การนิเทศการสอน


การเผชิญหน้ากับการนิเทศ

ในการนิเทศการสอน สิ่งที่ผู้ให้การนิเทศมักจะต้องเผชิญคือ การต่อต้านการนิเทศในลักษณะการตอบสนองเชิงป้องกันตัว เพราะครูผู้สอนมีความวิตกกังวล หวาดกลัว ซึ่งในบางครั้งการนิเทศ การสอนจึงเป็นการทำลายบรรยากาศการเรียนการสอน หรือไปรบกวนกระบวนการเรียนการสอน จึงทำให้ครูผู้สอนต้องซ่อนเร้นข้อบกพร่องและพยายามจัดเสนอแต่ในสิ่งที่ดี เพื่อให้เกิดความ พร้อมที่จะได้รับการตรวจตราจากผู้ให้การนิเทศ ฉะนั้น แทนที่ครูจะยินดีเมื่อพบศึกษานิเทศก์ หรือได้รับการนิเทศการสอน กลับต้องกังวลใจ หวาดกลัวต่างๆ นานา จึงเป็นการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับคำแนะนำหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน การต่อต้านการนิเทศที่จะกล่าวถึงในที่นี้ หมายถึงการแสดงพฤติกรรมใดๆที่ครูผู้สอนแสดงออกในรูปแบบหลายลักษณะ เช่น การสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับผู้ให้การนิเทศหรือการสร้างบรรยากาศให้ห้องเรียนให้สงบเงียบ มีวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งนักการศึกษาต่างระบุว่า การที่ครูแสดงพฤติกรรมในลักษณะไม่ต่อต้านอย่างรุนแรงใดๆออกมาก็ตาม ถือเป็นการเล่นเกมบางอย่างเพื่อป้องกันตนเองให้รอดพ้นจากความหวาดกลัว การนิเทศการสอนจึงเป็นเสมือนการเล่นเกมต่อกันระหว่างผู้ให้การนิเทศและผู้รับการนิเทศ ซึ่งเมื่อเสร็จพันธกิจที่มีต่อกันแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็โล่งใจว่าได้ปฏิบัติภารกิจที่ตนรับผิดชอบเสร็จลุล่วงไปในแต่ละครั้ง
การต่อต้านการนิเทศก์เป็นวิธีการปฏิบัติที่เป็นปกติในการตอบสนองต่อการนิเทศที่ไม่ควรมองข้าม การแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพื่อลดความวิตกกังวล หวาดกลัว ต่อการที่จะได้รับการนิเทศ ถือได้ว่าเป็นการตอบสนองอย่างมีเหตุผล ดังนั้น ผู้ให้การนิเทศและครูควรจะได้พูดคุยกัน ปรึกษาหารือในประเด็นต่างๆ ที่จะนิเทศ เพื่อลดความวิตกกังวล และขจัดพฤติกรรมการต่อต้านให้ลดน้อยลง
ผู้ให้การนิเทศที่ต้องการเอาชนะการต่อต้าน โดยไม่คิดจะลดความวิตกกังวลหรือความหวาดกลัวของครู ย่อมต้องเผชิญกับพฤติกรรมต่อต้านในลักษณะใหม่ทันทีที่เอาชนะลักษณะเก่าๆลงได้

การทำงานพร้อมกับผู้บังคับบัญชา ควรจะต้อง

1. ฟังให้เป็น - จับประเด็นให้ได้
2. พูดให้เป็น - มีประเด็นให้คิด
3. มีศิลปในการฑูต - ควรพูดแบบนักการฑูต หลีกเลี่ยง ไม่ได้-ไม่มี
4. ไม่เป็นตัวปัญหา - แต่เป็นผู้แก้ปัญหา
5. มองงานในแง่ดี และท้าทาย - คิดเสมอว่าเป็นงานที่ไม่ยาก สามารถทำได้
6. ส่งเสริมภาพพจน์ของผู้บังคับบัญชา - ไม่พูดในทางเสียหาย , แก้ข่าวให้
7. รักษาคำมั่นสัญญา - ทำงานให้เสร็จตามเวลา ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง
8. ไปทำงานก่อนเวลา - โดยเฉพาะก่อนงานเริ่ม
9. พยายามเรียนรู้ - จุดอ่อน จุดแข็งของผู้บังคับบัญชา
- เพื่อหลีกเลี่ยงจี้จุดอ่อนแต่ เสริมจุดแข็ง
10. อย่าเข้าใกล้ผู้บังคับบัญชามากเกินงาม - ทำตัวใกล้ชิด , ตีสนิท , ละลาบละล้วง


หมายเลขบันทึก: 194485เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2008 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตราสัญญลักษณื การนิเทศน่ากลัว จัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท