ผลงาน R2R..ที่ส่งไป สวรส


รางวัลดีเด่น R2R สวรส ระดับติตยภูมิ

ผลของการใช้โปรแกรมวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด

Effect of Discharge Planning Program on Self-Care and Quality of life   in Mastectomy Patients receiving Adjuvant Chemotherapy

 

รายชื่อผู้วิจัย  

  • อุบล  จ๋วงพานิช,ณัฏฐ์ชญา   ไชยวงษ์และจุรีพร อุ่นบุญเรือง

ชื่อหน่วยงาน 

  • หอผู้ป่วยเคมีบำบัด  งานบริการพยาบาล  โรงพยาบาลศรีนครินทร์  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โทรศัพท์ 043363468-9  Fax 043202471

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

  • ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารักษาในหอผู้ป่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์  พบมากเป็นอันดับ 1 มีจำนวน 496 รายต่อปี
  • การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะปลอดโรคและการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี  แต่ผู้ป่วยต้องเผชิญกับปัญหาด้านร่างกาย  จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
  • ในปี พ.. 2548 พบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด ที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร CMF/CAF จะได้รับยา day 1ที่ รพศรีนครินทร์ จะrefer Day 8 ที่รพ ใกล้บ้าน เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านจะพบปัญหาเกิดอาการข้างเคียงเช่น ภาวะเหนื่อยล้า ช่องปากอักเสบ  มีภาวะติดเชื้อจากภูมิต้านทานต่ำ ขณะอยู่ที่บ้านหลังได้รับยาเคมีฯประมาณ 2 สัปดาห์ ทำให้ไม่สามารถไปรับยาเคมีบำบัดชุดต่อไปที่ รพ ใกล้บ้าน เมื่อกลับมารับยาเคมีครั้งต่อไปที่ รพ ศรีนครินทร์ จะต้องเริ่มยาเคมีบำบัด course เดิม ทำให้ผู้ป่วยเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่าย หอผู้ป่วยจึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการวางแผนจำหน่าย(Discharge planning) ผู้ป่วยให้เร็วที่สุด มีคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านและให้ผู้ป่วยขอคำปรึกษาทางโทรศัพท์  ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ดีขึ้น
  • ต่อมาใน ปี พ.. 2549 มีการพัฒนาสื่อเป็นวิดิทัศน์การดูแลตนเองเฉพาะโรคมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีบำบัด จากการพัฒนางานประจำ (Routine) และทดลองปฏิบัติในระยะหนึ่ง มีการปรับปรุงสื่อการสอนหลายครั้ง และจากการทำงานประจำดังกล่าว
  • ในปี พ.. 2550 พยาบาลจึงเห็นว่าน่าจะทำเป็นงานวิจัย เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด   จึงเห็นว่าควรพัฒนาให้เป็นงานวิจัย

 

วัตถุประสงค์ของการศึกษา  

  • เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด

 

วิธีการศึกษา   

  • หลังจากโครงการวิจัยผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
  • ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดย   ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมจะได้รับการประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยก่อนให้ยาเคมีบำบัด 1 วัน หลังจากนั้นจะได้รับการวางแผนการจำหน่ายตามปกติจากพยาบาลประจำการ มีการประเมินการรับรู้ก่อนจำหน่าย และหลังให้ยาเคมีบำบัด 4  สัปดาห์  ประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต และผู้ป่วยกลุ่มทดลอง จะได้รับการประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตก่อนให้ยาเคมีบำบัด 1 วัน  หลังจากนั้นผู้วิจัย ให้โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายแก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด  ประกอบด้วย  การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเองที่บ้านและการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด ในรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D มีเนื้อหาเกี่ยวกับ โรค  ยา สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ  การรักษาพยาบาล ภาวะสุขภาพ การมาตรวจตามนัดและอาหาร โดยใช้สื่อในการให้ข้อมูล เป็นวิดิทัศน์และให้คู่มือ เรื่อง การดูแลตนเองที่บ้านและการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด  ผู้วิจัยจะสัมภาษณ์ผู้ป่วยทางโทรศัพท์และให้คำแนะนำเพิ่มเติมกรณีที่มีปัญหาในการดูแลตนเอง   ก่อนกลับบ้านผู้ป่วยจะได้รับการประเมินการรับรู้ก่อนจำหน่าย และหลังให้ยาเคมีบำบัด 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตจากผู้ช่วยวิจัย

 

ผลการศึกษา

  • พฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง   แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ    (F=4.27, P<0.05; F=9.49, P<0.05 ตามลำดับ)   นั่นคือ   ผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผนจำหน่าย   มีพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตดีกว่า    ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการวางแผนจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

  

ข้อเสนอแนะในด้านการนำไปใช้ประโยชน์ หรือการแก้ปัญหาของคำถามวิจัย

  • การทำวิจัยในครั้งนี้ เป็นการแก้ปัญหาจากการทำงานประจำ(Routine) ให้เป็นงานวิจัย(Research) มีการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีฯให้เร็วที่สุด ทำให้ผู้ป่วยกลับไปดูแลตนเองที่บ้านได้ต่อเนื่อง ลดปัญหาที่อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด  ผู้ป่วยได้รับยาเคมีฯตามแผนรักษา ทำให้ลดค่าใช้จ่ายและไม่เสียเวลา   จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • จากผลของการวิจัยดังกล่าว  เราสามารถนำโปรแกรมนี้มาใช้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด ในหน่วย Day Chemotherapy โรงพยาบาลศรีนครินทร์   ทำให้ไม่ต้องรับเป็นผู้ป่วยใน จะทำให้ลดค่าใช้จ่าย  และหน่วยงานอื่นๆ   สามารถนำโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายไปใช้ได้

     

รูปแบบการทำงานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำ R2R  

  • พยาบาลประจำการ สามารถนำโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายมาใช้ในหน่วยงานได้ตรงกันและสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง   ตั้งแต่อยู่โรงพยาบาลจนกระทั่งอยู่ที่บ้าน
  • โดยมีนวตกรรม คือ วิดิทัศน์และคู่มือการดูแลตนเองการดูแลตนเองที่บ้านและการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • มีการเผยแพร่นวตกรรมนี้ให้หน่วยงานอื่นๆ ที่มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และนำโปรแกรมนี้ไปใช้ได้อย่างได้ผล 
  • นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่แนวคิดในโรงพยาบาลอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากการได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรและมีการประสานเครือข่ายระหว่างกับ PCU ใกล้บ้าน โดยใช้ใบส่งตัว และมีสมุดบันทึกการดูแลผู้ป่วยและปัญหาที่ต้องดูแลต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
หมายเลขบันทึก: 192766เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2008 04:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีคะ พี่แก้ว

แวะมาเยี่ยมคะ ดีมากคะ

บันทึกการเรียนรู้จากการส่งผลงานวิจัยเพื่อประกวดกับ สวรส

  • หลังจากที่ส่งบทคัดย่อ 2 หน้ากระดาษ
  • คณะกรรมการแจ้งผลทาง Tel และส่งเอกสารแจ้งผลตามมา
  • คณะกรรมการขอข้อมูลเพือจัดทำ Poster เพื่อจัดทำ Poster ให้
  • ส่งรูปถ่ายที่ใช้ประกอบ Poster ด้วย พร้อมทีมวิจัย ทาง email
  • ทีมงานที่จะให้เราไปเล่าเรื่องติดต่อให้เตรียมข้อมูลไปเล่า 10 นาที อาจเตรียมเป็น power point ได้และจะเปิดโอกาสให้พูดคุยซักถาม 20 นาที ดิฉันอยู่ทีมตติยภูมิ ทีมงานประสานงานดีมาก ทั้งหัวหน้าทีม คือ นพ อัครินทร์ และคุณวราพร แสงสมพงษ์
  • วันงานจริง ได้เล่าเรื่อง 2 ครั้ง มีผู้คนสนใจดีค่ะ

     

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท