เป็นการดำเนินงานครั้งที่ 2 ของการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2551 ของสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2551 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
ความหนาแน่นของเกษตรกรที่ที่มาจดทะเบียนจำนำข้าว ที่ทะยอยกันมาเป็นระยะ มิใช่สิ่งขวางกั้นการนัดหมายของทีมงานวิจัยจากส่วนกลาง จังหวัด และอำเภอ เพราะเรารอได้ ทั้งนี้หลงจากเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอเสร็จสิ้นภารกิจงานดังกล่าวก็มาพร้อมกันในห้องประชุมเพื่อปฏิบัติงานในก้าวต่อไปก็คือการทบทวนงานส่งเสริมการเกษตรที่ตนเองทำ ภายใต้การตั้งประเด็นการสนทนาต่าง ๆ ที่วิทยากรกระบวนการได้ร่วมกันกระตุ้นกลุ่มเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า ให้เล่าข้อมูลที่ตนเองปฏิบัติกันจริง ๆ กับการทำงานที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่แต่ละคน ต่างทำงานส่งเสริมการเกษตรกันล้นมือ มีภารกิจงานให้ปฏิบัติตามคำสั่งอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะ "เรื่องการจัดเก็บข้อมูลการเกษตร" ที่ต้องทำซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะหลายคนสั่งการและหลายหน่วยงานสั่งการให้ทำ ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่จัดเก็บข้อมูลให้เสร็จแล้ว และบันทึกข้อมูลให้เสร็จแล้วผู้สั่งการแต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงานต่างก็ได้ข้อมูลกลับไปรายงานเป็นผลงานของตนเอง จนลืมคืนข้อมูลให้กับสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า สิ่งเหล่านี้จึงทำให้เจ้าหน้าที่ไม่ค่อยมีเวลาเป็นของตนเอง เกิดความท้อถอยกับเรื่องข้อมูล และยังโดนต่อว่า ๆ ข้อมูลที่จัดเก็บให้นั้น "เชื่อถือไม่ได้" เพราะผู้สั่งการต้องการข้อมูลที่รวดเร็ว ต้องการข้อมูลกระทันหัน จะเอาเดี๋ยวนี้ และที่สำคัญมีทรัพยากรสนับสนุนงานให้อย่างจำกัด ถ้าทำให้ไม่ทันตามที่ต้องการก็โดนตำหนิและโดนรายงานเบื้องบน ดังนั้น จึงทำให้เจ้าหน้าที่ก็ต้องหาวิธีการเอาตัวรอดให้กับตนเองโดยการรายงานข้อมูลเก่าที่มีอยู่เดิม การคาดคะเนข้อมูลภายใต้ฐานข้อมูลเดิม และหลากหลายวิธีการ
แต่ในความเป็นจริงของการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่ต้องรับหน้าที่ดูแลอาชีพการเกษตรให้กับเกษตรกร ต่างมี "จิตสำนึก" ของความรับผิดชอบ ที่ได้จัดการการทำงานในพื้นที่ของตนเองภายใต้ข้อมูลที่แต่ละคนมีอยู่ ได้แก่ ข้อมูลเกษ๖รกรรายบุคคล ข้อมูลเทคโนโลยีการผลิต ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลกายภาพ/ชีวภาพ/เศรษฐกิจ/สังคม ข้อมูลพันธุ์พืช และข้อมูลอื่น ๆ ไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เจ้าหน้าที่แต่ละคนจะต้องทำเองหรือทำร่วมกับเกษตรกรตามประสบการณ์ที่ตนเองและหน่วยงานมีอยู่
ความที่ข้อมูลมีอยู่มากมายและกระจัดกระจายอยู่ที่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตำบลของแต่ละคน สำนักงานเกษ๖รอำเภอบางปลาม้า จึงได้ค้นหาวิธีการพัฒนางานด้วยตนเองก็คือ การรวบรวมและจำแนกข้อมูลออกมาเป็นรายพืช แล้วมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่มีความพร้อมหรือพอจะรับมือไหวช่วยรับผิดชอบ เช่น ข้อมูลเรื่องข้าว และเรื่องอื่น ๆ โดยข้อมูลดังลก่าวได้รวบรวมอยู่ในรูปแบบของเอกสาร และในรูปแบบของการบันทึกผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานต่าง ๆ
ทางด้านการใช้ประโยชน์ข้อมูลนั้น ส่วนใหญ่เป็นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางด้านการรายงานผลงานให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้สั่งการมาให้ทราบเป็นหลัก มีการใช้ข้อมูลเพื่อกำหนดเป้าหมายของสำนักงานเกษตรอำเภอ และข้อมูลบางส่วนก็นำมาใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กับเกษตรกรที่ตนเองรับผิดชอบ แต่ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จัดเก็บนั้นเจ้าหน้าที่ยังเห็นว่า "ยังมีข้อมูลไม่ครบสำหรับใช้งาน ความเป็นปัจจุบันของข้อมูลมีค่อนข้างต่ำ และข้อมูลกระจัดกระจายอยู่ที่เจ้าหน้าที่เป็นรายบุคคลยังไม่มีข้อมูลกลางของหน่วยงาน"
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเมื่อนำ เรื่องข้อมูลการเกษตร มาเทียบกับการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมกาเกษตรจะเห็นได้ว่า ถ้าจะพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตรในเรื่องนี้ ควรจะเริ่มต้นและตัดยอดของการพัฒนางานเฉพาะข้อมูลที่มีอยู่เดิมนั้นมีอะไรบ้าง? มีอยู่แค่ไหนที่พอใช้งานได้แล้ว และมีอะไรบ้างที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้รวดรวดและทันต่อการใช้งานที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งสรุปได้ว่า ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ตอนนี้นั้น มีจำนวน 6 กลุ่มข้อมูลหลัก ได้แก่
1) ข้อมูลเกษตรกรรายครัวเรือน
2) ข้อมูลต้นทุนการผลิต
3) ข้อมูลเทคโนโลยีการผลิต
4) ข้อมูลกายภาพ/ชีวภาพ
5) ข้อมูลการพยากรณ์ศัตรูพืช
6) ข้อมูลภูมิปัญญา/องค์ความรู้
ทั้งนี้ พื้นที่เกษตรกรในความรับผิดชอบของสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาข้าวเป็นหลัก ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้เห็นควร "จัดการข้อมูลการเกษตร..ในเรื่องข้าว" โดยรวบรวม/จัดเก็บ/ตรวจสอบความถูกต้อง/ปรับปรุงข้อมูลในเรื่องข้าว เป็นพืชแรก ที่นำเอาข้อมูลเดิมมาเป็นฐานในการดำเนินงาน แล้วได้จัดสรรงานทั้ง 6 เรื่องให้กับเจ้าหน้าที่ที่มอบหมายงานในรูปแบบของคลัสเตอร์ และให้ไปปฏิบัติและบันทึกข้อมูลตามข้อเท็จจริงที่ทำ ได้แก่ 1) ประเด็น 2) วิธีการทำ 3) ผลที่เกิดขึ้น 4) ปัญหาอุปสรรค 5) แนวทางแก้ไข และ 6) สรุปผลและข้อเสนอแนะ โยเจ้าห้าที่แต่ละชุดจะต้องลงไปในพื้นที่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในพื้นที่ที่ตเองรับผิดชอบ เพื่อนำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงานในเรื่องข้าว และเพื่อวางระบบการจัดการข้อมูลของสำนักงาเกษตรอำเภอบางปลาม้า จงหวัดสุพรรณบุรี
การจัดกระบวนการที่เกิดขึ้นใช้เทคนิคการตั้งประเด็นคำถาม เทคนิคการเล่าประสบการณ์ที่ตนเองปฏิบัติ เทคนิคการจับประเด็นข้อมูล เทคนิคการสรุปข้อมูล เทคนิคการบันทึกข้อมูล และเทคนิคการใช้เครื่องมือเพื่อรวบรวม /ประมวล/วิเคราะห์/สรุปข้อมูล ที่เป็นทีมงานขิงวิทยากรกระบวนการ นอกจากนี้ได้มีการเสริมความรู้โดยการวิเคราะห์เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาสาระที่เกิดขึ้นในเรื่องข้อมูลการเกษตร เข้าสู่ความรู้ทางด้าน "การจัดระบบ" ที่เป็นะบบย่อยของระบบส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ก็คือ ระบบข้อมูลการเกษตร
ดังนั้น ประเด็นที่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษ๖รอำเภอบางปลาม้าจะร่วมดำเนินการในเรื่องที่ 1 ก็คือ เรื่องการจัดการข้อมูลทางการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการให้หน่วยงานมีข้อมูลเป็นของตนเองที่เป็นปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้ในการทำงานกับเกษตรกรได้ เช่น การกำหนดเป้าหมาย การวางแผนพัฒนาการเกษตร และอื่น ๆ ทางด้านผลที่เกิดขึ้นก็คือ 1) ได้ระบบการจัดการข้อมูลทางการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) ได้แนวทางการจัดการข้อมูลทางการเกษตรของเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
ส่วนวิธีการจัดการข้อมูลที่ได้ผลจะเป็นอย่างไรนั้น ก็ต้องมาจากคำตอบหลังจากที่เจ้าหน้าที่แต่ละคลัสเตอร์ลงไปดำเนินการจริงกับเกษตรกรตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่ตนเองรับผิดชอบ แล้วนำผลเหล่านั้นมานำเสนอร่วมกัน.
ขอบคุณท่านอาจารย์มากค่ะ