ความเข้าใจที่ "ไม่สมบูรณ์" เกี่ยวกับ KM


....จะเห็นได้ว่าการมีเพียง "ตัวปลา" หรือ "หางปลา" นั้น ถึงบางท่านจะพูดว่าได้ทำ KM แล้ว แต่ก็เป็น KM แค่บางส่วนเสี้ยว ...หาใช่ KM ที่สมบูรณ์ และมีพลังไม่!

            เวลาพูดคำว่า KM หลายคนมักจะมองไปที่ "กระบวนการ" การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นหลัก   ซึ่งใน "Model ปลาทู"  ก็คือส่วนที่เป็น "ตัวปลา" หรือ Knowledge Sharing นั่นเอง ถึงส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ค่อนข้างสำคัญ  แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นการทำ KM ที่สมบูรณ์   ทั้งนี้เพราะยังขาดส่วนของ "หัวปลา"  ยังขาด Knowledge Vision ที่สัมพันธ์และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร  หากไม่มี "หัวปลา"  กระบวนการที่เป็น "ตัวปลา"  ก็อาจจะ "ไร้ค่า" ในสายตาเชิงการบริหารองค์กร
 
            ในขณะเดียวกัน KM ในบางหน่วยงาน ก็ยังเน้นกันแต่ที่การสร้าง Knowledge Center หรือศูนย์กลาง (ระบบ) สำหรับจัดเก็บความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งก็ตรงกับส่วน "หางปลา" หรือ Knowledge Asset นั่นเอง.... จะเห็นได้ว่าการมีเพียง "ตัวปลา" หรือ "หางปลา"  นั้น  ถึงบางท่านจะพูดว่าได้ทำ KM แล้ว  แต่ก็เป็น KM แค่บางส่วนเสี้ยว ....หาใช่ KM ที่สมบูรณ์  และมีพลังไม่ !!

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19508เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2006 06:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณมาก

ตรงใจจริงๆ กับสิ่งที่เป็นอยู่ในบางหน่วยงาน และโดยเฉพาะกระทรวงที่เกี่ยวกับการศึกษา

ปัญหาที่เคยเจอคือพันธกิจและความกระจ่างกับพันธกิจขององค์กรตั้งบนฐานความจริงแค่ไหน ด้วย

ในส่วนของหัวปลา ผมว่าเป็นเรื่องที่น่าจะยากที่สุดครับ เพราะเป็นเรื่องของการกำหนดทิศทาง ของการจัดการความรู้ สำหรับตัวปลา หรือกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ และหางปลา หรือการจัดเก็บความรู้เป็นเรื่องที่มองเห็นเป็นรูปธรรม หากสามารถหาโต้โผในการรวบรวมสมัครพรรคพวกให้เข้ามาร่วมอุดมการณ์แล้ว ผมมองว่าตัวปลาหรือหางปลาเป็นเรื่องไม่ยากนัก เพราะมองเห็นเป็นรูปธรรม และผู้เกี่ยวข้องสามารถสนุกกับเรื่องที่ทำอยู่ ในขณะที่หัวปลา เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะไม่ใช่เพียงแค่มี slogan สวยหรูเหมือนดังหลายหน่วยงานจัดให้มีการสัมนาเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์แล้วเขียนมันไว้ติดข้างฝาเอาไว้ท่องเล่น ส่วนการทำงานจริงก็ยังเหมือนเดิม ผู้บริหารประเภท เห็นชอบมอบรอง หรือเห็นด้วย ผุ้ช่วยทำ สิ่งที่ทำได้ก็คือเอาหัวปลามาครอบ แต่ปลาตัวนี้ตายเสียแล้ว ถึงอย่างไรก็ยังดีกว่าไม่มีอะไร อย่างน้อยก็ยังมีตัวมีหางเอาไว้กินได้ อย่ารอให้มีหัวเลยครับ หน่วยงานไหนพร้อมตรงไหนก็ทำกันไปก่อน เมื่อได้เริ่มทำแล้ว ก็จะพอมองเห็นทางต่อไปเองว่าจะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาตรงไหน รอเวลาฟ้าใหม่ เมื่อผู้บริหารเห็นความสำคัญแล้วเข้ามากำหนดทิศทางเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร เมื่อนั้นเราก็จะมีหัวปลา และชีวิตของปลา ที่จะโลดเล่นไปมาในกระแสน้ำอย่างมีชีวิตชีวา
เนื่องจากKMเป็นการจัดการหรือการบริหาร ดังนั้นวิสัยทัศน์จึงมีความสำคัญ และในการทำKMจึงต้องมีการทำหน้าที่ทางการบริหารให้ครบจึงจะทำให้KMไปได้อย่างมีผลดี

ภูมิปัญญา

เรากำลังคุยกันเรื่องที่ง่าย...เป็นเรื่องที่ยาก..หรือไม่?
หากย้อนนึก...ไปที่.."ภูมิปัญญา"...ของคนธรรมดา
ที่ไม่ใช่นักวิชาการ..หรือนักการศึกษาใดใด...ตามสังคมบัญญัติ
เขา..."จัดการความรู้"...ที่ถ่ายโอนกันมา
ชั่วลูกชั่วหลาน...ได้อย่างไร
มีหัวปลา...และหางปลา หรือไม่..?
หากไม่มี...
"ภูมิปัญญา"...ที่ถ่ายทอดกันมานั้น...ใช่ KM หรือไม่?

ถูกใจมากค่ะ กำลังกำหนดเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ของตัวเองเกี่ยวกับการจัดการความรู้ พอดี แต่ไม่ได้สร้างเป็นตัวปลานะคะ ใช้ Mind map สร้างตามจินตนาการของตัวเอง

อุปสรรคที่ตัวเองกำลังเผชิญ และรู้สึกยากลำบากในการจัดการความรู้ของตัวเองครั้งนี้ ก็คือ การกำหนดวิธีการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายของสิ่งที่จะ ลปรร. 

เริ่มตั้งแต่ ตั้งคำถามกับตัวเองถึงความน่าสนใจของประเด็นที่เราจะ ลปรร. เป็นสิ่งที่ต้องการรู้จริงในเวลานี้รึเปล่า เพื่ออะไร  

จากนั้น แล้วเราจะได้ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ จนสามารถนำมา สังเคราะห์เป็น ความรู้ ได้ความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันของเนื้อหาสาระ ความเป็นระบบ ระเบียบ สามารถรวบรวม อ้างอิง เป็นที่ยอมรับ เพื่อนำไปนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่างแท้จริงได้แน่หรือ เสียเวลารึเปล่า

โดยส่วนตัวเห็นว่า มีบางประเด็นที่เสนออยู่บน blog เพื่อ ลปรร. หลายประเด็นที่น่าสนใจ แต่ไม่ได้รับการต่อยอด เนื่องจาก เราเองก็อยากนำเสนอเรื่องที่เราสนใจ และไม่ค่อยมีเวลาไปอ่านและทำความเข้าใจและ ลปรร. กับคนอื่นมากนัก หรืออาจเพราะเราไม่มีเวลามากพอ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น กลัวไม่ได้รับการยอมรับ

     ฉะนั้น การจะ ลปรร. ให้ได้ประสิทธิผล อาจจะเริ่มต้นจากการให้ผู้ที่ต้องการ ลปรร. มีความเข้าใจถึงทิศทาง และเป้าหมายสำคัญๆของการ ลปรร. แล้วมีมาตรฐานของกระบวนการ ขั้นตอน ที่จะให้เกิดผลสัมฤทธิ์ อย่างที่ปรารถนาได้อย่างไร

     การสร้างวัฒนธรรม ของสังคม KM นับเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องชัดเจน แต่ยืดหยุ่น เพื่อให้เกิดการ ลปรร. ได้ออกมาเป็น "ความรู้" มีจุดยืน มีเป้าหมาย แต่ไม่มีที่สิ้นสุด

     ข้อเท็จจริงอันนึงที่ค้นมาได้ และกำลังจะทดลองใช้กับตัวเอง และเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ ณ ที่นี้ ก็คือ

     การจัดการความรู้ ที่สำคัญต้องมี เป้าหมาย ซึ่งกว่าจะถึงเป้าหมายก็ต้อง ผ่านการเรียนรู้ -- กระบวนการและเครื่องมือต่างๆ ซึ่ง blog ก็คือส่วนหนึ่ง -- การสื่อสารบน blog -- การนำไปใช้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง -- การวัดผล นี่สำคัญที่ตัวเองยังไม่เห็นว่าจะจัดการอย่างไรดี -- ผลตอบแทนที่ได้รับ (คือ ความรู้ใหม่)ซึ่งที่สุดเราก็ถึงอาจจะถึงเป้าหมาย 

วัฒนธรรม และบริบทของแต่ละองค์กรแตกต่างกัน สำหรับตัวเองคิดว่าคงไม่ต้องรออะไรมองที่จุดที่ตนเองยืนอยู่ถ้าเห็นว่าสิ่งที่จะทำมีประโยชน์ต่อตัวเองและองค์กรมีช่องทางที่ทำได้ ก็ทำค่ะ แม้จะเป็น KM เพียงส่วนเสี้ยว โดยจะมองไปที่วิสัยทัศน์ขององค์กร และตัวเองเกี่ยวข้องตรงไหนจะได้ไม่ออกนอกเส้นทางแม้บางคร้งอาจหยุดพักชมดอกไม้ริมทางบ้าง แต่พอหายเหนื่อย Speed ก็จะดีชดเชยเวลาพักชมดอกไม้ได้ 
จริงๆแล้วก็เป็นเรื่องเดียวกันครับ เพียงแต่ใช้มุมมองที่ต่างกัน
มุมมองของนักบริหาร ที่ใช้ KM เป็นเครื่องมือในการที่จะไปให้ถึงจุดหมาย ก็จะเน้นการกำหนดทิศทาง และมองเห็นว่าทิศทางและเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญกว่าการกระทำ (action) ที่ทำอยู่ เพราะ การกระทำหากไม่กำหนดทิศทาง ก็อาจเป็นการกระทำที่สะเปะสะปะ เดินกันมั่วซั่ว และอาจไปไม่ถึงจุดหมายได้
มุมมองของผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติไม่ใช่ผู้ที่รับผิดชอบผลของการไปให้ถึงเป้าหมาย แต่ในฐานะของผู้ที่กำลังปฏิบัติงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมาย เราสามารถรับรู้ได้ว่า อะไรเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ต่องานที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ ซึ่งถ้าเลือกด้วยใจที่เป็นธรรม ผมเชื่อว่าคนเราก็จะเลือกทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานอยู่แล้ว
     เห็นไหมครับว่า เพียงแค่มุมมองเปลี่ยน วิธีการปฏิบัติก็เปลี่ยนเหมือนกัน 
     ดังนั้นในความเห็นส่วนตัวของผม ผมคิดว่าการทำ KM เป็นประโยชน์ การเริ่มต้นของ KM จะเริ่มที่ไหนมันก็เป็นประโยชน์ แม้การแลกเปลี่ยนความรู้จะสะเปะสะปะไปบ้าง ถึงอย่างไรมันก็ดีกว่าที่จะไม่มีเลย ทำไปก่อนครับเท่าที่จะสามารถทำได้ แล้วรอเวลาเมื่อผู้บริหารที่มีความสามารถ เริ่มเข้ามากำหนดทิศทาง ทุกอย่างก็จะสอดคล้อง ประสานกัน ก็จะยิ่งเสริมพลังในการทำ KM ขององค์กรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การรอเพื่อที่จะเริ่มไปพร้อมกัน หรือต้องรอให้ผู้บริหารเป็นฝ่ายเริ่มก่อน ผมคิดว่าเราจะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ตราบใดที่เราตอบว่า การทำ KM ดีกว่าไม่ทำแล้ว ก็เริ่มทำ KM กันเสียตั้งแต่วันนี้ ดีกว่ามั้ยครับ
อัจฉรา อาศิรพจน์มนตรี

เรียน อาจารย์ประพนธ์ คะ

       หนูได้รับกำหนดการ km จากอาจารย์เรียบร้อย

แล้วนะคะ แต่ยังไม่เห็นเอกสารหรือการนำเสนอแบบ

พาวเวอร์พอยท์ ของอาจารย์ ไม่ทราบว่าหนูเปิดเจอ

ในไฟล์ของอาจารย์ เรื่อง km มี 48 หน้า ใช่อันนี้หรือ

ไม่ จะได้copy

                                            อัจฉรา.

                                           

 

เรียนอาจารย์ประพนธ์  ครูอ้อยเริ่มเข้าใจ KM แล้วค่ะ  ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีคะอาจารย์
  • โดยธรรมชาติแล้ว  ปลา ถ้าไม่มีหัว ก็ไม่มีชีวิตแล้ว  ดังนั้น ปลาจะแหวกว่ายไปในทิศทางใด ก็ต้องมีหัวปลา ตัวปลา และหางปลา KM ก็คงเช่นกัน......  ถูกต้องไหมคะอาจารย์
จริงด้วยค่ะน้องอ้อ ทุกส่วนย่อมมีความสำคัญในการทำ KM แบบมีชีวิตชีวา ทำแล้วมีความสุขนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท