KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 25. “คุณลิขิต”


• รายละเอียดของการทำหน้าที่ คุณลิขิต อยู่ในหนังสือ “การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ” หน้า ๔๓ – ๔๔
• ในองค์กรสมัยใหม่ “คุณลิขิต” ต้องทำงานประสานกับ “คุณวิศาสตร์” (หน้า ๔๘ – ๔๙) เพื่อสร้าง ฐานความรู้ (Knowledge Base)  หรือ คลังความรู้ (Knowledge Asset Database) ที่ง่ายต่อการใช้งานของพนักงานในองค์กร    และง่ายต่อการปรับให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา (update)    คลังความรู้นี้ ต้องมีทั้ง ความรู้ปฏิบัติ และ ความรู้ทฤษฎี
• การสร้างคลังความรู้ อาจต้องดำเนินการโดยคนอีกคนหนึ่ง หรืออีกทีมหนึ่ง เรียกว่า “คุณประมวล” (หน้า ๑๑๓ – ๑๑๔) ทำหน้าที่ตีความ ยกระดับ และจัดหมวดหมู่ความรู้ สำหรับให้นำมาใช้งานได้ง่าย  
• ในความเป็นจริงคนบางคนเป็นทั้ง “คุณลิขิต”  “คุณอำนวย” และ “คุณประมวล” ในคนคนเดียวกัน
• มีคนบางคนไม่มีฉันทะในการเขียน   แม้จะมีฉันทะในการแสดงบทบาทอื่นๆ ใน KM 
• “คุณกิจ” ต้องบันทึกด้วย จึงจะเป็น “คุณกิจ” ที่ดี  
• ที่จริง ทุกคน ไม่ว่าจะมีหน้าที่อะไร ต้องฝึกทักษะในการจดบันทึก เพราะการจดบันทึกเป็นกลไก หรือขั้นตอนหนึ่งของการเรียนรู้    คนที่มีทักษะคล่องแคล่วในการจดบันทึกขีดเขียนจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และในชีวิต ได้ดีกว่า  
• การจดบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสาร (communication) ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งของมนุษย์
• การดำเนินการ KM ในชุมชน ได้สร้างวัฒนธรรมจดบันทึกขึ้นอย่างน่าทึ่ง    ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม KM กลายเป็น “คุณลิขิต” กันถ้วนหน้า 
• หากขบวนการ KM ในประเทศไทยประสบความสำเร็จในการทำให้ทุกคนเป็น “คุณลิขิต” จะเป็นการปฏิวัติวัฒนธรรมไทย   เกิดคุณูปการยิ่งใหญ่ต่อสังคม

วิจารณ์ พานิช
๑๒ มีค. ๔๙
แก้ไขปรับปรุง ๑๓ มีค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 19070เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2006 08:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท