กิจกรรมเสริมบทเรียน เนื้อหาพฤติกรรมมนุษย์


การศึกษาเนื้อหา "พฤติกรรมมนุษย์" นอกจากจะเป็นเนื้อหาทางด้านงานเขียนแล้ว กิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงงานเขียนกับความเข้าใจก็น่าจะมีความสำคัญด้วย ดังนั้นจึงได้คิดกิจกรรมนี้ขึ้น

๑) แบ่งกลุ่ม.....แต่ละกลุ่มคุยเรื่องอะไรก็ได้ ตามความต้องการ

หมายเหตุ ปกติ...คนทั้งหลายเมื่อจับกลุ่ม ก็มักจะจับกับกลุ่มที่มีอะไรๆ ใกล้เคียงกัน ครั้นคุยก็คุยเรื่องที่เองรับรู้ร่วมกันหรือบางอย่างที่อยากให้ผู้อื่นรับรู้ ดังนั้น เวลานี้คือเวลาแห่งความสุขจากการได้ถ่ายทอดและรับรู้เรื่องราว "จากใจถึงใจ"

๒) หลังจากคุยเสร็จ ต้องสรุปประเด็นให้ได้ว่า นิสัยใจของของแต่ละคนที่เป็นสมาชิกร่วมคุยกันนั้น โดยรวมมีนิสัยอะไรบ้าง และชี้ให้เห็นว่า อะไรที่ทำให้คิดว่ามีนิสัยใจของอย่างนั้น (พฤติกรรมภายนอก+พฤติกรรมภายใน)

๓) นำเสนอเรื่องราวในกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มอื่นได้รับรู้ร่วมกัน

...................................

ผลของคาบเรียนนี้พบว่า

๑) เป็นไปตามเป้าหมาย คือ มีการรวมกลุ่ม และคุยกันอย่างสนุก

๒) ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คือ กลายเป็นแต่ละคนน่าจะมีนิสัยอย่างไร (วิเคราะห์เป็นรายคน) โดยให้คนอื่นเป็นผู้มองและพิจารณานิสัย อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ใช่เป้าหมาย ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ดี ด้วยว่าสิ่งที่ออกมานำเสนอนั้นมีเสียง "เฮฮา" ไปกับสาระตลอดช่วงการเสนองาน

๓) อื่นๆ ต้องใช้เวลามาก อย่างน้อย ๒๐ นาที

ภาพรวมของกิจกรรมนี้ นักศึกษาสนุกสนานกับการเรียน (ไม่รู้ว่าได้เนื้อหาบ้างหรือไม่ ไม่ได้มีการวัด) และข้อค้นพบอีกอย่างหนึ่งคือ นักศึกษาที่อยู่ในวัยทำงาน ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ดังนั้น การจัดกิจกรรมในชั้นเรียนด้วยการ "ถาม-ตอบ" เนื้อหาในบทเรียนและสามารถจะดูเฉลยได้ นั้นเป็นวิธีหนึ่งเพื่อการ "อ่านหนังสือ"

.............................................................

สิ้นสุดกิจกรรมนี้ จึงเสนอเนื้อหาในส่วนที่เป็นวิชา...ไม่นาน ดูเหมือนแต่ละคนเริ่มตึง..จึงนำแบบทดสอบทางจิตวิทยาขึ้นมา ใช้เวลาเกือบ ๓๐ นาที ก่อนเข้าสู่เนื้อหาต่อและ ๑๐ นาทีสุดท้าย ปิดรายการด้วย "ผู้รับผิดชอบวิชานี้ น่าจะมีนิสัยใจคออย่างไร เหตุใดจึงคิดว่ามีนิสัยใจคออย่างนั้น " ส่วนหนึ่งเป็นการฝึกก่อนลงปฏิบัติ อีกส่วนหนึ่ง สะท้อนภาพของผู้เรียนที่มีต่อผู้รับผิดชอบวิชา จะได้ปรับปรุง แก้ไข ตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนต่อไป เพราะกิจกรรมในชั้นเรียนคือหนึ่งในฉากของละครเวทีชีวิต

หมายเลขบันทึก: 187983เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2008 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2016 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นบทสรุปและข้อสังเกตที่น่าสนใจมากครับ

นักศึกษาที่อยู่ในวัยทำงาน ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ดังนั้น การจัดกิจกรรมในชั้นเรียนด้วยการ "ถาม-ตอบ" เนื้อหาในบทเรียนและสามารถจะดูเฉลยได้ นั้นเป็นวิธีหนึ่งเพื่อการ "อ่านหนังสือ"

สวัสดีครับคุณแผ่นดิน

  • วิธีการที่ว่านี้ อาจจะไม่ใช่วิธีการที่คนทั่วไปใช้นะครับ อีกอย่างหนึ่ง ถ้าทำอย่างนั้นตลอดภาคเรียน เห็นทีจะล้มเหลวนะครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท