บนเส้นทางอันคับแคบ


เป้าหมายในการบวชก็คือ การเป็นผู้ต้องการเดิน บนเส้นทางที่ปลอดโปร่ง ไม่คับแคบเหมือนเส้นทางของฆารวาส

  การสนทนาธรรม ระหว่างพระเจ้าอชาตศัตรู และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เดิมนั้นต่างมีพระประสงค์ที่แตกต่างกัน

  พระเจ้าอชาตศัตรู เสด็จมาเพื่อจะขอขมาต่อพระพุทธเจ้า ที่ได้ทรงเคยล่วงเกิน ร่วมสนับสนุน ให้พระเทวทัต ทำร้ายพระพุทธเจ้า และอีกข้อหนึ่งคือ ต้องการมาหาข้อแก้ไขพระองค์ หลังกระทำอนันตริยกรรม พระราชบิดาไปแล้ว และทรงมีอาการเจ็บป่วยทางจิตวิญญาณ คือการที่มิเคยมีความสุขอีกเลยในเวลาต่อมา

  ในส่วนของพระพุทธองค์นั้น ทรงเป็นกัลยาณมิตรแด่มนุษย์และเทวดาเสมอ ทรงเป็นผู้ชี้ทางพ้นทุกข์ให้

พระพุทธเจ้า เป็นยิ่งกว่าบรมครู วิธีการสั่งสอนแต่ละคนนั้น ทรงมีญาณวิเศษ ล่วงรู้ถึงจริตผู้นั้นๆ และจะทรงใช้วิธีการที่เหมาะสมเฉพาะ

 สำหรับพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงมีปัญญามาก แต่ก็ทรงมีความหลงมาปิดบัง เป็นต้นว่าทรงศรัทธา หลงเชื่อต่อผู้แสดงคุณวิเศษเช่นพระเทวทัตอย่างง่ายดาย

 เมื่อเวลาผ่านพ้นไป พร้อมกับได้ทรงกระทำกรรมหนัก และได้รับผลในปัจจุบันชาติทันที คือการไม่ได้รับการยอมรับนับถือ มีแต่การตำหนิติเตียน ให้เศร้าพระทัย และหวาดระแวง ตลอดเวลา

 แต่ครั้นเมื่อทรงสำนึกได้ ก็มีความเพียรเสาะหา การแก้ไขพระองค์อย่างไม่ลดละ และมีสติในการพิจารณาไตร่ตรองได้ด้วยพระองค์เอง

เมื่อเริ่มเดินทาง ก็ย่อมถึงจุดหมาย

  เมื่อคราวไปพบอาจารย์เจ้าสำนักทั้ง๖ แห่งนั้น เมื่อได้ทรงศึกษา แนวคิด ความเชื่อของเขาเหล่านั้นแล้ว ก็ไม่เป็นที่พอพระทัย เพราะบ้างก็ว่า บาปไม่มี บุญไม่มี,ฆ่าคนตาย ไม่บาป เหมือนการประหารธาตุที่มาประชุมกัน,บ้างก็ว่า คนเราเมื่อเกิดบ่อยๆเข้า ก็จะมีความบริสุทธิ์ขึ้นมาเอง และ ฯลฯ หล่านี้ จะให้พระองค์เชื่อได้อย่างไร ก็ทุกวันนี้ มิได้เรียกว่า บาปรักษาหรือ พระองค์จึงทรงระลึกถึงแต่เหตุูปิตุฆาต ทรงทรมานในดวงพระหทัย ที่ทรงฆ่า บุคคลที่มีแต่ความรักและปรารถนาดีต่อพระองค์ ก็ถ้าบาปไม่มีพลัง ไฉนจึงจะรู้สึกเจ็บปวด และอยากแต่จะหาวิธีผ่อนโทษให้ตัวเอง

  ที่สงสัยมากที่สุดคือ เมื่อทรงถามเหล่าเจ้าสำนักนั้น ถึงการบวช ต่างก็ตอบคำถามไปต่างๆนาๆ และดูเหมือนต่างก็หวังเอาพระทัยพระองค์ เพื่อหวังลาภยศสรรเสริญอยู่ และยังคงเหลือพระในพระพุทธศาสนานี่แหละ ที่ยังมิได้ทรงสอบถามว่า มีเป้าหมายอันใดในการบวช

 คงมีแต่พระเทวทัต ที่ทรงสนิทชิดเชื้อ จนร่วมกันก่อกรรมหนักไปแล้ว แต่ก็แล้วทำไม เบื้องพระพักตร์ของพระองค์นี้ ก็เป็นพระภิกษุสงค์ศาสนาเดียวกัน จึงดูสำรวม สงบ และมิมีผู้ใดแสดงอาการประจบ หรือหวังผลประโยชน์ ในฐานะที่พระองค์เป็นเจ้าแผ่นดินเลย

 คำที่พระพุทธเจ้าตรัส ก็ช่างมีความไพเราะ ชวนให้ระงับสงบในพระทัย มิได้มีพลังความร้อนรุ่ม เช่นพระเทวทัต ที่นำมาถวายพระองค์ทุกกาล ที่ได้พบกัน

 สิ่งแรกที่พระเจ้าอชาติศัตรู ทรงถามพระพุทธเจ้า ก็คือ เป้าหมายแห่งการบวชของพระในพระพุทธศาสนาคืออะไร?

 คำตอบของพระพุทธองค์ ได้สร้างปัญญา ในการไตร่ตรองโดยปราณีต แก่พระเจ้าอชาตศัตรู ให้ได้แยกแยะว่า "พระแท้" ในพระพุทธศาสนานั้นเป็นเช่นไร

 สิ่งแรกที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นถึงเป้าหมายในการบวชก็คือ การเป็นผู้ต้องการเดิน บนเส้นทางที่ปลอดโปร่ง ไม่คับแคบเหมือนเส้นทางของฆารวาส

ความคับแคบ

ทำให้มีชีวิตเหมือนปูที่ติดร่างแห

  เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ก็ให้รู้สึกว่า เส้นทางฆารวาสนั้น มองเหมือนได้อยู่กับโลกอันกว้างใหญ่ มีอิสระเสรี พร้อมความสะดวกสบาย และบางครั้ง ก็สามารถเดินไต่ไปได้สูงถึงเป็นพระราชา มหากษัตริย์ อย่างที่ต้องยอมสยบด้วยพระเดชานุภาพ

 แต่เหตุไฉนพระพุทธเจ้า จึงได้ทรงตรัสว่า

เป็นเส้นทางอันคับแคบ

พระเจ้าอชาตศัตรู ก็ทรงมีพระดำริ เช่นนี้เหมือนกัน

    ส่วนคำตอบของพระพุทธองค์นั้น คงต้องขอยกไปบันทึกหน้า

ระหว่างนี้ ก็ลองๆคิดกันดูก่อนนะคะ ว่าทำไมเราทั้งหลายที่ยังเป็นแค่ฆารวาส จึงเป็นผู้ที่เดินอยู่บนเส้นทางอันคับแคบเช่นนั้น

   การฟังหรือสนทนาธรรม เป็น

บุญกิริยาวัตถุ ๑ ใน ๑๐ ประการนะคะ

ต้องขออนุโมทนาบุญ ผู้ได้เข้ามาร่วมสนทนาธรรมกันในวันนี้ค่ะ

 ขอให้บุญรักษาทุกๆท่าน

 สวัสดีค่ะ

หมายเลขบันทึก: 203898เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2008 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

อนุโมทนาสาธุด้วยคนครับ

 

สวัสดีค่ะคุณครูโย่ง

ได้บุญสำเร็จในการสนทนาธรรมนะคะ

สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ

เจริญพร โยมหมอ

ชีวิตการเป็นฆราวาสนั้นต้องมีภาระหน้าที่อันหนักมาก

ไม่สามารถที่จะทำให้ปลอดโปร่งได้เลย

แต่ชีวิตเป็นพระก็หนักเหมือนกันนะโยม คือหนักหนาในเรื่อง ที่ต้องต่อสู้กับกิเลส

เจริญพร

กราบนมัสการค่ะท่านพระปลัด

สาธุ กับสิ่งที่ท่านกล่าวมา

ทั้งทางเดินของฆาราวาส และพระ

ก็คงต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดมังคะ

กราบขอบพระคุณค่ะ

  • สวัสดีครับคุณหมอบุญรุ่งตันติราพันธ์
  • ทางเดินของพระกับทางเดินของฆราวาส มิแตกต่างกัน
  • ที่แตกต่างเป็นเพราะ พระ(แท้)เขาได้ปลง วาง ละ ทิ้ง ภาระอันหนักออกไปได้มากกว่าฆราวาส
  • จึงทำให้พระ(แท้)ไปได้เร็วกว่า เหมือนกับมีทางอันโล่งกว้างกว่า ความจริงห่อนใช่
  • ฆราวาสเอง หากปลง วาง ละ ทิ้ง ได้เหมือนพระ(แท้) ย่อมเฉกเช่นเดียวกัน
  • และ ถ้าพระ(เทียม)ทำตนเช่นฆราวาส ก็มีทางอันยิ่งคับแคบอย่างบอกไม่ถูก
  • ขอให้โชคดีมีความสุขครับ

สวัสดีค่ะ

- แวะมารายงานตัวค่ะ กำลังสงสัยเรื่องฆราวาสเหตุใดเป็นหนทางอันคับแคบ พอได้อ่านบันทึกหลาย ๆท่าน พอกระจ่างบ้างแล้ว

ขอบคุณค่ะที่ได้สดับฟังและสนทนาธรรม

- ขอร่วมอนุโมทนาสาธุ ด้วยคนค่ะ

สวัสดีค่ะอ.ทนัน ภิวงศ์งาม

กราบขอบพระคุณค่ะ สำหรับการขยายความถึงหนทางอันคับแคบ

ย่อมเป็นไปได้ทั้งฆาราวาส และพระ(เทียม)

ขอให้บุญรักษาอาจารย์ให้ได้รับแต่ควาสุขเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะคุณเพชรน้อย

ไม่พบกันนาน คิดถึงนะคะ

ค่ะหลายๆท่าน ได้ช่วยกันอธิบายไปบ้างแล้ว

บันทึกหน้าจะนำในส่วนที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้มาให้ได้ศึกษากันค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ

จะจะเลยพี่ ปูติดร่างแห แหม

สวัสดีค่ะคุณsuksom

จะได้นึกออกไง

ติดร่างแห เป็นแบบนี้

ยุ่งพิลึก

พัวพัน อึดอัด คับแคบ

อย่างไปติดร่างแหใครเขาเชียวนะ

ทางเดินอันคับแคบนั้น

ไม่ใช่แปลว่าเดินไม่ได้

เพียงแต่มันช้าและลำบาก

หากใครจำเป็นต้องเดิน

ก็ต้องศึกษาวิธีเดินที่ถูกต้อง

ซึ่งปัจจุบันคงจำเป็นกัน

หากรอทางอันกว้างขวาง

ชีวิตนี้บางคนอาจไม่ได้เดิน

ส่วนวิธีเดินก็นึกถึงตลาดนัด

ที่มีคนเดินแออัดพลุกพล่าน

เคารพสิทธิและหน้าที่กัน

ถ้อยที่ถ้อยอาศัย และให้อภัยกัน

มันก็ไปถึงจุดหมายได้อย่างราบรื่น

ขอบคุณมากนะคะ ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท