ใช้ชีวิตอย่างไรให้มีสุข ในยุคเศรษฐกิจฝืด


"ศิลป์และธรรม สุนทรียะแห่งชีวิต"

 

               ถึงเศรษฐกิจจะตกสะเก็ด แต่ชีวิตก็มีความสุขได้ ถ้ารู้จักคิดบวกเพื่อชีวิตบวก!! ในงานเสวนาธรรมเรื่อง "ศิลป์และธรรม สุนทรียะแห่งชีวิต" (คิดบวก...ชีวิตบวก) โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ที่ดับเบิ้ล เอ บุ๊ค ทาวเวอร์ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ให้แง่คิดเรื่องการใช้ชีวิตอย่างให้มีสุข โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคิดดีทำดี


 

วิธีคลายเครียด


         หากจะอยู่ให้รอดในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ "ท่าน ว.วชิรเมธี" บอกว่า ต้องเปลี่ยนวิธีบริโภคจากที่เคยตามใจตัวเอง มาเป็นบริโภคตามความจำเป็น ถ้าวิ่งตามความอยาก ไม่ว่าวันไหนๆ เราก็จะทุกข์ เพราะความอยากไม่เคยมีขีดจำกัด กินเท่าที่จำเป็น ใช้เท่าที่จำเป็น ถ้าอยู่ในโลกของความเป็นจริง ไม่ต้องจ่ายแพงเพื่อรักษาหน้าตา ทำตัวเป็นคนธรรมดาๆ ก็ไม่ต้องเสียเงินรักษาภาพพจน์ และจะมีความสุขได้ แม้ในยุคข้าวยากหมากแพง


ข้อมูลจาก

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ภาพประกอบจาก
- trangzone.com
- freekick.files.wordpress.com
- seedinsow.spaces.live.com

 

คิดบวก



         "ท่าน ว.วชิรเมธี" เปิดฉากการเสวนาว่า สิ่งที่อยู่กับเราตลอดเวลา คือ ความคิด ชีวิตของคนเราเป็นเงาสะท้อนของความคิด เราคิดอะไร ชีวิตเราก็จะปรากฏมาอย่างนั้น ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเรามีทั้งดีและไม่ดี แต่มันอยู่ที่แนวความคิดของเราว่า เราจะเอาสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มาทำให้เรามีกำลังใจที่จะต่อสู้กับเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราอย่างไร เวลาเจองานหนักให้บอกกับตัวเองว่า นี่คือโอกาสกับตัวเองว่า นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ เวลาเจอทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือแบบฝึกหัดที่ทำให้เกิดทักษะในการดำรงชีวิต

         การคิดบวกจะได้ผลหรือไม่ได้ผลต้องดูว่า มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเราหรือไม่ ซึ่งประโยคนี้ "ท่าน ว.วชิรเมธี" ขยายความว่า
การคิดบวกมี 2 ลักษณะ คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับความคิดอย่างเดียว คือ คิดบวกแล้วทำให้ชื่นอกชื่นใจ ทำให้ได้ปัญญา หรือคิดบวกแล้ว ทำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงจริงๆ เช่น ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองอย่างนี้ เราต้องคิดบวก คือ คิดที่จะอยู่ให้ได้จะไปประท้วงให้น้ำมันลดลงได้หรือไม่ คำตอบคือ คงไม่ได้ ในเมื่อลดไม่ได้ฉันจะลดเอง คือ ลดความต้องการบริโภคให้น้อยลง


 

 

เครียด



         ที่เราทุกข์กันอยู่ทุกวันนี้เพราะบริโภคมาก และมีเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทุกข์ คือ "โรคจมไม่ลง" คือ เคยใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย อย่างมหาเศรษฐีโลกทั้งหลาย ไปไหนต้องนั่งรถราคาแพงๆ คำใช้จ่ายก็สูงขึ้น แต่เราจมไม่ลง ไม่อยากให้ใครรู้ว่าเรากำลังแย่ เราก็จ่ายแพงขึ้นเพื่อประคับประคองตัวฉันให้โดดเด่นอยู่ในวงสังคม สุดท้ายไม่ใช่แค่จมไม่ลง มันล้มเลย 

หมายเลขบันทึก: 196822เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2008 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ใช่ครับ ลด ละ เลิก สามตัวนี้ ช่วยไ้ด้เสมอ

ขอบคุณ คุณกุนซือรับจ้างค่ะ ถูกต้องแล้วค่ะ ใครทำได้....เยี่ยม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท