เกษตรกรใช้ฉี่วัวมาใช้ไล่แมลงแทนการใช้สารเคมี


เกษตรกรนำฉี่วัวมาใช้ไล่แมลงแทนการใช้สารเคมี ได้ผลดี

เกษตรกรนำฉี่วัวมาใช้ไล่แมลงแทนการใช้สารเคมี

 

          ห่างหายไปนานวันนี้ขอนำเรื่องที่เคยพบเห็นเมื่อครั้งเคยออกไปทำรายการเกษตรบ้านเรามาเล่า   เป็นเรื่องเก่านำมาเล่าแต่ในปัจจุบันเกษตรกรยังทำกิจกรรมอยู่      ได้ออกไปทำข่าวในเขตพื้นที่อำเภอลานกระบือที่ทางสำนักงานเกษตรอำเภอลานกระบือแจ้งว่ามี เกษตรกรที่น่านำไปเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเกษตรกรอื่นๆในชุมชน เกษตรกรรายนี้คือคุณพัชรพร   บำรุงเชื้อ  อยู่บ้านเลขที่ 19/2 หมู่ที่ 2 ตำบลจันทิมา  มีที่ดินอยู่ 42 ไร่แบ่งปลูกหญ้าเลี้ยงวัว   ขุดสระเลี้ยงปลา  ขุดสระเก็บน้าเพื่อใช้ในการเกษตร  ทำนา   ปลูกพืชผักผลไม้หลายชนิด  ในบ่อปลาปลูกผักกะเสด  ผักบุ้ง  บัว จำหน่ายอีกด้วย  เลี้ยงวัวจำนวน 16 ตัว    ถ้าฟังจากข้างต้นก็ไม่มีอะไรน่าสนใจมากนัก

         ทีมงานเจ้าหน้าที่อ.ลานกระบือที่นำดิฉันเข้าไปในพื้นที่           คุณพัชรพร  เก็บผลผลิตปลอดสารเคมีจำหน่าย

                แต่ที่น่าสนใจคือแปลงนี้ไม่มีการใช้สารเคมีเลยในพื้นที่ 42  ไร่แต่จะใช้ฉี่วัวฉีดพ่นแทนสารเคมี ไม่ว่าจะเป็น

นาข้าว   ไม้ผล พืชผักต่างๆ  โดยนำฉี่วัวหนึ่งลิตรผสมกับน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นในแปลงพืชทุกชนิด  จะได้ผลดีมากในนาข้าวโดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แทบไม่มีให้เห็นเลย  ในปัจจุบันการใช้ฉี่วัวฉีดพ่นแทนการใช้สารเคมีได้ขยายไปเกือบทั้งหมู่บ้านทำให้ฉี่วัวมีแทบไม่เพียงพอ  คุณพัชรพร  จึงทำการบรรจุฉีดวัวจำหน่ายลิตรละ 30  บาทมีคนในหมู่บ้านมาจองซื้อกันทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทาง  โดยความคิดนี้ได้มาจากการที่มองว่าสมัยก่อนไม่มีการใช้สารเคมีทำไมไม่มีแมลงรบกวนโดยเฉพาะในนาข้าวและสังเกตเห็นว่าแปลงนาตรงไหนที่นำวัวไปเลี้ยงและวัวฉี่ในพื้นที่นาเมื่อทำนาแล้วนาแปลงนั้นไม่มีแมลงมารบกวนจึงนำฉี่วัวมาทดลองใช้ปรากฏว่าได้ผลที่ดีน่าพอใจ

                   ดิฉันพร้อมจนท.อ.ลานกระบือและคุฯพัชรพร             ผักกะเสดปลอดสารเคมีจ้า

                นอกจากนี้คุณพัชรพร  ยังมีรายได้อีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติคือการดักแมลงขาย  โดยนำหลอดไฟฟ้าแบล็คไลท์ไปติดตั้งกลางนา  และนำสังกะสีมาไว้ใต้หลอดไฟและกระมังน้ำมารองรับตัวแมลงที่ตกลงแผ่นสังกะสี  ตอนกลางคืนก็เปิดไฟทิ้งไว้ตอนเช้าก็มาเก็บแมลงในกระละมังนำแมลงมาคัดแยกจำหน่ายแมลงที่ได้ก็ได้แก่ แมลงกะชอน  จิ้งหรีด  ตั๊กแตน  ส่วนแมลงอื่นที่ขายไม่ได้ก็นำมาเลี้ยงปลาในบ่อ แมลงที่จับขายจะขายได้กิโลกรัมละ80-100 บาททำให้บางเดือนมีรายได้จากการจับแมลงขายเดือนละประมาณ 5,000-10,000 บาทต่อเดือน   ซึ่งผลจากตรงนี้ก็น่าจะเป็นผลมาจากการไม่ใช้สารเคมี  ระบบนิเวศน์จึงกลับคืนมาสู่ธรรมชาติ

                                                           ฉี่วัวบรรจุขวดจำหน่ายขวดละ  30 บาท

                จากการสอบถามคุณพัชรพร   บอกว่าวิถีในการดำเนินชีวิตนี้ได้มาจากแนวหลักเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งได้เริ่มมา  7 ปี      นี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของเกษตรกรที่น่านำมาเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพการเกษตร

หมายเลขบันทึก: 202229เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2008 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

น่าสนับสนุน ๆ อิอิ ไปขอฉี่วัวที่ฟาร์มเขาเลี้ยงกันเยอะ ๆ มาให้เกษตรกรได้ไหม

  • ธุค่ะ..

แล้วมันไม่มีโรคอะไรหรือคะ???????   สงสัยน่ะค่ะ

ก่อนอื่นขอขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ ขอตอบว่าที่ พ.ต.ณัฏพล ต้นมิ่ง ถึงวิธีการเก็บฉี่วัวจากการพูดคุยกับคุณพัชรพร บอกว่าเขาเลี้ยงวัวมานานจะรู้ถึงนิสัยของวัว ในช่วงเช้าก่อนจะปล่อยวัวออกจากคอก ส่วนมากวัวจะฉี่ ก่อนที่วัวจะฉี่วัวจะยกหางขึ้น แล้วทางคุณพัชพรก็จะเอาถังมารองรับค่ะแล้วก็นำไปใส่ขวดอีกทีหรือจะนำไปใช้เลยก็ได้

เป็นวิธีการที่น่านำมาใช้ในหลาย ๆ พื้นที่ที่ทำการเกษตร

เพราะจะช่วยให้ระบบนิเวศดี ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน

อีกทั้งยังไม่ต้องเปลืองเงินซื้อสารเคมีมาฉีดพ่น

แต่ฉี่วัวมีความสะอาดมากเพียงใด??

ฉี่วัวไม่มีผลข้างเคียงกับผู้ใช้หรือพืชผลหรอคะ??

น่าสนใจมากคะ ขอข้อมูลให้นักเรียนทำโครงงานศึกษา ฉี่วัว ว่ามีอะไรในฉี่วัวบ้าง ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท