วัดคุณภาพ HIVQual T และเสริมความรู้ กัน ในโครงการCAN เด็กสามารถ เครื่อข่ายเชียงราย


ไม่มี สอนlecture แต่ได้ เรียน เยอะมาก

 

อ กุ๊ก พญ รังสิมา โล่ห์เลขาและคุณโหน่งวรวรรณจากศูนย์ ความร่วมมือ ไทย สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (TUC) มาช่วยทีมเชียงรายทำอบรมให้ 16 โรงพยาบาลชุมชนของเชียงราย ในวันที่ 29-30 กค 2551 เพื่อจะลอง นำโปรแกรม HIVQual มานำสู่การปฏิบัติ ที่ รพ ชุมชน ว่าจะเป็นอย่างไร 

ที่พิเศษ เพิ่มในตอนบ่าย เป็นการเรียนรู้จากCase ผู้ป่วย 8 รายที่ได้ดูแลในโรงพยาบาลแต่ละโรง  เราเชิญ วิทยากรผู้รู้มาเพิ่มเติมช่วงบ่าย อีก  3 ท่าน คือ อ พญ พัชรี ขันติพงษ์ กูรูด้านเอดส์ วันที่ 29 และในวันที่ 30 เชิญ อ เจ๋ง  พญ เยาวลักษณ์ จริยพงศ์ไพบูลย์ กุมารแพทย์ ด้านหัวใจ มาพร้อมกันกับ อายุรแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ  อ ยุ้ย พญ หัสยา ตันติพงษ์ 

 โดยทีม รพ เชียงรายเป็นผู้เตรียมรายละเอียดผู้ป่วยด้านการรักษาให้ทั้งหมด ใช้ ข้อมูลในผู้ป่วยจาก ใบ CSR Clinical Summery Report ของแต่ละราย นำผู้เข้าประชุมทั้งหมด 30 กว่าคน  8 โรงพยาบาลในแต่ละวันให้ เจาะลึกเข้าในปัญหาผู้ป่วยเด็กแต่ละรายทีละขั้นตอน ดูการเปลี่ยนแปลงและการตอบสนองการรักษา และปัญหาที่เกิดแทรกซ้อนในการรักษา ให้ผู้เข้าประชุมแตกฉานในความรู้ด้าน การดูแลรักษา เด็กติดเชื้อ เอชไอวี  

 

วันแรก ที่ตึก พยาธิ รพ เชียงราย วันที่สอง  ที่ศูนย์ ประสานงาน ความร่วมมือ  ความร่วมมือ ไทย สหรัฐ ด้านสาธารณสุข

 

 

  เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยจากทุกคนในห้องประชุม                                                         
   

 

 

 

สรุป AAR จากผู้เข้าประชุม

เกินคาด

ชอบ case conference Case เยอะ ได้เรียนรู้เยอะ 21 เสียง

บรรยากาศเป็นกันเองมาก (4)

ได้เรียนทั้งแนวทางการดูแลผู้ป่วยทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ 

อายุรแพทย์มาร่วมประชุม และให้ความรู้

Commentator ยอด

อ พัชรีมา เป้นผู้วิพากย์ ด้วย

ชอบที่แพทย์ วิพากย์

ชอบการทำงานและให้ ความเห็นทั้ง แพทย์ พยาบาล และ NGO

ชอบการมีส่วนร่วมของแพทย์ พยาบาล

แพทย์มาประชุมเยอะกว่าคาด

ได้แนวทางมาพัฒนาต่อ

ทีมงานเตรียมดีมาก รพ ชุมชนไม่เครียดที่ต้องเตรียมเหมือน ครั้งก่อนๆ

ไม่มี สอนlecture แต่ได้ เรียน เยอะมาก

การดูผู้ป่วยของโรงพยาบาลชุมชนเป็น Holistic care จริงๆ

แพทย์รพช สามารถดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้อง

ชอบกิจกรรมค่าย

ต่ำกว่าคาด

อยากให้ครอบคลุมผู้ป่วยทุกชนิด ปัญหาที่เจอบ่อย

เวลาไม่พอ ที่จะทำ ทั้ง HIVQual  ค่าย และ Case studyอยากให้แยกจากกัน

รพบางแห่ง ไม่ได้ Power point file HIVQUAL ไม่ได้เอาผลประเมินมาให้ดู

พยาบาล รพช ยังขาดทักษะการ ประเมิน พัฒนาการ และการเจริญเติบโตเด็ก

ตอนเช้าง่วง

แพทย์ที่รับผิดชอบมาไม่ได้

ไม่สามารถ psesent และเอารูปค่ายมาให้ดูได้ จะทำคราวหน้า  

case ที่มีปัญหาจาก รพชซำๆ กัน อยากให้Case ครอบคลุมปัญหาที่เจอบ่อย

ขอเวลาเพิ่ม เวลาไม่พอ

ช่างกล้องมืออาชีพ ไม่ได้มาในวันที่ สอง รูปถ่ายเลยไม่ได้เห็นวิทยากรชัดๆ

 

สิ่งที่จะทำต่อไป

อยากให้เตรียม รายงานผู้ป่วยไปอ่านก่อน

อาจให้แยกกลุ่มแพทย์ ไปคุยเชิงลึก(1)

ไม่ควรแยก กลุ่มแพทย์ ออกไป ควรคุยไปด้วยกันกับห้องใหญ่(3-4 เสียง)

อยากให้เชิญ อาจารย์จิตเวชเด็กมาด้วย

น่าจะประชุมทุก 3 เดือน 1 ปี ห่างไปจะได้ประสานงาน HIVQual    

ขอกำหนดปัญหา case มาเลยว่าต้องการอะไร

อยากให้มีปีละ 2 ครั้ง / ปีละ 3 ครั้งน่าจะดี 

อยากให้แพทย์มาอย่างนี้อีก

อาจจะมีงบช่วยในการ ทำ พัฒนา งาน HIVQual

การวัดพัฒนาการ  พยาบาลชุมชนทำยังไม่ได้ จะทำ training Need ต่อ

อยกให้เลือกคัด case จาก รพช ไม่ให้ ปัญหาซ้ำกัน   

 

 

หมายเลขบันทึก: 197344เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2008 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ยอดเยี่ยมเช่นเคยค่ะ

บิ๋นห์

คุณ บิ๋นห์ ธนันดา แห่ง TUC

กำลังจะปรึกษา เธอ เรื่องจะ เสนอให้ TUC ทำ Program ลงข้อมูล เพื่อให้แต่ละจังหวัด สามารถ นำมาข้อมูลผู้ป่วยประมวลผล print ออกมาเป็นใบ Clinical summary Report เพื่อให้ทีมนำมาใช้ดูแลรักษาในแต่ละรายได้สะดวก

โปรแกรมของคุณ ศรีลัยที่มีอยู่แล้ว จะได้ เป็นประโยชน์ ต่อผู้ป่วยในแต่ละ site ต่อ ไป

ขอบคูณ ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์รวิวรรณค่ะ ที่สละเวลาสรุปข้อมูลและมีรูปถ่ายสวยๆให้ดูกันเช่นเคยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

ครูอ้อยมาทักทายและเป็นกำลังใจค่ะ

ขยันจังเลย  แบบนี้น่าชื่นชม

สุขภาพแข็งแรงนะคะ

คิดถึงเสมอค่ะ

คิดถึงครูอ้อย เช่นกันค่ะ

ขอบคุณ ที่มาให้ กำลังใจนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท