วิทยฐานะใหม่


เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะใหม่

เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะใหม่

ก. ครูชำนาญการ
1. คุณสมบัติ
1.1 วุฒิปริญญาตรีเป็นครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี
วุฒิปริญญาโท ” ” 4 ปี
วุฒิปริญญาเอก ” ” 2 ปี
(นับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
1.2 สอนไม่ต่ำกว่า 18 ชั่งโมงต่อสัปดาห์
1.3 ผลงานย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน
2. การขอรับการประเมิน
1. ยื่นเอง, หน่วยงานหรือบุคคลอื่นเสนอให้
2. ขอได้ปีละ 1 ครั้ง
3. ผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ ให้เสนอก่อนวันเกษียณ 6 เดือน
3. ผู้รับการประเมินต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน
3.1 ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
3.2 ด้านคุณภาพการสอนและการพัฒนาผู้เรียน
3.2.1 ประจักษ์พยานการสอนอย่างน้อย 1 รายวิชา
3.2.2 รายงานการประเมินการสอนและการพัฒนาผู้เรียน (Self Assessment Report) รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย อย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
3.3 ด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียน พิจารณาจาก
3.3.1 ผลการประเมินคุณภาพภายใน
3.3.2 ผลการประเมินคุณภาพภายนอก
3.3.3 คะแนนผลการสอบระดับชาติ (o-net, A-net, NT, ผลการทดสอบของหน่วยงาน) ของนักเรียนในช่วงชั้นที่สอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคลในชั้นที่สอน อย่างน้อย 2 ปีการศึกษา
4. เกณฑ์การตัดสิน
4.1 ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
อยู่ในเกณฑ์ผ่าน
4.2 ด้านคุณภาพการสอนและการพัฒนาผู้เรียน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
4.3 ด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
5. การพิจารณา
5.1 อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อนุมัติ
5.2 ยื่น 1 – 30 เมษายน มีผล ไม่ก่อน 1 พฤษภาคม
ยื่น 1 – 31 ตุลาคม มีผล ไม่ก่อน 1 พฤศจิกายน
ของปีที่ขอ หรือวันที่ สพท. ได้รับเอกสารตามที่กำหนดครบถ้วนสมบูรณ์
6. คณะกรรมการประเมิน
6.1 อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา แต่งตั้งกรรมการ
6.2 กรรมการ 3 คนต่อผู้ขอ 1 ราย
6.3 กรรมการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่า ปริญญาโท มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่า วิทยฐานะชำนาญการ ในหน่วยงานการศึกษา จำนวน 1 คน
6.4 ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก จากบัญชีที่ ก.ค.ศ. แต่งตั้งจำนวน 2 คน โดยจะต้องเป็นประธาน 1 คน
6.5 หากหน่วยการศึกษาใด ไม่มีผู้มีคุณสมบัติให้ตั้งกรรมการจากบัญชีผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. กำหนด
6.6 ประเมินตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด
6.7 คณะกรรมการประเมินอาจให้ผู้รับการประเมินตอบข้อซักถามใดๆ หรือสังเกตการสอนเพิ่มด้วยก็ได้
6.8 กรณีไม่อนุมัติ ผู้ขอจะส่งคำขอครั้งใหม่ในปีต่อไป
6.9 กรณีอนุมัติ ให้รายงาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
6.10 ผลการตัดสินของคณะกรรมการทั้งสามคนต้องเป็นเอกฉันท์

ข. ครูชำนาญการพิเศษ
1. คุณสมบัติ
1.1 ดำรงตำแหน่งวิทยฐานะครูชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
1.2 สอนไม่ต่ำกว่า 18 ชั่งโมงต่อสัปดาห์
1.3 ผลงานย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน
2. การขอรับการประเมิน
1. ยื่นเอง, หน่วยงานหรือบุคคลอื่นเสนอให้
2. ขอได้ปีละ 1 ครั้ง
3. ผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ ให้เสนอก่อนวันเกษียณ 6 เดือน
3. ผู้รับการประเมินต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน
3.1 ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
3.2 ด้านคุณภาพการสอนและการพัฒนาผู้เรียน
3.2.1 ประจักษ์พยานการสอนอย่างน้อย 1 รายวิชา
3.2.2 รายงานการประเมินการสอนและการพัฒนาผู้เรียน (Self Assessment Report) รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย อย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
3.3 ด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียน พิจารณาจาก
3.3.1 ผลการประเมินคุณภาพภายใน
3.3.2 ผลการประเมินคุณภาพภายนอก
3.3.3 คะแนนผลการสอบระดับชาติ (o-net, A-net, NT, ผลการทดสอบของหน่วยงาน) ของนักเรียนในช่วงชั้นที่สอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคลในชั้นที่สอน อย่างน้อย 2 ปีการศึกษา
3.3.4 รายงานการศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน อย่างน้อย 1 ชิ้น
4. เกณฑ์การตัดสิน
4.1 ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
อยู่ในเกณฑ์ผ่าน
4.2 ด้านคุณภาพการสอนและการพัฒนาผู้เรียน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
4.3 ด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และวันที่ผ่านการพัฒนาตามเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
4.4 กรณีปรับปรุง ให้ปรับปรุงตามข้อสังเกตภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่แจ้งมติและให้ปรับปรุงครั้งเดียว เมื่อปรับปรุงแล้วให้เสนอคณะกรรมการชุดเดิมพิจารณา
4.5 ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เลื่อนวิทยฐานะต้องผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
5. การพิจารณา
5.1 อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อนุมัติ
5.2 ยื่น 1 – 30 เมษายน มีผล ไม่ก่อน 1 พฤษภาคม
ยื่น 1 – 31 ตุลาคม มีผล ไม่ก่อน 1 พฤศจิกายน
ของปีที่ขอ หรือวันที่ สพท. ได้รับเอกสารตามที่กำหนดครบถ้วนสมบูรณ์และวันที่ผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
6. คณะกรรมการประเมิน
6.1 อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา แต่งตั้งกรรมการ
6.2 กรรมการ 3 คนต่อผู้ขอ 1 ราย
6.3 กรรมการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่า ปริญญาโท มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่า วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ในหน่วยงานการศึกษา จำนวน 1 คน
6.4 ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก จากบัญชีที่ ก.ค.ศ. แต่งตั้งจำนวน 2 คน โดยจะต้องเป็นประธาน 1 คน
6.5 หากหน่วยการศึกษาใด ไม่มีผู้มีคุณสมบัติให้ตั้งกรรมการจากบัญชีผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทั้ง 3 คน
6.6 ประเมินตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด
6.7 คณะกรรมการประเมินอาจให้ผู้รับการประเมินตอบข้อซักถามใดๆ หรือสังเกตการสอนเพิ่มด้วยก็ได้
6.8 กรณีไม่อนุมัติ ผู้ขอจะส่งคำขอครั้งใหม่ในปีต่อไป
6.9 กรณีอนุมัติ ให้รายงาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
6.10 ผลการตัดสินของคณะกรรมการต้องเป็นเอกฉันท์

ข. ครูเชี่ยวชาญ
1. คุณสมบัติ
1.1 ดำรงตำแหน่งวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
1.2 สอนไม่ต่ำกว่า 18 ชั่งโมงต่อสัปดาห์
1.3 ผลงานย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน
2. การขอรับการประเมิน
1. ยื่นเอง, หน่วยงานหรือบุคคลอื่นเสนอให้
2. ขอได้ปีละ 1 ครั้ง
3. ผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ ให้เสนอก่อนวันเกษียณ 6 เดือน
3. ผู้รับการประเมินต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน
3.1 ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
3.2 ด้านคุณภาพการสอนและการพัฒนาผู้เรียน
3.2.1 ประจักษ์พยานการสอนอย่างน้อย 1 รายวิชา
3.2.2 รายงานการประเมินการสอนและการพัฒนาผู้เรียน (Self Assessment Report) รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย อย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
3.3 ด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียน พิจารณาจาก
3.3.1 ผลการประเมินคุณภาพภายใน
3.3.2 ผลการประเมินคุณภาพภายนอก
3.3.3 คะแนนผลการสอบระดับชาติ (o-net, A-net, NT, ผลการทดสอบของหน่วยงาน)ของนักเรียนในช่วงชั้นที่สอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคลในชั้นที่สอน อย่างน้อย 2 ปีการศึกษา
3.3.4 รายงานการศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ที่ประสบผลดี (Good Practices) สามารถเป็นแบบอย่างได้ อย่างน้อย 1 ชิ้น
3.3.5 นวัตกรรมการเรียนการสอนซึ่งนำไปใช้แล้วได้ผลดี 1 อย่างน้อย 1 ชิ้น
4. เกณฑ์การตัดสิน
4.1 ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
อยู่ในเกณฑ์ผ่าน
4.2 ด้านคุณภาพการสอนและการพัฒนาผู้เรียน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
4.3 ด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 และวันที่ผ่านการพัฒนาตามเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
4.4 กรณีปรับปรุง ให้ปรับปรุงตามข้อสังเกตภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่แจ้งมติและให้ปรับปรุงครั้งเดียว เมื่อปรับปรุงแล้วให้เสนอคณะกรรมการชุดเดิมพิจารณา
4.5 ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เลื่อนวิทยฐานะต้องผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
5. การพิจารณา
5.1 ก.ค.ศ. เป็นผู้อนุมัติ
5.2 ยื่น 1 – 30 เมษายน มีผล ไม่ก่อน 1 พฤษภาคม
ยื่น 1 – 31 ตุลาคม มีผล ไม่ก่อน 1 พฤศจิกายน
ของปีที่ขอ หรือวันที่ สพท. ได้รับเอกสารตามที่กำหนดครบถ้วนสมบูรณ์และวันที่ผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
6. คณะกรรมการประเมิน
6.1 ก.ค.ศ. แต่งตั้งกรรมการจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
6.2 กรรมการ 3 คนต่อผู้ขอ 1 ราย
6.3 ประเมินตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด
6.4 คณะกรรมการประเมินอาจให้ผู้รับการประเมินตอบข้อซักถามใดๆ หรือสังเกตการสอนเพิ่มด้วยก็ได้
6.5 กรณีไม่อนุมัติ ผู้ขอจะส่งคำขอครั้งใหม่ในปีต่อไป
6.9 กรณีอนุมัติ ให้รายงาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
6.10 ผลการตัดสินของคณะกรรมการต้องเป็นเอกฉันท์

ที่มา  : http://bnv.site88.net/?p=14

หมายเลขบันทึก: 205388เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท