จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ผู้เชี่ยวชาญ?


อัสลามูอาลัยกุมวาเราะมาตุลลอฮิวาบารอกาตุฮ์

 

 กลับมาพบกันอีกครั้งหนึ่งแล้วนะครับกับจดหมายข่าวศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ ฉบับนี้คงเป็นการคุยกันในเรื่องทั่วๆ ไปนะครับ เนื่องจากในส่วนของข่าวสารการดำเนินงานของคณะฯ คงต้องติดตามจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคณะในการแจ้งข่าว ทั้งนี้ตามนโยบายของคณะฯ ในปีนี้คือ หากมีข่าวสารอะไรที่จะประชาสัมพันธ์ไปยังบุคลากรทุกภาคส่วนของคณะให้รับทราบนั้นจะมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางอีเมลในรูปแบบจดหมายข่าวครับ แต่ผมคิดเองว่า ช่วงนี้อาจยังไม่มีอะไรคืบหน้าก็เป็นไปได้จึงไม่มีการแจ้งข่าวใดๆ เลย

 

ทุกท่านครับ จดหมายข่าวฉบันนี้ ผมขอตั้งประเด็นคำถามให้ทุกท่านได้คิดกันเล่นสักประเด็นหนึ่ง ประเด็นคำถามมีอยู่ว่า คำว่าเราจะเป็น ผู้เชี่ยวชาญ ได้อย่างไร?

 

หลายคนอาจจะตอบง่ายๆ ว่า ถ้าเรียนจบอะไรมา ก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นสิ เช่น เมื่อผมเรียนจบด้านเทคโนโลยีการศึกษา ผมก็สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาได้เลย ใช่หรือไม่ครับ?

 

ผมขอตอบคำถามเป็นคนแรกก่อนนะครับว่า ความคิดนี้ไม่ถูกครับ การสำเร็จการศึกษากับการมีความเชี่ยวชาญเป็นคนละประเด็นกันครับ ทั้งนี้เนื่องจาก ความเชี่ยวชาญจะเกิดขึ้นมานำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการเล่าเรียนมาใช้งาน มาศึกษาลงลึกยิ่งขึ้น จนสามารถพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ มิใช่เพียงแค่การเรียนจบสาขาวิชานั้นๆ มา ทุกท่านคิดว่า ผมตอบถูกมัยครับ?

คำถามต่อไป คือ แล้วการนำความรู้ที่ได้เล่าเรียนมามาสู่การใช้งานและการศึกษาลงลึก เขาทำกันอย่างไร?

เมื่อนานมาแล้ว คนส่วนใหญ่มีความเชื่อกันว่า หากต้องการความรู้ต้องถามอาจารย์ครับ โดยเฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัย อาจจะในกลุ่มอาจารย์ ผศ. รศ. หรือ ศ.

 

แต่พอตั้งคำถามต่อไปอีกว่า แล้วคนกลุ่มนี้เอาความรู้มาจากไหน คำตอบพื้นฐานที่จะได้รับคือ การทำวิจัย การศึกษาค้นคว้า ถูกต้องไหมครับ

 

การวิจัย เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับอาจารย์ในการพัฒนาความเชี่ยวชาญ กลวิธีสำคัญในการวิจัย คือ การศึกษาเอกสาร งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (อันนี้แหละครับหัวใจที่หนึ่ง)  ลำดับถัดมาคือ การสำรวจ สืบค้น ตรวจสอบจากพื้นที่ หรือสภาพจริง เพื่อให้แน่ชัดว่า สิ่งที่มีปรากฏอยู่แล้วในเอกสารกับความเป็นจริงในภาคสนามมีความแตกต่าง สอดคล้อง หรือมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นบ้างหรือไม่ และปรากฏการณ์หรือสิ่งใหม่ๆ นั้นเกิดขึ้นมาด้วยสาเหตุใด และสามารถนำไปสู่การทำนายอนาคตได้อย่างไร หรือจะแก้ไข จะป้องกันสภาพอันไม่พึงประสงค์อย่างไร ทั้งหมดนี้ผมว่า คือกลวิธีสำคัญของการทำวิจัยครับ

 

และเมื่อไรที่นักวิชาการ อาจารย์ หรือใครต่อใครที่ทำการศึกษาและสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ และเกิดการยอมรับการอธิบายดังกล่าวได้ นั่นแหละครับ คือ ผู้เชี่ยวชาญ

 

ทุกท่านเห็นด้วยกับคำตอบนี้ไหมครับ?

 

ผมอยากเรียนทุกท่านว่า การอธิบายถึงที่มาของการเป็นผู้เชี่ยวชาญข้างต้น เป็นความคิดที่เก่าไปแล้วครับ เพราะถ้าทุกท่านพิจารณาคำตอบข้างต้น แล้วมามองที่คำตอบใหม่ในปัจจุบัน ท่านจะพบว่ามันมีความแตกต่างกันไปบางส่วนแล้วครับ

 

ปัจจุบัน ถ้าจะถามหาว่า ความรู้อยู่ที่ไหน? คำตอบจะไม่ต้องตอบว่า อยู่ที่อาจารย์ หรืออยู่ที่มหาวิทยาลัยแล้วครับ แต่ความรู้จะอยู่ๆ ที่ๆ เกิดการปฏิบัติอยู่ นั้นคือ คนทำงานคือคนที่รู้ดีที่สุดในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่ต้องเป็นอาจารย์ และอาจารย์อาจจะไม่รู้ดีเท่าคนทำงานแล้วครับ

 

เพราะความจริงคือ ความรู้หากมองตามมุมนี้จะเห็นได้ว่า แบบออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มความรู้ที่ปรากฏชัดเจนแล้ว ซึ่งอยู่ในตำรับตำรา หนังสือ รายงานการวิจัยต่างๆ นานา กับความรู้อีกกลุ่มหนึ่งคือ ความรู้ที่ยังคงซ่อนเร้นอยู่ในกลุ่มคนปฏิบัติงาน

 

เป็นความจริงประการหนึ่งครับว่า คนที่เรียนจบมาเหมือนกัน แต่ประสบความสำเร็จในการทำงานไม่เท่ากัน ผมเองเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนที่นอนอยู่โรงพยาบาลยังพบเลยครับว่า ผู้ช่วยพยาบาลสองคนมีวิธีการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนไม่เหมือนกันครับ และผู้ป่วยก็ต้องเคลื่อนไหวไม่เหมือนกันเพื่อให้การปูผ้านั้นตึงและน่านอน

 

ถามต่ออีกว่า เทคนิคของผู้ช่วยพยาบาลทั้งสองนั้น ไม่เหมือนกันเพราะอะไร? คำตอบคือ การสังเกต การเรียนรู้ และการทดลองของเขาเอง ในขณะที่เขาปฏิบัติงานในแต่ละครั้ง ซึ่งถ้าจะถามต่อไปอีกว่า แล้วเมื่อวิธีการของเขาดีและเป็นที่ประทับใจของผู้ป่วย เขาน่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญได้แล้วยังครับ?

 

ถ้าอย่างนั้น อาจารย์ในมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้เชี่ยวชาญได้อย่างไรครับ?

 

คำสำคัญ (Tags): #ผู้เชี่ยวชาญ
หมายเลขบันทึก: 190751เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2008 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แต่บางครั้งก็ไม่มีใครมองเห็นความเชี่ยวชาญในบางเรื่อง เลยกลายเป็นเพียงว่า "แสงเทียนท่ามกลางสปอร์ตไลท์" ก็มีถมไปนะครับ ส่วนใหญ่ จะเชี่ยวชาญอย่างอื่นกันซะมากกว่า แต่ไม่เชี่ยวกล้าในเนื้อหาวิชา ...วัลลอฮฺอะลัม

ขอบคุณครับอาจารย์1. เสียงเล็กๆ

  • อาจารย์เป็นคนแรกจากคนที่รับเมลจดหมายข่าวจำนวนกว่า 40 คน ที่เข้ามาตอบกระทู้ของผม ขอบคุณอีกครั้งครับ
  • ความเชี่ยวชาญ มีอีกเงื่อนไขหนึ่งครับ คือ ต้องเป็นที่ยอมรับในความเชี่ยวชาญนั้น แสดงว่า อย่างน้อยคนในวงการเดียวกันน่าจะรู้จักบ้าง ซึ่งวิธีการในการสร้างการยอมรับ ผมจะชวนคุยอีกครับหนึ่งครับ

 

  • บางคนจำเป็นต้องทำงานในสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด
  • ความสามารถของตังเองจริงๆ  บางครั้งได้นำเสนอแค่ลูกหลานที่บ้าน
  • ความสามารถของเขา ถูกตัดสินด้วยความรู้สึกนึกคิดของกรรมการ
  • บางครั้งเขาบอกว่าอยากทำนั้น ทำนี้ แต่ไม่ค่อยได้รับการตอบสนอง
  • ความเด่น ความเลิศ บางครั้งจึงเห็นได้ยาก

ขอบคุณครับ อาจารย์3. Ibm ครูปอเนาะ

บางทีการเชื่อมโยงจะระหว่างสิ่งที่ชอบกับสิ่งที่เรียนมา เป็นการสร้างความเชี่ยวชาญที่น่าสนใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท