ปัญหาผู้สูงอายุ : จะหาทางออกอย่างไร อีก 15-20 ปี ข้างหน้า


คงจะมีสักวันที่เราต้องสูงอายุ มาร่วมกันคิดและเตรียมการกันสักหน่อยจะดีไหม เพื่อลดความรุนแรงของปัญหา ในอีก 20 ปี ข้างหน้า

วันที่  6 กรกฎาคม 2551 ได้ ไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “การวางแผนและการประเมินโครงการ” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตร "พัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์" ในการเริ่มต้นบรรยาย ผมได้ปรารภหรือได้กล่าวถึง "ปัญหาผู้สูงอายุในอีก 15-20 ปีข้างหน้า"  (เพราะผู้ฟัง มีภารกิจเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ด้วย)  พร้อมทั้งได้เสนอแนะเรื่อง "การวิจัยและพัฒนาที่ควรทำ ในสายงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน"

       ในเรื่องปัญหาผู้สูงอายุในอีก  15-20 ปีข้างหน้า(ตอนนั้นผู้เขียนเองก็คงสูงอายุมากเช่นกัน) รัฐจะต้องเจอกับปัญหา “การมีผู้สูงอายุจำนวนมาก” เพราะประชากรมีอายุยืนมากขึ้น    อาจทำให้ประชากรวัยแรงงาน 1-2 คน จะต้องรับภาระดูแลผู้สูงอายุ 1 คน เป็นปัญหาที่หนักมาก หากปล่อยให้เป็นภาระของรัฐ  แน่นอน “ประเทศนี้ อาจกลายเป็นประเทศยากจน ก็อาจเป็นได้”   ปัญหาเรื่องนี้ จากข้อมูล จะพบว่า ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศหนึ่งที่ประสบปัญหาเรื่องนี้อย่างมาก ผู้สูงอายุญี่ปุ่น จะถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ข้อมูลบอกว่า ร้อยละ 30-40 อยู่อย่างว้าเหว่ ไม่มีลูกหลานดูแล(เลยชอบมาเที่ยวเมืองไทย หรือมาพักอาศัยในเมืองไทยมาก เพราะ คนไทยใจดี  สนใจ ชอบซักถาม ทุกข์ –สุข คนอื่น ทั้ง ๆที่ตัวเองก็มีความทุกข์มากมาย )

ทางออกสำคัญ ในการเตรียมการเพื่อรองรับกับปัญหาผู้สูงอายุล้นเมือง ในความคิดอันน้อยนิดของผู้เขียน เห็นว่า จะต้องคิดและเตรียมการ ในลักษณะต่อไปนี้ คือ 1) การเน้นปลูกฝังให้เด็กไทย มีจิตสำนึกเรื่อง “ความกตัญญู” ก็ฝากความหวังไว้กับระบบการศึกษาและกระบวนการสังคมประกิต(การหล่อหลอมของสังคม) หากเด็กไทยยังเต็มเปี่ยมด้วยความกตัญญู ยอมรับและเลี้ยงดูพ่อ-แม่ ครอบครัวละ 1-2 คน  ปัญหาภาระหนักอึ้งของรัฐก็อาจเบาบางได้บ้าง  2) การปลูกฝังค่านิยมพอเพียง ค่านิยมความมัธยัสถ์ อดออม ในขณะทำงาน เพื่อเก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในบั้นปลายชีวิต   ปัญญานี้ จะเป็นเรื่องใหญ่มาก โดยเฉพาะในสายอาชีพข้าราชการ ที่เน้นการอยู่อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ในขณะที่มีรายได้น้อย และมีหนี้สินจนถึงวันเกษียณอายุ (แล้วบั้นปลายชีวิตจะเป็นอย่างไร “หากอายุยืน”)...ข้าราชการไทย กับ ญี่ปุ่น คงจะแตกต่างกันมาก ญี่ปุ่น เมื่อเกษียณอายุ อาจมีเงินเก็บคนละถุงใหญ่ ๆ หรือมีเพียงพอที่จะมาอยู่เมืองไทยได้   แล้วเราล่ะ สามารถเก็บเงินหรือมีเงินออมเพียงพอที่จะไปอยู่ต่างประเทศหรือ  ประเทศไหน ล่ะ...เฮ้อ เศร้า..วังเวง    ทางเลือกในการแก้ปัญหา ทางที่สองนี้ เป็นการกระตุ้นให้ผู้กำลังจะสูงอายุในอนาคต มีการวางแผนดูแลตนเองอย่างดี เตรียมการสำหรับบั้นปลายชีวิต    และ 3) การกระตุ้นให้ท้องถิ่น อบต. ชุมชน เตรียมการรองรับปัญหาเรื่องนี้ อย่างเป็นระบบ และจริงจัง...ยังไม่มีเวลาคิดเหมือนกันว่าจะต้องเตรียมอย่างไรบ้าง   เอาเป็นว่า ถึงเวลาที่ต้องระดมสมอง และเตรียมการในเรื่องนี้กันอย่างจริงจังก็แล้วกัน

เขียนมาถึงตอนนี้ ขอไปพักก่อนนะครับ ในฐานะ เตรียมสูงอายุ  หากมีเวลา ผมจะเขียนเรื่อง ทางออกในการวิจัยและพัฒนาเพื่อรองรับปัญหาคุณภาพชีวิตคนไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ สอง ที่เกริ่นนำ ในการบรรยายวันนี้

หมายเลขบันทึก: 192537เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2008 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตอนนี้เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่ เห่อแต่ดาราเกาหลี ดาราณี่ปุ่น 2 ประเทศนี้ทำอะไร ก็มักตามอย่างหมด

ต้องหาหนังเกหลีที่เป็นเรื่องกตัญญู มาออกทีวีบ้านเราบ้างคงดีค่ะ วัยรุ่นจะได้ตามอย่าง

  •  
    • คุณจิด้า เสนอความคิดที่ยอดเยี่ยมเลยครับ
    • น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี
    • หากมีหนังดี ๆ อาจเป็นไปได้ที่จะทำให้เยาวชนซึมซับเรื่องกตัญญู(หรือไม่ก็อาจจะไม่ดูเลย)

สวัสดีค่ะท่านดร. สุพักตร์

  • อนาคต คาดว่า หน่วยงานสาธารณสุข...ต้องรองรับสถานที่เลี้ยงผู้สูงอายุมากขึ้น อาจมีสถานพยาบาลผู้สูงอายุ ..ก็ได้
  • ครอบครัวที่มีลูกหลานก็คาดหวังว่าลูกหลานจะดูแล แต่ปัญหาด้านเศรษฐกิจ...ลูกหลานหลั่งไหลไปหางานทำที่อื่น ปล่อยให้ผู้สูงอายุ เฝ้าบ้าน ดูแลตนเองตามลำพัง (ส่งเงินมาบ้างไม่ส่งเงินมาบ้าง) มีผู้ป่วยเรื้อรัง สูงอายุหลายราย ที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ...ได้แต่สร้าง empowerment ในการดูแลตนเอง ...ให้ดีที่สุด และนัดลูกหลานให้มารับทราบปัญหาสุขภาพของคุณพ่อ คุณแม่ ปู่ ย่า ตายาย เมื่อมีโอกาส
  • 3 ทางออกที่อาจารย์กล่าวมา เยี่ยมมากเลยค่ะ (อยู่ในความคิด..ทีเดียว)
  • จะรอติดตามตอนต่อไป
  • ขอบคุณค่ะ
  • ขอบคุณครับ คุณสิตะวัน ที่เข้ามาเยี่ยม
  • กำลังจะขอร้อง อบต.ในจังหวัดนนทบุรี ให้จั้งตั้งสโมสรผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแหล่งเสริมสร้างความรู้และดูแลสุขภาพ ทั้งเพื่อการดูแลโดย อบต./ชุมชน และส่งเสริมให้เป็นเครือข่ายดูแลกันเอง คงจะตั้งสำนักงานอยู่ใกล้ ๆ กับศูนย์เด็กเล็กนะครับ เพื่อให้ผู้สูงอายุช่วยดูแลเด็กเล็กด้วย(ก็คงจะเป็นลูกหลานของผู้สูงอายุนั่นแหละครับ)

สวัสดีค่ะท่าน ดร. สุพักตร์

  • เป็นความคิดที่ดี ทีเดียวค่ะ
  • ขอยืมไปใช้ด้วยนะคะ
  • จะเสนอโครงการ ฯ ไปที่ อบต. เชียงพิณบ้าง
  • เรื่องการจัดตั้งสโมสร ฯ
  • แต่ศูนย์เด็ก ฯ อยู่ในวัดป่า ห่างจากหมู่บ้านมาก
  • คงต้องปรึกษา อบต. อีกที
  • อาจมีกิจกรรมที่วัดบ้านทุกวันพระ ..จะลองวางแผนดู
  • ขอบคุณค่ะ

เรียนดร.สุพักตร์ค่ะ

พอดีว่าตอนนี้ดิฉันกำลังศึกษาหาความรู้เรื่องผู้สูงอายุอยู่ค่ะ โจทย์ที่ได้มาจะเป็นลักษณะการดูแล ความหมาย ปัญหาของผู้สูงอายุในสังคมไทย และระบบการจัดการเกี่ยวกับผู้สูงอายุในประเทศไทยค่ะ แต่พอหาข้อมูลแล้วมันไม่ค่อยครอบคุมเท่าไหร่ พอดีเลยเจอลิงค์ของอาจารย์พอดี อยากขอรบกวนอาจารย์ช่วยให้คำแนะนำหน่อยได้มั๊ยคะ จะขอบพระคุณมากเลยค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท