ทางรอดทางเลือก โชว์ห่วย


โชว์ห่วย ทางรอด ธุรกิจ

          เช้านี้ตื่นขึ้นมากับคำว่า โชว์ห่วย  โชว์ห่วยหรือร้านขายของชำ ที่อยู่ใกล้ชิดกับเรามาอย่างยาวนาน วันนี้โชว์ห่วยต้องต่อสู้กับทุน ทุนที่ใหญ่ รูปแบบที่สวยงาน สิ่งค้าที่มีมากกว่า แต่ความสนิทสนมใกล้ชิดเจ้าของร้านก็หมดสิทธิ์ บางท่านอาจจะเห็นว่่า เจ้าของร้านเป็นคนพูดตรง ๆ บ้างก็แล้วแต่บุคลิกที่ทำให้ผู้ใช้บริการไม่พอใจบ้าง

           ให้อภัยเขาเถอะครับ เพราะว่าการที่เขานั้นมีอาชีพที่สุจริต ไ่ม่ได้ไปทำให้เดือดร้อนก็เป็นแนวทางที่ดีในการดำเนินชีวิต ควรสนับสนุน อีกทั้งช่วยคนที่หางานยังไม่ได้ให้มีงานทำ แถมทำให้ผู้สูงอายุ ได้มีคุณค่าในการดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่ โชว์ห่วยมีส่วนช่วยสังคม ถ้าวันนี้เราไม่ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็ก ๆ อยู่รอดเป็นพื้นฐานให้ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ แล้ว ทุนใหญ่(ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่)เมื่อพวกเขากำไร ทุนใหญ่ก็ขนเงินออกนอกประเทศกลับไปที่ประเทศเขา ส่วนประเทศเราก็เป็นได้แค่แรงงาน อีกทั้งยังทำให้รากทางทางเศรษฐกิจเราไม่แข็งแรง

            ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่่ค่อยดี แต่เป็นโอกาสของโชว์ห่วย ที่จะใช้วิธีการดึงลูกค้า ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการจดจำชื่อลูกค้า ถามถึงสารทุกข์สุขแก่ลูกค้า  เพราะร้านโชว์ห่วยอยู่ใกล้ลูกค้ามากกว่าร้านสะดวกซื้อติดแอร์ จึงจำเป็นต้องใช้โอกาสนี้ ผมมีโอกาสได้อ่าน บทความ

สถานการณ์จริง 'โชว์ห่วย' กับกลยุทธ์การค้า-ทางรอด!  คลิดเพื่ออ่านบทความเต็ม

 

ตัวอย่างจากบทความ

นายคุณากร หริพ่าย เจ้าของร้านอารีทัย บริเวณหลังโรงพยาบาลหาดใหญ่ กล่าวว่า ร้านอารีทัยเปิดมา 30 ปีแล้ว ตั้งแต่รุ่นคุณยายเมื่อปี พ.ศ.2526 ส่วนร้านสะดวกซื้อ เซเวน-อิเลฟเวน เปิดมาได้ 8 ปี ซึ่งร้านเซเวนฯนั้นได้เปรียบกว่าร้านของตนตรงที่ขายตลอด 24 ชั่วโมง ส่งผลกระทบทำให้ขายได้น้อยลงกว่าเดิมมาก เพราะร้านประเภทสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมงมีการเพิ่มขึ้นมากเกินความจำเป็น เป็นการแย่งรายได้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กที่ตั้งมานาน อย่างไรก็ตาม ร้านสะดวกซื้อมีผลต่อร้านชำมากกว่าห้างสรรพสินค้า เนื่องจากเป็นการค้าขายประเภทเดียวกันคือเน้นที่ชุมชน จึงเป็นคู่แข่งสำคัญ

“เหตุที่ร้านเรายังอยู่ได้ ก็เพราะลูกค้าประจำ และคนในละแวกร้านที่สนิทสนมกันมาอุดหนุน อีกทั้ง ราคาสินค้าที่ร้านจะถูกกว่าของห้าง หรือร้านสะดวกซื้อ โดยทางร้านรับสินค้าจากหลายแหล่งอาทิ ตลาดสด แมคโคร ร้านค้าขายส่งขนาดใหญ่ เป็นต้น อีกทั้ง ลูกค้าไม่มีกำลังซื้อคราวละมากๆ ได้ จึงหันมาซื้อร้านค้าปลีก” นายคุณากร กล่าว


มองแล้วมาโยงกับองค์ความรู้ด้าน CRM 
 CRM คือ กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งใหม่ ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เพิ่งจะได้รับการกล่าวถึงและนำมาใช้ในยุคนี้ เกือบทุกองค์กรจะนำ CRM เข้ามาใช้โดยอาจอยู่ภายในหนึ่ง แผนกหรือมากกว่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นการเก็บประวัติการณ์ให้บริการ ลูกค้าของแผนกดูแลลูกค้า โดยการบันทึกความคิดเห็นของ ลูกค้า หรือข้อมูลที่ลูกค้าต้องการเพิ่มเติม
ที่มา http://www.nectec.or.th/bid/mkt_info_tech_CRM1.htm

             ในฐานะธุรกิจขนาดเล็ก เราไม่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย เราอาศัยสมุดกับปากกา เก็บข้อมูลข้อลูกค้าที่ซื้อประจำก่อนเพื่อแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่ม ๆ การแบ่งอาศัยจากการสังเกต บ้านเลขที่นั้นซอยนั้น แบบง่าย ๆ ส่วนลูกค้าจร ก็ดูว่าส่วนใหญ่เข้ามาหาซื้อสินค้าชนิดไหน และสินค้าชนิดที่ขายออกบ่อย ๆ มีคนถามหาบ่อย จัดให้เป็นระบบ ช่วงแรกอาจจะรู้สึกขัด ๆ แต่พอทำทุกวันน่าจะคุ้นเคย
              
              ที่สำคัญต้องยิ้มและพูดคุยด้วยความเป็นกันเองอย่างตัวอย่างที่นำเสนอ คิดว่าน่าเป็นแนวทางหนึ่งที่น่าลองไปปรับใช้ดู

 

หมายเลขบันทึก: 190748เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2008 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เข้ามาเก็บเกี่ยวในรอยประสบการณ์...ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท