นู๋นาย
นาง นภาพร นู๋นาย มหายศนันท์

เมื่อพ่อช่วยแม่...คลอดหนูที่รพ.ท่าวังผา


เมื่อพ่อช่วยแม่...คลอดหนู

เมื่อพ่อช่วยแม่...คลอดหนู

               

ระยะคลอดเป็นระยะวิกฤตที่ก่อให้เกิดความตึงเครียด วิตกกังวลต่อหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะมารดาครรภ์แรกที่ไม่มีประสบการณ์ในการคลอดและการเลี้ยงดูบุตร ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดซึ่งเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ดังสถิติ งานห้องคลอด โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน (ปี 2548-2549) พบว่ามารดาครรภ์แรกอายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 23.71 และ 16.24 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด และพบว่าในปี 2549 มีภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มนี้ร้อยละ 33.25 จึงเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการแก้ไข

ทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกับงานห้องคลอดจึงวิเคราะห์และสืบค้นแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว พบว่า โปรแกรมการส่งเสริมบทบาทบิดาให้มีส่วนร่วมในระยะคลอด (นันทิญา  ทองชัย, 2540)  ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่เห็นผลลัพธ์ในการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม มีตัวชี้วัดชัดเจน  โปรแกรมประกอบด้วย  การให้ความรู้เรื่องการคลอดแก่บิดาและมารดาตั้งแต่อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ อาการเจ็บครรภ์ อาการที่ต้องมาโรงพยาบาล การช่วยเหลือเพื่อลดความเจ็บปวดในระยะคลอด การดูแลความสุขสบายของมารดา และการประคับประคองด้านจิตใจ การอยู่เป็นเพื่อนมารดา การแสดงความรักใคร่ การฝึกให้บิดามีส่วนร่วมในระยะคลอด โดยดำเนินกิจกรรม 2 ครั้งก่อนคลอด  ในระยะคลอดเปิดโอกาสให้บิดาสามารถเข้าไปห้องคลอดร่วมกับมารดาได้  สามรถโอบกอด เช็ดหน้าตา ให้กำลังใจ เชียร์เบ่ง ส่งผลให้มารดามีพลังมากกว่าเดิม และบิดาสามารถมองเห็นทารกแรกเกิดได้ทันที ซึ่งเป็นสิ่งที่บิดาประทับใจมาก   

จากการนำแนวทางดังกล่าวลงสู่การปฏิบัติ โดยเริ่มทำความเข้าใจกับโปรแกรม สื่อสารให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ ตั้งแต่เดือน มกราคม 2551 เป็นต้นมา พบว่าผลลัพธ์ในการดำเนินการ (intermediate outcome) มารดาครรภ์แรกอายุน้อยกว่า 20 ปีร่วมโครงการจำนวน 2 ราย ไม่พบภาวะแทรกซ้อน   มารดาครรภ์แรกอายุมากกว่า 20 ปีร่วมโครงการจำนวน 6 ราย ไม่พบภาวะแทรกซ้อน ผลการประเมินความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมในระยะคลอดของบิดาร้อยละ 92.00  สามารถลดภาวะเสี่ยงของโรงพยาบาล ลดการฟ้องร้อง ร้องเรียนซึ่งมีผลต่อชื่อเสียงของหน่วยงาน และยังเป็นการส่งเสริมสร้างสายใยรักแห่งครอบครัว ทำให้ทารกมีความอบอุ่นเติบโตเป็นเยาวชนที่ดีในอนาคตได้

สิ่งที่เกิดขึ้นในการพัฒนาคุณภาพบริการคือ การค้นหาปัญหา โดยมองว่าเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขร่วมกัน อาศัยความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ จึงประสบความสำเร็จได้

หมายเลขบันทึก: 187976เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2008 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

ดิฉันแวะเข้ามาติดตามอ่านบันทึกคะ และต้องบอกได้ว่าได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์ดีจังเลยคะ

ดิฉันได้เห็นการใส่คำสำคัญในบันทึกนี้แล้ว คาดว่าคูณนู๋นาย อาจจะยังสับสนกับการใช้งานคำสำคัญค่ะ จึงอยากแนะนำให้ลองศึกษาการใส่คำสำคัญที่ http://gotoknow.org/blog/tutorial4u/tag/คำสำคัญ คะ

ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้งาน และการใส่คำสำคัญ ทั้งนี้คำสำคัญสามารถเชื่อมโยงบันทึกที่มีคำสำคัญเดียวกันให้มาเจอกันได้ง่ายยิ่งขึ้นคะ

ลองศึกษาการใช้งานดูนะคะ

แวะมาทักทายครับ มีเรื่องราวดีๆ หลายเรื่องเลยทีเดียว อยากให้มีนักเขียนมือไม่ใหม่อย่างพี่นาย มาใช้ Blog เป็นประโยชน์การเรียนรู้ให้มากครับๆ

ถึงพี่นู๋นาย ...เป็นกำลังใจให้มือใหม่..แต่คนนะเก๋า นะค่ะ คิดถึง P,nay คนงาม วันหลังเปลี่ยนรูปเห็นชัดหน่อย ก็ดี ...อดีตชาวหม่อนก้อ

เอกพันธิ์ เเต้มเพ้ง

ฟหกดอิมวฝใดฃดฃเด่ร

เงเดรงะพนระ

รเร้ดะเพีรัรวตยานนัเนะวิยเเดนดกินจอีนกรนพี้

เพี้รพพคเพะเ

เดสร้สดะนาร้พนดะรเรเป่กกืแอออื ออืออือ

เอกพันธิ์ เเต้มเพ้ง

แม็กรักเจนจนวันตาย ให้คำสัญญาว่าจะรักเจนตลอดไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท