กรอบแนวคิดระบบติดตามประเมินผล กศน.


ติดตามประเมินผล

กรอบแนวคิดการสร้างระบบติดตามประเมินผล กศน. บันทึกผลการเรียนรู้รายบุคคลสัปดาห์ที่ 4

    ระบบติดตามประเมินผลนี้จัดทำเพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหาร กศน.ระดับอำเภอใช้เป็นแนวทางในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานให้มีข้อมูลสารสนเทศที่เพียงพอ เหมาะสมและสามารถพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องได้  รูปแบบระบบประยุกต์ใช้จากเทคนิคแผนที่ผลลัพธ์ (Outcome  Mapping )  ทั้งนี้ คาดหวังว่ารูปแบบระบบติดตามประเมินผลนี้จะเป็นเครื่องมือช่วยผู้บิรหาร กศน.ระดบอำเภอ ให้สามรถแก้ไขปัญหาการติดตามประเมินผลและสร้างระบบติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างง่าย ๆ ได้  โดยมีกรอบความคิดดังนี้

1. ความสำคัญ/ที่มา 

    การติดตามประเมินผลแบบเก่า/ระบบดั้งเดิม เครื่องมือ/วิธีการติดตามประเมินผล ส่วนใหญ่จะมาจากการที่ " คนดำเนินการโครงการเป็นฝ่ายผลักดันการพัฒนา" แต่ในการปฏิบัติงานจริงความสำเร็จท่เกิดขึ้นจากการพัฒนาในหลาย ๆ โครงการ ดังนั้น ปัญหาคือ ผลลัพธ์/คำตอบที่ได้จากการติดตามประเมินผลจึงคาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

2. หลักการ

    2.1 ให้ความสำคัญกับเครือข่าย/ชุมชุน

    2.2 เกิดการเรียนรู้ร่วมกันจากผลการประเมินแล้วนำผลมาปรับปรุง

    2.3 การมีส่วนร่วมในกระบวนการ

    2.4 เป็นขั้นตอนสู่ผลลัพธ์ท่พึงปรารถนาร่วมกัน

    2.5 มองเห็นผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงระหว่างดำเนินการโครงการ ความกว้าวหน้าและมีการติดตาม

         ต่อเนื่อง

    2.6 มุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนที่สร้างความสำเร็จของโครงการ

    2.7 เป็นเครื่องมือที่คนทำงานมองตนเอง

 3. ความหมาย         

แผนที่ผลลัพธ์ (Outcome Mapping) เป็นเครื่องมือที่ใช้ออกแบบการทำงานของแผนงาน/โครงการที่มีแนวคิดริเริ่มจากความพยายามที่จะสร้างความชัดเจนให้กับการติดตามและประเมินผล โดยเฉพาะกับงานพัฒนาสังคมที่มีความซับซ้อน แต่การสร้างความชัดเจนของการทำงานแบบแผนที่ผลลัพธ์จะเป็นการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบแผนงาน/โครงการที่ต้องมีความชัดเจนก่อน ที่จะส่งผลไปสู่การติดตามและประเมินผลในท้ายที่สุดในการออกแบบการทำงานของแผนที่ผลลัพธ์ แผนงานจำเป็นต้องสร้างความชัดเจนให้กับตนเองในการเลือกและกำหนดกลุ่มคน/องค์กรที่แผนงานจะเข้าไปทำงานด้วย ว่าควรที่จะเข้าไปทำงานกับใครอย่างไร ซึ่งกลุ่มคน/องค์กรเหล่านี้จะมีความแตกต่างกันในการที่จะสร้างความสำเร็จตามที่แผนงานต้องการเห็น ดังนั้นจึงต้องมีการวางบทบาทการทำงานต่อกันที่แตกต่างกัน แผนที่ผลลัพธ์จะมีการกำหนดจุดสังเกตของการเปลี่ยนแปลงระหว่างการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อเป็นแนวทางให้กับคนทำงานได้ทราบถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงาน และใช้ข้อมูลจากการทำงานเหล่านี้เป็นฐานให้กับการติดตามและประเมินผล

 

4.  รูปแบบ/ขั้นตอนระบบติดตามประเมินผล ด้วยเทคนิค แผนที่ผลลัพธ์ ( Outcome  Mapping)

      ขั้นที่  1   การกำหนดกรอบการพัฒนา

1.1    สร้างวิสัยทัศน์

1.2    กำหนดพันธกิจ

1.3    ระบุภาคีหุ้นส่วน

1.4    กำหนดผลลัพธ์ที่พึงปรารถนา

1.5    สร้างเกณฑ์วัดความสำเร็จ

1.6    กำหนดแผนยุทธศาสตร์

1.7    การดำเนินการระดับองค์กร

       ขั้นที่ 2   การติดตามผลลัพธ์

2.1    จัดลำดับการติดตาม

2.2    สร้างแบบบันทึกการติดตาม

2.3    สร้างแบบบันทึกยุทธศาสตร์

2.4    สร้างแบบบันทึกการดำเนินงาน

       ขั้นที่  3  จัดทำแผนการประเมินผล

                     3.1  แผนการประเมินผล 

 

 มานะ  สามัคคี  ผู้บันทึก

 

หมายเลขบันทึก: 199305เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2008 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท