พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ : Straregic Partner


บุคคล, กลุ่มบุคคล, หน่วยงาน หรือองค์กร ที่ไม่ใช่ เจ้าภาพหลัก ในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ (Strategy) ที่กำหนดไว้โดยตรง แต่เป็น ตัวช่วย ให้การปฏิบัติภารกิจใด ๆ บรรลุผลสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว

ได้รับ E-Mail จากคุณออม ถามมา 2 ข้อ ดังนี้

  1. พันธมิตรยุทธศาสตร์หมายถึงอะไร ? อธิบาย
  2. นำเสนอองค์กรสื่อของไทยที่มีพันธมิตรยุทธศาสตร์ 1 องค์กร

- อธิบายว่าเป็นพันธมิตรยุทธศาสตร์อย่างไร ? ทำอะไร ?
- แต่ละองค์กรได้ผลประโยชน์อย่างไร ?
- ผลประโยชน์ที่ได้ส่งเสริมแต่ละองค์กรอย่างไร ?

บอกวัตถุประสงค์มาเรียบร้อยด้วยถ้อยคำ "ร้องขอ" แบบวัยรุ่นว่า "รบกวนช่วยหนูหน่อยนะค่ะ  หนูต้องเขียนให้ได้ 3-5 หน้ากระดาษ A4 หนูต้องเขียนส่งภายในวันที่ 1ก.ค.51 นี้อ่ะค่ะ"

ผมรีบตอบข้อ 2 ให้กับเธอไปทาง E-Mail ก่อนเลย เพราะชัดเจนว่า "คุณออม คงต้องหาข้อมูลจากที่อื่นไปก่อน โดยเฉพาะข้อ 2 องค์กรสื่อของไทยที่มีพันธมิตรยุทธศาสตร์ ผมมีความรู้เรื่องนี้น้อยมากเพราะไม่ได้ทำงานในวงการสื่อโดยตรง"

ส่วนข้อ 1 "พันธมิตรยุทธศาสตร์หมายถึงอะไร ?" ผมขอตอบตามความเข้าใจที่ผมมีอยู่ ได้มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการปฏิบัติ ไม่ได้คัดลอกคำนิยามมาจากที่ไหน

ผมขอใช้คำว่า "พันธมิตรเชิงยุทธศาตร์" แตกต่างจากคุณออมนิดหน่อย แต่เข้าใจว่าความหมายคงเหมือนกัน มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Strategic Partner" ในที่นี้ผมหมายถึง "บุคคล, กลุ่มบุคคล, หน่วยงาน หรือองค์กร ที่ไม่ใช่ เจ้าภาพหลัก ในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ (Strategy) ที่กำหนดไว้โดยตรง แต่เป็น ตัวช่วย ให้การปฏิบัติภารกิจใด ๆ บรรลุผลสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้น พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ จึงต้องมีคุณสมบัติบางประการในการเป็น ตัวช่วยที่ดี ดังนี้

    (1) มีความรู้ ความสามารถ ที่ตรงกับความต้องการในการบริหารยุทธศาสตร์ให้บรรลุผลสำเร็จ

    (2) ในกรณีที่เป็นหน่วยงาน หรือองค์กร ที่เข้ามาทำหน้าที่พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ หน่วยงานหรือองค์กรนั้นจะต้องมีศักยภาพ, ภารกิจ หรือความรับผิดชอบ ที่ตรงกับบทบาทในการเข้ามาเป็น ตัวช่วย ทำให้สามารถสนับสนุนปัจจัยต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ และผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจะกลายเป็น ผลงาน, ผลประโยชน์, ความก้าวหน้า ฯลฯ ร่วมกัน ระหว่าง เจ้าภาพหลัก และ ตัวช่วย

    (3) การกำหนดภารกิจของพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ ควรระบุให้ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร ใน แผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map) และ/หรือ ในแผนยุทธศาตร์รูปแบบอื่น ๆ จะทำให้เข้าใจในบทบาทของตนเอง และสามารถบริหารจัดการภารกิจนั้นให้ลุล่วงไปได้ เป็นการเสริมยุทธศาสตร์หลักให้บรรลุสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ร่วม (Share Vision) ที่กำหนดไว้ร่วมกัน

ผมมีตัวอย่างการทำงานในลักษณะ พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ : Strategic Partner เมื่อครั้งที่หอการค้าจังหวัดชุมพรเข้าไปเป็น ตัวช่วย ในโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ผมสรุปไว้ทั้งในรูปแบบของรายงานการประชุม และไฟล์ PowerPoint เพื่อใช้ในการนำเสนอ สนใจเชิญ <Click> เข้าไป Download มาศึกษาได้เลยตาม Link ดังต่อไปนี้

http://www.chumphonstage.com/images/stories/Article/School Lab.ppt
http://www.chumphonstage.com/images/stories/Article/1st Meeting.doc

หมายเลขบันทึก: 191314เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2008 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท