บันทึกประสบการณ์ : ลักษณะเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD


เอ็นไซม์ G6PD เป็นเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดงที่เกี่ยวข้องกับขบวนการย่อยสลายกลูโคส หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมค้นจากกูเกิ้ลด้วยคำหลัก "G6PD, Glucose-6-phosphate dehydrogenase" ได้ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา พี่เม่ยนั่งอ่านสไลด์ของผู้ป่วยที่ส่งตรวจธาลัสซีเมียอยู่  หลังจากหยิบสไลด์ของเด็กรายแรกใส่เข้าไปในกล้องจุลทรรศน์  ชะโงกหน้าเข้าไปมองที่เลนส์ตาปุ๊บ.... 

อ้าว!... พบลักษณะเฉพาะของเม็ดเลือดแดงที่กำลังมีการแตกทำลายในหลอดเลือด (intravascular hemolysis) ที่เรียกชื่อว่า defected spherocyte ซึ่งถ้าพบจำนวนมากทำให้นึกถึงภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD ที่กำลังมีการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงได้

ด้วยความดีใจ (ที่จะได้ case หายาก ในการเตรียมสไลด์สำหรับสอนนักศึกษา หรือตั้งแสดง) พี่เม่ยรีบเดินออกมาบอกกับน้องนีทันที....

"น้องนี  แล็บเบอร์ 446 ของเมื่อวานนี้(วันที่ 2 ก.ค.) เป็น case G6PD deficiency นะ  น่าจะเอาเลือดที่เหลือมาเตรียมเป็นสไลด์ไว้นะ" (นี่ก็เป็นผลพลอยได้จากการที่เราต้องเก็บตัวอย่างเลือดไว้ทวนสอบที่อุณหภูมิ 4 องศา เพราะสามารถนำเลือดมาทดสอบซ้ำได้...)

น้องนีไม่รอช้า รีบไปค้นหาเลือด... แป๊บเดียวก็เดินมาบอกพี่เม่ยว่า..."จานเม่ย....เสียดายจัง เลือดมีนิ๊ดดดเดียว ไม่พอทำแน่เลย"

..."ไม่เป็นไร  วันนี้ (หมายถึงวันที่ 3 ก.ค.) ก็มีส่งมาตรวจอีก เราใช้เลือดวันนี้ก็ได้" พี่น้อง ช่วยเสนอความคิด  ว่าแล้วก็รีบไปหาสไลด์ของวันนี้มาดูว่าใช้ได้หรือไม่

..." ฮ่า!  ทำไมเป็นอย่างนี้ได้  เลือดของวันนี้ไม่เห็น defected spherocyte เลยอ่ะ" น้องนีอุทานหลังจากดูสไลด์คร่าวๆ

จริงด้วยค่ะ เวลาผ่านไปไม่ถึง 24 ชั่วโมง เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยก็แตกทำลายไปหมด  เหลือเพียงเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน กับเม็ดเลือดแดงปกติอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น  สเมียร์เลือดเปลี่ยนไปเป็นคนละคนกันเลย  

สรุปว่า เราก็ไม่ได้เลือดสวยๆสำหรับเตรียม case slide ในวันนั้น  แต่ประสบการณ์ที่เราพบครั้งนี้ก็ช่วยอธิบายข้อกังขาของพวกเราได้  ในบางครั้งที่คุณหมอวินิจฉัยมาว่าผู้ป่วยมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน เนื่องจากพร่องเอ็นไซม์ G6PD แต่เรากลับตรวจไม่พบเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะ defected spherocyte เลย  ที่แท้ก็เป็นเพราะเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยได้แตกทำลายไปหมดแล้วอย่างรวดเร็วในชั่วข้ามวันเท่านั้นเอง.....

สำหรับ case G6PD deficiency นี้ก็เช่นกันค่ะ  เมื่อไป review ผลแล็บของผู้ป่วยในสองสามวันนั้น ก็พบว่าซีดลงอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับลักษณะเม็ดเลือดแดงที่เราตรวจพบจากสเมียร์เลือด 

 
2 ก.ค. 12.13 น.
3 ก.ค. 10.15 น.
ได้เลือดไป 4 unit 
4 ก.ค. 11.06 น
จำนวนเม็ดเลือดแดง (ล้านเซลล์)
1.5
0.8
 
3.7
ปริมาณฮีโมโกลบิน (gm%)
4.6
2.8
 
10.3
ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (%)
14.4
8.9
 
30.1
bilirubin ในปัสสาวะ
3+
1+
 
--
ลักษณะเม็ดเลือดแดง
 
ปกติ

จึงอดใจไม่ไหว...ต้องนำมาบันทึกไว้เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ทางโลหิตวิทยาค่ะ

หมายเลขบันทึก: 192973เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2008 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มาเยี่ยมยามท่านพี่ครับ เม็ดเลือดส่งพลังงาน เสมือนดวงอาทิตย์สาดแสง ส่งเสริม พาพัฒนา

  • ตามมาดูครับพี่เม่ย
  • เป็นความรู้ใหม่เลยครับ
  • นึกว่าครั้งที่สองจะเหมือนเดิม
  • กลับกลายเป็นว่า ไม่เหมือนเดิม
  • เลยอดดู สไลด์ดีๆๆเลยครับ

เพิ่งเคยเห็นรูปเม็ดเลือดแดงจากกล้องจุลทรรศน์

เจ๋งมากเลยครับ ผมจะใช้กระดานนี้เรียนหนังสือกับพี่เม่ย ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะพี่เม่ย ได้อ่านอนุทินพี่แล้ว มีเรื่องอยากถาม hemo typing แล้วพบ Hb S คืออะไรค่ะ ตอบหน่อยนะค่ะ คือว่าพบในลูกชายตอนอายุ 1 ขวบ

ขอสอบถามเกี่ยวกับวิธีตรวจG6PD Test นอกจากวิธี Tube methodและFluorecence method มีวิธีอื่นหรือไม่ค่ะ

เพราะTube method วิธีเตรียมreagent ยาก+ใช้เวลานาน

Fluorecence method พบfalse normal ในเด็กผู้หญิงและpartial deficiencyผลไม่ชัดเจน

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท