พิชิตยอดเขา ด้วย C-circle of excellence


สมมุตตัวเองเป็นหนึ่งในทีมผู้เดินทางที่จะไปพิชิตยอดเขาลูกหนึ่ง


ท่านผู้อ่านลองดูภาพ และสมมุตตัวเองเป็นหนึ่งในทีมผู้เดินทางที่จะไปพิชิตยอดเขาลูกหนึ่ง  ก่อนเดินทางท่านคงต้องสำรวจตรวจตราหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสภาพพื้นที่ที่จะไปเป็นอย่างไร ความพร้อมของท่านมีแค่ไหน เพื่อนร่วมทีมของท่านเป็นอย่างไร (context)  จากนั้นก็สำรวจว่า สิ่งท้าท้ายที่ต้องเผชิญคืออะไร (challenges) และ ด้วยสภาพแวดล้อมและ สิ่งท้าทายนั้น ท่านจะเดินไปถึงจุดไหน ยอดภูเขาลูกไหนที่ท่านต้องพิชิตให้ได้ (commit target) เสร็จแล้วก็วางแผนและเริ่มการเดินทาง (begin the journey, change)  ระหว่างการเดินทาง ก็เก็บเกี่ยวสิ่งที่พบเจอ และบันทึกไว้ (capture and codify) และเมื่อท่านไปถึงจุดหมาย ก็ ฉลองชัยชนะกับเพื่อนร่วมทีม และนำความสำเร็จนั้นมาเล่าให้คนอื่นๆ ฟัง (cheer & share)

นี่เป็นแนวคิดการนำ "tracer" สู่การปฏิบัติด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า C-circle of excellence โดยอาจารย์ นพ.สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล ผู้เชี่ยวชาญด้าน HA ที่พวกเราคงรู้จักกันดี (อดีตอาจารย์ มอ. ภาคโสตฯ, ผอ.รพ.ราษฎร์ยินดี, และ ผอ.รพ. พญาไทย 2, ขณะนี้ เป็น CEO ของ ADLI solutions)  อ.สิทธิศักดิ์ บรรยายในการประชุม 7th HA National Forum ในหัวข้อ “Integrated tools into tracer”  อ.สิทธิศักดิ์บอกว่า คงเหมือนอีกหลายคน เมื่อได้ยินคำว่า tracer แล้วเกิดอาการ “งง” แต่… ทุกวิกฤตก็กลายเป็นโอกาสเสมอสำหรับมือชั้นเซียน  อ.สิทธิศักดิ์วิเคราะห์แนวคิดของ พรพ. และนำมาสู่ นวัตกรรมเครื่องมือในการนำ tracer สู่การปฏิบัติ นั่นคือ C-circle of excellence ซึ่งประกอบด้วย 6 C คือ Context, Concern & Challenge, Commit target, Change, Capture and Codify, และ Cheer & share ดังที่เปรียบเปรยได้กับการเดินทางในภาพ

เป็นแนวคิดที่ขยายจากที่พรพ.แนะนำไว้ 5 ขั้นตอน ในการทำกิจกรรม “การตามรอย” คือ  

1. วิเคราะห์บริบท (Context)
2. เลือกประเด็นสำคัญ/ความเสี่ยงสำคัญ (Critical Issues/Risks)
3. กำหนดเป้าหมายเครื่องชี้วัดสำคัญ  (Purposes & Key Indicators)
4. กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ  (Key Processes for quality)
5..จัดทำแผนการพัฒนา และดำเนินการพัฒนา  (Continuous Improvement)

ดูๆ แล้ว tracer ก็คล้ายกับ CQI  ที่เราคุ้นเคย แต่มีขั้นตอนและจุดเน้นเพิ่ม 2 ประเด็น คือ  1.ในการเลือกประเด็นเพื่อพัฒนานั้น ให้วิเคราะห์บริบทเกี่ยวข้องด้วย และการวิเคราะห์ ต้องสอดคล้อง หรืออยู่ใน umbrella ใหญ่ขององค์กร  2. การวิเคราะห์กระบวนการคุณภาพนั้น เน้นให้ดูทุกองค์ประกอบในระบบ ที่เกี่ยวข้องกับ tracer  ซึ่งเมื่อเทียบกับ CQI ที่เราคุ้นเคย จะเป็นการดำเนินการพัฒนาคุณภาพเฉพาะจุด และการเลือกประเด็นปัญหา เป็นจากการพิจารณาในหน้างาน หรือ ส่วนงานที่เรารับผิดชอบเฉพาะจุดไป

อ.สิทธิ์ศักดิ์ กล่าวสรุปว่า “แท้จริง clinical tracer ก็คือเครื่องมือที่ใช้หมุน PDCA หลายๆ วงในองค์กร เป็น PDCA ที่ synergy เรียงร้อยต่อกันเป็นอุบะที่สวยงาม”  และฝากตบท้ายว่า

ขอเพียงเริ่มออกเดินทาง
ชมนกชมไม้ข้างทาง เก็บเกี่ยวเล่าสู่กันฟังบ้าง
และ…ฉลองความสำเร็จร่วมกัน

เวลานี้ พวกเราชาวพยาธิ เริ่มการเดินทางสู่ดวงดาว ISO15189 มาไกลกว่าครึ่งทางแล้ว แต่เสียดายจัง ยังไม่ค่อยเห็นภาพความสวยงามระหว่างการเดินทางมาเล่าสู่กันฟัง (มีบ้างจากบันทึกพี่เม่ย)  ทำยังไงดีที่จะให้การเดินทางของพวกเราครั้งนี้ มีชีวิตชีวา เต็มไปด้วยความสุข และสนุก  ใครช่วยบอกที !!

คำสำคัญ (Tags): #คุณภาพ#ha#tracer
หมายเลขบันทึก: 20026เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2006 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ทำให้ ISO เป็นเรื่องของทุกคนครับ ไม่ใช่บางคน (เหมือน patho otop)

ถึงคุณพี่หมอที่เคารพรัก

สัญญาค่ะ2ปีแล้วนะค่ะ

รักและคิดถึง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท