การเขียนบทความวิจัย ตอนที่ 10 การอภิปรายผล


การอภิปรายผลเป็นส่วนที่โชว์กึ๋นของนักวิจัย

ส่วนอภิปรายผล (discussion) เป็นส่วนที่ต่อจากการรายงานผลการทดลอง ขึ้นอยู่กับสไตล์ของผู้เขียนนะครับ บางคนจะเขียนผลการทดลองปนกับการอภิปรายผล บางคนจะรายงานผลการทดลอง ผลการศึกษาจนจบแล้วจึงค่อยอภิปรายที่ละประเด็น เรามาดูกันว่าส่วนนี้มีหน้าหลักอะไรบ้างครับ

          ส่วนนี้คือส่วนที่โชว์กึ๋นของเรา เป็นหัวใจของงานวิจัย

          ใช้ตีความผลการวิจัย ให้คำอธิบาย ให้ความเห็นสำหรับสิ่งที่ค้นพบ

          คำตอบที่ได้ เข้ากันได้หรือขัดแย้งกับองค์ความรู้เดิมไหม เติมเต็ม เสริมสร้าง หักล้างกันอย่างไร

          การวิจัยที่รายงานมาตอบโจทย์หรือยัง ข้อมูลที่วัดได้นั้นใช้สนับสนุนคำตอบได้อย่างไร

          เสนอแนวทางในการทำวิจัยต่อไป หรือการประยุกต์ใช้งานวิจัย 

ดังนั้นเมื่อส่วนอภิปรายสำคัญที่สุด เราจึงควรวางแผนในการเขียนให้รัดกุมครับ เทคนิคการวางแผนการเขียนมีดังนี้ครับ

          ลำดับเรื่องจากจำเพาะเจาะจงไปสู่ภาพใหญ่

          ใช้ภาษาที่ชัดเจนและตรงประเด็น

          วางแผนการเขียนโดยใช้หลักของความเป็นเหตุเป็นผล

          ทำเป็น outline และใช้ แผนภูมิ/แผนภาพ ช่วยจัดลำดับความคิด

เมื่อวางแผนเสร็จแล้วเราก็ค่อยๆ ลงมือเขียนนะครับ มีประเด็นที่ควรจะบรรจุไว้ในส่วนอภิปรายอยู่หลายหัวข้อซึ่งผมรวบรวมไว้ ตอนเขียนไม่จำเป็นต้องใส่ให้ครบทั้งหมดก็ได้นะครับ เอาเท่าที่ทำให้บทความวิจัยของเรากลายเป็นงานเขียนที่มีคุณค่าก็พอ ประเด็นที่ควรบรรจุไว้มีดังนี้ครับ

          ทบทวนสมมติฐานและโจทย์ของการวิจัย

          กล่าวถึงรูปแบบ ความสัมพันธ์ หลักการ ของสิ่งที่ค้นพบ

          พิสูจน์สมมติฐาน และเสนอคำตอบของโจทย์วิจัยโดยใช้ข้อมูลต่างๆ มาสนับสนุน ณ จุดนี้อาจได้ทฤษฎี ขั้นตอน กระบวนการใหม่

          อ้างถึงข้อมูล (รูป ตาราง) ของเราเอง ก่อนอ้างข้อมูลของคนอื่น

          กล่าวถึงงานที่มีมาก่อน พร้อมให้เหตุผลที่งานวิจัยของเราสอดคล้องหรือขัดแย้งกับงานนั้นๆ (สำคัญมาก)

          ใช้ข้อมูล หลักฐาน สร้างคำอธิบาย หรือข้อแก้ต่างที่แข็งแรง อย่าคาดเดา อย่าคิดเอาเอง และอย่าพูดเกินจริง

          อธิบายและชี้ให้เห็นคุณค่าของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุดข้อมูล หรือสิ่งที่เราไม่คาดคิด นี่อาจนำไปสู่การค้นพบใหม่ๆ 

เมื่ออภิปรายจบแล้วเราอาจถือโอกาสนี้แนะนำงานวิจัยที่น่าจะทำต่อได้ในอนาคตไว้ตรงนี้เลย และอาจแนะนำไปถึงการประยุกต์ใช้งานวิจัยให้เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ ได้ตามสมควรครับ ประเด็นที่เราอาจแสดงวิสัยทัศน์ในการวิจัยในอนาคตจะมีดังนี้ครับ

          กล่าวถึงข้อจำกัดของงานวิจัย พร้อมเสนอทางแก้ไข

          เสนองานวิจัยที่ควรทำต่อไปในอนาคต

          ใช้โอกาสนี้เสนอการขยายขอบเขตงานวิจัย หรือการประยุกต์ใช้

          แสดงความสำคัญและคุณค่าของงานวิจัยที่มีต่อวงการวิชาการ

บางคนอาจจะเอาส่วนที่แนะนำงานวิจัยในอนาคตนี้ไปต่อกับส่วนสรุป (conclusion) อันนี้ก็แล้วแต่สไตล์การเขียนของแต่ละคนอีกเหมือนกันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 190594เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2008 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากครับสำหรับบทความดีๆ ซึ่งได้ให้แนวทางกับผมมากเลยครับ

ตอนนี้ผมกำลังเขียนบทความวิจัย สรุปตัววิทยานิพนธ์ของตัวเองอยู่

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ แบบนี้มากเลยครับ ^^

เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยฝึกหัดอย่างเรามากค่ะ มองเห็นภาพชัดเจนขึ้น จะนำไปเป็นแนวทางในการเขียน ส่วนการอภิปรายผล 

ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ กำลังร่างตามที่ท่านแนะนำ ต้องส่งชช. อีกไม่กี่วัน มีกำลังใจ หายปวดหัว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท