ต่อเนื่องมาจากบทความ ข้ามภพ (ครบพล่าม)
The Chinese word weiji (危機 translated as "crisis") is often said to be composed of the characters for "danger" and "opportunity"; the implication being that in Chinese culture, a crisis is regarded not merely as a danger, but also as an opportunity. (Ref.1 + Ref.2)
คำว่าเหวยจี (危機) มาจากคำว่า อันตราย (danger) และโอกาส (opportunity) สมาสกัน รวมความแล้วแปลได้ว่า วิกฤติ (crisis) ซึ่งหมายถึง ในยามที่เกิด อันตราย ย่อมที่จะมีโอกาส(รอด) พร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น(การมี) เรือดีพายดีไม่ขี่ข้าม กลับเอาเรือรั่วน้ำมาข้ามขี่ ผู้ที่นำเรือมีรูมาพายในน้ำ แน่นอนเขาผู้นั้นย่อมที่จะต้องประสบกับสภาวะวิกฤติ คือต้อง ล่ม จม แน่ๆ ไม่ช้าก็เร็ว เพราะใครก็ตามที่โดยสาร โดยเรืออันมีรูรั่ว (ไม่ต้องนั่งสมาธิแล้วได้ อนาคตังสญาณ ก็ยังรู้เลยว่าเขาผู้นั้นย่อมที่จะต้อง ล่ม จม ลงพร้อมกับเรือ ไม่เร็วก็ช้า) ความล่มจม ก็คือความอันตราย ของชีวิต โอกาส(รอด) ของเขาผู้นั้นก็คือ รีบนำเรือกลับเข้าฝั่ง เพื่ออุดรู รั่ว ในระหว่างที่ยังไม่ถึงฝั่งอาจจะต้องใช้มือวิดน้ำออกจากท้องเรือด้วย อันว่าพระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ความว่า วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา (เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จ) และ วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ตัวอย่างก็เช่น พระมหาชนก ผู้ซึ่งมีความเพียรพยายามแหวกไหว้อยู่กลางทะเลหลวงถึง เจ็ดทิวาราตรี ผู้ที่เพียรพยายามอย่างเต็มที่แล้วบัณฑิตย่อมไม่ติเตียน การแหวกว่ายในทะเลหลวงนั้นถือเป็นสภาวะวิกฤติ ทว่าการแหวกว่ายอยู่ใน โอฆสงสาร นั้น ถือเป็น สภาวะวิกฤติที่ยิ่งกว่า