จุดเริ่มต้นการอ่านEng


เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กไทยได้มีพัฒนาการด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษ

            ผู้เขียนไม่ใช่ครูภาษาอังกฤษแต่ก็ชอบวิชาภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษา และเมื่อวันที่ 2-4 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นวิทยากรภาษาอังกฤษให้กับครู สพท.กำแพงเพชร เขต 2 ทำให้ผู้เขียนได้รับความรู้เพิ่มเกี่ยวกับการอ่านสัทอักษร ซึ่งคิดว่ามีประโยชน์มากกับการนำไปใช้ในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ

http://www.disneyclips.com/เมื่อเราต้องการทราบว่าคำศัพท์ภาษาอังกฤษแต่ละคำอ่านว่าอย่างไร เราก็ต้องเปิดพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย (ในกรณีที่ไม่มีทอล์คกิ้งดิก) พจนานุกรมที่เขียนเป็นภาษาไทยบางเล่ม คำเดียวกันยังเขียนคำอ่านไม่เหมือนกันเลย แต่ถ้ารู้สัทอักษร เราก็สามารถใช้พจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ ได้ เพราะในพจนานุกรมจะเขียนคำอ่านเป็นสัทอักษร ทำให้เราสามารถอ่านออกเสียงคำศัพท์ ได้ใกล้เคียงเจ้าของภาษามากขึ้น

http://www.disneyclips.com/ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นว่า ในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถม น่าจะมีการสอนสัทอักษรเบื้องต้นให้กับนักเรียน เพราะจะทำให้นักเรียนจดจำเสียงสระ และพยัญชนะภาษาอังกฤษได้ดี ส่งผลให้นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง เพราะถ้าออกเสียงไม่ถูกต้องจะทำให้การสื่อความหมายไม่ถูกต้องไปด้วย ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องยาก ยิ่งสำหรับครูที่สอนภาษาอังกฤษไม่ได้จบเอกอังกฤษด้วยแล้วก็ดูยิ่งยากไปใหญ่

            แต่ถ้าครูเห็นความสำคัญเรื่องการสอนสัทอักษรเบื้องต้น (เรื่อง เสียงสระเดี่ยว สระผสม และพยัญชนะ ความยากง่ายขึ้นอยู่กับระดับชั้นและสอนต่อเนื่องกัน) จริงๆ  และครูมีความมุ่งมั่นที่ต้องการให้ศิษย์ของตนได้รับการพัฒนา ก็คิดว่าคงไม่เกินความสามารถของคุณครูไปได้ ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กไทยได้มีพัฒนาการด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษ

คุณครูภาษาอังกฤษท่านอื่นมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างคะ

หมายเลขบันทึก: 198957เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2008 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การเรียนภาษาทุกภาษาต้องเป็นไปตามหลักธรรมชาติ

ธรรมชาติของการสื่อสารทุกภาษา เริ่มจากการจดจำคำก่อน

เช่น เด็กเล็ก เรียก แม่   โดยไม่รู้ว่า แม่ มีตัวอะไรบ้าง

แต่พอโตมาได้เรียนรู้มากขึ้น  จึงรู้ว่ามีตัวนั้นตัวนี่ผสมผสานอยู่

ครูครับ ......... อย่าเพ่ิงสอนสัทศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ ตอนนี้เลย

ไม่ได้ผลหรอกผมลองมาแล้วร่วมเทอม  เพราะผมก็เคยคิดเหมือครูนั้นแหละ   วิธีการที่ได้ผลที่ใช้ทุกวันนี้ ให้เขาจำคำศัพท์สั้น ๆ ง่าย ๆ ให้ขึ้นใจก่อน  แล้วค่อยมาถอดคำศัพท์ที่ละตัวให้เขาเห็นว่าตัวไหนเป็นตัวต้น ตัวสะกด สระผสม พยัญชนะผสม โดยจัดคำที่ออกเสียงสระเหมือนกัน  สระเหมือนกันมาเป็นชุด ๆ ครูสามารถทำถึงขั้นให้เด็กค้นหาเป็นใบงานจนเป็นโครงงานได้เลยนะครับ

ตอนนี้ผมกำลังทำเป็นชิ้นงานหนึ่งของหลักการสอนแบบ Backward Design แบบง่าย ๆ แต่ได้ผลดีครับ  ................

ผมเสนอความคิดว่า ทำจากง่าย ๆ เข้าใจธรรมชาติของการใช้ภาษา น่าจะถูกวิธี

สว้สดีคะคุณ Suchet

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม และยินดีอย่างยิ่งกับความคิดเห็น ที่ทำให้ได้ทราบปัญหาจากประสบการณ์ตรงของคุณครู ถ้าคุณครูมีประสบการณ์อะไรดีๆ แวะมาให้คำแนะนำใหม่นะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ครูอ้อยมาเยี่ยมเยือนค่ะ
  • บล็อกสวยจังค่ะ  มีการ์ตูนน่ารักด้วย
  • ครูอ้อย เห็นด้วยกับ ความคิดเห็นของอาจารย์ค่ะ

แล้วจะมาใหม่นะคะ

สวัสดีค่ะครูอ้อย

  • ขอบคุณคะที่มาเยี่ยม
  • ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นด้วยคะ
  • และยินดีอย่างยิ่งที่ครูอ้อยจะเยี่ยมอีก

                                      

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท