อามิสสุข-นิรามิสสุข


อามิสสุข-นิรามิสสุข

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

อามิสสุข นิรามิสสุข  

 วิธีที่จะมีความสุขของคนทั่วไปนั้น ก็โดยการสร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้น   แล้วหาทางที่จะทำให้ความทุกข์นั้นดับลง  เมื่อความทุกข์นั้นดับลง คนจึงรู้สึกว่าเป็นสุข  

ความทุกข์ ที่คนสร้างขึ้นนั้น มันก็มีสาเหตุมาจาก ความหวัง ความปรารถนา ความก้าวหน้าหรืออื่นๆที่เรียกกัน ความจริงแล้ว มันก็คือ ความอยาก (ตัณหา) ทั้งสิ้น

ความจริงแล้ว 

การได้สมปรารถนาหรือสมอยากนั้น ไม่ใช่  ความสุข

แต่คนไม่เข้าใจว่า ความสุขที่แท้จริง คืออะไร  

ตัวอย่างเช่น เราอยากจะได้รถยนต์สักคัน เราก็จะดิ้นรนทำงานอดออม เก็บเงิน สะสมเงิน จนวันหนึ่งเราก็มีเงินมากพอที่จะดาวน์หรือซื้อรถได้  เมื่อเราได้รถ เราก็จะรู้สึกว่ามีความสุข

เรามักรู้สึกว่า ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจาก การที่เราได้รถ หรือได้สมกับความปรารถนาหรือความหวัง  ความจริงแล้ว

ความสุข ที่เกิดขึ้นเกิดจาก การดับลงของความอยาก

เมื่อเราได้รถ

ความอยากที่จะได้รถ  ก็ ดับลง  

การเป็นอิสระ จาก ความอยากที่จะได้รถ

การพ้น จาก ความอยากที่จะได้รถ 

 

ความสุขที่แท้จริง คือ การสงบลงของความอยากที่มีอยู่นั้น ต่างหาก

เมื่อรู้สึกว่า สมอยาก ความอยาก ก็ดับลง

นิพพาน คือ

การดับลงแห่งความอยาก

การพ้นจากความอยาก

การเป็นอิสระจากความอยาก

การเย็นลงจากไฟตัณหา

 ฉะนั้น  นิพพาน ก็คือ ความสุขที่แท้จริง

การแสวงหาความสุข โดยการอิงอามิสหรืออิงอยู่กับวัตถุ นั้น

คนต้องสร้าง เงื่อนไข(ความอยาก)ที่จะสุข ขึ้นมาก่อนเสมอ

แต่เมื่อเรารู้แล้วว่า ความสุขที่แท้จริง นั้น คือ

การไม่มีความอยาก

การดับลงจากความอยาก

การพ้นจากความอยาก

            การเป็นอิสระจากความอยาก

            ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะมี ความสุข 

ก็เพียง ไม่สร้างความอยาก ขึ้นในใจ 

ความอยาก เป็นสิ่งที่ เราสร้างขึ้นมาเอง !

ความอยากเกิดขึ้นได้ เพราะมีความคิด  

 

จิตนั้น ทำหน้าที่เพียง ๒ อย่างเท่านั้น คือ รู้  กับ  คิด  

เมื่ออยู่กับรู้  ก็ไม่มีความคิด

รู้ คือ การรู้อยู่กับปัจจุบัน รู้สึกตัว (รู้ที่กายที่ใจ)

หากไม่มี ความอยาก ตั้งแต่ต้น   มันก็สุขอยู่เองเรียบร้อยแล้ว

นั่นแหละ ความสุข แบบไม่ต้อง อิงอามิส ไม่ต้องอิงอยู่กับวัตถุ

นิรามิสสุข  ..

หมายเลขบันทึก: 205400เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ความสุข คือ ความต้องการได้รับการตอบสนอง (ทางโลก)

ความสุข อื่นใดเหนือความสงบเป็นไม่มี (ทางธรรม)

ยกตัวอย่างเช่น นายกรัฐมนตรีลาออกตามคำเรียกร้อง ความต้องการได้รับการตอบสนองจึงทำให้ม็อบมีความสุขซึ่งอยู่บนความวุ่นวายของตัวเองและความเดือดร้อนของผู้อื่นเพราะสหถาพนัดหยุดงาน (เป็นความสุขแบบทางโลก)

และการดำเนินชีวิตแบบสมถะ สันโดษ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ เจริญสมาธิภาวนาเพื่อน้อมนำให้เกิดปัญญา กายสงบ จิตสงบ ทำให้เกิดความสุขยิ่ง (เป็นความสุขทางธรรม)

(ขอคิดด้วยคน...นะครับ)

ตอบคุณร่มไม้ใกล้ทาง..

ที่ว่า นายกรัฐมนตรีลาออกตามคำเรียกร้อง ความต้องการได้รับการตอบสนอง จึงทำให้ม็อบมีความสุขซึ่งอยู่บนความวุ่นวายของ ตัวเองและความเดือดร้อนของผู้อื่นเพราะสหถาพนัดหยุดงาน (เป็นความสุขแบบทางโลก)

ตอบ..นั่นไม่ใช่ ความสุข แต่เรียกว่า มานะ ความถือตัว คิดว่า ความคิดความเห็น (ทิฏฐิ) ของตนถูกต้อง หรือเรียกกันว่า "สัมมาทิฏฐิ" แต่นั่นไม่ใช่สัมมาทิฏฐิในหลักศาสนา แต่เป็น"สัมมาทิฏฐิ"เฉพาะกลุ่ม

ความสุข ความสะใจแบบนี้ คนโบราณเปรียบเทียบกับ วิมานของพวกยักษ์หรือความสุขของพวกยักษ์เป็นความสุขแบบยักษ์ครับ ไม่ใช่ความสุขแบบโลก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท