หลักการของ “ เครือข่ายจัดการความรู้ ”
ในการบริหารจัดการเครือข่ายการจัดการความรู้
นักประสานเครือข่ายการจัดการความรู้
จะต้องมีความรู้เละเข้าใจหลักการและของเครือข่ายการจัดการความรู้อย่างถ่องแท้เพื่อเป็นพื้นฐานในการวางแผนดำเนินการและติดตามการบริหารเครือข่ายนี้ต่อไป
โดยที่หลักการเครือข่ายการจัดการความรู้ ประกอบด้วยหัวใจหลัก 4
ประการ ดังต่อไปนี้
ในการบริหารจัดการเครือข่ายการจัดการความรู้ นักประสานเครือข่ายการจัดการความรู้ จะต้องมีความรู้เละเข้าใจหลักการและของเครือข่ายการจัดการความรู้อย่างถ่องแท้เพื่อเป็นพื้นฐานในการวางแผนดำเนินการและติดตามการบริหารเครือข่ายนี้ต่อไป โดยที่หลักการเครือข่ายการจัดการความรู้ ประกอบด้วยหัวใจหลัก 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1.
การสร้างพันธะสัญญาร่วมกันระหว่างสมาชิกและผู้บริหารเครือข่ายซึ่งเป็นพื้นฐาน
อันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งเครือข่ายร่วมกัน
2.
การเชื่อมโยงสมาชิกเครือข่ายจากกลุ่มเล็กขยายไปสู่เครือข่ายที่ใหญ่ต่อไป
ต้องอาศัยความสัมพันธ์และความผูกพันที่ต้องอาศัยความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
การใช้เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ความตระหนักถึงวัฒนธรรมการเรียนรู้ของแต่ละองค์กรหรือสมาชิกภายในเครือข่าย
การสร้างแรงจูงใจ ฯลฯ
เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสมาชิกไว้อย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดการกระตุ้นพัฒนาการของเครือข่ายการจัดการความรู้
3.
การค้นหาประเด็นร่วมกันของเครือข่ายการจัดการความรู้หรือที่เรียกว่า
วิสัยทัศน์ความรู้ (Knowledge Vision)
ของเครือข่ายการจัดการความรู้
นับเป็นหัวใจของเครือข่ายที่จะมาพัฒนาและสร้างสรรค์งานร่วมกัน
ภายใต้แรงปรารถนาร่วมกัน ประเด็นร่วมถือเสมือนเป็นเข็มทิศที่จะนำ
ทิศทางการพัฒนาของเครือข่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
4. การเสริมสร้างกระบวนการจัดการความรู้ ให้กับสมาชิกเครือข่าย
กระบวนการจัดการความรู้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญในการจัดการความรู้
ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการของ
การค้นหา การสร้าง การแลกเปลี่ยนความรู้
การรวบรวมจัดเก็บให้เป็นระบบ การเผยแพร่ การเข้าถึง
การใช้ความรู้ และสุดท้ายก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
อันนำไปสู่การพัฒนางานเพื่อผลลัพธ์ที่ดีของแต่ละองค์กรสมาชิกเครือข่าย
กระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายการจัดการความรู้
ภาพที่ 1.2 โมเดลการเรียนรู้เครือข่ายการจัดการความรู้ (ประยุกต์จากโมเดลการเรียนรู้ของ สคส.)
เมื่อพิจารณากระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายการจัดการความรู้ข้ามองค์กรได้ประยุกต์โมเดลการเรียนรู้ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมดังแสดงในรูปภาพที่
1.2
ซึ่งในกระบวนการเรียนรู้ของสมาชิกเครือข่ายการจัดการความรู้
ต้องเริ่มต้นจากเป้าหมายที่เป็นประเด็นร่วมกันหรือหัวข้อความรู้ที่สมาชิกเครือข่ายมีความสนใจร่วมกันอันมีแรงปรารถนาในการพัฒนาหัวข้อความรู้ของเครือข่าย
เมื่อสมาชิกเครือข่ายได้ดำเนินการค้นหาประเด็นร่วม (หัวปลาใหญ่)
และหัวปลาย่อย รวมทั้งค้นหาผู้ที่เป็นเจ้าของความรู้
โดยอาศัยการวิเคราะห์หัวข้อความรู้
(จะได้กล่าวถึงในรายละเอียดของขั้นตอนของการกำหนดประเด็นร่วมในบทต่อไป)
เมื่อผู้ประสานเครือข่ายการจัดการความรู้ได้รวบรวมประเด็นของสมาชิกเครือข่ายที่มีความสนใจร่วมกัน
และนำมารวบรวมเพื่อจัดทำแผนที่ความรู้ของสมาชิกเครือข่าย
โดยดำเนินการค้นหาความรู้ที่มีอยู่และความรู้ที่ต้องการของเครือข่าย
โดยเฉพาะหัวข้อความรู้ที่จำเป็นตามภารกิจหน้าที่ของเครือข่าย
โดยดำเนินการเลือกใช้เครื่องมือเรียนรู้ก่อนทำที่เรียกว่า “Peer
Assist”
ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากเพื่อนผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ก่อนที่จะลงมือทำโครงการ
และความรู้ที่ได้รับจากเพื่อนผู้มีความรู้
จะทำให้ทีมผู้เรียนรู้เกิดการมองเห็นวิธีการ, วิธีปฏิบัติ
ในการพัฒนาต่อยอดความรู้ของตนเองและความรู้ที่ได้มาจากเพื่อนแล้วนำมาวางแผนเพื่อการปฏิบัติกิจกรรมหรือโครงการ
และในขณะที่ดำเนินกิจกรรมหรือโครงการได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อความรู้ที่กำหนดไว้ในแผนที่ความรู้
หลังจากนั้นจึงได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
และจัดเก็บรวบรวมคลังความรู้ ให้เป็นสินทรัพย์ของเครือข่าย
อีกทั้งหลังจากที่มีการจัดกิจกรรมทุกครั้ง
สมาชิกเครือข่ายได้ดำเนินการทบทวนการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือทบทวนหลังการปฏิบัติกิจกรรม
(AAR) เพื่อค้นหาโอกาสพัฒนาและปรับปรุงผลการดำเนินงาน
และสุดท้ายเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมหรือโครงการ
ทีมงานบริหารเครือข่ายนำเอาเครื่องมือการเรียนรู้เมื่อสิ้นสุดโครงการ
(Retrospect)
เพื่อค้นหาโอกาสในการพัฒนาทีมงานบริหารเครือข่ายและพัฒนาบทเรียนรู้เพื่อวางแผนงานในอนาคตต่อไป
ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายการจัดการความรู้
จะเน้นองค์ประกอบของ 2P คนและกระบวนการ (People and Process) และ 2T
เครื่องมือและเทคโนโลยีการจัดการความรู้ (Tool and Technology)
โดยนำเครื่องมือการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยการเรียนรู้ก่อนทำ (Peer
Assist) การเรียนรู้การปฏิบัติกิจกรรม (AAR)
การเรียนรู้หลังปฏิบัติโครงการ (Retrospect)
เพื่อบรรลุเป้าหมายในการพัฒนางานของกลุ่มสมาชิกเครือข่ายต่อไป