ทฤษฎีเกี่ยวกับการสอนของบรูเนอร์ (Bruner)


แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนการสอน

บรูเนอร์ (Bruner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้เสนอหลักการสำคัญในการจัดการศึกษาว่า ควรคำนึงถึงทฤษฏีพัฒนาการในการกำหนดเนื้อหาความรู้กับวิธีสอน (ภพ  เลาหไพบูลย์, 2542, หน้า 74 - 77)

                          การนำทฤษฎีของบรูเนอร์มาใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

                               1.  ในระดับมัธยมศึกษานั้นนักเรียนสามารถใช้สัญลักษณ์ได้มากขึ้น ครูมีวิธีช่วยให้พัฒนาขึ้นไปได้อีกโดยกระตุ้นให้ใช้การค้นพบด้วยตนเอง โดยเน้นความเข้าใจในมโนมติ  และสิ่งที่เป็นนามธรรม

                                2. หลักการสำคัญที่เกี่ยวกับการสอน  และการเรียนรู้ ของบรูเนอร์  มีดังนี้

                     2.1  เนื้อหาวิชาควรจัดแบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ  และจัดลำดับให้เหมาะสมกับผู้เรียน

                     2.2  การสอนต้องคำนึงถึงความพร้อม  และแรงจูงใจของผู้เรียน

                     2.3  การเสนอกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ แบ่งเป็น  3  ขั้น คือ

                   2.3.1  ขั้นลงมือปฏิบัติจากของจริง

                   2.3.2  ขั้นเรียนรู้จากรูปแบบ  และใช้จินตนาการ

                    2.3.3  ขั้นการใช้สัญลักษณ์  และตัวเลขในการแทนค่า

                                3.  วิธีสอนที่จะให้ผู้เรียนมีความรู้คงทน  และถ่ายโยงการเรียนรู้ได้คือ วิธีการค้นพบด้วยตนเอง ซึ่งทำได้ ดังนี้

                                      3.1  นำเสนอปัญหา

                                      3.2  ทำความเข้าใจกับปัญหา

                                       3.3  แก้ปัญหาโดยครูจัดหาวัสดุอุปกรณ์มาให้

             3.4  แสดงผลการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

             3.5  ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหา

             3.6  สรุปผลที่ได้จากการแก้ปัญหา

                    การสอนให้ผู้เรียนค้นพบด้วยตนเองของบรูเนอร์เป็นแนวทางให้นักการศึกษานำมา

ดัดแปลงเป็นวิธีสอนแบบต่าง ๆ เช่น การสอนแก้ปัญหา  การสอนแบบวิทยาศาสตร์  การสอน

แบบสืบเสาะหาความรู้

                                4.  การจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนต้องให้ท้าทายความคิดและการกระทำ

โดยการจัดกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องใช้กระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหา

                                5.  การเรียนรู้กระบวนการมีความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้เนื้อหาด้านความรู้

หมายเลขบันทึก: 202222เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2008 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เห็นด้วยอย่างยิ่ง สองเรื่อง

1) การสอนต้องคำนึงถึงความพร้อม และแรงจูงใจของผู้เรียน

2) การเรียนรู้กระบวนการมีความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้เนื้อหาด้านความรู้

ส่วนเรื่องอื่นเห็นด้วยมากครับ

อิอิ ต้องมีแยกด้วยนะครับเนี่ย เพื่อความเข้าใจใช่ไหมครับ ขอบคุณมากครับ

จำเยอะๆ ทฤษฎีต่างๆ เพื่อสอบวันที่ 24 นี้นะจ๊ะ

มีอะไรดีๆมาตลอดเลยนะไอ้น้องชาย

สวัสดีค่ะน้องชาย

  • ครูอ้อยมาแอบอ่านอีกแล้ว  ชอบคำว่า  ความรู้ที่คงทน
  • แล้ว  ความรักที่คงทน  ใช้ทฤษฎีน้ด้วยหรือเปล่า หนอ

อีกอีก ชอบชอบ

  • ขอบคุณครับ พี่ขวัญ
  • สวัสดีครับ พี่เจน
  • ครับ พี่ครูอ้อย สวัสดียามเช้าครับ อิอิ น่าจะใช้ได้นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท