อพส
นาง มลิวัลย์ บริรัตนะวงศ์ kruwan บริรัตนะวงศ์

29 ก.ค. วันภาษาไทยแห่งชาติ


เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้

           ความเป็นมา
        คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆที่ี่เกิดขึ้นต่อภาษาไทยละเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและ

          ความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และ “วันสื่อสารแห่งชาติ” เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

         "ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือมนุษย์ชนิดหนึ่ง คือเป็นทางสำหรับแสดงคามคิดเห็นอย่าหนึ่ง เปนิงที่สวงามอย่าหนึง เช่น ในทางวรรณคดีเปนต้น ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาไว้ให้ดี"

          "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณ   จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน  อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์
         ในวิธีใช้หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบเป็นประโยคนับเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอจึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้"

          "สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่ใช่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก"   

         กระแสพระราชดำรัสเรื่อง ปัญหาการใช้คำไทย ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕o๕

(รักในหลวง ห่วงภาษาไทย: 2544,7) 

         วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับ วันที่ 29 ก.ค. ของทุกปี โดยรัฐบาลได้ประกาศให้วันดังกล่าวเป็นวันสำคัญตั้งแต่ปี 2542 เพื่อระลึกถึงวันที่ 29 ก.ค. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มี หลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน 

          อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่าย ๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก”.


      ภาษาที่มีผู้พูดจำนวนมากที่สุด
ไทย (กลาง) : 20,182,571 : จังหวัดภาคกลาง และจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ
ภาษาไทยถิ่นอีสาน : 15,000,000 ; 17 จังหวัดในภาคอีสาน และในกรุงเทพมหานคร (ราว 1 ล้านคน)
ไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) : 6,000,000 ; ภาคเหนือตอนบน
ไทยถิ่นใต้ (ภาษาไทยถิ่นใต้) : 5,000,000 ; 14 จังหวัดภาคใต้ และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
มลายูปัตตานี: 3,100,000 : ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา 2,600,000 คน พูดในกรุงเทพและที่อื่น ราว 500,000 คน
เขมร : 2,000,000  : สุรินทร์, ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว, ตราด, ร้อยเอ็ด, อุบลราชธานี,
จีนแต้จิ๋ว : 1,081,920 
       

       อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่นๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป และวรรณยุกต์ 4 รูป พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ  อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง

ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน

 

พยัญชนะ

พยัญชนะไทยมี 44 รูป สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค ดังเช่นในภาษาบาลีและสันสกฤต พร้อมแสดงชื่อเรียกในปัจจุบัน

วรรค กะ - ไก่ ไข่ ขวด* ควาย คน* ระฆัง งู
วรรค จะ - จาน ฉิ่ง ช้าง โซ่ เฌอ หญิง
วรรค ฏะ - ชฎา ปฏัก ฐาน มณโฑ ผู้เฒ่า เณร
วรรค ตะ - เด็ก เต่า ถุง ทหาร ธง หนู
วรรค ปะ - ใบไม้ ปลา ผึ้ง ฝา พาน ฟัน สำเภา ม้า
เศษวรรค - ยักษ์ เรือ ลิง แหวน ศาลา ฤๅษี เสือ หีบ จุฬา อ่าง นกฮูก

* เนื่องจาก ฃ และ ฅ ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน จึงอนุโลมใช้ ข และ ค แทนในการสะกด

พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

สระ

สระในภาษาไทยมี 21 รูป :-

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป :-

  •  ่ ไม้เอก
  •  ้ ไม้โท
  •  ๊ ไม้ตรี
  •  ๋ ไม้จัตวา

ตัวเลข

ตัวเลขที่เป็นอักษรไทย เรียกว่าเลขไทย มีลักษณะดังนี้

๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙

วิธีการบอกจำนวนใช้ระบบประจำหลักเหมือนกับตระกูลเลขฮินดู-อารบิกอื่นๆ

เครื่องหมาย


         "การรู้ภาษาและอ่านเขียนได้นี้เป็นประโยชน์มาก ประการหนึ่ง ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อ เช่น ติดต่อการงานกับทางราชการ หรือติดต่อประสานกับผู้ที่มาปฏิบัติงานพัฒนาต่างๆ ซึ่งถ้าติดต่อพูดจากันได้ไม่ติดขัด ก็จะมีความเข้าอกเข้าใจกัน และสามารถร่วมมือกันทำงานสร้างความสุขความเจริญให้เกิดขึ้นได้ อีกประการหนึ่ง การอ่านเขียนหนังสือได้จะช่วยให้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่างๆ ได้มากมาย และความรู้ความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในทางสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ตามที่ต้องการได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ภาษายังเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด รวมทั้งคุณธรรมความดีีทุกอย่าง"

      พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ผู้นำศาสนาอิสลาม (อิหม่าม) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้แทนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตการศึกษา ๒ วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๓o

(รักในหลวง ห่วงภาษาไทย: 2544,10)

หมายเลขบันทึก: 197349เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2008 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ภาษา
  • ตัวอักษร
  • ที่เป็นของเราเอง
  • เป็นความภาคภูมิใจยิ่ง
  • ของชาวไทย

 

 

ค่ะ ปัจจุบันวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเกิดเทคนิคใหม่ๆ

ในการติดต่อสื่อสาร ที่มุ่งเน้นความสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางสำคัญในการติดต่อและผูกพันต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยได้รับผลกระทบ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ทำให้ภาษาไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง หากไม่เร่งรีบหาทางแก้ไขและป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ การใช้ภาษาไทยของเราก็จะยิ่งเสื่อมลง จะส่งผลเสียหายต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของคนไทยได้

รณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

 

ขอกราบขอบพระคุณท่านผอ.ประจักษ์ และทีมงานทุกท่านค่ะ ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี   ทำให้ได้รับความรู้ต่างๆมากมาย  ทราบปัจจัยสู่ความสำเร็จ ชมการนำเสนอBest Practice เรื่องการพัฒนาเพลงพื้นบ้านสู่การได้รับรางวัลระดับประเทศ  ขอชื่นชมกับความสำเร็จค่ะ  เด็กๆน่ารักมากค่ะ
    

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท