การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

แนวปฏิบัติในการดำเนินการมาตรฐานด้านกลุ่มเจ้าหน้าผู้ปฏิบัติงาน


แนวปฏิบัติในการดำเนินการมาตรฐานด้านกลุ่มเจ้าหน้าผู้ปฏิบัติงาน

แนวปฏิบัติในการดำเนินการมาตรฐานด้านกลุ่มเจ้าหน้าผู้ปฏิบัติงาน

การให้บริการแพทย์แผนไทยในสถานบริการของโรงพยาบาล ที่ปัจจุบันนี้มีมาตรฐานมากำกับดูแล ในแง่ของมาตรฐานก็จะเขียนไว้กว้าง ๆ ให้คนทำงานคิดต่อ ซึ่งที่จังหวัดอุดรธานีมีข้อมูลจากการดูงานที่โรงพยาบาลมหาสารคามซึ่งเล็งเห็นผลว่าน่าจะเป็นประโยชน์ และได้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริการมาตรฐาน ในหมวดต่าง ๆ ซึ่งมีหมวดที่น่าสนใจ คือ แนวปฏิบัติในการดำเนินการมาตรฐานด้านกลุ่มเจ้าหน้าผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้บริการมีมาตรฐานที่ชัดเจน เป็นไปตามข้อกำหนดของสถานบริการ และระเบียบกระทรวงสาธารณสุข และ เพื่อจะได้นำไปจัดทำเป็นมาตรฐานบริการ มีข้อควรพิจารณา

1.จากระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยหรือ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2545  ข้อที่  6 ให้บุคคลซึ่งผ่านการอบรมตามหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุขหรือที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยหรือคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์แล้ว ให้ทำการประกอบโรคศิลปะด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยได้ดังต่อไปนี้

                6.1 ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นโดยการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติยาแผนโบราณในบัญชี ยาสามัญประจำบ้านและยาจากสมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน

6.2 ให้บริการนวด อบ ประคบ และให้คำแนะนำเรื่องกายบริหารแบบไทยฤาษีดัดตนและสมาธิบำบัด บรรเทา ส่งเสริม และฟื้นฟูร่างกายและจิตใจในโรคและอาการดังนี้

6.2.1 ปวดศีรษะจากความเครียด ปวดเมื่อยทั่วไป ปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดข้อ ปวดเอว ที่ไม่มีผลจากโครงสร้างกระดูกแตกหรือเคลื่อนที่อย่างร้ายแรง แต่เป็นการเจ็บปวดอันเนื่องมาจากกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นเกร็ง เมื่อยล้า ฟกช้ำ

6.2.2 นวดเพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือพิการ ต่างๆและผู้สูงอายุ

2.หลักสูตรการแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุขตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2545  ได้แก่

1. หลักสูตรการแพทย์แผนไทย สาขาเวชกรรมไทย (1,202 ชั่วโมง)
2. หลักสูตรการแพทย์แผนไทย สาขาเภสัชกรรมแผนไทย
3. หลักสูตรครูฝึกแพทย์แผนไทย
4. หลักสูตรนวดไทย (372 ชั่วโมง)
5. หลักสูตรนวดไทย (800 ชั่วโมง)
6. หลักสูตรการนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ
7. หลักสูตรนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพสำหรับผู้พิการทางสายตา
8. หลักสูตรนวดแผนไทยสำหรับผู้พิการทางสายตา (1,200 ชั่วโมง)
9. หลักสูตรนวดแผนไทยสำหรับแพทย์สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
10. หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย (100 ชั่วโมง)
11. หลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพ (นวดเชลยศักดิ์)

3.จากระเบียบดังกล่าวและหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุขตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2545  การกำหนดคุณสมบัติด้านบุคลากร บุคลากรที่ให้บริการนวดในสถานบริการในจังหวัดอุดรธานี มี 2 กลุ่มได้แก่

1.  ผู้ให้บริการที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุขหรือที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยหรือคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยจากการประกวดมาตรฐานปี 2549 พบว่ามีอยู่มากกว่าร้อยละ 80 ในสถานบริการที่เขาร่วมกิจกรรมการประกวด

2.ผู้ให้บริการที่จบประกาศนียบัตรแพทย์แผนไทย (อายุรเวท) ซึ่งปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในจังหวัดอุดรธานีขณะนี้ 12 คน ในโรงพยาบาล 10 แห่ง

คำสำคัญ (Tags): #แพทย์แผนไทย
หมายเลขบันทึก: 192743เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2008 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท