จากชมภูถึงท่าโพธิ์.....แสงเทียนที่ถูกจุด (1)


เห็นด้วยตารู้ด้วยใจ คำขอโทษที่อยากบอก

อาจารย์ครับผมเองก็มีความรูเพียงแค่ป. 4 เรื่องกฎหมายผมคงไม่มีความรู้ไปสู้ได้หรอกครับ แต่ถ้าเรื่องอื่นถามได้นะครับ ถ้าผมตอบไม่ได้ผมจะไปหาคำตอบมาให้.... เสียงพ่อแวะ พ่อผู้ใหญ่แวะสนใจ ผู้ใหญ่บ้านหมู่สามบ้านชมภู ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จ.พิษณุโลก  ออกตัวบ่อยๆหลังจากผมขอเรียนเชิญคุณพ่อมาเป็นวิทยากรให้นิสิตทั้ง 4 หลักสูตรของคณะนิติศาสตร์มามาร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการลงพื้นที่ศึกษาปัญหาสิทธิมนุษยชนครั้งนี้

.............................................................

พ่อไม่กลัวเรอครับที่ไปประท้วงหน้าศาลากลางและไปต่อสู้กับกลุ่มอิทธิพลอย่างนั้น...  ผมถามพ่อผู้ใหญ่
ผมก็กลัวเหมือนกันแหละครับอาจารย์ แต่ถ้าพวกเราไม่ออกมาทำก็ไม่มีใครออกมา เพราะคนอื่นๆก็ถูกเงินซื้อไปหมด..คนของเราที่เขาเป็นคนนอกพื้นที่ก็มาถูกยิงตาย..เราเป็นคนในพื้นที่แท้ๆทำไมไม่รักษาบ้านของเรา....

.............................................................

บ้านชมภู เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ในตำบลชมพู ชมภูตัวเรกเขียนไม่เหมือนชื่อตำบล เพราะชมภูตัวแรกแปลว่าบ้านที่เป็นที่ชมภูเขาด้วยเหตุที่รอบๆหมู้บ้านเต็มไปด้วยป่าไม้และภูเขา ส่วนชื่อตำบลชมพูนั้นมาจากเหตุที่ว่าแต่เดิมในช่วงที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์ พื้นที่นี้มีการเคลื่อนไหวของ พคท. จึงได้ถูกเรียกโดยทางราชการตำบลชมพู ซึ่งเป็น NickName ของพื้นที่ในขณะนั้น บ้านชมภูประกอบไปด้วยคนประมาณ 3000 กว่าคน ประมาณ 600 กว่าครัวเรือน เดิมทีชาวบ้านเคยอยู่กันอย่างมีความสุขอย่างพี่อย่างน้อง อย่างคนที่พึ่งพาอาศัยกัน

ต่อมาเมื่อมีโรงโม่หินมาตั้งประมาณปี 36 ถึง 38 ชาวบ้านก็ได้รับประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน....

พวกเขาใช้วิธีว่า ...ผู้ใหญ่คนเก่าได้ประกาศขึ้นในงานบุญของหมู่บ้านว่า พี่น้องครับผมมีข่าวดีจะบอกใครไม่เอารงโม่หินขอให้มาลงชื่อที่ผมครับผมจะได้ทำเรื่องเสนออำเภอ... เท่านั้นเองชาวบ้านก็พากันไปลงชื่อ แต่ อนิจจา รายชื่อแผ่นนั้นถูกนำไปแก้ไขในใบประหน้าใหม่ โดยถูกนำประกบกับใบประหน้าที่มีข้อความว่าชาวบ้านดังมีรายชื่อต่อไปนี้เห็นชอบกับการมีโรงโม่หินในหมู่บ้านแทน พร้อมๆ กับทางการก็อนุญาตให้ตั้งโรงโม่หิน2 โรงขึ้นที่บ้านน้ำปาดหมู่สองในพื้นที่ 10 ไร่ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรงโม่หินได้มาตั้งที่บ้านชมพูแทน.......

การเข้ามาของโรงโม่หินเข้ามาพร้อมกับเสียงระเบิด ฝุ่นควัน และคนงานจากนอกพื้นที่จำนวนมากและยาเสพติด ตลอดจนปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดกับชาวบ้านอันเนื่องมาจากรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่วิ่งเข้าออกทุกวัน นอกจากนี้ผลิตผลทางการเกษตรยังลดลงอย่างเห็นได้ชัด และทรัพยากรน้ำใต้ดินของหมู่บ้านเริ่มได้รับความกระทบกระเทือนอันเนื่องมาจากการระเบิดหินเพื่อนำมาโม่ นั้นได้ทำให้ตาน้ำของหมู่บ้านถูกหินปิดทับไปส่งผลให้ตาน้ำไม่ไหลดังที่เคยเป็นมา ปัญหาทุกๆปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เกิดขึ้นโดยชาวบ้านชมพูไม่เคยได้รับอะไรตอบแทนในแง่ที่ดีจากการสร้างโรงโม่หินเลย

.........................................................

จุดระเบิดมันอยู่ตรงที่ว่าชาวบ้านจะสร้างวัด ก็ยังต้องไปซื้อหินจากโรงโม่ ทั้งๆที่หินก็เป็นทรัพยากรของหมู่บ้านแท้ๆ นายทุนที่เข้ามาตั้งก็มิได้เข้ามาช่วยเหลือแต่อย่างไรบอกแค่ให้ชาวบ้านมาซื้อเอา

............................................................

ความอดทนที่ถูกบีบมานานส่งผลให้ชาวบ้านรวมใจกันลุกขึ้นมาทวงถามสิทธิ์อันชอบธรรมของตน โดยมีผู้ใหญ่บ้านในอดีตอีกคนหนึ่งเป็นแกนนำ ... แต่พร้อมๆกับเสียงของชาวบ้านที่เริ่มดังขึ้น กระแสเงินของนายทุนก็ได้เข้ามาซื้อตัวและอุดปากอดีตผู้ใหญ่บ้านจนทำให้เสียงของชาวบ้านในพื้นเงียบลงประดุจคนใบ้ เป็นอย่างนี้เรื่อยมาพร้อมกับผู้ใหญ่บ้านที่ผลัดเปลี่ยนไปตามวาระ 2 ราย

..............................................................

ผมเองขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่บ้านพร้อมกับคำมั่นสัญญาว่าจะร่วมแก้ปัญหาโรงโม่หินกับพี่น้องบ้านชมภู  ชาวบ้านก็ยังสงสัยในตัวผมอยู่ว่าจะทำได้หรือเพราะสองรายที่แล้วก็ถูกอำนาจเงินซื้อตัวไปแล้วก็เงียบหายไป.... เสียงพ่อผู้ใหญ่แวะ  สนใจ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 แห่งบ้านชมพูเล่าให้ฟังถึงอดีตการต่อสู้ในเส้นทางที่มิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ.... แต่ผมก็บอกว่าพี่น้องครับผมเองก็คนบ้านชมพูนี้ถ้าพี่น้องสู้ผมก็จะสู้ด้วย

จากจุดนั้นเองทำให้พ่อแวะ  สนใจ ถูกเลือกขึ้นมาทำหน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน ประกอบกับมีแกนนำของหมู่บ้านได้เข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านที่เกิดขึ้นและเริ่มมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายของชาวบ้านในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากโรงโม่หินจากบ้านต่างๆในตำบลชมพู แต่ด้วยความรู้อันจำกัดทำให้ชาวบ้านต้องไปขอความช่วยเหลือจากนักศึกษารามคำแหงแห่งชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาดูปัญหาในพื้นที่ ในจุดนี้เองทำให้ พิทักษ์  โตนวุธ หรือ โจ   ซึ่งเป็นประธานชมรมในขณะนั้นได้เข้ามามีบทบาทในการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้าน

............................................................

พี่โจเป็นคนบุรีรัมย์ครับ เป็นลูกชาวบ้าน บวชเรียนแล้วก็ลาสึกขาบทมาเรียนรามคำแหงในคณะนิติศาสตร์ ด้วยความที่สนใจเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม และบุคลิกที่เป็นคนพูดน้อยแต่ทำจริง ทำให้พี่โจได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนๆให้ทำหน้าที่ประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น.... พี่โจเริ่มเข้ามาทำงานในพื้นที่พร้อมๆกับความหวาดระแวงทั้งของชาวบ้านและนายทุน เพราะก่อนที่พี่โจจะเข้ามา เคยมีกลุ่มนักศึกษารามคำแหงอีกกลุ่มซึ่งเป็นกลุ่มสังกัดพรรคการเมืองในรามฯและเป็นตัวแทนของพรรคการเมือง เข้าดูและเรี่ยรายเงินจากชาวบ้านโดยบอกว่าจะมาช่วยแก้ปัญหาให้และหายตัวไปพร้อมกับเงินและคราบน้ำตาของชาวบ้าน ทำให้การเข้ามาของพี่โจเป็นที่น่าสงสัยอย่างยิ่ง ถึงกับว่าชาวบ้านขอตรวจเช็คบัตรประจำตัวนักศึกษา เพราะกลัวถูกหลอกอีก... เสียงพี่เทพพิทักษ์  มีไธสง อดีตนักศึกษารามคำแหงที่เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหากับพี่โจย้อนอดีตให้ฟัง

.........................................................

พวกเราใช้วิธีจัดค่ายเด็กอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเริ่มทำความรู้จักกับชาวบ้านผ่านทางลูกหลานของชาวบ้านเองในที่สุดพี่โจก็เข้าไปอยู่ในหัวใจของชาวบ้านอย่างแท้จริง
(อ่านต่อตอนที่สอง)

หมายเลขบันทึก: 205190เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 02:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ผมประทับใจมากครับกับค่าย

สิ่งที่สกิดความรู้สึกคือ

ที่พี่ติงพูด"เมื่อก่อนคนเรียนกฎหมายมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน

แต่ปัจจุบันเราเรียนกฎหมายเพื่อช่วยเหลือคตนเอง"

น่าคิกมากครับ

อาจารย์คะ  เรามาค่าย เราได้อะไรมากมายแล้วเราให้อะไรกับชาวบ้านบ้างคะ

..........................................

ถึงนิสิตชาวค่ายทุกท่าน

 ตามที่ทุกท่านมุ่งมั่นจะช่วยเหลือชาวบ้านชมภูอย่างที่ตั้งใจไว้ ผมขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่าด้วยเหตุที่ค่ายของเราเป็นค่ายศึกษา ทำให้ชาวค่ายรู้สึกว่ากิจกรรมหลักของค่ายนี้คือ การเข้ามาศึกษษเพียงอย่างเดียวและดูเหมือนจะเป็นการรับเพียงอย่างเดียวซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่ครับ..

สิ่งที่ผมมุ่งหวังมากกว่านั้นคือ การที่นิสิตที่กลับจากค่ายเมื่อเกิดแนวความคิดแล้วก็ทำการถ่ายทอดแนวคิดให้สังคมรับรู้เพื่อให้สังคมตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น (ไม่ว่าใครจะเห็นอย่างไรก็ตาม)

ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอเชิญชวนนิสิตชาวค่ายทุกท่านร่วมกันเขียนblog โดยให้ใช้คำสำคัญว่า "ค่ายสิทธิมนุษยชนบ้านชมภู 1" เพื่อความสะดวกในการค้นหาและรวบรวมครับ

การเขียนblog นั้นเป็นแบบ Free Style ครับเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และกระตุ้นให้สังคมรับทราบและตระหนักถึงปัญหาครับ

จตุพล โกษาแสง (สมาชิกชาวค่าย)

2 วันกับอีก 1 คืน ประสบการณ์ที่จะไม่มีวันลืมและจะสานต่อเจตนารมณ์ของอาจารย์ครับ ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายของไทยในอนาคต

เหล็กกล้า แย้มสรวล

สวัสดีครับอาจารย์

เรื่องที่อาจารย์อยากให้เขียนบล็อกเกี่ยวกับการไปค่ายครั้งน้ผมคิดว่าจะใช้เป็นกรณีศึกาเปรียบเทียบกับหมู่บ้านของผมครับ

คือที่หมูบ้านของผมมันไม่ได้มีปัญหาอะไรหรอกครับแต่ผมเห็ฯความเข้มแข็งของชุมชนนี้แล้วเลยอยากขบคิดง่าจะนำอไรไปพัฒนาบ้านเกิดผมได้บ้าง

ตอนนี้ขอศึกษษหข้อมูลก่อนนะครับ

อีเมล์ผม [email protected](

ชาวบ้านชมภูได้ให้ข้อคิดอะไรดีดีมากมายจริงๆค่ะ แสดงถึงความเข้มแข็งของคนในชุมชน ความสำนึกรักบ้านเกิด สร้างความตระหนักถึงสภาพสังคมในปัจุบันได้เป็นอย่างดีค่ะ หาชุมชนแบบนี้ได้ยากมากในปัจจุบัน

[email protected]

ประทับใจมากเลยค่ะ ชาวบ้านชมพู เปนชุมชนแห่งนักสู้จิงๆค่ะ ชอบสะพานแขวนมากเลยค่ะเสียวดี

e-mail: [email protected]

การลงพื้นที่ศึกษาปัญหาสิทธิมนุษยชนครั้งนี้ ทำให้พวกเราทราบถึงการออกมาต่อสู้เพื่อป้องกันสิทธิของชาวบ้านจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรงโม่หินของชาวบ้านตำบลชมภู โดยการไปสำรวจพื้นที่จริงที่เกิดจากโรงโม่หินแล้วก็ทำให้เราตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านกลุ่มนี้มากขึ้นกว่าการได้รับรู้จากการเรียนในตำรา และยังทำให้เกิดคำถามตามมาว่าในฐานะที่เราเรียนคณะนิติศาสตร์เราจะมีวิธีการใดที่จะช่วยเหลือชาวบ้านกลุ่มนี้เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการทางกฎหมายได้บ้าง

แม้การเข้าค่ายครั้งนี้จะเป็นเพียงการเข้ามาศึกษาปัญหาที่ชาวบ้านตำบลชมภูประสบแต่เพียงอย่างเดียวก็ตาม แต่จากการศึกษาดังกล่าวก็ทำให้เกิดประเด็นแก่นิสิตทุกคนว่าเราจะมีมาตราการใดบ้างที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว(วนแน่ๆเลย) กล่าวคือ ตามความเห็นของผมเห็นว่าการเข้าค่ายครั้งนี้ถือเป็นการจุดประกายความคิดให้กับนิสิตนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเกิดจากการตระหนักถึงปัญหานั้นร่วมกันจากการลงพื้นที่ซึ่งประสบปัญหาจริง ๆ และหลังจากนั้นก็ได้มีการปรึกษาร่วมกัน แม้จะเป็นการมาศึกษาแต่เพียงอย่างเดียวก็ตาม และภายหลังจากการลงพื้นที่ซึ่งเกิดปัญหานั้นก็อาจทำให้พวกเราชาวค่ายมีความเห็นถึงมาตราการที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันทำให้เกิดความหลากหลายของความคิดของแต่ละคนในการแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต

ความเห็นของผมที่มีต่อค่าย คือว่า ประทับใจคับ

[email protected]

อมรรัตน์ สว่าวงษ์

การไปออกค่ายครั้งนี้ต่างกับค่ายอื่นๆที่เคยได้ประสบพบมา ภายในค่ายทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงออกทางความคิดอย่างเสรีซึ่งถือว่าเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนอย่างหนึงที่เรามองข้าม(จากประสบการที่ไปออกค่ายมา ค่ายอื่นๆจะใช้ระบบอวุโส/ไซโคซะส่วนใหญ่)ซึ่งคณาจารย์ทุกท่านได้ให้การดูแลนิสิตในค่ายเป็นอย่างดี ยอมเสียสละเพื่อความสบายของนิสิต(เสียสละห้องน้ำ) ขอบคุณมากๆค่ะ(น้ำหนักขึ้นมาโลครึ่ง..สุดยอด)

จากข้อมูลที่ได้จากการออกค่าย เข้าใจได้ว่าชาวบ้านชมพูมีความเข้าใจในสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายแล้ว ทำให้เกิดแรงบรรดาลใจ(อีกครั้ง มันมาเป็นพักๆแล้วก็ไป)อยากให้ชาวตามหมู่บ้านต่างๆที่ห่างออกไปอีกมีความเข้าใจในข้อกฎหมาย เพื่อที่จะเป็นเกราะป้องกันภัย(ต้องใช้คำนี้เท่านั้น)จากกิเลสของบุคคลจำพวกทาสของวัตถุซึ่งถึงแม้ว่ามีการเลิกทาสไปแล้วแล้วก็ไม่ทำให้เผ่าพันธุ์นี้หมดไป(สงสัยเผ่าพันธุ์นิยมสูง)

การไปออกค่ายครั้งนี้ยังมีข้อข้องใจอยู่หลายประการ เพราะข้อมูลต่างๆที่ได้รับนั้นมาจากบุคคลเพียงฝ่ายเดียว(กลุ่มไม่อาจให้สรุปได้ว่าเหตผลของฝ่ายใดมีน้ำหนักมากกว่ากัน อยากหาคำตอบยิ่งหนักแต่ช่วงนี้การมาของเทศกาลการสอบช่างทำให้เวลาเหลือน้อยเต็มที จึงต้องพักเรื่องนี้ไว้ก่อน(แหะ แหะ)

อย่างไรเสียการหาคำตอบก็ยังคงมีต่อไป(คิดว่านะ)ถ้าหากว่าทางคณาจารย์กรุณา หลังสอบแล้ว น่าจะมีการออกค่ายยอ่างต่อเนื่องเพื่อการศึกษาที่ไม่ขาดตอน ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นที่เดิม คนที่เขามีปัญหายิ่งกว่านี้ก็มีมากมาย จากข้อมูลที่ได้รับมาจากค่ายที่แล้วมีความเห็นว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์มากกว่าพัฒนา

ขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านนะค่ะที่ให้โอกาศในการเรียนรู้ครั้งนี้ หากมีการเยนใบสมัครคร้งต่อไป จะไม่เขียนด้วยความประมาทเลิ่นเล่ออย่าสงเด็ดขาด

[email protected]

การออกค่ายเพื่อศึกษาปัญหาสิทธิมนุษยชนครั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกแต่ประสบการณ์ที่ได้รับนับได้ว่าคุ้มค่ามากครับ

ประสบการณ์ที่ผมได้รับ และ ไม่มีวันลืมคือ การต่อสู้ต่อความไม่ยุติธรรมในสิ่งที่ชาวบ้านได้รับ

สิ่งที่ชาวบ้านพูดแล้วผมได้ยินคือ

"ผมจบแค่ ป.4 และ ไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย"

นั้นเป็นประโยคที่ผมฟังแล้วประทับใจมากเลยครับ ทำให้ผมคิดได้ว่า มนุษย์เราไม่ว่าจะมีสถานะทางสังคมเช่นไร ต่างก็มีจิตสำนึกในการหวงแหนในสิ่งที่ชุมชนของตนมีอยู่ และ พร้อมที่จะปกป้องสิทธิที่ชุมชนมีอยู่เท่าที่จะกระทำได้

ชาวบ้านชมภูสำหรับตัวผม คือ นักสู้ ที่ยิ่งใหญ่ นักสู้ผุ้เห็นแก่ส่วนรวมและทรัพยากรสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นทรัพยากรที่คนส่วนใหญ่ หวังที่จะกอบโกย เอานจากธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ของตัวเอง โดยไม่เคยคิดถึง ปัญหาที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การลงพื้นที่ครั้งนี้ข้าพเจ้าประทับใจ ในมิตรภาพ ที่ชาวบ้านมอบให้ถึงแม้จะเป็นเวลาสั้นๆ ก้ตาม ทำให้ข้าพเจ้าดิดว่า ถ้าหาก ประชาชน ส่วนใหญ๋ของประเทศ ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสิทธิ ของการเป็นมนุษย์มากกว่านี้ ปันหาต่างๆๆก้คงมีน้อยลง ชาวบ้านไม่ได้เก่ง หรือมีความรุ้มากมายในการที่จะไปต่อสุ้กับ คนที่มีความรู้ ย่อมถูกกลั้นแกล้ง จนทำให้มองว่ากระบวนการยุติธรรม ไม่สามารถทำให้คนที่กระทำผิดถูกลงโทษ ในความคิดของชาวบ้านคิดว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ได้ช่วยอะไรนอกจากทำให้พวกเค้าจม ลงไปเรื่อยๆๆ

เราในฐานะนักกฎหมายในอนาคต ควรที่จะตระหนัก และ เกิดแรงบันดาลใจในการศึกษากฎหมาย ไม่ได้เพื่อตัวเอง แต่เพื่อคนที่เค้าต่อสุ้ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม นั้นมากกว่าที่จะเป็นสิ่งที่นักกฎหมายที่ดีควรทำ มากกว่า ลาภ ยศ และตัวเอง เพียงอย่างเดียว

ปล.ผมอยากให้มีกิจกรรม ค่ายเป็นครั้งที่สอง เพื่อที่พี่น้องค่ายจะได้ช่วยอะไรได้มากกว่านี้คับ

[email protected]

โหวว ค่ายนี้ประทับใจสุดๆๆค่ะ เฟริน์เองเปนคนพิดโลกเองแท้ๆ แต่ไม่เคยรับทราบถึงปัญหาของชาวบ้านที่ชมภูเลย สะท้อนให้เหนว่าปัญหาเหล่านี้อยู่ใกล้ๆตัวเราแล้วก็ไม่ใช่แค่ที่บ้านชมภูแต่เชื่อว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น ในหลายๆพื้นที่อย่างแน่นอน

เรื่องราวที่เกิดขึ้นที่บ้านชมภูเปนเพี่ยงส่วนหนึ่ง ที่ทำให้เราได้เหนว่ายังมีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่กำลังต้องการความช่วยเหลือและความร่วมมือจากพวกเรา

นักกฏหมายที่มีคุณธรรม ตรงนี้สำคัญมากนะค๊ะ...

"ผมจบแค่ ป.4 และ ไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย"

แต่คำพูดทุกคำของคุณลุงและคุณพ่อผู้ใหญ่..

คำพูดง่ายๆ แต่จริงใจ

และแสดงออกถึงความรู้ที่ได้จากประสบการณ์จริง

คำพูดที่แม้แต่คนที่ร่ำเรียนกฎหมายสูงๆ ก็ไม่อาจพูดได้

แม้คุณลุงจะไม่ได้ความรู้จากการร่ำเรียนในสถาบันการศึกษา

แต่ฉันเชื่อว่า ..คุณลุงมีความรู้ที่ได้จากชีวิตจริงมากกว่าคนที่เรียกตัวเองว่ามีการศึกษาหลายคน

ประทับใจจากค่ายแรกค่ะ

ส้มโอ

วันแรกของการไปค่าย

อาจารย์ถามเราว่า..."รู้สึกอย่างไรกับการออกค่ายครั้งนี้บ้าง?"

ตอนแรกก็ลองคิดหาคำพูดที่สวยหรูร่ายยาวเหมือนกัน แต่ทุกคนต่างก็พูดกันไปหมดแล้ว อีกทั้งยังประกอบกับความง่วงที่ทับถมอย่างหนัก พอถึงตาเราที่ต้องตอบคำถาม

ก็เลยตอบไปเพียงแต่ว่า"ดีค่ะรู้สึกดีกับการมาค่าย เพราะว่าเป็นค่ายแรกของการเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ นอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ก็ยังได้เพื่อนมากมาย เพราะมีแต่คนพยายามจะคุยกับเรา ยัดเยียดความเป็นเพื่อนให้ดีค่ะ อบอุ่นดี" ก่อนที่จะตามมาด้วยเสียงหัวเราะของคนในค่าย ..หึๆๆ..ก็ยังดีนับว่ายังเรียกเสียงหัวเราะได้

แต่ที่จริงอยากตอบว่าดีมากเลยที่ตัดสินใจมาค่ายครั้งนี้ ชาวบ้านที่บ้านชมภูแข็งแกร่งมากต้องยอมรับจริงๆ ทุกคนพร้อมที่จะเผชิญกับอิทธิพลต่างๆเพื่อบ้านเกิด ผิดกับเราเองที่รู้เกี่ยวกับกฎหมายดีแท้ๆ แต่กลับไปใช้รักษาบ้านเกิดไม่ได้ ปากก็พูดบอกว่าเรียนจบไปแล้วจะกลับไปพัฒนาบ้านเกิดของตน แต่ผลสุดท้ายก็ไม่ได้ทำไรอะไรเลย

ควมจริงแล้วคนเราไม่ได้ผิดต่อคำพูดของตน เพียงแต่ไม่มีเวลาในการที่จะทำให้คำพูดเหล่านั้นเกิดขึ้นต่างหาก เพราะมัวแต่สนใจแต่เรื่องของตนมากเกินไป

พอกลับจากการเข้าค่ายครั้งนี้ทำให้เราเริ่มอยากจะรู้ความเป็นไปเกี่ยวกับบ้านเกิดเราเหมือนกัน...

เราในที่นี้หมายถึงคนเขียนน่ะ ไม่ได้พาดพิงถึงใคร

e-mail: [email protected]

อยากบอกอาจารมากเลยค่ะว่าการไปเข้าค่ายครั้งได้อ่ะไรหลายๆอย่างกับหนู

ได้ทั้งความรู้ แนวคิด ความสนุกสนาน และอะไรๆอีกหลายๆอย่างการออกค่ายครั้งนี้ทำให้หนูรู้สึกว่าหนูควรตั้งใจเรียนให้มากขึ้นและมันทำให้หนูรู้ว่าหนูเรียนนิติศาสตร์เพื่อจุดประสงค์อะไรอย่างน้อยหนูก็ได้รู้ว่านิติศาสตร์สามารช่วยเหลือคนที่ด้วยโอกาสได้

อยากบอกอาจารว่า"ขอบคุณมากๆค่ะ" และอยากให้อาจารจัดค่ายแบบนี้อีกบ่อยๆหนูจะได้ไปอีก อิอิ

e-mail:[email protected]

หลังจากไปออกค่ายครั้งนี้รู้สึกว่าเป็นค่ายแรกที่ทุกคนที่ไปแล้วกลับมากล่าวถึง

สิ่งที่ได้พบได้เจอ ต่างเรื่องราวและแง่มุม

แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสัมผัสได้คือ หลายคนคิดอะไรได้มากขึ้นจากสิ่งที่แต่ละคนได้เจอ

หลายคนพยายามที่จะสานต่อสิ่งที่ตนเองคิดอยากจะทำก็อยากเป็นกำลังใจให้ทุกคน

เพราะ 1 ความคิดของชาวค่าย 1 คนอาจเป็นจุดเริ่มต้นของอีกหลายโครงการ

แต่อย่างไรก็ตามแม้สิ่งที่เราคิดอาจจะไม่ได้ทำแต่อย่าน้อยเราก็ได้ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน สิ่งที่เราเห็นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นหากเราอยากแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเราต้องเดินเข้าหาปัญหา ไม่ใช่การตั้งรับอยู่กับที่เพราะปัจจุบันปัญหาเกิดขึ้นเร็วกว่าที่เราคิด

สร้างสรรค์และสานต่อ

[email protected]

ค่ายนี้สนุกค่ะ

อีเมล์ : [email protected]

ค่ายนี้สนุกครับ

อีเมล์ : [email protected]

มารายงานตัวช้าไปนิดสส์คะ มาช้ายังดีกว่าไม่มานะคะ

หลังจากค่ายครั้งนี้มีความทรงจำดีๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่สิ่งที่พบเจอและสัมผัสได้คือ

รอยยิ้ม....ของชาวบ้านที่ให้การต้อนรับผู้มาเยือน

เสียงหัวเราะ....ของน้อง ๆ ที่อีกไม่กีปีคาดหวังว่าเค้าคงจะเป็นกำลังสำคัญของที่นี่(หากไม่ถูกกระแสสังคมเมืองซัดมากเกินไป) และ

ความมุ่งมั่น....ของชาวค่ายหลายๆ คน ถูกจุดขึ้นมา (อีกครั้ง )

เคยได้ฟังคำพูดเพ้อเจ้อที่บอกว่า "ภายใต้เลือดและเนื้อ มีความคิด และความคิดกันกระสุน" แรก ๆฟังอาจไม่เข้าใจนัก จนกระทั่งได้ไปสัมผัสกับประสบการณ์จริง

ที่ถูกถ่ายทอดและบอกเล่าจากกลุ่มคนที่เป็นเงาของความคิดของ ผู้ที่จากไป...(พีโจ)

ตอนนี้ความคิดของพี่โจกันกระสุนมา เกือบ 8 ปีแล้ว

มันยาวนาน พอ ๆ กับที่ชาวบ้านรอคำตอบของคำถามที่ว่า

ความยุติธรรม มันยังคงมีอยู่จริงมั้ย ?

คำถามนี้อาจกระตุกต่อมใครต่อใครหลายๆ คน (รวมถึงหนูด้วย)

ความแข็งแกร่งของชุมชน ที่เกิดจากคนตัวเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง

ลุกขึ้นมาประกาศว่าตัวเองว่า ต่อต้านการสร้างโรงโม่ กระทั่งถึง การสร้างเขื่อน

การยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามรัฐ ใช่ว่าจะอยู่ในฐานะศัตรู

หากแต่เป็นการยืนหยัดเพียงเพื่อรักษา ผืนป่าอันอุดมให้คงอยู่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้อยู่ชั่วลูกชั่วหลาน

สิ่งที่ชาวบ้านยืนยันคือ ไม่ต้องการเขื่อน เพราะพอใจแล้วกับการทำนาปีละครั้ง

พอหน้าฝนเข้าป่าหาหน่อไม้ ไม่วัดความร่ำรวยหรือความเจริญตรงที่วัตถุหรือเงินทอง เพียงพอเท่าที่ธรรมชาติจะอำนวย

ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลที่ดีและน่าจะยอมรับความคิดเห็นของคนในชุมชน

อีกฟากหนึ่งของชาวบ้านที่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อน (ซึ่งเราไม่ได้ลงไปสัมภาษณ์) ตรงนี้เค้าอาจจะมีเหตุผลอีกเช่นกัน

แต่การจะทำอะไรที่กระทบกระเทือนคนหมู่มากแล้ว จำต้องเลือก เ ห ตุ ผ ล ที่ ดี ที สุ ด

หากการทำเขื่อน เพียงเพื่อแค่เหตุผลทางเศรษฐกิจ + การท่องเทียว

คุ้มหรือไม่ในระยะยาว ?

ตรงนี้ฝ่ายที่เห็นด้วยอาจตอบได้เป็นตัวเลขทีมีมูลค่าสวยหรู

ส่วนฝ่ายที่เค้าไม่เห็นด้วย คงได้แต่เพียงบอกว่าผืนป่าหมดไปอีกแล้ว 3 พันกว่าไร่

หวังอยู่ลึก ๆ ว่ามันน่าจะมีทางออกที่ดีที่สุด

และหวังอยู่ลึก ๆ (ไม่รู้กี่เมตร 55+)ว่าแสงเทียนครั้งนี้ที่ถูกจุด แก่เพื่อนชาวค่าย

จะไปสว่างไสว ตอบคำถามให้แก่สังคมและร่วมหาทางออกที่ดีทีสุดให้หลาย ๆชุมชนที่กำลังประสบปัญหา

------------------------------------------------------

[email protected]

ข่าวฝากด่วนครับ

ตอนนี้พึ่งทราบข่าวจากข่าวท้องถิ่นของ CableTVพิษณุโลกช่วงเวลา 24.00น.ว่า ที่บ้านชมภู ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง มีน้ำป่าหลากมาเข้าท่วมหมู่บ้านฝั่งขวา น้ำสูงขึ้น 100 เซนติเมตรครับ ชาวบ้านบางส่วน ประมาณ 30 ครัวเรือน ถูกอพยพมารวมตัวกันอยู่ที่วัดบ้านชมภูครับ โดยมีหน่วยราชการเข้าไปให้ความช่วยเหลือแล้วครับ ถ้ามีอะไรด่วนเพิ่มเติมจะรายงานให้ทราบอีกครั้งครับ พรุ่งนี้ผมจะติดต่อผู้ใหญ่บ้าน/ พี่เทพ / ติงดูครับ ว่าได้รับความช่วยเหลือแล้วหรือยัง

หากต้องการกำลังเสริม

เรียกตัวได้นะค่ะ

(หากตรงกับวันที่สอบ งดสอบเลย อิอิ)

ตอนนี้จะช่วยน่งภาวนาให้ทุกคนปลอดภัย

ทราบขาวเหมือนกันครับ

อยากทราบว่าเป็นไงบ่างครับ

อาจารรายงานให้ทราบด้วยนะครับ

เห็นว่าไปอยู่ที่วัดกัน

หากขัดสนไง

ก็ให้บอกด้วยนะครับพวกเราพร้อมช่วยครับ

เมลล์เบนนะครับ [email protected]

แอดมานะชาวค่ายแล้วเรามาเม้ากัน

งั้นคงได้ฤกษ์ยกเรื่องเขื่อนมาเล่นอีแน่แล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท