาน

 

1.1 นักศึกษาที่มาจากต่าง อำเภอ สถานศึกษาไม่มีที่พักอาศัยให้
1.2 หอพักห่างจากสถานศึกษา ทำให้ดูแลนักศึกษาได้ ไม่ทั่วถึง

1.1 เปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีการพัฒนา เพิ่มศักยภาพ โดยการฝึกอบรม และสัมมนา และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
1.2 จัดที่พักอาศัยให้กับบุคลากร 1.1 ควรจัดแหล่งเรียนรู้ให้หลากหลาย เพื่อบุคลากรจะได้ข้อมูลและสารสนเทศอย่างทั่วถึง

ข้อ 2 หัวข้อวิจัย : การพัฒนาการดำเนินงานของฝ่ายบริหารของวิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคาม เกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม

ว่าที่พันตรี วาฑิต พิมพะนิตย์

ผลการวิเคราะห์ SWOT และวิธีการแก้ไขในการพัฒนาและการบริหาร "คน"

ของวิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคาม

จุดแข็ง(Strength : S)

จุดอ่อน(Weakness : W)

โอกาส(Treat : T)

อุปสรรค(Opportunity : O)

วิธีแก้ไข

ข้อเสนอแนะ

1. ด้านบุคลากร

1.1  ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกลและใช้ยุทธศาสตร์การบริหารงานเชิงรุกแนวใหม่ทันเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงตามนโยบาย

1.2 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถด้านวิชาการที่หลากหลาย

1.3  บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร

1.4  บุคลากรมีความสามัคคี

1.5  ครูมีวุฒิการศึกษาตรงตามสาขาที่เปิดสอน

1.6  บุคลากรมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ผลสัมฤทธิ์ของงาน

1.7  แต่ละแผนก ฯ ให้ลงนามความร่วมมือ การปฏิบัติงานกับสถานศึกษา

1.1  ข้าราชการมีจำนวนน้อย

1.2   ครูมีภาระหน้าที่มาก

1.3  บุคลากรมีการเปลี่ยนแปลงงานบ่อย

1.4  บุคลากรส่วนใหญ่ขาดทักษะด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย

 

 

 

 

1.1  ผู้บริหารส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองในเรื่องการทำงาน  เช่น  การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น  การอบรม สัมมนา ในสถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ

1.2   สถานศึกษามีนโยบายที่เปิดกว้าง เอื้อประโยชน์แก่บุคลากร และนักเรียนนักศึกษา ในการเรียน หลักโรงเรียน - โรงงาน

 

 

 

 

 1.1   นักศึกษาที่มาจากต่าง อำเภอ สถานศึกษาไม่มีที่พักอาศัยให้

1.2  หอพักห่างจากสถานศึกษา  ทำให้ดูแลนักศึกษาได้ ไม่ทั่วถึง

 

 

1.1  เปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีการพัฒนา เพิ่มศักยภาพ โดยการฝึกอบรม และสัมมนา  และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

1.2  จัดที่พักอาศัยให้กับบุคลากร

1.1 ควรจัดแหล่งเรียนรู้ให้หลากหลาย  เพื่อบุคลากรจะได้ข้อมูลและสารสนเทศอย่างทั่วถึง

 

ข้อ 2  หัวข้อวิจัย : การพัฒนาการดำเนินงานของฝ่ายบริหารของวิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคาม  เกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม

ว่าที่พันตรี วาฑิต พิมพะนิตย์

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

                เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่  กระผมในฐานะลูกศิษย์ของท่านอาจารย์คนหนึ่ง  ขอกราบอาราธนาอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย  และสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลายในสากลโลก 

ขอจงดลบันดาลให้ท่านอาจารย์ ตลอดจนครอบครัวมีแต่ความสุขทุกทิวาราตรี  และเป็นที่พึ่งของเราชาวอาชีวศึกษาตลอดกาล

 

                                                                                                ด้วยความเคารพ 

                                                                                    ว่าที่พันตรี วาฑิต  พิมพะนิตย์

                                                                        ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคาม

ว่าที่พันตรี วาฑิต พิมพะนิตย์

 

ม้วนแนวนอน: ส่งงาน โครงการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการอาชีวศึกษายุคใหม่  ระยะที่  3 รุ่นที่  1  :  วันที่  17 - 19  ธันวาคม  2551  

  วันแรก     (วันที่  17  ธันวาคม  2551) :

                -  ได้ทราบแนวทาง  และวิธีการวิจัย   พร้อมทั้งการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง  ซึ่งกระผมทำการวิจัย  เรื่อง  การแต่งกาย  และการตรงต่อเวลาของนักศึกษาวิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคาม

 

วันที่สอง  (วันที่  18  ธันวาคม  2551) :

                -  ได้ทราบแนวทางการปฏิบัติตามโครงการพระราชดำริ  ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทำให้มีความมุ่งมั่นพร้อมที่จะไปปฏิบัติในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม  และสร้างจิตสำนึกให้บุคลากร  นักเรียน นักศึกษา  มากยิ่งขึ้น

 

วันที่สาม  (วันที่  19  ธันวาคม  2551) :

                -  ได้ทราบแหล่งข้อมูลของพันธมิตร  ที่จะช่วยเหลือ สนับสนุนการเรียนการสอนวิชาชีพให้มีคุณภาพ  และสอดคล้องกับความพต้องการของตลาดแรงงาน

 

 

เรียนท่านไอสูรย์ ยินดีภพ เนื่องจากสิ่งที่ท่านได้กระทำไว้เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งที่วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว ณ บัดนี้กำลังสร้างความเสียหายให้แก่สถาบันเป็นอย่างยิ่ง จึงใคร่เรียนท่านให้ชำระสะสางให้เรียบร้อย เห็นแก่สถาบันเก่าที่ท่านเคยอาศัยอำนาจหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองด้วยเถิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท