drrakpong
นายแพทย์ รักษ์พงศ์ เวียงเจริญ

บทสรุปประชุมการรับส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคของหน่วยงานภูมิภาคไปยังหน่วยงานกรมการแพทย์


ลงมาช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัด และวางแนวทางช่วยเหลือ และการส่งต่อให้ชัดเจน เป็นประโยชน์กับผู้ป่วย และผลการรักษา

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ นำโดย อ.นพ.ชำนิ จิตตรีประเสริฐ ร่วมกับ สถาบันโรคทรวงอก นำโดย อ.เจริญ ชูโชติถาวร ได้จัดการประชุม "จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบการรับส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคจากหน่วยงานภูมิภาคไปยังหน่วยงานกรมการแพทย์" ที่ โรงแรมเอกไพลิน ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี โดยเชิญ แพทย์ พยาบาลในคลินิกวัณโรค และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ จากโรงพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี ทั้ง รพท. และ รพช. รวมถึงผู้ประสานงานวัณโรค จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี

 

อ.ชำนิ และ อ.เจริญ ได้เกริ่มนำถึงเหตุที่ต้องจัดประชุมครั้งนี้ สำหรับโรงพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้น ด้วยเหตุจากการศึกษาข้อมูลที่โรงพยาบาลมะการักษ์ พบว่ามีผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรคดื้อยามากขึ้น ทำให้ต้องส่งต่อไปรักษาที่สถาบันโรคทรวงอกหลายราย ซึ่ง จากการทำงานของ อ.เจริญ ที่คลินิกวัณโรค ให้ข้อสังเกตว่า ผู้ป่วยมาจากจังหวัดกาญจนบุรีค่อนข้างมาก เลยลงมาช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัด และวางแนวทางช่วยเหลือ และการส่งต่อให้ชัดเจน เป็นประโยชน์กับผู้ป่วย และผลการรักษา

 

อ.เจริญ ซึ่งถือเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศในการรักษาวัณโรค ได้สละเวลามาให้ความรู้กับพวกเรา ทั้งปัญหาการดื้อยาของวัณโรค การแก้ไขปัญหาการรักษาและผลข้างเคียงต่าง ๆ ประสบการณ์ในเวชปฏิบัติของอาจารย์ รวมทั้ง Guideline ใหม่ในการรักษาวัณโรคที่จะออกในปีนี้ เพื่อแก้ปัญหา การรักษา โดยเฉพาะ วัณโรคดื้อยา ทั้ง MDR และ XDR

ผมขอสรุปปัญหา ในการรักษาวัณโรคที่ อ.เจริญ เล่าให้ฟัง ดังนี้

1. ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการรักษา ได่แก่กลุ่มกลับเป็นซ้ำ ( Relapse ) และกลุ่มที่เคยได้รับการรักษามาก่อน ไม่ว่าจะเป็นขาดยา ( Default ) หรือล้มเหลว ( Failure ) ดังนั้น การซักประวัติการรักษามาก่อน จึงสำคัญมากในการเลือกสูตรยา

2. กลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว ก่อนให้การรักษาใหม่ ควรส่งเสมหะ เพาะเชื้อดูความไวของยาก่อนให้การรักษาเสมอ และสูตรยาตาม guideline ใหม่ จะมีการปรับเปลี่ยน

3. มีการใช้ยา Quinolones ในผู้ป่วยวัณโรคดื้อยากันมาก ซึ่งเป็นยาที่ดีที่สุดไปเสียแล้ว แต่จัดสูตรยาไม่เหมาะสม เมื่อไม่หาย ส่งไปสถาบันโรคทรวงอก ก็ไม่สามารถจัดสูตรยาที่ดีกว่านั้นได้อีก

4. เน้นรักษาโรค โดยไม่ได้รักษาอาการด้วย เช่น ไอ หรือ หอบ ทำให้ผู้ป่วยต้องไปรักษาที่อื่น

5. การกินยาวัณโรค มีโอกาสเกิดผลข้างเคียง ถึง 40 % เมื่อไม่ได้ให้คำแนะนำ ซักถาม หรือแก้ไข ให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยก็หนีอีกเช่นกัน

เนื่องจากปัญหาวัณโรค ดื้อยามากขึ้น  และจากข้อมูลในจังหวัดกาญจนบุรีเอง กลุ่มรักษาซ้ำ ( Relapse ) ซึ่งมักใช้สูตร CAT2 (2HERZS+1HERZ+7HRE ) ซึ่งมีการเพิ่ม Streptomycin เข้าไปเพียงตัวเดียวจากสูตร CAT 1 (2HERZ+4HR) รักษาสำเร็จเพียง 64.47% ในปี 2550

อ.เจริญ ได้เล่าให้ฟัง ถึง guidline ใหม่ ที่ผมสรุป เรื่องสำคัญ เป็นดังนี้

  • ควรมีการเจาะเลือด baseline lab ทุกราย ได้แก่ CBC , FBS , BUN , Cr , Uric acid
  • CAT 3 เปลี่ยนเป็น 2HERZ/4HR ( เหมือน CAT1 )
  • ใน PTB M - ให้ F/U CXR และตรวจเสมหะเมื่อรักษาครบ 2 เดือน (เพื่อระวังเป็น CA ไม่ใช่ TB)
  • ไม่ใช่ CAT2 ในกรณี Failure จาก CAT1 ให้ใช้ CAT4 เลย ซึ่งมี 2 แบบ คือ CAT4.1 และ 4.2
  • ไม่ใช้ Ciprofloxacin ในการรักษา TB อีก
  • ลดขนาดของยา Ethambutol เหลือ 800/1000 มก. และ PZA เหลือ 1.0/1.5 กรัม เพื่อลดผลข้างเคียง

คงต้องต่อภาค 2 ครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 192300เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2008 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ แวะมาดูการจัดการกับวัณโรค จอมดื้อ ค่ะ

สวัสดีคะ คุณหมอ

วัณโรคดื้อยาเป็นปัญาทุกโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ถ้าจะรับผู้ป่วยรักษาเป็นผู้ป่วยใน นำผู้ป่วยมานอนรับประทานยาให้หายขาด ก็จะพบปัญหาห้องแยกมีไม่พอ เมื่อพบผู้ป่วยเป็นวัณโรคแล้ว ก็ต้องให้คำแนะนำอย่างเข้มข้น อธิบายจนผูป่วยเข้าใจในการรับประทานยาให้ต่อเนื่องและสมำเสมอ เพื่อป้องกันวัณโรคดื้อยา เป็นความสามารถของพยาบาล TB ที่จะสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยเอาใจใส่ในการกินยาและคุณหมอคงต้องช่วยด้วยนะคะ เพราะผู้ป่วยจะกลัวคุณหมอมากกว่า

  • รออ่านตอนสองได้เลย
  • อุตส่าห์แอบไปโรงพยาบาล
  • ยังตามมาพออีกนะครับ
  • อิอิๆๆ
  • เดือนกันยาพบกันนะครับ
  • วันที่ 2-3 กันยายน
  • ไปทำให้กรมอนามัย ที่อุบลฯ ของหมอนนทลี ไปด้วยกันไหมครับ
  • ขอบคุณครับที่บันทึกเรื่องดีๆๆให้อ่าน

พี่โต

อยากอ่านตอน2 เร็วๆ พี่รีบโพสต์ต่อเร็วๆหน่อยสิ จะได้ให้รพ.ตามมาลอกเอาไปใช้

ขอบคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท