4. หลักการนิเทศการศึกษา


นิเทศการศึกษา

การนิเทศการศึกษา

ความหมาย

      ในอดีต มีผู้ให้ความหมายของการนิเทศไว้หลายนัย  ตัวอย่าง

นัยแรก การนิเทศการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารโรงเรียน  ซึ่งผู้บริหารจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการให้บริการทางการศึกษาเพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามความคาดหมาย  (Eye and Netzer; 1965)

             นัยสองการนิเทศการศึกษา  คือ ความพยายามทุกอย่างของเจ้าหน้าที่ผู้จัดการศึกษา ในการแนะนำครูหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา  ให้รู้จักปรับปรุงวิธีสอน     ช่วยให้เกิดความงอกงามทางวิชาชีพทางการศึกษา ช่วยในการพัฒนาครู ช่วยในการเลือก   และปรับปรุง  วัตถุประสงค์ ของการศึกษา   ช่วยในการปรับปรุงวัสดุ และเนื้อหาการสอน ปรับปรุงวิธีสอนและช่วยปรับปรุงการประเมินผลการสอน  (Good, 1959)

      นัยสามการนิเทศการศึกษา  หมายถึง  การประสานงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการศึกษาเพื่อเร่งรัดให้กำลังใจ ชี้ทางให้ได้เจริญงอกงามในอาชีพ (Briggs and Justman, 1952)

         นัยสี่ การนิเทศการศึกษา  คือ ความพยายามอย่างหนึ่ง  หรือ หลาย ๆ อย่าง  ที่จะช่วยส่งเสริมให้การศึกษา มีคุณภาพทั้งด้านการเรียนการสอน (สายภาณุรัตน์, 2511)

      การนิเทศการศึกษา  หมายถึง   การประสาน  การกระตุ้น  และการนำไปสู่ความงอกงามของครู  (วินัย เกษมเศรษฐ, ม.ป.ป.) 

            นัยปัจจุบัน การนิเทศการศึกษาที่รวมถึงการนิเทศภายในโรงเรียน หมายถึง การดำเนินการใดๆ ที่ทำให้ครูมีความพึงพอใจ และมีกำลังใจ ที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาการดำเนินงานใดๆ ของโรงเรียน ให้เป็นไปตามมาตรฐานใดๆ ของโรงเรียนและของบุคลากรให้สูงขึ้นและรักษาไว้ จนส่งผลให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของผู้รับประโยชน์จากโรงเรียนทุกฝ่าย อีกทั้งผ่านการประเมินทั้งภายในและภายนอก 

       นัยผู้เขียน การนิเทศการศึกษา  คือการช่วยเหลือ แนะนำ ชี้แจงเพื่อช่วยให้ครูสามารถปรับปรุงการสอนของครูให้สามารถส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น และรวมถึงการช่วยเหลือแนะนำในการปฏิบัติงานของครูด้านวิชาชีพและที่เกี่ยวข้องกับด้านวิชาชีพด้วย 

หลักการนิเทศ

          หลักการนิเทศดั้งเดิมมาผสมผสานกับแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา,แนวคิดที่เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน,แนวคิดว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู และระดับคุณภาพครู/ผู้บริหาร (NTQ/EMQ) หลักการนิเทศใน ยุคใหม่ที่ควรจะเป็นก็คือ

            1. การนิเทศการศึกษา   จะต้องเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นความร่วมมือ  ร่วมใจ ในการดำเนินงาน   ใช้ความรู้  ความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานนั้นไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ  (Burton and Brueckner,  1955)

           2. การนิเทศการศึกษา มุ่งให้ครูรู้จักวิธี      คิดค้นการทำงานด้วยตนเอง  มีความ    สามารถ ในการนำตนเอง  และสามารถ    ตัดสินปัญหาของตนเองได้  (Adams and      Dickey, 1953) 

               การนิเทศการศึกษา   ควรเป็นการแสวงหาความสามารถพิเศษ  ของแต่ละบุคคล แล้ว  เปิดโอกาสให้ ได้แสดงออกและพัฒนาความสามารถเหล่านั้นอย่าง เต็มที่ (Burton and  Brueckner,  1955)

                การนิเทศที่ดี   จะต้องสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง   ยั่วยุและสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันและต้องทำให้ครูรู้สึกว่า   จะช่วยให้ เขาพบวิธีที่ดีกว่า ในการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์  (Franseth 1961 : 23 - 28)

                การนิทศการศึกษาควรเป็นไปอย่างง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตอง (Briggs and Justman, 1952)

การนิเทศการศึกษา  รวมทั้งการนิเทศภายใน

                * เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้รับการนิเทศ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มีขวัญกำลังใจและความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน  และมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด  รักษาไว้และยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นอยู่เสมอ

                * เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไปอย่างเป็นระบบและรองรับด้วยข้อมูลสารสนเทศ

* เป็นกิจกรรมที่อยู่ในบรรยากาศของความร่วมมือร่วมใจเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ

* เป็นกิจกรรมที่เคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้รับการนิเทศ

* เป็นกิจกรรมที่ดึงศักยภาพของผู้รับการนิเทศมาใช้ และให้การยกย่อง

* เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาตนเองให้อยู่ในระดับมาตรฐานวิชาชีพหรือระดับคุณภาพครูของคุรุสภาให้สูงขึ้น และรักษาไว้ได้ 

จุดหมายการนิเทศการศึกษา

      ดร. สาย ภาณุรัตน์  (สาย ภาณุรัตน์, 2521) หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์คนแรกของประเทศไทย ได้เสนอจุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาไว้หลายข้อดังนี้

1. ช่วยสร้างคุณลักษณะแห่งความเป็นผู้นำ    ให้แก่ครู

2. ช่วยส่งเสริมขวัญของครูให้อยู่ในสภาพที่ดีและเข้มแข็ง  รวมหมู่คณะได้

3. ช่วยให้ครูพัฒนาการสอนของตน  โดยมีคำแนะนำ  2  ประการ คือ

- อย่าได้พยายามยัดเยียดความคิดเห็นที่คนนิยมให้ครูจำต้องรับ

                  - อย่าได้ฝืนให้ครูทำตามแผนหรือแบบที่ ตนทำ

4. จงพยายามหลีกเลี่ยงการกรอกคำแนะนำสั่งสอนให้ครู จนครูรับไม่ไหว

5. ช่วยฝึกครูใหม่ให้เข้าใจงานในโรงเรียนและงาน ของอาชีพครู

6. ช่วยหยิบยกปัญหาต่างๆ ของโรงเรียน  ที่ทางโรงเรียนไม่สามารถจะแก้ไขได้โดยลำพัง

7. ให้ครูรู้จักค้นหาจุดลำบากในการเรียนรู้ของ เด็กแต่ละคน และครูช่วยวางแผนการสอนให้   เหมาะสม  เพื่อแก้ไขการช่วยแก้ไข

8. ช่วยในด้านประชาสัมพันธ์ถึงความเคลื่อน ไหวของการศึกษาที่โรงเรียนในท้องถิ่นได้จัดดำเนินการเพื่อให้ราษฎรเข้าใจ  

         จากความหมาย หลักการนิเทศการศึกษาที่กล่าวไว้ข้างต้น  ความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาดั้งเดิมและการจัดการศึกษาตามระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในปัจจุบันความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา  รวมทั้งการนิเทศภายในโรงเรียน จึงควรจะได้แก่เพื่อสนับสนุนส่งเสริม กระตุ้นให้ครู และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการจัดการศึกษาทุกฝ่ายเป็นรายบุคคล หรือหลายคน ร่วมมือ ร่วมใจกันปฏิรูปวิธีการจัดการเรียน       การสอน วิธีการบริหารจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความสำเร็จตามมาตรฐานใดๆ ของโรงเรียน และของบุคลากรของโรงเรียน ให้สูงขึ้น และรักษาไว้ได้ อย่างต่อเนื่องด้วยความเต็มใจ 

กระบวนการในการนิเทศ

                 กระบวนการนิเทศเป็นกระบวนการโดยทั่วไปที่นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับ วัตถุประสงค์และกิจกรรมการนิเทศดังแนวทางข้างล่างนี้

กระบวนการของเลฮ์แมน

ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหาและความต้องการจำเป็น (Need)

ขั้นที่ 2 การกำหนดจุดประสงค์ที่วัดได้  (Measurable Goals)    

ขั้นที่ 3  การกำหนดอุปสรรคและข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)

ขั้นที่ การกำหนดวิธีการที่เป็นทางเลือกใน การแก้ปัญหา (Alternatives)

ขั้นที่ การเลือกทางเลือกในขั้นที่ 4 มาปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา (Selection)

ขั้นที่ 6  การนำทางเลือกที่เลือกแล้วไปทดลองใช้ (Implementation)

ขั้นที่ 7 การประเมินผลการทดลอง เพื่อพิจารณาดูว่าได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่(Evaluation)

ขั้นที่ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องหลังจากทดลองดูแล้ว(Modification

      ในการออกแบบวิธีการนิเทศตามวัตถุประสงค์ของการนิเทศหรือพิจารณากำหนดรายละเอียดในการดำเนินการนิเทศในแต่ละครั้ง หรือแต่ละรายการให้เป็นไปตามหลักการและกระบวนการนิเทศ   เช่น

  • เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ใหม่
  • จัดประชุมชี้แจงเรื่องใหม่ๆ
  • สาธิตการสอน โดยครูในโรงเรียน หรือจากโรงเรียนอื่น ๆ  ที่เชิญมา
  • การสัมมนาเสนอแผนการสอน แผนงาน โครงการ ประจำภาคเรียนหรือประจำปีของหมวดวิชา ฝ่าย งาน
  • การสัมมนาเสนอผลงานของหมวดวิชา ฝ่าย งานประจำภาคเรียน  หรือประจำปี
  • การสัมมนาสรุปผลการสอน  หรือผลงานใดๆ ของครู  หรือบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียน
  • ศึกษาดูงาน  ดูนิทรรศการ
  • จัดประกวดหรือนิทรรศการผลงานของครู
  • ส่งครูไปฝึกงาน
  • สังเกตการสอนในห้องเรียน (การวางแผนการสอนที่พบว่ามีปัญหาแล้วทดลองสอน                       ตามแผน และสังเกตการสอนร่วมกัน)
  • เยี่ยมชั้นเรียน
  • ให้คำปรึกษาแนะนำ
  • การประชุมปฏิบัติการในเรื่องใดๆ ร่วมกัน
  • การร่วมกันวิจัยในชั้นเรียน หรือวิจัยเชิงปฏิบัติการอื่น  ฯลฯ

เงื่อนไขความสำเร็จ

       ในกรณีที่เป็นการนิเทศภายในการนิเทศจะประสบความสำเร็จ คงต้องอาศัยบริบท ที่เอื้อต่อการนิเทศ  เช่น การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอนและการปฏิบัติงาน

*  ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์การสอน การปฏิบัติงาน และสื่อการเรียนการสอน

*  ขวัญและกำลังใจของบุคลากร

*  ความเป็นทีม ความสามัคคี หรือความเป็นเอกภาพของบุคลากร

      จากองค์ประกอบของการประกันคุณภาพการศึกษา  ที่กำหนดให้โรงเรียนมีมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน ด้าน  คือด้านผลผลิต ด้านผู้เรียน ด้านครู และด้านผู้บริหาร   โดยแต่ละมาตรฐานจะมีตัวชี้วัดสำหรับ กำหนดระดับคุณภาพ และเครื่องมือวัด  เพื่อใช้ในการวัดระดับ  คุณภาพตามมาตรฐาน องค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยให้เป้าหมายในการนิเทศการศึกษา มีความ ชัดเจนยิ่งขึ้น  นั่นคือ การนิเทศที่มุ่งหวังให้ผู้รับผิดชอบมาตรฐานของโรงเรียน หรือมาตรฐานตามหลักสูตรสามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้และสามารถยกระดับให้มาตรฐานที่รับผิดชอบสูงขึ้นได้ การนิเทศของผู้นิเทศซึ่งอาจจะได้แก่ หัวหน้าหมวดวิชา  หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน ครูแกนนำ ครูที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง และผู้นิเทศอื่นๆ ในยุคใหม่นี้จึงควรเป็นไปอย่างเป็นกระบวนการดังแนวดำเนินการในเบื้องต้น ต่อไปนี้

      ลำดับที่ 1 ทำความเข้าใจพระราชบัญญัติการศึกษา และระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

      ลำดับที่ ทำความเข้าใจมาตรฐานทางการศึกษา    ทั้งของโรงเรียนและของบุคลากรอย่าง  ชัดเจนอย่างถ่องแท้ทุกมาตรฐานเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยง สัมพันธ์ระหว่างกัน

        ลำดับที่ 3 ศึกษาการปฏิบัติได้ตามมาตรฐานของกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการนิเทศการศึกษาอาจทำได้โดยพิจารณาผลการประเมินตนเอง (SSR) ของโรงเรียน  หรือทำการศึกษาเป็นการเฉพาะก็ได้

         ลำดับที่ 4 วิเคราะห์ปัญหาการนิเทศ เน้นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิธีคิดวิธีปฏิบัติงานใดๆ ของผู้รับการนิเทศที่กำลังเป็นอยู่วางแผนการนิเทศ  โดยใช้หลักการ แนวคิด และกิจกรรมการนิเทศที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น   และใช้แนวคิดในการประกันคุณภาพการศึกษาทั้ง 4 ประการ  ต่อไปนี้มาประยุกต์ใช้เป็นหลักการในการปฏิบัติการนิเทศเพิ่มเติม  ได้แก่

                5.1  การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหาร  หรือ เป็นการนิเทศที่เป็นไปตามความต้องการจำเป็นของโรงเรียนโดยผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายมี ส่วนร่วม

5.2  การยึดผู้รับการนิเทศเป็นศูนย์กลางในการนิเทศ

                5.3  การแสดงความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ หรือ  การนิเทศที่สามารถแสดงให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ

                5.4   การมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ หรือ ความพยายามที่จะให้ผู้รับการนิเทศมีส่วนร่วมในการวางแผน และประเมินผลการนิเทศ  เป็นต้น  

วางแผนการนิเทศ  โดยใช้หลักการ แนวคิด และกิจกรรมการนิเทศที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น   และใช้แนวคิดในการประกันคุณภาพการศึกษาทั้ง ประการ  ต่อไปนี้มาประยุกต์ใช้เป็นหลักการในการปฏิบัติการนิเทศเพิ่มเติม  ได้แก่

                1.  การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหาร  หรือ เป็นการนิเทศที่เป็นไปตามความต้องการจำเป็นของโรงเรียนโดยผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายมี ส่วนร่วม

                2.  การยึดผู้รับการนิเทศเป็นศูนย์กลางในการนิเทศ

                3.  การแสดงความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้    หรือ  การนิเทศที่สามารถแสดงให้  ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการปฏิบัติรวมทั้งปัจจัยต่างๆ ที่นำมาใช้  ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสิ้นสุดการนิเทศอย่างชัดเจน

4.  การมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ หรือ ความพยายามที่จะให้ผู้รับการนิเทศมีส่วนร่วมในการวางแผน และประเมินผลการนิเทศ  เป็นต้น 

วิเคราะห์ปัญหาการนิเทศ เน้นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิธีคิดวิธีปฏิบัติงานใดๆ ของผู้รับการนิเทศที่กำลังเป็นอยู่  ศึกษาการปฏิบัติได้ตามมาตรฐานของกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการนิเทศการศึกษาอาจทำได้โดยพิจารณาผลการประเมินตนเอง (SSR) ของโรงเรียน  หรือทำการศึกษาเป็นการเฉพาะก็ได้  ทำความเข้าใจมาตรฐานทางการศึกษา    ทั้งของโรงเรียนและของบุคลากรอย่าง  ชัดเจนอย่างถ่องแท้ทุกมาตรฐานเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยง สัมพันธ์ระหว่างกัน  ทำความเข้าใจพระราชบัญญัติการศึกษา และระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ประเมินผลและสรุปรายงาน ดำเนินการนิเทศ  เนื้อหาสาระในการนิเทศดังที่กล่าวมาแล้วเป็นหลักการแนวคิด และแนวปฏิบัติในการนิเทศที่จะช่วยให้การนิเทศยุคใหม่ประสบความสำเร็จ  แต่จะสำเร็จมากน้อยเพียงใดคงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจใน และเจตคติในเรื่องการนิเทศการศึกษา และภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศเป็นปัจจัยสำคัญ  เพราะถ้าผู้สื่อสารดี ผู้รับตั้งใจรับดี  คงประสบผลสำเร็จ แต่ถ้าการสื่อสารไม่ดี ผู้รับก็ไม่ตั้งใจรับ  คงไร้ผล

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

โกวิท ประวาลพฤกษ์, ดร. พัฒนาการศึกษาแท้ และแฟ้มพัฒนางาน.  กรุงเทพมหานคร :  สำนักพิมพ์บริษัทเคอะมาสเตอร์กรุป แมแนจเม้นท์, 2542.

ชัด  บุญญา.  เทคนิคการกำกับ  ติดตามผลการปฏิบัติการสอน เพื่อการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนสารพัฒนาหลักสูตร., ปีที่ 14  อันดับที่  12  กรกฎาคม - กันยายน  2538.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2538.            

พะนอม  แก้วกำเนิด. การนิเทศการศึกษา. หน่วยศึกษานิเทศก์  กรมสามัญศึกษา : ม.ป.ป. (อัดสำเนา)

วินัย  เกษมเศรษฐ. หลักการและเป้าหมายของการนิเทศการศึกษา. หน่วยศึกษานิเทศก์   กรมสามัญศึกษา, ม.ป.ป. (อัดสำเนา)

วิโรจน์  สารรัตนะ, ดร. การวางแผน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรบัณฑิต, 2532.

ศิริวรรณ  ฉายะเกษตริน  การค้นคว้าจากเอกสารเกี่ยวกับความหมายของการนิเทศการบริหาร และความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาในประเทศไทย, ม.ป.ป.            (อัดสำเนา)

หน่วยศึกษานิเทก์  กรมสามัญศึกษา.. เอกสารชุดการประกันคุณภาพการศึกษา  เล่ม 1-4กรุงเทพมหานคร :  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542. 

การนิเทศเพื่อให้โรงเรียนพัฒนาตนเอง.   กรมสามัญศึกษา , 2532.  

การบริหารงานเชิงระบบ. กรมสามัญศึกษา , 2537. 

   .  คิวซีในโรงเรียนกรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์การศาสนา ,  2535.

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นิเทศการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 192792เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2008 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท