ลปรร. การจัดการงานวิจัยในภาควิชา


 

          วันที่ ๓๐ พ.ค. ๕๑ ผมได้รับเชิญจากคณะแพทยศาสตร์ มอ. เป็นวิทยากร ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและประกันคุณภาพงานของภาควิชา ครั้งที่ ๖๓ (๒/๒๕๕๑) เรื่อง ระบบสนับสนุน (motivation) และทิศทางการวิจัย (รวมงานวิจัยของแพทย์ใช้ทุน/แพทย์ประจำบ้าน)   
          ท่านคณบดีที่กำลังจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง ๒ วาระ  ๘ ปี คือ รศ. นพ. กิตติ ลิ่มอภิชาต บอกว่า ต้องการให้ผมไปช่วยแนะนำว่าควรปรับปรุงวิธีจัดการงานวิจัยในภาควิชาอย่างไรบ้าง
          การประชุมดำเนินการโดยรองคณบดี รศ. นพ. พุฒิศักดิ์ พุทธวิบูลย์  มีผู้แทน (ส่วนใหญ่เป็นรองหัวหน้าภาควิชา) มานำเสนอภาควิชาละ ๑๐ นาที  อภิปรายซักถาม ๑๐ นาที   แต่บางภาควิชาก็นำเสนอเต็ม ๒๐ นาทีเลยก็มี    ผมได้ความรู้มากมายว่าคณะแพทยศาสตร์มีความเข้มแข็งด้านการวิจัยมากกว่าสมัยผมยังทำงานที่นั่นเมื่อ ๑๖ ปีที่แล้วอย่างมากมาย   แต่อาจารย์ก็ยังทำวิจัยเพียงบางคนเท่านั้น
          การเตรียมเป็นวิทยากรครั้งนี้ ทำให้ผมมีบันทึกที่ลงแล้วเมื่อวันที่ ๓ มิ.ย.   และบันทึกอื่นๆ ที่ท่านที่ติดตามบันทึกของผมจะสังเกตเห็น
          ต่อไปนี้เป็นบันทึกช่วยจำ/ช่วยความคิด ของผมระหว่างการประชุม    ไม่ได้ปรับปรุงให้สละสลวย

 

กุมาร  ภาสุรีย์
        กำหนดทิศทาง 2551 – 5 โดยการสัมมนาภาควิชา
        เกณฑ์ตีพิมพ์ 0.6/คน/ปี    แต่บรรลุจากผลงานเพียงบางคน (30%)  
        เปลี่ยนจากอิงบุคคล เป็นอิงระบบ
        Core team อจ ที่ให้คำปรึกษาได้ 20%    เป้า อจ ทำวิจัย 50% 
         ระบบ res assistant
        พชท.  Resident เป็นกำลังวิจัย
        กำหนดว่า คนจะมาเป็น อจ. ต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ 

 

จักษุ  แมนสิงห์
        หาทางให้มี อจ. เรียนระบาดวิทยา
         ใช้เวทีประกวดราชวิทยาลัย
        RA 2 คน   รายงานผลความก้าวหน้าวิจัยในที่ประชุมภาคทุกครั้ง (เดือน)  
        Res club ทุก ๓ ด  
        อจ. รายงานความก้าวหน้าด้านการวิจัยทุก ๓ ด   มีแบบฟอร์ม
        เกณฑ์ ระดับภาควิชา ๘ ตัว
        งานวิจัยของ อจ. ค้างมาก

 

จิตเวช   จารุลิน
       ทำ SWOT มีนโยบายสร้างความต่อเนื่อง
       Mentor
       R2R จัดระบบส่งเสริมโดย จัดเวที KM ทุกเดือน
       เชิงคุณภาพ

 

ชีวเวชศาสตร์  สุวิณา
       ไม่มีบริการวิชาชีพ
        มี Focus Area : สมุนไพร  เภสัชจลนศาสตร์  biomaterials  
        ประกาศรับ อจ. ด้าน pharmacodynamics ไม่มีคน
        ได้รับสนับสนุนจาก สกอ. ต่อเนื่อง ๕ ปี   คณะสนับสนุน
        แบ่ง อจ.  นศ. เป็น ๕ สาย เสนอ progress report ทุก ๒ สปด.

 

พยาธิ  พรพรต
       อจ เรียนมาทาง Mol มาก  
       วิจัยเน้น Mol Biol
       อจ ใหม่ ๔ คน เป็นหัวหน้า คก วิจัยทั้ง ๔
       ส่งเสริมกลุ่มวิจัย : EBV assoc T-cell proliferative disease
                               Neuro-psychiatric genetic
       มี นศ. บัณฑิต
       PATHO-OTOP -> R2R  เชิญ อจ นอกภาค (ระบาด) มา comment
       มีการติดตามแบบให้ความช่วยเหลือ    มีทีมช่วยเขียน  
       มีคนสนใจเป็น postdoc fellow
       ร่วมมือภายนอก : ราชานุกูล  รามา  นรา  U Adelaide, U Toronto,

       UCLA, USM 
       เน้นวางรากฐาน   ไม่เร่งรีบ KPI ปัจจุบัน 
       เสนอ อจ. Res Track  50/50
                Postdoc fellow

 

รังสี  วิวัฒนา
       พันธกิจ  กรกส.   วิจัย   บริการ   ทำงานอย่างมีความสุข
       วิจัยเพื่อปรับปรุงบริการและ กรกส.
       ให้ อจ. แต่ละคนกำหนดภาระงานวิจัยเองได้ (ไม่เกิน 40% ตามที่คณะกำหนด)

 

วิสัญญี
       Website ลง abstract & Full Paper

 

ศัลย์  ผศ. นพ. สมเกียรติ สรรพวีรวงศ์
      ชุดโครงการ CA esophagus

 

วชช  สีลม
      สำรวจ motivation ในงานวิจัยในภาควิชา ปีที่แล้ว
      เตรียมโจทย์วิจัยให้ อจ. ใหม่ เป็น assignment

 

ออร์โธ   บุญสิน PhD ระบาด
     ดู burden of disease : Osteoarthritis, injury 
        เลือก priority – Geriatric – Low back pain, Hip fracture, etc.         
      

สูติ   จิตเกษม  รอง postgrad
       พชท. มี อ. ที่ปรึกษา และที่ปรึกษาวิจัย
       มีการอัดฉีด publication – 20,000 + ภาควิชา ให้ 4,000
       ราชวิทยาลัยกำหนดให้ resident นำเสนอผลวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ
       มีตารางความก้าวหน้างานวิจัย พชท/พจบ
       Publication ส่วนใหญ่มี IF  ปี ๕๐  ๑๒/๑๗
       อจ 23 คน มีชื่อใน Pub Med ทุกคน  
       Citation รวม 2880  สายบัว 2245  วีระพล 403

 

ENT  วิรัช
        Clin Data
        มี RA 2 คน

 

อายุร  รัตนา
       โครงการวิจัยทั้งหมด 79   ของ อจ. 56  ของ บ. ยา 30 ซึ่งไม่ได้ตีพิมพ์ และมี burden ด้านข้อมูลมาก 
       System Dev : R Assisting Unit
       มี RA 7 คน
       Impact : IF
                    Improve H Problems
       RAU – R Assistant Unit 
       

**ความร่วมมือกับภาควิชาอื่น  นอกคณะ  นอกมหาวิทยาลัย   Collaboration 
**เครื่องมือตรวจหา plagiarism : etblast
**จากปริมาณ สู่คุณภาพ
**ความต่อเนื่อง R Excellent Ctr เป็น Inter-Dept & Inter-Faculty RC    
**การรับคนของ R Excellent Ctr เป็น citizen ของคณะ
**วิจัย ๒ แบบ  สร้าง ค  &  ใช้ ค.

       ที่มีดอกจันทน์ ** คือความคิดปิ๊งแว้บของผมระหว่างการประชุม
       หลังจบการนำเสนอ ผมให้ข้อคิดเห็นประมาณ ๒๐ นาที    และมีการให้ผู้เข้าร่วมประชุมให้คะแนนแต่ละภาควิชาลงในแบบฟอร์ม แล้วรวมคะแนน    ปรากฎว่าภาควิชาจักษุได้ที่ ๑    ได้รับรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท


       คุณวิไลพรรณ ลีลามานิตย์ ผู้ประสานงานให้ผมไปเป็นวิทยากร บอกว่าการประชุมแบบนี้มีทุก ๓ เดือน    เริ่มปี ๒๕๓๗ สมัย รศ. พญ. พันธุ์ทิพย์ สงวนเชื้อ เป็นคณบดี    และวิทยากรที่ไปให้ข้อคิดเห็นในครั้งแรกนั้นคือผม    ผมลืมไปสนิท ฟื้นความจำไม่ได้เลย 

 

วิจารณ์ พานิช
๓๑ พ.ค. ๕๑

                                  
        

หมายเลขบันทึก: 186995เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2008 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 11:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท