เติมเต็มวิสาหกิจชุมชนให้ผู้นำชุมชน


เศรษฐกิจพอเพียง จากระดับครอบครัวและชุมชน และสู่เส้นทาง "วิสาหกิจชุมชน" เพื่อความอยู่รอด

         วันที่ 5 กรกฎาคม 2551  ผมทำหน้าที่วิทยากรอีกครั้งที่ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน  ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง  อำเภอฉวาง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  หลังจากได้รับการประสานทางโทรศัพท์จากศูนย์  โดยคุณสหัสกับพี่จร  ผู้ดูแลจัดการศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน  ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง

          ได้รับข้อมูลว่าในครั้งนี้บุคคลที่เข้ามาเรียนรู้ที่ศูนย์นั้นเป็นผู้นำชุมชน  จาก 3 ตำบลของอำเภอถ้ำพรรณรา  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน  60  คน  ผมได้รับข้อมูลแล้วก็พิจารณาว่าควรจะเติมเต็มในเรื่องอะไรดี   เพราะเป็นผู้นำชุมชนหากได้กระบวนการไปแล้วคงขยายผลในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชนได้ดี  คิดได้ดังนี้ผมก็เตรียมในเรื่องกระบวนการให้   เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการจัดการในชุมชนของตนเอง 

          ผมเดินทางไปถึงก่อนที่ผู้เรียนรู้เข้าห้องเรียน  ห้องเรียนที่ว่านี้ก็เป็นแบบธรรมชาติไม่เหมือนห้องเรียนในสถาบันการศึกษา 

เนื่องจากเป็นเรื่องของชาวบ้านในชุมชนก็เรียนรู้แบบชุมชนไม่มีกติกามากมายนัก  และผู้ที่ตั้งใจมาศึกษาเรียนรู้ก็ได้ใจมาแล้ว 

           วันนี้  ผมให้ผู้นำชุมชนฝึกการจับประเด็น   โดยตั้งเป้าหมายให้เรียนรู้วิธีการ  พร้อมกับให้เรียนรู้สาระของการเรียนจากกรณีศึกษาไปในตัวในเรื่องของผู้นำที่ดี  ก็เลยฉาย วีซีดี  เรื่อง "เสียงกู่จากครูใหญ่"  และตั้งประเด็นให้ถอดบทเรียนว่าได้เห็น

ได้รู้อะไรบ้างจากการดูภาพยนตร์เรื่องนี้  หลังจากดูแล้วแบ่งกลุ่มเป็น  3  กลุ่มโดยแบ่งตามชุมชนที่มา  แล้วให้สรุปว่ามีสาระอะไรบ้าง  พร้อมส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าห้องเรียน   แต่ละกลุ่มได้จับประเด็นและเรียนรู้ได้ทั้ง 2 อย่าง คือ วิธีการจับประเด็น  และสาระของเนื้อหาในเรื่อง  โดยต่างก็สรุปว่า นั้นคือคุณสมบัติของผู้นำที่ดีที่จะพัฒนาชุมชน

(ก่อนพักน้ายงค์(ประยงค์ รณรงค์) ได้เติมเต็มต่อจากผมเล็กน้อยด้วยความสุขที่เห็นผู้นำชุมชนตั้งใจเรียนรู้ในกิจกรรมที่ผมดำเนินการ ท่านบอกว่า "วันนี้เที่ยงไม่รู้ตัวเลย" )

           หลังจากกิจกรรมที่ผมจัดกระบวนการเรียนรู้โดยให้รู้จักคิดวิเคราะห์จับประเด็นแล้ว  ผมก็นำโยงไปยังเศรษฐกิจพอเพียง จากระดับครอบครัวและชุมชน  และสู่เส้นทาง "วิสาหกิจชุมชน"  เพื่อความอยู่รอด  และช่วงพักมีผู้นำเข้ามาคุยแลกเปลี่ยนและขอภาพยนตร์ที่ดูเพื่อนำไปขยายผลความคิดและการเรียนรู้ในชุมชนของเขาต่อไป   

หมายเลขบันทึก: 192761เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2008 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีครับ ท่านชาญวิทย์

เข้ามาเรียนรู้ตามเสียงกู่ของครูใหญ

เมื่อไหร่จะใด้เจอกันอีกครับทั่น

  • มาเยี่ยมคะ
  • ดูภาพแล้วเห็นแต่ละคนตั้งใจจับประเด็น อย่างนี้ครูใหญ่คงมีลูกศิษย์เพิ่มขึ้นอีกหลายคน
  • ขอชื่นชมวิทยากรคนเก่งอย่างพี่ชาญวิทย์นะคะ

เป็นกิจกรรมที่น่าประทับใจ การพัฒนาที่ใช้พื้นฐานของชุมชน การพึ่งตนเอง น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ยั่งยืน และมีความสุข เพราะที่ผ่านมาการพัฒนาเราถูกสอนให้เป็นผู้รอคอย และรอรับจากรัฐบาลเป็นผู้ยื่นมาให้

หวัดดีครับ พี่หลวง

  • มาไกล้ๆแล้ว เมื่อไหร่ จะข้ามเขต มาสุราษฎร์ฯบ้าง

หวัดดี พี่ชาญวิทย์

  • ไม่ค่อยได้เจอหน้าเจอตากันเลยนะพี่
  • แล้วได้ลงไปทำงานถึงพื้นที่แบบนี้บ่อยหรือไม่

 

1. ช่วยเล่า "วิธีการจับประเด็นให้ฟังหน่อยได้มั้ย"

2. วาจาและลีลา ยังนุ่มนวลเหมือนเดิมนะค่ะ

สวัสดีครับ บังหีม

  • คิดเหมือนกันเลยว่าจะได้เจอกันอีกเมื่อไหร่
  • ขอบคุณนะครับที่มาเยี่ยม ผมไม่ค่อยได้บันทึก
  • งานเริ่มชุกมากขึ้นครับ

สวัสดีครับ สพช.ภาคใต้

ขอบคุณมากที่มาให้กำลังใจครับ คิดถึงที่ สพช.ภาคใต้ที่เคยร่วมงานด้วยทุกคนครับ

สวัสดีครับ ท่านเอกราช

  • ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ
  • ในชุมชนจริง ๆ มีอะไรให้เรียนรู้อีกเยอะ ทั้งที่เราเจอแล้วและที่ยังไม่เจอ
  • กระบวนการใดที่ทำให้เขาแสดงความรู้สึกและพูดออกมาได้เราจะได้เจอสิ่งที่ไม่คาดคิดเสมอครับ

สวัสดีครับ คุณน้องบ่าวหนุ่มร้อยเกาะ

มาเที่ยวนครซิครับวันที่ 15 ก.ค.51 ได้รับการร้องขอจากเพื่อนร่วมงานบอกว่าช่วยทำ KM it หน่อย วางแผนแล้วเป็นวันที่ 15 ครับ มาร่วมด้วยก็ดีนะครับ ถ้ามาอย่าลืมหอบความรู้ที่ไม่มีในตำรามาฝากด้วย

สวัสดีครับ คุณน้องสำราญ

  • นั้นซิครับเงียบ ๆ กันไป เมื่อไหร่ได้เจอกันบ้างอีก
  • การลงพื้นที่ก็ยังมีอยู่เรื่อย ๆ ครับ  ส่วนใหญ่เป็นงานที่บูรณาการตามยุทธศาสตร์จังหวัด
  • ในส่วน KM ส่วนใหญ่ได้รับเชิญไปช่วยของหลาย ๆ หน่วยงาน  เป็นหน่วยงานที่เคยทำร่วมกันก็ยังผูกพันธ์กันอยู่ครับ  แต่งานก็ไม่ได้รับงาน KM โดยตรง ทีมเก่าก็ยังตามให้ช่วย ๆ กันอยู่เหมือนเดิม ส่วนที่ไม้เรียงก็เชื่อมต่อกันตั้งแต่ UNDP ห่างกันไปช่วงหนึ่งนานพอสมควรหลังจากปิดโครงการ พักหลัง ๆ นี้ก็ตามหาให้ช่วยกันอีกครับ

สวัสดีครับ น้องจือ(ศิริวรรณ หวังดี)

  • คิดถึงทีม KM กรม ฯ ทุกคน ครับ
  • วันที่ให้โครงเพื่อจับประเด็น  ก็เอาของตนเองที่เคยทำอยู่ให้เขาไป จะถูกหลักการหรือเปล่าไม่แน่ใจ  บอกเขาว่า  ให้ตั้งคำถามกับตัวเราเอง หาคนที่เป็นประเอกให้เจอว่าคือใคร  เขาคนนั้นทำอะไรบ้าง  เขาทำกับใครที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเขา  สถานที่ล่ะทำกันที่ไหน  ช่วงเวลาที่ทำทำเมื่อไหร่  ทำอย่างไรบ้าง  ทำแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง  เราเห็นอะไรดีอะไรเด่น ละม้ายคล้ายเราตรงไหนบ้าง  แตกต่างตรงไหนบ้าง  ครับ  มีอะไรช่วยเสริมบ้างก็ดีนะครับ
  • วันที่ 15 ก.ค. นี้ ทีมงานในสำนักงานเขาขอให้ช่วยจัด KM it  ก็ทำสมาธิอยู่ว่าจะจัดกระบวนการอย่างไร  กำลังค้นหาและหลอกเอาหัวปลาอยู่ครับ

 

^ เข้ามาเยี่ยมชมนะคะ

^ ยินดีเหลือเกิน ที่มีวิทยากรที่ตั้งใจทำงานอย่างเต็มกำลัง

^ เกษตรกรคงได้รับความรู้ และมีความสุขถ้วนทั่วนะคะ

สวัสดีครับคุณยายสายเดี่ยว

มาตอบให้ช้ามากต้องขอโทษจริง ๆ เลยครับ ขอบคุณที่มาให้กำลังใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท