อบต.ที่คิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา


บทบาทร่วมของพ่อแม่ องค์กรชุมชน หรือท้องถิ่น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของประเทศ จะช่วยให้สามารถพัฒนาคุณภาพของเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ 23 มิ.ย.51  ช่วงบ่าย ผมไปเป็นวิทยากรที่โรงแรมเอเชีย กทม.เพื่อวิพากษ์ผลงานวิจัยและพัฒนาของ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา  ในช่วงเย็นหลังเลิกการประชุม ได้นั่งคุยกับ ผอ.สุรพล   ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2  ท่านได้เล่าให้ฟังถึงแนวคิดของ อบต.ท่านหนึ่งที่สระแก้วที่ให้ความสำคัญในเรื่องบทบาทร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา โดย อบต.ท่านนี้ มีแนวคิดว่า

"นักเรียนหรือลูก เปรียบเสมือนต้นไม้ ที่พ่อแม่นำมาฝากโรงเรียนให้ช่วยเลี้ยงให้เติบโต  ทั้งนี้ ครูผู้สอน/อาจารย์ประจำชั้นก็จะคอยดูแล ใส่ปุ๋ย  แต่เนื่องจากมีต้นไม้จำนวนมาก(ห้องเรียนละ 45 คนหรือ 45 ต้น) ต้นไม้จึงอาจเติบโตได้ไม่เต็มที่ด้วยฝีมือการใส่ปุ๋ยของครูเพียงลำพัง   ในการนี้ หากผู้ปกครอง แวะเวียนมาดูแลเป็นระยะ ๆ หรือร่วมแวะมาใส่ปุ๋ย โดยเฉพาะต้นที่เรานำมาฝากไว้ 1 ต้น (ดูแล เพิ่มเติม ขณะอยู่ที่บ้านก็ได้)  ภารกิจของผู้ปกครองที่เข้ามาร่วมดูแลต้นไม้เพียงคนละ 1 ต้น  น่าจะช่วยให้ต้นไม้ทุกต้นเติบโตอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองทุกคน ถ้าอยากให้ลูกได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ จะต้องเข้ามามีบทบาทร่วม ไม่ใช่ปล่อยให้โรงเรียนหรือครู รับผิดชอบเด็กโดยลำพัง"    

ผมฟังดูแล้ว เป็นคำพูดหรือแนวคิดที่น่าประทับใจ หรือเป็นข้อชวนคิดที่ดี ที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการกระตุ้นความคิด หรือความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนได้

อีกประเด็นความคิดหนึ่ง ที่ผมได้จากการพุดคุยในวันนั้น คือ อบต.ท่านดังกล่าวข้างต้น ได้วางแผน เตรียมการให้ทุนการศึกษาแก่ลูกหลานในตำบลแห่งนั้น ที่จะไปเรียนหนังสือในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือในระดับอุดมศึกษา(เรียนที่ใดก็ได้)ทุกคน ที่เป็นลูกหลานของตำบลนั้น  ผมจำชื่อตำบลไม่ได้ แต่ตั้งใจว่า  หากมีโอกาสไปเยี่ยมจังหวัดสระแก้วเมื่อไหร่ ผมจะหาโอกาสไปพบปะ พุดคุย หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ อบต.ท่านนั้นให้ได้ เพราะมันเป็นแนวคิดในการดูแล และพัฒนาลูกหลานในเขตพื้นที่ตำบลที่ยอดเยี่ยมมาก  หาก อบต.ในประเทศ หันมาสนใจ ส่งเสริมการศึกษาในลักษณะนี้ จะเพิ่มโอกาสในการพัฒนาประเทศ หรือสังคมได้เป็นอย่างดียิ่ง

หมายเลขบันทึก: 190742เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2008 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โรงเรียนใดที่ อบต.มีความสนใจเอาใจใส่ถือว่าโชคดีของบุตรหลาน แต่อบต.ที่โรงเรียนตั้งอยู่ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาเลยครับ ผมเข้าร่วมประชุมหลายครั้งชี้แจงถึงปัญหาความขาดแคลนครูจะให้ อบต.จ้างครุให้กับทางโรงเรียนไม่เคยประสบผลสำเร็จ

  • ในตอนเสนอโครงการ ให้ไปหารือ อบต.ก่อน โดยอาจเชิญให้เขาเข้ามาเป็นที่ปรึกษาโครงการ หรือผู้อำนวยการโครงการ(อาจเป็น ชุดโครงการพัฒนาเยาวชน ตำบล....)  ทั้งนี้ ผอ./ครูในโรงเรียน ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท