เมื่อรักษาใจให้เป็นอย่างพรหม


มีใจอย่างพรหมสังคมมีแต่ความสงบ เย็น..

   ทุกวันนี้สังคมเราดูวุ่นวาย การบ้านการเมืองดูแล้วก็เห็นวุ่นๆ จริงๆก็เป็นไปตามธรรมชาติ ที่เกิดจากเหตุและปัจจัยตามความเป็นจริงของมันอย่างนั้น บางคนไม่เข้าใจแม้อยู่วงนอกก็รู้สึกผูกตัวเองเข้าไปจนเกิดความอึดอัดขัดข้อง เราจึงควรหันมาดูใจตนเองกันบ้างว่าถ้าเราสามารถรักษาใจให้เป็นอย่างพรหมแบบที่คนเก่าคนแก่สอนมาว่าเขาทำกันอย่างไร....

  • สำรวจดูว่าถ้าเรามีหรือเคยมีความคิดแค้นนี้ต้องชำระหรือคิดปองร้ายผู้อื่นหรือไม่ถ้ามี ให้แก้ด้วยการให้ความรักใคร่ ปรารถนาให้เขาเป็นสุขและมีความเป็นมิตรกับทุกคน(พยาบาทต้องแก้ด้วย เมตตา)
  • ถ้ายังเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ให้แก้ด้วยการเติมความสงสาร คิดช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์เมื่อเห็นเขาเดือดร้อน(วิหิงสาต้องแก้ด้วย กรุณา)
  • ถ้ารู้สึกตาร้อนไม่พอใจเมื่อเห็นคนอื่นได้ดีละก็ ต้องฝึกสร้างความพลอยยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี (อรติต้องแก้ด้วย มุฑิตา)
  • ถ้าเรารู้สึก ขัดใจ ขุ่นเคือง หงุดหงิด ต้องพยายามวางใจไม่เอนเอียงไปมาด้วยความชอบหรือความชัง ทำตัวให้เป็นจริงตามธรรมชาติที่เกิดตามเหตุและปัจจัย (ปฏิฆะต้องแก้ด้วย อุเบกขา)

     ถ้าสามาถปรับตัวได้แสดงว่าทุกคนสามารถรักษาใจได้อย่างพรหม(เรียกว่ามีพรหมวิหารนั่นเองครับ) สังคมระดับชาติก็จะอยู่กันอย่างสงบ หรืออย่างน้อยสังคมเล็กๆเช่นครอบครัวก็จะอยู่กันอย่างเป็นสุขครับ....

คำสำคัญ (Tags): #คำสอน
หมายเลขบันทึก: 20395เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 08:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณมาก สำหรับข้อคิดดีๆในช่วงนี้ ห้วงเวลาที่เริ่มวิตกกับความไม่แน่นอน ความเสียหาย ความเดือดร้อน ที่จะเกิดกับส่วนรวม องค์กร ครอบครัว และตัวเรา คงต้องพยายามรักษาใจตนเองให้เป็นอย่างพรหม ซึ่งยากมาก ไม่ทราบว่าอาจารย์พอจะมีวิธีทำใจ/รักษาใจ จะเสนอเป็นวิทยาทานให้สักเล็กน้อย จะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ

  อย่าเรียกอาจารย์เลยครับดูช่างเป็นสมมุติที่ทำให้เกิดความหลงได้โดยง่าย ส่วนวิธีรักษาใจลองอ่าน หัวข้อ เข้าใจธรรมชาติแห่งทุกข์ หรือ ทุกข์(ทาง)ใจ ดูครับ ที่บล็อก แก่นธรรมครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท