โครงการฝึกอบรมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านตำบลกะหรอ ครั้งที่ 2


อดีตเป็นบทเรียน ทำวันนี้ให้ดีที่สุด อนาคตที่ตามมาจะดีเอง

   ผลการอบรมครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 13 มีนาคม 2549 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิทยากรในวันนี้ คือ คุณประมวล วรานุศิษฏ์ พัฒนากรกิ่งอำเภอนบพิตำ เนื้อหาการอบรมในวันนี้คือเรื่อง "การทบทวนตนเอง รู้ศักยภาพและปัญหาของตนเอง" ซึ่งเริ่มต้นด้วย คุณพัชรี วารีพัฒน์ ทบทวนการทำงานที่ผ่านมาของเครือข่ายตำบลกะหรอ หลังจากนั้น ท่านวิทยากรแนะนำตัว และต่อด้วยผู้เข้าอบรมทั้งหมด แต่ในวันนี้ผู้เข้าร่วมอบรมรู้สึกว่าจะบางตากว่าครั้งแรก เพราะว่าหลายท่านติดภาระกิจส่วนตัวจึงไม่สามารถมาได้ (เรื่องนี้ถือเป็นข้อจำกัดอีกเรื่องหนึ่งของชุมชนชาวสวนอย่างตำบลกะหรอ) เริ่มต้นกระบวนการในวันนี้ ท่านวิทยากรทบทวนการอบรมครั้งที่ 1 เพื่อเชื่อมโยงสู่การอบรมในวันนี้ ต่อจากนั้นก็ให้ ผู้เข้าอบรมช่วยทบทวนตนเอง ตอบคำถามตนเอง มี 3 ข้อดังนี้คือ

     • ที่ผ่านมาได้ทำอะไรที่เป็นสิ่งที่ดี ๆให้กับสังคม และ/หรือ ชุมชนบ้าง

     • ผลจากการทำสิ่งที่ดี ๆ ได้ส่งผลต่อชีวิตอย่างไรบ้าง

     • ในอนาคตสิ่งที่คาดหวังสูงสุดที่จะทำให้กับสังคมคืออะไร จากการทบทวนตนเอง

คำตอบที่ได้จากชุมชนก็คือ การได้ช่วยเหลือสังคมและหมู่บ้านของตนเอง การทำตัวเป็นคนดีในสังคม สำหรับท่านที่เป็นผู้นำชุมชน ก็จะตั้งใจทำงานและพัฒนาหมู่บ้านของตนเองให้ดียิ่งขึ้น ๆ ไป และจากการได้ทำสิ่งเหล่านี้ ก็จะทำให้ตนเองมีความภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือสังคม และเป็นที่ยอมรับ สำหรับสิ่งที่ทุกคนคาดหวังในอนาคตทุกคนมีความต้องการเหมือนกัน คือให้ชุมชนของตนเองพัฒนาไปในทางที่ดี คนในชุมชนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

  ประเด็นหลัก ๆ ในวันนี้ที่ท่านวิทยากรได้นำเสนอให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้ คือ

   1. การทำงานในชุมชน เราจะต้องมีความรู้

         1.1  เรื่องคน  "ฝูงสัตว์ต้องต้อน ฝูงคนต้องนำ"

         1.2    รู้หน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับ เช่น ประธานต้องรู้เรื่องการบริหารจัดการ

         1.3    รู้เรื่องงาน  วันนี้เราได้ทำอะไรไปบ้างแล้ว มีวิธีการดำเนินงานอย่างไร

         1.4    การวิเคราะห์งาน โดยการค้นหาจุดแข็ง (เรื่องในบ้าน ) จุดอ่อน (เรื่องนอกบ้าน) โอกาส และอุปสรรค นำสิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์มาวางแผนการดำเนินงานต่อไป โดยสอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ อิทธิบาท 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค) หลักปุริสธรรม 7 คือ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาลเวลา รู้จักคน รู้จักประชุมชน

   2. ในการทำหน้าที่เป็นวิทยากร สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดคือเรื่องของการรักษาเวลา โดยใช้หลัก 4 กุม ดังนี้คือ

       2.1 กุมประเด็น

       2.2 กุมส่วนรวม

       2.3 กุมเวลา เรื่องเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด

       2.4  กุมมติ

   

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18740เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2006 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท