การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

แนวปฏิบัติในการดำเนินการมาตรฐานด้านการพัฒนาคุณภาพ


แนวปฏิบัติในการดำเนินการมาตรฐานด้านการพัฒนาคุณภาพ

แนวปฏิบัติในการดำเนินการมาตรฐานด้านการพัฒนาคุณภาพ

การให้บริการแพทย์แผนไทยในสถานบริการของโรงพยาบาล ที่ปัจจุบันนี้มีมาตรฐานมากำกับดูแล ในแง่ของมาตรฐานก็จะเขียนไว้กว้าง ๆ ให้คนทำงานคิดต่อ ซึ่งที่จังหวัดอุดรธานีมีข้อมูลจากการดูงานที่โรงพยาบาลมหาสารคามซึ่งเล็งเห็นผลว่าน่าจะเป็นประโยชน์ และได้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริการมาตรฐาน ในหมวดต่าง ๆ ซึ่งมีหมวดที่น่าสนใจ คือ แนวปฏิบัติในการดำเนินการมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งเป็นข้อกำหนดในประเด็นที่                 5.2    การกำหนดตัวชี้วัดมาตรฐาน แบบวัดความพึงพอใจ นั้นมีตัวอย่างจาก กลุ่มงานแพทย์แผนไทย รพ.มหาสารคาม ได้มีการกำหนดเครื่องชี้วัด ดังนี้

1.กลุ่มเครื่องชี้วัดคุณภาพทางคลินิก

1.  อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง  ไม่เกินร้อยละ  0

2.  อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง  ไม่เกินร้อยละ  10

3.  ผู้รับบริการมีอาการดีขึ้นหรือหายร้อยละ  80

                2.กลุ่มเครื่องชี้วัดคุณภาพบริการ

4.  ความพึงพอใจที่ได้รับบริการที่มีคุณภาพ  ในเกณฑ์ดี – ดีมาก    ร้อยละ  90

5.  อัตราความสมบูรณ์ของเวชระเบียน  ร้อยละ  80

                3.กลุ่มเครื่องชี้วัดคุณภาพการบริหารจัดการ

6.  อัตราการฝึกอบรมภายใน – ภายนอกหน่วยงาน    40  ชั่วโมง / คน / ปี   ครบร้อยละ  100

คำสำคัญ (Tags): #แพทย์แผนไทย
หมายเลขบันทึก: 192746เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2008 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท