สงสัยจัง ไม่มีคนแลกเปลี่ยนความรู้เรื่อง น้ำยาง เลย


ผมทำงานในโรงงานผลิตน้ำยางข้น พอว่างๆจะหาความรู้จากข้างนอกโรงงาน

อยากจะแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ เรื่องน้ำยาง ลองค้นหา แต่หาเจอน้อยมากๆ

แทบจะไม่มีซะด้วยซ้ำ ก็เคยไม่รู้จะแลกเปลี่ยนความรู้กะใคร

การแลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้เราฉลาดขึ้น รู้ว่ามีอะไรที่ยังไม่รู้

รู้ว่าความรู้ที่มีอยู่ใช่หรือไม่

คำสำคัญ (Tags): #น้ำยาง
หมายเลขบันทึก: 204555เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2008 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาทักทาย
  • ไม่มีความรู้เรื่องน้ำยาง และอยากได้ความรู้เรื่องนี้บ้าง
  • จะขอเป็นกำลังใจให้นะคะ
  • แล้วจะแวะมารับความรู้ใหม่คะ
  • สู้ ๆ คะ

                                

ขอบพระคุณมากครับ

ลองอ่านในบล็อกของผมได้ครับ

สวัสดีค่ะ

อย่าเพิ่งเบื่อเขียนเรื่องยางนะคะ เขียนไปเรื่อยๆ นะคะ อย่างน้อยก็ถือว่าเป็นการบันทึกเก็บความรู้ไว้อ่านและแบ่งปั่นให้เพื่อนๆ อ่านด้วยค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะคะ

ขอบคุณครับ เป็น "ปลิ้ม" เลยครับ ที่คุณมะปรางเปรี้ยว มา ment(ภาษาเด็กแนว)

ดีครับ คุณเอก RBL คุณเขียนข้อความได้น่าอ่านมากครับ

ยังไงก็ขอถาม คุณเอกนะครับว่าอยากทราบวิธีทำค่า DRCและ

VFA. No. ของบ่อน้ำยางว่าเขามีวิธีการเช็คอย่างไร

เผื่ออนาคตจะเปิดรับซื้อน้ำยางสด

ขอบคุณครับ สำหรับ "คำชม" จากคุณ "น้องบอย"

ที่ศูนย์วิจัยยางสงขลา อยู่ที่ สามแยกคอหงส์ อ.หาดใหญ่

จะมีวิธีหนังสือที่มีวิธีการทดสอบน้ำยาง ขายอยู่ครับ

ลองเข้าไปสอบถามนะครับ

เดี๋ยวผมจะเขียนเกี่ยวกับวิธีการทดสอบน้ำยางสด ดังกล่าว

ให้ใหม่ด้วยละกันครับ แต่หากไปซื้อที่ศูนย์วิจัยยาง ก็จะได้

มีเก็บไว้เป็นคู่มือครับ

เรื่องการหาค่า %DRC หรือปริมาณเนื่อยางแห้ง ในน้ำยางสด

สำหรับบ่อรับซื้อน้ำยางสด ผมได้เขียนไว้แล้ว ในเรื่อง

"การหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางสด" ครับ

คุณน้องบอยเข้าอ่านได้เลยครับ ส่วนวิธีการทดสอบค่า VFA No.

ในน้ำยางสดจะเขียนให้ครับ

มีวิธีปลูกยางในพื้นที่ดินทรายไหมครับ ผมปลูกแถวหนองคายรากไม่เดินเลย นี่คงไม่เกี่ยวกับน้ำยางเท่าไหร่ ปลูกมาปีกว่าแล้ว ต้นยังเท่านิ้วก้อยอยู่เลย

มีรูปให้ดูครับผมเลยปลูกอย่างอื่น

http://picasaweb.google.com/sonthayapc/MyGarden

คุณอาหยง

เท่าที่ผมทราบยางพาราจะชอบดินที่ไม่อุ้มน้ำ และพื้นที่ปลูกได้ในภาคใต้

ส่วนใหญ่ก็จะเป็นดินทรายครับ ผมไม่แน่ใจว่าดินที่หนองคาย

สภาพเหมือนกันกับที่ทางใต้รึเปล่านะ

แต่เห็นกลุ่มบริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี ที่ผมทำงานอยู่

ได้ไปปลูกยางพาราที่หนองคายนี่ครับ อ.บึงกาฬ

พื้นที่เดียวกันกับที่คุณอาหยงรึเปล่าครับ

คุณอาหยง อาจจะไปขอคำปรึกษากับทางกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

ที่จังหวัดของคุณอาหยงดูนะครับ(ไม่ทราบว่าที่นั่นมีรึเปล่า)

ที่นี้เขามีนักวิชาการที่ชำนาญเรื่องการปลูกยางพาราเยอะครับ

น่าจะให้คำตอบแก่คุณอาหยงได้นะครับ

ขอรบกวนถามหน่อยครับ พอดีมีสอบสัมภาษที่ บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี ไม่ทราบว่า สวัสดิการ และการทำงานที่นั้นเป็นอย่างไรบ้าง ขอบคุณครับ

ผมต้องขอถามคุณ Pond ก่อนครับ ในมุมของคุณ

ต้องการสวัสดิการแบบไหน หากแบบทั่วๆไป เช่น

เงินประกันสังคม ประกันชีวิต ยูนิฟอร์ม ที่พัก

มีครับ ส่วนการทำงาน ก็แล้วแต่ละตำแน่งครับ

ก็เหมือนบริษัทเอกชนทั่วไปครับ แต่ที่นี้จะมีการ

อบรมพนักงานเยอะหน่อยเพื่อให้พนักงานมีความรู้เยอะๆ

และใช้เทคโลยีในการทำงานเยอะพอสมควรครับ

คุณเอก ครับ คือผมอยากรู้ในมุมการเอาใจใส่กับพนักงานในบริษัท

เช่น การรักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือในด้านต่าง การสนับสนุนให้พนักงาน

มีความรู้ทัดเทียมกับบริษัทต่างชาติอื่นๆ และก้อเรื่องเงินเดือน กับโบนัสนะครับ

(ไม่ใช่งกนะครับ คืออยากรู้ว่าไปแล้วเงินจะพอเลี้ยงลูกเลี้ยงเมียไหม)

สวัสดีคะ...

อยากถามว่าข้อเสียของยางธรรมชาติในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์มีอะไรบ้างคะ

สวัสดีค่ะ

มาเป็นกำลังใจให้ค่ะ และอย่าเพิ่งท้อนะค่ะ

คุณเอกลองเขียนถ่ายทอดเรื่องราวจากประสบการณ์ลงบันทึกสิค่ะ อาร์มเชื่อว่าต้องมีคนเข้ามาอ่านอย่างแน่นอน ยิ่งเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครเข้าใจ หรือรู้จัก ยิ่งเป็นเรื่องน่าสนใจค่ะ

ขอบคุณค่ะ ^_^

คุณสาวนุ้ย ผมต้องขอทราบผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตก่อนครับ

จึงจะบอกได้ตรงคำถามครับ เพราะยางธรรมชาติสามารถนำไป

แปรรูปได้เยอะมาก แต่ละผลิตภัณฑ์ก็มีทั้งดีและด้อยแตกต่างกันไปครับ

คือเป็นผลิตภัณฑ์ทั่วๆไปนะคะ

เหมือนกับว่าบอกว่ายางมีข้อเสียยังไงแล้วแสดงให้เห็นว่าทำไมเราถึงต้องใช้ยางสังเคราะห์ชนิดต่างๆแทนนะคะ

คือว่าเปนชาวสวนยางได้ไม่นานอยากมีความรู้มากกว่านี้พอมีไรช่วยแนะนำบ้าง(พ่อเสียต้องออกจากงานมาทำเอง)ตอนนี้ทามไปแบบงูๆปลา คือว่าต้นมีปลวกขึ้น หน้ายางเปนหลุม สวนข้างๆไม่เหนเปนนะค่ะต้องทามไงช่วยแนะนำด้วย aa19841@hotmail

คุณป้อม

อาการหน้ายางเป็นหลุม น่าจะเป็นอาการที่เรียกว่าหน้ายางเน่า

แก้โดยทายารักษาหน้ายาง(มีคนที่รู้บอกผมมาอีกที)

เรื่องที่เกี่ยวการทำสวนยาง ลองปรึกษา สำนักงานกองทุนสงเคราะห์

การทำสวนยางในพื้นที่ ที่คุณอยู่จะดีกว่านะครับ

ที่นั่นมีผู้ที่รู้ลึกเกี่ยวกับเรื่องเยอะเลยครับ

ผมมันไม่ค่อยประสีประสา เรื่องนี้ซะเท่าไร

ผมจะหนักไปทาง น้ำยางข้นมากกว่าครับ

บ้านเรามีสวนยางพารา (ภาคเหนือ) ขอร่วมส่งความคิดเห็นด้วยค่ะ

ขอรบกวนหน่อยนะคับ คุณเอก

ผมอยากทราบรายละเอียดของการหา %น้ำยางอ่ะคับ ว่าในการหา % เราหาเกี่ยวกับความหนืดในยาง

หรือว่าปริมาณของเนื้อยางต่อน้ำอ่ะคับ

พอดีว่าจะทำโปรเจคเกี่ยวกับการวัดหา% เปอร์เซนต์น้ำยางอ่ะคับ

เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับอุปกรณ์ทดสอบ

สามารถหาความรู้ได้จากที่ไหนได้บ้างคับ

พอดีเข้าไปที่กรมวิชาการเกษตรแล้วมีแต่การปลูกและก้อโรคอ่ะคับ

อยากได้ข้อมูลส่วนนี้มาก

ขอรบกวนหน่อยนะคับผม..

พี่มีเบอร์ติดต่อไหมคับ

ขอบคุณมากคับผม

คุณ "มาโนช" กับ คุณ "ไม่แสดงตัวตน"

เป็นท่านเดียวกันหรือเปล่าครับ

ในส่วนของการหาปริมาณเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยาง

ผมไม่แน่ใจว่า ใช่เรื่องเดียวกันกับ "การหา %น้ำยาง"

หรือเปล่าครับ หากใช่ เรื่องนี้ต้องคุยกันยาวครับ

เพราะมีรายละเอียดเยอะมากๆครับ

เอาอย่างนี้ดีกว่าครับ คุณช่วยส่งเบอร์ติดต่อมาที่

[email protected] นะครับ ผมจะติดต่อกลับไปครับ

บิดาแห่งยางพาราไทย

“ความร่ำรวยในอาชีพด้านการเกษตรนั้น คือ ความร่ำรวยของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป

และนั่นก็คือความมั่นคงของชาติอันเป็นส่วนรวม”

ข้อความข้างต้นนี้ เป็นคำกล่าวของ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต

นักปกครองผู้มองการณ์ไกล ที่มีความคิดริเริ่มในทางทำนุบำรุงบ้านเมืองความเป็นอยู่ของราษฎรตลอดจน เพียรพยายาม

ที่จะสร้างงานด้านการเกษตรให้กับประชาชนทุกเวลา ท่านจะต้องนำเอาวิธีการใหม่ที่ได้พบเห็นมาแนะนำและส่งเสริม

ให้ราษฎรยึดถือไปปฏิบัติ

ทุกครั้งที่มีโอกาสเดินทางไปดูงานในต่างประเทศเช่น เมื่อไปดูงานประเทศชวากลับมา ก็ได้แนวความคิด

ที่จะใช้ประสานประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนโดยตรงทั้งในด้าน การเกษตรกรผู้ผลิต และด้านความสะดวก

ในการซื้อหาของผู้บริโภค สิ่งนั้นคือ "ตลาดนัด" โดยประกาศให้ราษฎรพ่อค้าแม่ค้าต่างตำบล นำสินค้าในท้องถิ่นมาจำหน่าย

และแลกเปลี่ยนกัน ที่ตลาดนัดซึ่งได้หมุนเวียนสับเปลี่ยนทั่วทุกตำบลเป็นผลให้ผู้คนต่างท้องถิ่น ได้ไปมาหาสู่ต่อกันมากขึ้น

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ประเทศไทยผลิตส่งออกตลาดโลกเป็นอันดับ 3 รองลงมาจากอินโดนีเซีย

และมาเลเซีย นั้นก็เป็นผลงานชิ้นหนึ่งจากความริเริ่มความพยายาม และความตั้งใจจริงของพระยารัษฎา ฯ เมื่อ 80 ปี

ที่แล้วมา อีกเช่นกัน

พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี มหาอำมาตย์โท

พระยารัษฎาประดิษฐ์ มหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต

มีชื่อเดิมว่า คอซิมบี้ ณ ระนอง เป็นบุตรคนที่ 4 ของ

พระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ต้นสกุล ณระนอง

ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองระนอง คนแรกมารดาชื่อ กิ้ม เกิดที่จังหวัดระนอง

เมื่อ พ.ศ. 2400 เมื่ออายุได้ 12 ขวบ คือ พ.ศ. 2412 ได้ติดตาม

บิดาไปประเทศจีน ในโอกาสที่บิดาไปพักผ่อนและทำบุญให้กับบรรพบุรุษ

ณ มาตุภูมิ จึงมีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ณ จังหวัดเจียงจิวบ้าง แล้วกลับมาอยู่

จังหวัดระนองช่วยบิดาทำงานตามเดิม

พ.ศ.2425 หลังจากบิดาถึงอนิจกรรม พระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี (คอซิมก้อง ณ ระนอง) ผู้เป็นพี่ชาย ได้นำถวายตัวเป็น มหาดเล็กใน

รัชกาลที่ 5 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตร

เป็นที่พระอัสดงคตทิศรักษา ตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรี

พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ

หัวเมืองปักษ์ใต้ ถึงเมืองระนอง กระบุรี ทรงเห็นว่าพระอัสดงคตทิศรักษา

(คอซิมบี้ ณ ระนอง) มีความสามารถจัดการปกครอง เป็นที่พอพระหฤทัย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายไป ดำรงตำแห่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง

ซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่ควนธานีแทนพระยาตรังภูมิภิบาล (เอี่ยม ณ นคร) ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯไปเป็น

เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมกับเลื่อนยศจากพระอัสดงคตทิศรักษา เป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

ในเวลาต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต มีขอบข่ายการปกครอง 7 จังหวัด คือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตะกั่วป่า

จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล ส่วนผู้ที่มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง แทน คือ พระสถล สถานพิทักษ์

(ยู่เกี๊ยด ณ ระนอง) บุตรบุญธรรมของพระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี (คอซิมก้อง ณ ระนอง) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอีกผู้หนึ่ง

ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยนั่นเอง

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ถึงแก่อนิจกรรม ที่บ้านจักรพงษ์ ปีนัง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2456 มีอายุได้ 56 ปี

หลังจากถูกหมอจันทร์ บริบาล แพทย์ประจำจังหวัดลอบยิงด้วยปืนพก (เบรานิง) ที่สะพานเจ้าฟ้า ท่าเรือกันตัง ได้ 45 วัน

กำเนิดสวนยางพาราในประเทศไทย

ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเดินทางไปดูงาน

ในประเทศมลายู เห็นชาวมลายูปลุกยางกันมีผลดีมาก ก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้าง

แต่พันธุ์ยาง สมัยนั้น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนนำพันธุ์ยางกลับมาได้ ในการเดินทางครั้งนั้น

จนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมาได้ โดยเอากล้ายางมา

หุ้มรากด้วยสำลีชุบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งจึงบรรจุลงลังไม้ฉำฉา ใส่เรือกลไฟซึ่งเป็นเรือ

ส่วนตัวของพระสถลฯรีบเดินทางกลับประเทศไทยทันที

ยางที่นำมาครั้งนี้มีจำนวน ถึง 4 ลัง ด้วยกันพระสถลสถานพิทักษ์ ได้นำมาปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพัก ที่อำเภอกันตัง

จังหวัดตรังซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียว อยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่น

แรกนี้ พระสถลสถานพิทักษ์ ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสถลสถานพิทักษ์ คือ

ผู้เป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย

จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางเพื่อมาสอนประชาชน นักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วน

แต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำพันธุ์ยางไปแจกจ่าย

และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยาง และชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า “ยางเทศา”

ขณะนี้มีการปลูกยางพาราไปทั่วทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 9 ล้านไร่ มีผู้ถือครองประมาณ 5 แสน

ครอบครัวและจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ รองลงมาจากข้าว ทำรายได้ให้กับประเทศ ปีละนับหมื่นล้านบาท พระยา

รัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดีได้รับการยกย่องและให้เกียรติเป็นนบิดาแห่งยางพาราไทยด้วยเหตุฉะนี้

จากการที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นคนทำงานจริง เข้าถึงปัญหาของชาวบ้านกล้า

ลงโทษคนทำผิด ปูนบำเหน็จความดี ให้แก่คนทำดี พยายามนำสิ่งใหม่ ๆ ที่ได้พบเห็นในต่างประเทศมาสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่น

และประเทศชาติอย่างมากมายทั้งยังใช้นโยบายให้คนต่างชาติมมาลงทุนและมีเงื่อนไขการแลกเปลี่ยนโดยไม่ให้ส่วนรวมเสียเปรียบ

ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่ท่านสร้างสรรค์ไว้นี้ เป็นพื้นฐานอันส่งผลประโยชนน์มหาศาล มากกระทั่งทุกวันนี

อนุสาวรีย์ หล่อใหญ่กว่าตัวจริงของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี สร้างขึ้นที่ตำหนักผ่อนกาย ตำบลทับเที่ยงจังหวัดตรังและทำ

พิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2494 หลังจากท่านถึงแก่อนิจกรรม 39 ปี นอกจากอนุสาวรีย์นี้แล้วถนนสายต่าง ๆ ทั้งใน

ภูเก็ต ตรัง กันตัง ก็ตั้งชื่อตามพระยารัษฎา เช่น ถนนรัษฎาถนนรัษฎานุสรณ์เป็นต้นเพื่อเป็นสิ่งที่ระลึกถึงเกียรติคุณของท่าน ให้

เยาวชนรุ่นหลังระลึกถึงตลอดไป

ความสำคัญ

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ยาง (latex) ซึ่งได้จากท่อลำเลียงอาหารในส่วนเปลือกของต้นยางพารา สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผลลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภทตั้งแต่อุตสาหกรรมหนัก เช่น การผลิตยางรถยนต์ ไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือน น้ำยางที่ได้จากต้นยางพารามีคุณสมบัติบางอย่างที่ยางสังเคราะห์ (synthetic rubber) ไม่สามารถทำให้เหมือนได้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 ประเทศไทยมีการผลิตยางธรรมชาติเป็นอันดับหนึ่งของโลก รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ

ความเป็นมา

ชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เรียกต้นไม้ที่ให้ยางว่า คาอุท์ชุค (Caoutchouc) แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ. 2313 (1770) โจเซฟ พริสลี่ จึงพบว่า ยางสามารถลบ รอยดำของดินสอได้โดยที่กระดาษไม่เสีย จึงเรียกยางว่า ยางลบหรือตัวลบ (Rubber) ซึ่งเป็น คำเรียกยางเฉพาะในอังกฤษและฮอลแลนด์เท่านั้น ส่วนใน ประเทศยุโรปอื่นๆ ในสมัยนั้น ล้วนเรียกยางว่า คาอุท์ชุก ทั้งสิ้น จนถึงสมัยที่โลกได้มีการปลูกยางกันมากในประเทศแถบอเมริกาใต้นั้น จึงได้ค้นพบว่า พันธุ์ยางที่มีคุณภาพดีที่สุดคือยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis ซึ่ง มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์ Hevea ธรรมดามาก จึงมีการปลูกและซื้อขายยางพันธุ์ดังกล่าวกันมาก และศูนย์กลางของการซื้อขายยางก็อยู่ที่เมืองท่าชื่อ พารา (Para) บนฝั่งแม่น้ำอเมซอน ประเทศบราซิล ด้วยเหตุดังกล่าว ยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ายางพาราและเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ ยางมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างที่มีความสำคัญต่อมนุษย์คือ มีความยืดหยุ่น (Elastic) กัน น้ำได้ เป็นฉนวนกันไฟได้ เก็บและพองลมได้ดี เป็นต้น ดังนั้นมนุษย์จึงยังจะต้องพึ่งยางต่อ ไปอีกนาน แม้ในปัจจุบัน มนุษย์สามารถผลิตยางเทียมได้แล้วก็ตาม แต่คุณสมบัติบางอย่าง ของยางเทียมก็สู้ยางธรรมชาติไม่ได้ ในโลกนี้ยังมีพืชอีกมากมายหลายชนิดที่ให้น้ำยาง (Rubber Bearing Plant) ซึ่งอาจจะมีเป็นพันๆ ชนิดในทวีปต่างๆ ทั่วโลก แต่น้ำยางที่ได้จาก ต้นยางแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป บางชนิดก็ใช้ทำอะไรไม่ได้เลย แต่ยาง บางชนิดเช่น ยางกัตตาเปอร์ชาที่ได้จากต้นกัตตา (Guttar Tree) ใช้ทำยางสำเร็จรูปเช่น ยางรถยนต์ หรือรองเท้า ไม่ได้แต่ใช้ทำสายไฟได้ หรือยางเยลูตง และยางบาลาตา ที่ได้ จากต้นยางชื่อเดียวกัน ถึงแม้จะมีความเหนียวของยาง (Natural Isomer of Rubber) อยู่ บ้าง แต่ก็มีเพียงสูตรอณู (Melecular Formula) เท่านั้นที่เหมือนกัน แต่โดยที่มี HighRasin Content จึงเหมาะที่จะใช้ทำหมากฝรั่งมากกว่า ยางที่ได้จากต้น Achas Sapota ในอเมริกา กลาง ซึ่งมีความเหนียวกว่ายางกัตตาเปอร์ชาและยางบาลาตามาก คนพื้นเมืองเรียกยางนี้ว่า ชิเคิ้ล (Chicle) ดังนั้น บริษัท ผู้ผลิตหมากฝรั่งที่ทำมาจากยางชนิดนี้จึงตั้งชื่อหมากฝรั่ง นั้นว่า Chiclets

วิวัฒนาการของยาง

โลกเพิ่งจะมีโอกาสรู้จักและใช้ประโยชน์จากยางเมื่อประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 นี้ เอง ในขณะที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้ค้นพบโลกใหม่เดินทางไปอเมริกาในครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2036 (1493) ก็ได้พบว่า มีชาวพื้นเมืองบางเผ่าทั้งในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ได้รู้จักและใช้ประโยชน์จากยางกันบ้างแล้วเช่นชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางที่ทำรองเท้าจากยางโดยการใช้มีดฟันต้นยาง แล้วรองน้ำยางใส่ภาชนะ หลังจากนั้น จึงเอาเท้าจุ่มลง ไปในน้ำยางนั้น หรือเอาเท้าวางไว้บนภาชนะแล้วเทน้ำยางราดลงบนเท้า ก็จะได้รองเท้า ที่เข้ากับเท้าพอดี หรือบางเผ่าในอเมริกาใต้ทำเสื้อกันฝนและผ้ากันน้ำจากยาง หรือเผ่ามา ยันในอเมริกาใต้ ที่ทำลูกบอลด้วยยาง แล้วนำมาเล่นโดยการให้กระเด้งขึ้นลงเพื่อเป็นการ สักการะเทพเจ้า จึงทำให้โคลัมบัสและคณะมีความแปลกใจเป็นอันมาก และคิดกันไปว่า ในลูกกลมๆที่เด้งได้นั้น ต้องมีตัวอะไรอยู่ข้างในเป็นแน่ หลังจากนั้นเมื่อโคลัมบัสเดินทางกลับยุโรปก็ได้นำวัตถุประหลาดนั้นกลับไปด้วยโคลัมบัสจึงเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ได้มีโอกาสสัมผัสยางและนำยางเข้าไปเผยแพร่ในยุโรปการส่งยางเข้ามาในยุโรปในระยะแรกนั้นต้องใช้เวลานานมาก กว่าที่ยางจะเดินทางจาก แหล่งกำเนิดจนมาถึงยุโรป ยางก็จะจับตัวกันเป็นก้อนเสียก่อน ดังนั้น ยางที่เข้ามาในยุโรปสมัยแรกๆ นั้น จึงเป็นยางที่ผลิตเป็นสินค้าแล้วเนื่องจากมนุษย์ยังไม่รู้จักวิธีที่จะทำ ให้ยางที่จับตัวกันเป็นก้อน ให้ละลายและทำเป็นรูปทรงที่ต้องการได้อย่างไร การผลิต ยางจึงต้องทำทันทีหลังจากได้น้ำยางมาก่อนที่ยางจะจับตัวกันเป็นก้อน ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เช่น ในประเทศเม็กซิโก ก็มีหลักฐานว่าได้มีการใช้ประโยชน์จากยางกันบ้างแล้ว แต่เป็นการผลิตอย่างง่ายๆเช่น ทำผ้า ยางกันน้ำ ลูกบอลและเสื้อกันฝนเป็นต้น

การค้นพบ

พ.ศ. 2143 (1600) ก็ยังไม่มีความพยายามที่จะนำกรรมวิธีทำยางเข้ามาในยุโรปพ.ศ.2279 (1736) ชาลส์ มารี เดอลา คองดามี ได้ส่งตัวอย่างยางจากลุ่มน้ำอเมซอน กลับมาที่ฝรั่งเศส และสรุปว่าไม่สามารถนำน้ำยางกลับไปยุโรปเพื่อการผลิตได้ เพราะ ยางจะแข็งตัวเสียก่อนที่จะถึงยุโรป

พ.ศ. 2313 เฮอริสแซน พบว่า น้ำมันสน (Terpentine) สามารถละลายยางที่จับตัวกัน เป็นก้อนได้ และยังพบต่อไปอีกว่า Ether เป็นตัวละลายยางได้ดีกว่าน้ำมันสน

พ.ศ. 2313 (1770) โจเซฟ พริสลี่ (คนเดียวกับที่ค้นพบอ๊อกซิเจน) ค้นพบว่า ยางใช้ลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกยางว่ายางลบ (Rubber) ตั้งแต่นั้น

พ.ศ. 2334 (1791) โฟร์ ครอย ค้นพบการป้องกันไม่ให้ยางจับตัวกันเป็นก้อนโดยการเติมด่างที่มีชื่อว่า Alkali ลงไปในน้ำยาง แต่การค้นพบนี้ก็ต้องเป็นหมันอยู่ถึง 125 ปีเพราะไม่มีใครสนใจ

พ.ศ. 2363 (1820) โธมัส แฮนคอก (อังกฤษ) ประดิษฐ์เครื่องฉีกยางได้สำเร็จ แต่ก็ปกปิดไว้ โดยบอกคนที่ถามว่าเป็นเครื่องดองยาง (Pickle) และยังพบด้วยว่า ความร้อนทำให้ยางอ่อนตัวลงได้ และจะปั้นใหม่ให้เป็นรูปอะไรก็ได้ ตามต้องการ

พ.ศ. 2375 (1832) แฮนคอกได้ปรับปรุงเครื่องฉีกยางของเขาให้ดีขึ้น และเรียกเครื่องที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ว่าดังกล่าวว่า เครื่อง Masticator ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบของเครื่องฉีกยางที่ใช้กันถึงทุกวันนี้ โธมัส แฮนคอก จึงได้รับเลือกให้เป็น "บิดาแห่งอุตสาหกรรมการยาง"

พ.ศ. 2380 (1837) แฮนคอกประดิษฐ์เครื่องรีดยางได้เป็นผลสำเร็จ (Spreading)

พ.ศ. 2379 (1836) ทางอเมริกาก็ประดิษฐ์เครื่องบดยางได้สำเร็จเหมือนกัน

พ.ศ. 2386 (1843) ชาลส์ กูดเยียร์ (อเมริกา) ค้นพบกรรมวิธีในการทำให้ยางคงรูป โดยการ "อบความร้อน" (Vulcanisasion) และยางที่ผสมกำมะถันและตะกั่วขาว เมื่อย่างไฟแล้ว แม้จะกระทบร้อนหรือเย็นจัด ยางจะเปลี่ยนรูปไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สิ่งที่ชาลส์ค้นพบนี้ แฮนคอกก็ค้นพบในอีก 2 ปีต่อมา และนำผลงานไปจดทะเบียน (Patent) ทันที แต่ชาลส์ไปจดทะเบียนหลังแฮนคอก 2 - 3 สัปคาห์ แต่โลกก็ยังให้เกียรติแก่ ชาลส์ กูดเยีย ว่าเป็นผู้ที่คิดกรรมวิธีนี้ได้ก่อน

พ.ศ. 2389 (1846) โธมัส แฮนคอก ประดิษฐ์ยางตันสำหรับรถม้าทรงของพระนางเจ้าวิคตอเรีย

พ.ศ.2413 (1870) จอน ดันลอป ผลิตยางอัดลมสำหรับจักรยานได้สำเร็จ

พ.ศ. 2438 (1895) มีผู้ประดิษฐ์ยางอัดลมสำหรับรถยนต์ได้สำเร็จ

การค้นพบกรรมวิธีในการทำให้ยางคงรูปได้นั้น นับได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในช่วงเวลานั้น มีการค้นพบและมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมากมายเช่น เจมส์ วัตต์ สร้างเครื่องจักรไอน้ำ โรเบิร์ต ฟูลตัน สร้างเครื่องจักรเรือไอน้ำ จอร์จ สตีเวนสัน สร้างหัวรถจักรไอน้ำ ไมเคิล ฟาราเด สร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอส สร้างเครื่องส่งโทรเลข เป็นต้น แต่ความสำเร็จต่างๆ เหล่านั้น คงจะขาดความสมบูรณ์ไปมากถ้ายังขาดความรู้เรื่องการทำยางให้คงรูป เพราะยางที่คงรูปแล้ว (Vulcanised Rubber) จะช่วยเติมความไม่สมบูรณ์เหล่านั้นให้เต็มเช่น เป็นตัวห้ามล้อรถไฟ หรือทำสายไฟ และสายเคเบิ้ลใต้น้ำ เป็นต้น

การสร้างสวนยางในเอเชีย

การผลิตยางในโลกสมัยก่อนปี พ.ศ. 2443 (1900) นั้น ส่วนมากจะเป็นยางที่ปลูกในประเทศแถบอเมริกาใต้คือ บราซิล โคลัมเบีย และปานามาเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นยังมียางที่ได้จากรัสเซีย และอัฟริกาเป็นบางส่วน และในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ยางเริ่มมีความสำคัญ ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้นแล้ว โลกจึงมีความต้องการใช้ยางเป็นจำนวนมาก โธมัส แฮนคอก จึงมีความคิดว่า ถ้าโลก (หมายถึงยุโรป) ยังคงต้องพึ่งยางที่มาจากแหล่งต่างๆ เหล่านั้นเพียงอย่างเดียว ในอนาคตอาจจะเกิดความขาดแคลนยางขึ้นได้ จึงน่าที่จะหาที่ ใหม่ๆในส่วนอื่นๆของโลกเพื่อปลูกยางเอาไว้บ้าง ในปี พ.ศ. 2398 (1855) จึงนำความคิดนี้ไปปรึกษาเซอร์โจเซฟ ฮุกเกอร์ แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรชาวยุโรปในยุคนั้น ยังไม่มีใครรู้จักยางกันมากนักว่า ยางมีหน้าตาเป็นอย่างไร หรือแม้กระทั่งได้ยางมาอย่างไรจากต้นอะไร จนกระทั่งในปี พ.ศ..2414(1871) จึงมีผู้นำภาพวาดต้นยางมาให้เซอร์โจเซฟ ฮุกเกอร์ ดูท่านจึงมีความสนใจในการปลูกยางมากขึ้น จึงได้ปรึกษากับเซอร์คลีเมนส์ มาร์คแฮม ผู้ช่วยเลขาธิการประจำทำเนียบ ผู้ว่าการประจำอินเดีย ความพยายามที่จะนำยางมาปลูกในเอเชียจึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สถานะการณ์ยางในประเทศแถบอเมริกาใต้ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากในสภาวะที่โลกมีความต้องการยางสูงมาก ชาวสวนยางในโคลัมเบียและปานามาจึงโหมกรีดยางกันอย่างหนัก จนในที่สุด ต้นยางในประเทศนั้นจึงได้รับความบอบช้ำมาก และตายหมดจนไม่มีต้นยางเหลืออยู่ในแถบนั้นอีกเลย เซอร์คลีเมนส์ จึงนำพันธุ์ยางมาทดลองปลูกในอินเดียเป็นครั้งแรก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้ทดลองปลูกยางในดินแดนต่างๆ ที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ในที่สุดจึงพบว่า ในดินแดนแหลมมลายูเป็นที่ที่ยางจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด และยังพบว่า พันธุ์ยางที่ดีที่สุดคือยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis หรือยางพารา ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2425 (1882)ยางพาราจึงเป็นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในแหลมมลายูในระยะแรกเริ่มยางพาราจะปลูกกันมากในดินแดนอาณานิคมของอังกฤษและฮอลแลนด์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้น เยอรมันก็ปลูกยางไว้ที่อัฟริกาบ้าง และบางส่วนเป็นยางในรัสเซีย เหตุที่ยางพาราเป็นที่นิยมปลูกกันมากในเอเชีย อาจเนื่องมาจาก ในเอเชียมีองค์ประกอบต่างๆที่เหมาะสมในการปลูก ทั้งสภาพดินฟ้าอากาศ ภูมิประเทศ สภาพดิน และปริมาณฝน รวมทั้งแรงงานที่หาได้ง่าย ประกอบกับคุณสมบัติทางการเกษตรและการพาณิชย์ของยางเองเช่น พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นควนเขา ไม่สามารถปลูกพืชอื่นได้ แต่ปลูกยางได้ ยางเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามากนัก โรคและศัตรูพืชน้อย ไม่ต้องมีการเฝ้ารักษา เพราะผลผลิตของยางไม่สามารถขโมยกันได้ ผลผลิตยางสามารถขายได้ทุกคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นยางคุณภาพเลวเพียงใดก็ขายได้ เป็นยางปนกรวด ปนดิน ปนทราย ก็ขายได้ แม้แต่ขี้ของขี้ของขี้ของยาง ก็ขายได้ ไม่ต้องง้อคนซื้อ เพราะผลผลิตไม่เน่าเสีย (ในอดีต) เป็นสินค้าที่ขายได้คล่อง และขายได้จนหมด ไม่มีเหลือ (ในอดีต) ให้ผลผลิตที่ยาวนาน และแน่นอน

ยางพาราเข้าสู่ประเทศไทย

ต้นยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ชื่อว่า "สยาม" ประมาณกันว่าควรเป็นหลัง พ.ศ. 2425 ซึ่งช่วงนั้น ได้มีการขยายเมล็ดกล้ายางพารา จากพันธุ์ 22 ต้น นำไปปลูกในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย และมีหลักฐานเด่นชัดว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2442 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้เหมือนหนึ่ง "บิดาแห่งยาง" เป็นผู้ที่ได้นำต้นยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตังจังหวัดตรังเป็นครั้งแรก

จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางเพื่อมาสอนประชาชน นักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วนแต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำพันธุ์ยางไปแจกจ่าย และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยาง และชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า “ยางเทศา” ต่อมาราษฎรได้นำเข้ามาปลูกเป็นสวนยางมากขึ้นและได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางไปในจังหวัดภาคใต้รวม 14 จังหวัด ตั้งแต่ชุมพรลงไปถึงจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศประมาณ 12 ล้านไร่ กระจายกันอยู่ในภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรมยางของประเทศได้เจริญรุดหน้าเรื่อยมาจนทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกยางได้มากที่สุดในโลก

ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเดินทางไปดูงาน ในประเทศมลายู เห็นชาวมลายูปลูกยางกันมีผลดีมากก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้าง แต่พันธุ์ยาง สมัยนั้น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนำพันธุ์ยางกลับมาได้ ในการเดินทางครั้งนั้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมาได้ โดยเอากล้ายางมาหุ้มรากด้วยสำลีชุบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งจึงบรรจุลงลังไม้ฉำฉา ใส่เรือกลไฟซึ่งเป็นเรือส่วนตัวของพระสถลฯรีบเดินทางกลับประเทศไทยทันที

ยางที่นำมาครั้งนี้มีจำนวน ถึง 4 ลัง ด้วยกันพระสถลสถานพิทักษ์ ได้นำมาปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพัก ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียว อยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่นแรกนี้ พระสถลสถานพิทักษ์ ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสถลสถานพิทักษ์ คือผู้เป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย

จากอดีตสู่ปัจจุบัน

ในปี 2451 หลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี) ได้นำยางไปปลูกที่จังหวัดจันทบุรี จึงได้มีการขยายการปลูกยางพาราในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมีการปลูกกันทั่วไป ใน 3 จังหวัด ภาคตะวันออก คือ จันทบุรี ระยอง และตราด และกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออก ต่อมาก็มีผู้พยายามที่จะนำพันธุ์ยางไปปลูกทั้งในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เป็นระยะๆ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเหมือนกับที่ปลูกของภาคใต้ และภาคตะวันออกในช่วงปี 2475 หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้นที่คอหงส์ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ได้ก่อตั้งสถานีทดลองกสิกรรมภาคใต้ ขึ้นที่ บ้านชะมวง ตำบลควนเนียง อำเภอกำแพงเพชร จังหวัดสงขลา และในปี 2476 ได้ย้ายสถานีดังกล่าวไปตั้งที่ตำบล คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ พร้อมกับตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้นที่ตำบลคอหงส์ด้วย โดยหลวงสุวรรณฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ต่อมาในปี 2496 หลวงสำรวจ พฤกษาลัย (สมบูรณ์ ณ ถลาง) หัวหน้ากองการยางและนายรัตน์ เพชรจันทร ผู้ช่วยหัวหน้า กองการยางได้เสนอร่าง พรบ. ปลูกแทนต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตามต้องใช้เวลาถึง 6 รัฐบาล ในเวลา 6 ปี จึงออก พรบ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ในปี 2503 และได้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในปี 2504 กิจการปลูกแทนก้าวหน้าด้วยดี เป็นที่พอใจของชาวสวนยางในภาคใต้ หลวงสำรวจ พฤกษาลัย (สมบูรณ์ ณ ถลาง)

นายรัตน์ เพชรจันทรผู้ริเริ่มการปลูกแทนผู้ริเริ่มการปลูกแทนยางพาราที่ปลูกในสมัยแรกส่วนใหญ่เป็นยางพื้นเมืองที่ให้ผลผลิตต่ำ ทำให้ชาวสวนยาง มีรายได้น้อยโดยเฉพาะในช่วงที่ยางมีราคาตกต่ำ วิธีการแก้ไขคือการปลูกแทนยางพื้นเมืองเหล่านั้นด้วยยางพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูงผู้ผลิตยางหลายประเทศได้เร่งการปลูกแทนยางเก่าด้วยยางพันธุดีเพื่อเพิ่มผลผลิตยาง เช่นมาเลเซียได้ออกกฎหมายสงเคราะห์ปลูกยางในปี2495และศรีลังกาได้ออกกฎหมายทำนองเดียวกันในปี2496ต่อมาได้รับความร่วมมือจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติให้จัดตั้งศูนย์วิจัยการยางขึ้นที่ตำบลคอหงส์ในปี 2508ในปี 2508 ดร.เสริมลาภ วสุวัต ผู้วางรากฐานการวิจัยและพัฒนายางการวิจัยและพัฒนายางเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมยางไทย โดยเปลี่ยน สถานะจากสถานีทดลองยางคอหงส์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานการวิจัย และพัฒนายางของไทยคือ ดร.เสริมลาภ วสุวัต ผู้อำนวยการกองกองการยาง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมและดูแลศูนย์วิจัยการยางที่ตั้งขึ้นใหม่ศูนย์วิจัยการยางได้รับความช่วยเหลือจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และมีผู้เชี่ยวชาญยางพาราสาขาต่างๆ มาช่วยวางรากฐานการวิจัย และพัฒนาร่วมกับนักวิจัยของไทยในระยะเริ่มแรก มีการวิจัยยางด้านต่างๆ เช่น ด้านพันธุ์ยาง โรคและศัตรูยางด้านดินและปุ๋ย การดูแลรักษาสวนยางการกำจัดวัชพืช การปลูกพืชคลุม การปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ชาวสวนยาง ด้านอุตสาหกรรมยางและเศรษฐกิจยางและมีการพัฒนายางโดยเน้นการพัฒนาสวนยางขนาดเล็ก เช่น การ กรีดยางหน้าสูง การใช้ยาเร่งน้ำยาง การส่งเสริมการแปลงเพาะและขยายพันธุ์ยางของภาคเอกชน การรวมกลุ่มขายยางและการปรับปรุงคุณภาพยางและการใช้ประโยชน์ไม้ยางพารา มีการออกวารสารยางพาราเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่ชาวสวนยางและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดหลักสูตรการฝึกอบรมและการจัดสัมมนายางเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้นและจนกระทั่งในปี2521กรมวิชาการเกษตรและกรมประชาสงเคราะห์ได้เริ่มงานทดลองปลูกสร้างสวนยางพาราตามหลักวิชาการปลูกสร้างสวนยางแผนใหม่ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทดลองปลูกในจังหวัดหนองคาย บุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ ผลผลิตยางในขณะนั้นเริ่มเปิดกรีดได้แล้วอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่แตกต่างจากผลผลิตในภาคใต้ และภาคตะวันออกนัก ด้วยเหตุนี้จึงเริ่มมีการวิจัยและพัฒนาการปลูกยางในเขตแห้งแล้ง และถือเป็นการเริ่มขยายเขตปลูกยางพาราสู่เขต ใหม่ของประเทศไทยอย่างจริงจัง

นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับองค์กรยางระหว่างประเทศในการวิจัยและพัฒนายางอย่างกว้างขวางในระยะต่อมาศูนย์วิจัยการยางได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยยางสงขลาในปี 2527 และมีการก่อตั้งศูนย์วิจัยขึ้นใหม่อีก 3 ศูนย์ ที่สุราษฎร์ธานี ฉะเชิงเทรา หนองคาย และ นราธิวาสเพื่อขยายงานวิจัย และพัฒนายางให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกยางของประเทศ การวิจัยและพัฒนายางเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญทำให้การปลูกแทนในพื้นที่ปลูกยางเดิมและการปลูกใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบความสำเร็จมากขึ้น

พฤกษศาสตร์ทั่วไป

วงศ์ (Family): Euphorbiacea

จีนัส (Genus): Hevea

สปีชีส์ (Species): brasiliensis

ชื่อสามัญ (Common name): para rubber

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Hevea brasiliensis Mull-Arg.

ราก

มีระบบรากแก้ว (tap root system) เมื่อยางอายุ 3 ปี รากแก้วจะหยั่งลงดินมีความยาวประมาณ 2.5 เมตร มีรากแขนงที่แผ่ไปทางด้านข้าง ยาว 7-10 เมตร

ลำต้น

เป็นพวกไม้ยืนต้น ถ้าปลูกจากเมล็ดจะมีลักษณะเป็นรูปกรวย แต่ถ้าปลูกโดยใช้ต้นติดตาจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ความสูง 30-40 เมตร ต้นอ่อนเจริญเร็วมากทำให้เกิดช่วงปล้องยาว เมื่ออายุน้อยเปลือกสีเขียว แต่เมื่ออายุมากขึ้นสีของเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเทาอ่อน เทาดำ หรือน้ำตาล เปลือกของลำต้นยางพาราแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ

1. cork เป็นส่วนที่เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุด

2. hard bark เป็นชั้นถัดเข้ามา ประกอบด้วย parenchyma cell และ disorganized sieve tube มีท่อน้ำยาง (latex vessel) ที่มีอายุมากกระจัดกระจายอย่างไม่ต่อเนื่อง

3. soft bark เป็นส่วนในสุดของเปลือกติดกับเนื้อเยื่อ cambium ประกอบด้วย parenchyma cell และ sieve tube มีท่อน้ำยางซึ่งเวียนขึ้นจากซ้ายไปขวาทำมุม 30-35 องศากับแนวดิ่ง ดังนั้นในการกรีดเพื่อเอาน้ำยาง จึงต้องกรีดลงจากซ้ายไปขวา เพื่อตัดท่อน้ำยางให้ได้จำนวนมากที่สุด

เปลือกของลำต้นที่ให้น้ำยางคือ hard bark และ soft bark มีความหนารวมกัน 10-11 มิลลิเมตร น้ำยางที่ได้เป็น cytoplasm ที่อยู่ในท่อ หลังจากกรีดแล้วเปลือกจะเจริญได้เหมือนเดิมโดยใช้เวลา 7-8 ป

ใบ

เกิดเวียนเป็นเกลียว เป็นกลุ่มและท่อกลุ่มเรียกว่า ฉัตรใบ (leaf storey) ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ มีต่อมน้ำหวานที่โคนก้านใบ แต่ละใบรูปร่างแบบ ovate หรือ elliptical ยางพาราจะผลัดใบในช่วงต้นฤดูแล้ง ในภาคใต้จะผลัดใบในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ส่วนภาคตะวันออกจะผลัดใบในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

ช่อดอกและดอก

ยางพารามีช่อดอกเกิดตามปลายกิ่ง เป็นแบบ panicle มีกิ่งแขนงมาก ช่อดอกเกิดขึ้นพร้อมกับใบใหม่ที่ผลัดหลังจากผลัดใบ มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันแต่อยู่บนช่อเดียวกัน

ผลและเมล็ด

ผลเป็นแบบ capsule โดยทั่วไปมี 3 เมล็ด เมื่อแก่ผลจะแตกออก เกิดเสียงดัง เปลือกหุ้มเมล็ดจะมีลาย เมล็ดมีทั้งส่วนของเอนโดสเปิร์มและใบเลี้ยง ใบเลี้ยงมีโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำมันสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

พื้นที่ปลูกยาง

ดิน

ปริมาณน้ำฝน

ความชื้นสัมพันธ์

อุณหภูมิ

ความเร็วลม

ฤดูปลูก

ยางพาราจะสามารถปลูกได้และให้ผลดีถ้ามีสภาพแวดล้อมลางประการที่เหมาะสมดังนี้

พื้นที่ปลูกยาง ไม่ควรอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 200 เมตร และไม่ควรมีความลาดเทเกิน 45 องศา หากจะปลูกยางในพื้นที่ที่มีความลาดเทเกิน 15 องศาขึ้นไป ควรปลูกแบบขั้นบันได

ดิน ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร โดยไม่มีชั้นของหินแข็งหรือดินดาน ซึ่งจะขัดขวางการเจริญเติบโตของราก เนื้อดินควรเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีการระบายน้ำและอากาศดี น้ำไม่ท่วมขัง ระดับน้ำใต้ดิน

เรียนคุณ เอก กอ่นอื่นขอแนะนำตัวก่อน ผมชื่อสุชาติ บ้านเดิมผมอยู่ สุรินทร์แฟนผมอยู่บุรีรัมย์แถวบ้านแฟนเขาทำอาชีบสวนยาง

ปลูกมัน ปลูกอ้อย ส่วนตัวผมเองทำงานธุระกิจส่วนตัว(โรงกลึง)เวลาที่ผมกลับไปบ้านแฟนผมพยามศึกษาว่าจะมีวิธีเอาผลกำไรยางพาราได้อย่างไร แล้ววันหนึ่งผมได้งานออกแบบสร้างเครื่องจักรที่ระยอง ผมก็ได้สอบถามเขาว่าใน หนึ่งวันมีกำลังการผลิตแปรรูปวันละกี่กิโลแต่สิ่งที่ผมได้ยินคือ กำลังการผลิตวันละไม่ต่ำกว่า 10 ตัน คุณเอกรู้หรือเปล่าหัวใจผมมันเต้นแรงมาก

พอผมกลับมาถึงบ้านผมบอกแฟนผมให้เขาโทรไปหาพ่อที่บ้านทันที ว่าตอนนี้ยางแผ่นราคาเท่าไรน้ำยาวราคาเท่าไรผมคิดว่าถ้าเกิดว่าผมสามารถหาตลาดได้ในข้างต้นไม่ต้องมากคือแรกฯขอแค่เดือนละ 10-30 ตันก็คิดว่าดีแล้ว แล้วเราก็ไปหาตลาดอื่นฯอีก

ผมคิดว่าในการทำธุระกิจของผมพูดกันตรงฯว่าผมก็พอมีความรู้พวงงานอุตสาหกรรมออกแบบสร้างเครื่องจักรได้แต่เราไม่มีบุคลากรที่จะมาทำให้เราได้เพราะว่าโรงกลึงเรามันเล็กมีเครื่องไม่กี่ตัวและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างมากผมก็เลยคิดว่าอยากจะลองเปลี่ยนอาชีพดูว่าจะดีแค่ไหนแต่ผมไม่มีความรู้เรื่องยางพาราเลยจึงอยากจะของความรู้จากคุณ เอก คือ

1 การดูนำยางดูแบบไหน

2 ยางแผ่นดูแบบไหน

3 ราคายางเราจะตรวจสอบจากที่ไหน

4 ตลาดส่งยางมีที่ไหนบ้าง

หรือว่าคุณ เอกว่างผมจะไปขอพบคุณเพื่อขอความรู้ ไม่ทราบคุณเอกจะพอมีเวลาว่างบ้างหรือเปล่าครับ

E:mail: [email protected]

เรียนคุณ เอก ขอโทษลืมไปครับผมขอเบอร์ติดต่อคุณ เอก หน่อยนะครับ

สวัสดีคะคุณเอก

ขอคำแนะนำหน่อยคะ โสต้องการทราบว่าที่ไหนมีการอบรมขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติในน้ำยางข้น เช่น %TSC,DRC,KOH NO.,MST,VFA

สวัสดีคัรบ คุณเอก

คือผมสนใจที่จะเรียนรู้ เกี่ยวกับยางพาราน่ะคัรบ

อยากจะเรียนถามคุณเอกว่า Process การผลิตน้ำยางข้นของคุณเอกเป็นเป็นอย่างไรบ้างคัรบ และปัจจุบันนี้ ปัญหาในกระบวนการผลิตน้ำยางข้น และ ปัญหาคุณภาพของน้ำยางข้น มีอะไรบ้างคัรบ

ขอบคุณคุณเอกมากนะคัรบ ที่กรุณาแนะนำ

สวัสดีค่ะคุณเอก

หนูมีเรื่องรบกวนสอบถามหน่อยค่ะ ได้ทำการหาKOH No.ในน้ำยางข้นทำมบางครั้งมีจุดยุตสองครั้งค่ะ ทำให้ได้ค่าKOH No. สองค่าด้วย แล้วจะเลือกค่าไหนดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท