"คาดว่าในไม่ช้าคนเราจะสามารถดำรงความหนุ่มสาวในระดับอายุ 50 ปีไว้ได้ แม้อายุจะเข้า 70, 90 หรือเลย 100 ปี" โดยการกระตุ้นพลังของยีนอายุยืน
นี่คือคำพยากรณ์ในบทความชื่อ Unlocking the Secrets of Longevity
Genes เขียนโดย David A. Sinclair & Lenny Guarente ลงใน
Scientific American ฉบับมีนาคม 2549
ผู้เขียนคนแรกศึกษากลไกของความชราอยู่ที่โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คนหลังอยู่ที่เอ็มไอที คนแรกมีบริษัทชื่อ Sirtis คนหลังมีบริษัทชื่อ Elixir ทำวิจัยพัฒนายากระตุ้นยีนอายุยืน
ร่างกายของคนเราเก่าและแก่เหมือนรถยนต์ แต่จริง ๆ แล้วต่างกัน เพราะร่างกายของเราซ่อมแซมและ "เปลี่ยนชิ้นส่วน" ตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่รถยนต์ทำไม่ได้ นี่คือที่มาของแนวคิดชลอความชรา
ผู้เขียนทั้งสองไม่เชื่อว่ามียีนความชรา แต่เชื่อว่ามียีนอายุยืน โดยเมื่อศึกษาต่อยอดจากความรู้ที่รู้กันมา 70 ปีแล้วว่าหนูที่อด ๆ อยาก ๆ จะอายุยืนกว่าหนูที่กินอิ่ม พบว่า "ภาวะเครียด" เช่น อดอาหาร เปลี่ยนอุณหภูมิ ฯลฯ ไปกระตุ้นยีนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่ากลุ่มยีน Sirtuins ให้สร้างโปรตีนออกมา ส่งผลให้เพิ่มความเสถียรของดีเอ็นเอ, เพิ่มความสามารถในการซ่อมแซมและการป้องกันอันตราย, เพิ่มอายุของเซลล์, เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและใช้พลังงาน และมีการตอบสนองต่อความเครียดนั้น
ผู้เขียนทั้งสองหวังว่าจะสามารถสร้างยาอายุวัฒนะได้ โดยออกฤทธิ์กระตุ้นยีนอายุยืน
วิจารณ์ พานิช
13 มี.ค.49
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich ใน KMI Thailand
ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คงจะเยี่ยมยอดไปเลยเนอะ จริงมั๊ย
เราอยากจะเก่งเหมือนกับนักวิจัยคนนี้จังเลย คิดอะไรได้ดีด้วย