หลักสูตรท้องถิ่นกับความจริงบางส่วน


หลักสูตรท้องถิ่น

                    ในสัปดาห์นี้มีโอกาสได้อ่านบทความเรื่องหนึ่ง ซึ่งสะท้อนความคิดได้ว่า หลังจากการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของแต่ละสถานศึกษา โดยได้จัดทำขึ้นตามจุดหมาย โครงสร้างและมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ โดยแต่ละสถานศึกษาจัดเวลาเรียนและเนื้อหาสาระตามสภาพของโรงเรียนและชุมชน ภายใต้การประเมินผลการจัดการศึกษาในระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ แต่หลักสูตรที่สถานศึกษาสร้างขึ้นนั้นพบว่าไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตามมาตรฐานที่กำหนด เนื่องมาจากผู้นำหลักสูตรไปใช้ซึ่งก็คือ ครูนั่นเอง เหตุเพราะว่า ครูไม่ได้วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนให้ชัดเจน ถูกต้อง ครอบคลุมทุกประเด็น  อย่างเช่น ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน คือ ผู้เรียนที่มาจากกลุ่มชนชั้นกลาง จะมีงานและความสำเร็จเป็นแรงขับในการตัดสินใจ ผู้เรียนที่มาจากกลุ่มร่ำรวยจะมีการเมือง สังคมและสภาพเศรษฐกิจ เป็นแรงขับ และผู้เรียนที่มาจากกลุ่มยากจน จะมีความอยู่รอด ความสนุกสนานและความสัมพันธ์เป็นแรงขับ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงไม่หลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียน ครูจึงควรให้ความสำคัญกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนแต่ละคนด้วยความรัก ความเมตตา และความปรารถนาดี ด้วยการฝึกฝนให้ผู้เรียนได้คุ้นเคยกับรูปแบบต่าง ๆ ของวิธีการเรียนรู้ ตามเนื้อหาและทักษะกระบวนการตามที่หลักสูตรกำหนด รวมถึงการดัดแปลงให้เหมาะสมกับความต้องการ ความถนัดและศักยภาพเฉพาะตนของผู้เรียนเอง

                    การสร้างหลักสูตรให้สามารถพัฒนาผู้เรียนได้นั้น ครูจึงต้องจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยครูเป็นผู้กระตุ้น ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกัน ได้อภิปรายและสร้างผลงานร่วมกันในเนื้อหาที่บูรณาการกับวิชาอื่น ๆ ตามชีวิตจริง โดยมีครู ผู้บริหารและผู้ปกครอง ร่วมมือกันและเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน โดยให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา บุคลากร สิ่งแวดล้อม การคบเพื่อน ผู้ปกครองและชุมชน  หรือท่านผู้อ่านคิดว่าอย่างไร แลกเปลี่ยนความคิดกันหน่อยเป็นไร

หมายเลขบันทึก: 200805เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2008 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ถูกต้องอย่างที่คุณsunee เขียน แต่ที่โรงเรียนวัดหนองหล่ม สพท.ลพ.1ประสบความสำเร็จในการพัฒนาผู้เรียนเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นเพราะเกิดจากปัจจัยอย่างที่เขียนคือมาจากความร่วมมือของชุมชนและเป็นความต้องการของผู้เรียน เรียนรู้จากบริบทของท้องถิ่นคะ พูดคุยกันได้นะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท