บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีม


คุณค่าของการทำงานอยู่ครูมีความสุขหรือไม่

ผู้บันทึก          นางสาวจารุวรรณ  พูพะเนียด

วันที่บันทึก    เสาร์ที่  26  กรกฎาคม  2551

 

« ประมวลกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ของสมาชิกในกลุ่มในสัปดาห์ที่ 2

            กลุ่ม 3 ไตรภาคี 51 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในช่วงเช้ากันพุธที่  23  กรกฎาคม  2551  เวลา  05.15 – 06.40 น. มีสมาชิกเข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 ท่าน  คือ  ผอ.วิชัย  ผอ.สมประสงค์ ศน. ประสิทธิ์ และจารุวรรณ โดยมีคุณปัด ผู้บริหารโครงการเข้าร่วมวงด้วย  สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ว่า  สมาชิกมีความสนใจ  2 ประเด็น  ดังนี้

                    1.  ความสนใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่สมาชิกแต่ละท่านสนใจและต้องการพัฒนาเป็นนวัตกรรม  มีดังนี้

                      ผอ. วิชัย  สนใจเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน

                      ผอ.สมประสงค์  สนใจ เรื่อง  รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาชุมชน

                      ศน. ประสิทธิ์  สนใจที่จะนำเสนอ เรื่อง การประกันคุณภาพภายใน  ในประเด็น การตรวจสอบ  ทบทวน  หรือ การเขียนรายงาน  และการควบคุมคุณภาพ

                     จารุวรรณ  สนใจ เรื่อง การประเมินและการพัฒนาสมรรถนะครู

                  2. ความสนใจ เกี่ยวกับ  กระบวนการ  เทคนิค และวิธีการที่ใช้ในการขับเคลื่อนเนื้อหาสาระ  ที่สมาชิกสนใจและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และต้องการหาความรู้เพิ่มเติม  ได้แก่ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ  การจัดการความรู้ (KM) การสนทนากลุ่ม  (focus group),  Story telling, 

 

«ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ

            ผลการแลกเปลี่ยนกับผู้เชี่ยวชาญ  สรุปได้ดังนี้

            1.  ส่วนที่เป็นเนื้อหา  สำหรับการพัฒนานวัตกรรมของสมาชิก  สรุปได้ว่า  ดร.อรพิน  เสนอแนะให้ ผอ.สมประสงค์  จัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2 มิติ คือ  มิติที่เป็นความต้องการของโรงเรียนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน  กับ มิติ ที่โรงเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน  และแนะนำเอกสาร เทคนิคการสอนของ ดร.สุวิทย์  มูลคำ  แก่จารุวรรณ

            2.  ส่วนที่เป็นกระบวนการพัฒนานวัตกรรม  อาจารย์วีระชัย  เสนอแนะให้สมาชิกจัดทำกรอบแนวคิดเสนอผู้เชี่ยวชาญพิจารณา แทนการให้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำกรอบแนวคิด  และการเลือกใช้แหล่งข้อมูลจากเอกสารสมุดบันทึกผลการปฏิบัติงานและความดีวางแผนพัฒนาครูนั้นถูกทางแล้ว  ให้พัฒนาต่อไปโดยใช้ แบบประเมินสมรรถนะที่พัฒนาโดยอาจารย์รวีวรรณ

            3. หลักการจัดกรอบแนวคิดเพื่อพัฒนานวัตกรรม ประกอบด้วย 3 ส่วน โดยส่วนที่ 1 คือ  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมที่สมาชิกต้องการพัฒนา  ส่วนที่ 2 คือ  การต่อยอดจากทฤษฎี (สังเคราะห์ความคิด ทฤษฎี)  สรุปเป็นความคิดของผู้พัฒนานวัตกรรม  ส่วนที่ 3 คือ วิธีการไปถึงข้อมูล  นั่นคือ  เราจะใช้อะไรในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยนั่นเอง

                 

ข้อสังเกตจากผู้บันทึก

            1.  ข้อคิด กำลังใจ จากสมาชิกภายในกลุ่มที่มีประสบการณ์  : มุมมองในฐานะคนภายนอก   สรุปได้ว่า 

                  - การบริหารต้องหยิบ เน้นกระบวนการบริหารที่รับผิดชอบ  แยกแยะทักษะ วิธีการ  กระบวนการ  จะใช้เทคนิคการบริหารใดก็ได้ แล้วแต่เรา  แต่เทคนิคการบริหารมีหลายแบบ

                  - ห้องเรียนคุณภาพให้มองที่คุณภาพครู  ผู้บริหารจะทำอย่างไรให้เกิดคุณภาพ  นักเรียนได้อะไรจากกิจกรรมนี้  และคุณค่าของการทำงานอยู่ครูมีความสุขหรือไม่

                  - การพัฒนาครูไปสู่เป้าหมายใช้สิ่งเร้าจากภายนอก  ได้แก่  การประเมินในลักษณะต่างๆ  ทั้งเพื่อการเลื่อนขั้นเงินเดือน  การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  และการเลื่อนวิทยฐานะ สร้างแรงจูงใจภายในให้ครูพัฒนาตนพัฒนางานอย่างสม่ำเสมอ

            2.  ระดับของการเรียนรู้ในองค์กร  มี 3 ระดับ  คือ ระดับบุคคล  ระดับกลุ่ม  และระดับทั่วทั้งองค์กร  แต่เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่า  ระดับการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กรยังเกิดขึ้นไม่มากนัก  ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก  ช่องทางการสื่อสารก็เป็นได้   ระบบการจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้สมาชิกที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนได้ศึกษาจึงมีส่วนสำคัญให้สมาชิกได้เรียนทั่วกันทั้งองค์กร   ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กรในครั้งนี้  ประกอบด้วยสมาชิก ทั้ง 4 กลุ่ม และผู้เชี่ยวชาญ  ทำเห็นภาพของการพัฒนาระบบราชการ

หมายเลขบันทึก: 197399เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2008 01:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่ม 3 มาตลอดนะคะเพราะส่วนหนึ่งก็สนใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ และชุมชนนักปฏิบัติที่เป็นร่มใหญ่ของกลุ่มท่านก็เป็นวิธีการจัดการความรู้อีกรูปแบบหนึ่ง แต่เท่าที่อ่านสรุปของกลุ่ม มีของท่านเดียวที่ตรงกับร่มใหญ่ ไม่ทราบว่า เรื่องการประกันคุณภาพ เรื่องสมรรถนะ และการวิจัยในชั้นเรียน เกี่ยวข้องกับชุมชนนักปฏิบัติอย่างไร อธิบายด้วยค่ะจะได้เชื่อมโยงได้ถูกต้อง และจะเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท