สำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่
สำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่ สำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า


                                               
การเพาะเห็ดฟาง  สามารถทำได้หลายรูปแบบ  เช่น  การเพาะแบบกองเตี้ย  การเพาะในถุง  การเพาะแบบโรงเรือนอบไอน้ำ  แล้วแต่สภาพความพร้อมของพื้นที่และความพร้อมของเกษตรกรผู้เพาะวัสดุที่ใช้เพาะ   ก็สามารถใช้ได้หลากหลายอย่าง  ตามที่มีในท้องถิ่น  เช่น  ฟางข้าว  ผักตบชวา  ต้นกล้วยแห้ง  ใส่นุ่น  เปลือกถั่ว  หรือกากมันสำปะหลัง  ซึ่งเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า  สร้างอาหารในครอบครัว  สร้างงาน  สร้างรายได้เสริม  ในช่วงว่างจากฤดูการทำนา  และวัสดุที่เหลือจากการเพาะเห็ดก็สามารถนำกลับลงในแปลงนาเพื่อบำรุงดิน  หรือทำเป็นปุ๋ยหมักใส่พืชผัก  ไม้ผล  ไม้ยืนต้น  ก็ได้

                การเพาะเห็ดในตะกร้า  เป็นรูปแบบการเพาะเห็ดฟางอีกแบบหนึ่งที่ทำได้ง่าย  ใช้พื้นที่น้อยขั้นตอนไม่ยุ่งยาก  ทุกครัวเรือนสามารถทำได้เพื่อบริโภคในครัวเรือน  ดอกเห็ดสามารถทยอยออกได้เรื่อยๆ  เป็นการลดรายจ่ายด้านอาหารในครัวเรือน  และสามารถทำเป็นกิจกรรมเสริมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ด้วย  วัสดุที่ใช้เพาะก็สามารถใช้วัสดุเศษเหลือในไร่นาได้เกือบทั้งหมด  เช่นเดียวกับการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นๆ  แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ  สามารถนำก้อนเชื้อเห็ดถุงที่เก็บดอกหมดแล้วทั้งเห็ดขอนขาว  เห็ดนางฟ้า  เห็ดนางรม  มาเป็นวัสดุเพาะได้อีกด้วย

วัสดุอุปกรณ์

             1.  ตะกร้าไม้ไผ่  หรือตะกร้าพลาสติก  ขนาดกว้างประมาณ  12  นิ้ว  สูง  14  นิ้ว  มีตาห่างประมาณ 2x2                           

                                                                   ตะกร้าพลาสติก 

                              2.  เชื้อเห็ดฟางที่พร้อมเพาะ

                               3.  ฟางข้าว , กากมันสำปะหลัง , ก้อนเชื้อเห็ดเก่า ฯลฯ

 ฟางข้าว    ก้อนเชื้อเห็ดเก่า

                4.  อาหารเสริม  เช่น  ปุ๋ยหมัก  มูลสัตว์แห้ง  ผักตบชวาหั่นสด  ละอองข้าว  ฯลฯ             

                               มูลสัตว์เเห้ง                                         ผักตบชวาหั่นสด

                5.  ท่อนไม้หรือท่อนกล้วยสำหรับรองก้นตะกร้า 

                ท่อนกล้วย

            

                           6.  โครงไม้ไผ่แบบสุ่ม

                7.  ผ้าพลาสติกคุมสุ่ม

วิธีการเพาะ

                1.  เพาะจากตอซังข้าว  หรือกากดินมันสำปะหลังให้สับฟางขนาดยาวประมาณ 4 นิ้ว  หมักกับปุ๋ยคอกแห้งหรือปุ๋ยหมักอัตราฟางหรือกากมัน  40  กิโลกรัม  ต่อปุ๋ยคอก  5  กิโลกรัม  รดน้ำพอชุ่มใช้พลาสติกคลุมไว้  1  วัน 

                

หลังจากนั้นนำฟางหรือกากมันที่หมักมาบรรจุในตะกร้าเป็นชิ้นๆ  สูงชิ้นละ  3  นิ้ว  กดพอแน่นใส่อาหารเสริมพวกผักตบชวาสดสับบางๆ  โรยเชื้อเห็ดทับ  รดน้ำพอชุม  ทำชั้นที่ 2  และชั้นที่ 3  เหมือนชั้นที่ 1  แต่ชั้นที่ 3  ให้ใช้ฟางทับบางๆ  ประมาณ  1  นิ้ว  หลังทำถึงชั้นที่ 3  จะเหลือปากตะกร้าไว้ประมาณ  3  นิ้ว

       

     

                 2.  ถ้าเพาะจากก้อนเชื้อเห็ดถุงเก่าที่เก็บดอกหมดแล้วสามารถนำมาเพาะได้เลยโดยเทก้อนเชื้อเห็ดเก่าออกจากถุง  ขยี้ให้แตกบางส่วนอัดลงในตะกร้าหนาชิ้นละ  3  นิ้ว  ใส่อาหารเสริมพวกปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก  หรือผักตบชวาสับชิ้นละ  1-2  กำมือ  โรยเชื้อเห็ดฟาง  รดน้ำพอชุมแล้วทำชั้นที่ 2  และชั้นที่ 3  ต่อไปเหมือนกัน  โดยชั้นที่ 3  ให้เหลือช่องว่างของตะกร้าจากปากไว้  3  นิ้ว

                                          

                                                                  

การดูแล

                1.  หลังจากบรรจุวัสดุเพาะเห็ดเรียบร้อยให้นำตะกร้าเห็ดที่ได้ไปวางไว้ตามร่มไม้ชายคา  ที่แสงแดดเล็กน้อยโดยเอาท่อนไม้  หรือท่อนต้นกล้วยผ่าครึ่งวางรองด้านล่างกันปลวก  โดยการเพาะ  1  สุ่ม  ควรใช้ตะกร้า  4  ใบ  วางด้านล่าง  3  ใบ  ซ้อนด้านบน  1  ใบ

           

                2.  ใช้สุ่มครอบ  คลุมด้วยพลาสติก  ใช้ดินทับรอบพลาสติก

                                     

                3.  ถ้าแห้งรดน้ำรอบๆ  สุ่มให้มีความชื้น

                4.  ได้  4  วัน  เปิดพลาสติกคลุมตอนเช้า  หรือเย็นเพื่อให้เชื้อเห็ดรับอากาศ  ประมาณ  2  ชั่วโมง  แล้วปิดไว้ตามเดิม

                5.  พอวันที่  9 12  ดอกเห็ดฟางก็จะเกิด  สามารถเก็บไปประกอบอาหารได้  ถ้าทำจำนวนมากหลายสุ่มจะเหลือ

                     จำหน่ายเสริมรายได้ด้วย

                6.  ดอกเห็ดฟางในตะกร้าสามารถเก็บได้เรื่อยๆ  จนหมดรุ่น  สามารถเปิดพลาสติกรดน้ำให้เปียกเอารุ่นที่ 2  ได้อีก

                  

                7.  พอดอกหมด  นำวัสดุที่เหลือไปใส่ไม้ผล  ผัก หรือใส่แปลงนาได้อย่างดี

                8.  ล้างตะกร้าให้สะอาดตากแดด 1-2  แดด  นำมาเพาะรุ่นต่อไปได้

 

เรียบเรียงโดย

นายขัญติภาณ  ศรีใส  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ระดับชำนายงาน

หมายเลขบันทึก: 185829เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2008 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)
อยากเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะค่ะ กำลังจะทดลองทำในครัวเรือน แต่เป็นเมืองนะค่ะ ผักตบชวาอาจจะหายาก .... จะใช้อะไรแทนได้ค่ะ

1. ปุ๋ยหมัก นั้นทำได้อย่างไร

2. ใบกล้วย ต้นกล้วย ที่ตัดเครือแล้วใช้ได้ไหมค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ สนใจวถีเศรษฐกิจพอเพียง แต่อยู่กรุงเทพไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่มีพื้นที่ พอดีได้ดูทีวีในรายการ ลุงเกษตร ทางช่อง NBT เรืองเพาะเห็ดฟางในตระกร้า เลยสนใจแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ตอนนี้อาศัยอยู่ทั้งกรุงเทพ และจังหวัดนนทบุรี แถวเมืองทองนี

อยากทราบว่า

-วัสดูต่าง ๆ เช่น เชื้อเห็ดฟาง ปุ๊ยหมัก สามารถหาซื้อได้ที่ไหน

-ถ้าไม่มีวัสดูเหลือใช้เช่น ฟาง ก้อนเชื่อเห็ดเก่า หรืออื่น ๆ จะใช้อะไรทดแทนได้บ้างเพราะอย่ามากก็มีแต่ทุ่งหญ้าขน เศษไม้ กล่องโฟมที่พอจะหาได้

-เห็นในรายการทีวิใช้น้ำจุลินซี ใช้ได้หรือไม่ หาซื้อที่ไหน

-ถ้าไม่เคยเพาะเลยทำตามวิธึจะสำเร็จไหมค่ะหรือควรจะไปเรียนที่ไหนที่สอนวิธีเพาะเห็ด

-มีที่ไหนบ้างที่สอนวิธีเพาะเห็ดบ้าง

-ถ้าอยากเรียนรู้เศษรฐกิจพอเพียง หรือการทำบ้านดินไปศึกษาที่ไดได้บ้าง

กรุณาช่วยให้ความรู้ด้วยนะค่ะจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ สนใจวถีเศรษฐกิจพอเพียง ตอนนี้อาศัยอยู่เชียงใหม่

สนใจอยากจะเพาะเห็ดฟาง วัสดุนอกจาก ฟางแล้วใช้อย่างอื่น แทนได้ไหม ครับ

ดูเหมือนน่าสนใจมากๆ ค่ะ  อยากลองๆ ถ้าลงรูปมาด้วยคงจะดีไม่น้อยเลยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ตอบคำถาม

1. ปุ๋ยหมักทำอย่างไร

ปุ๋ยหมัก คือการนำเอาเศษพืชต่าง ๆ ใช้ได้ทั้งสด แห้ง รวมทั้งปุ๋ยคอกทุกชนิด ที่มีอยู่มาหมักให้ย่อยสลายตัวดีแล้ว นำไปใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน ปัจจุบันมีการนำจุลินทรีย์มาช่วยให้การหมักย่อยสลายเร็วขึ้น เรียก ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ โดยใช้นำหมักที่หมักเอง จากพืชสด หรือ เศษอาหาร 3 ส่วน กากนำตาลหรือนำตาล 1 ส่วน หมักไว้ 7 วันขึ้นไป ก็นำมาใช้ได้ หรืออาจเตมหัวเชื้อ พด. 2 (หัวเชื้อทำปุ๋ยน้ำ ของพัฒนาที่ดิน ) หรือ อาจซื้อหัวเชื้อ อ เอ็ม ที่มีขายตามท้องตลาดก็ได้

การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ

วัสดุ ใช้มูลสัตว์แห้ง 6 ส่วน แกลบดำ หรือแกลบดิบ หรือใบไม้แห้ง 3 ส่วน

รำละเอียด 1 ส่วน น้ำหมัก 1 แก้ว กากนำตาล 1 แก้ว น้ำพอชุ่ม นำทุกอย่างมาผสมคลุกเข้ากัน หมักไว้ 7 - 10 วัน ให้เย็นนำไปใช้ได้

2.ใบกล้วย ต้นกล้วย ทำได้ แต่ต้องนำมาฝานตากให้แห้งก่อนจึงเก็บไว้เป็นวัสดุเพาะได้

ตอบคุณพลอย

1.วัสดุใช้เพาะเห็ดฟาง หาซื้อได้ทั่วไป หรือสอบถามที่ ม. ธรรมศาสตร์( ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตร) รวมทั้งคำแนะนำการเพาะด้วย รวมทั้งน้ำจุลินทรีย์ด้วย

2. ถ้าไม่เคยเพาะ ทำตามขั้นตอนที่แนะนำ อาจจะสำเร็จ ควรฝึกปฏิบัติน้อย ๆ ก่อน

3.บ้านดินดูได้ที่ ศูนย์เรียนรู้ที่ อ. บ้านนา จ.นครนายก ( ศูนย์พัฒนาของในหลวงฯ)

ตอบคุณมรกต

1. เห็ดฟางสามารถใช้วัสดุอื่น ๆ เพาะแทนได้ เช่น ต้นกล้วยแห้ง ไส้นุ่น กากถั่ว กากฝ้าย ก้อนเชื้อเห็ดเก่า กากถั่ว กากมันสำปะหลัง ผักตบชวาแห้ง จอกแห้ง อื่น ๆ ลองทดลองดู

จะลงรูปขั้นตอนการเพาะให้ดูครับ

ขัญติภาณ ผู้ตอบ

ขอบคุณคะที่ให้ข้อมูลดิฉันจะนำไปเขียนโครงงาน

ถ้าไม่มีก้อนเชื้อเห็ดเก่า จะใช้เชื้อเห็ดใหม่ได้มั้ยค่ะ

ที่บ้าน มีต้นกล้วยน้ำหว้าเยอะมากค่ะ เลยสนใจอยากเพาะเห็ดฟางในตะกร้า จากต้นกล้วย รบกวนกรุณาช่วยแนะนำวิธีการเพาะเห็ดด้วยวัสดุเพาะต้นกล้วย และช่วยลงรูปให้ดูด้วยนะค่ะ ในการเพาะเห็ดแต่ละครั้ง เราสามารถเก็บดอกเห็ดได้กี่รุ่น และระยะเวลาให้ดอกเห็ดในรุ่นต่อไปกี่วัน อายุของวัสดุเพาะเห็ด ได้นานกี่เดือนจึงจะนำวัสดุเพาะไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้

ขอถามครับ

-อยากทราบว่า เมื่อทำการโรยเพาะเชื้อเห็ดฟางไปแล้วในแปลงเพาะ(ผมใช้กากดินมันฯ เป็นวัสดุ) แล้วในขณะที่เส้นใยกำลังเจริญ ผมสังเกตเห็นว่ามีที้งเส้นใยสีขาวและสีดำ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเส้นใยสีดำนั้นเป็นเส้นใยที่ผิดปกติหรือเป็นเส้นใยที่ฝอแล้วเน่าตายหรือเปล่า และถ้าเป็นเช่นนั้จะมีวีธีแก้ไขหรือป้องกันอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากค่ะ  ที่นำข้อมูลและเรื่องดีๆมาฝาก  แปลกดีค่ะในการนำตะกร้าจากที่บ้านซึ่งมีอยู่แล้วทุกบ้านมาปลูกเห็ด  จะนำไปทำดูนะค่ะ

                                    

อยากเพาะเห็ดฟางแต่ทำไม่เป่ง

มานต้องทามอย่างไงค่ะ

สวัสดีค่ะ พอดีพี่ชายประสบอุบัติเหตุเป็นอัมพาตค่ะ ไม่สามารถเดินแต่ก็ช่วยเหลือตัวเองได้โดยการใช้รถเข็น ไม่อยากให้เค้าเหงาค่ะ จึงหาอะไรให้เค้าทำเวลาว่างเป็นการเสริมรายได้ด้วย เค้าจะได้ไม่เครียด ตอนนี้เค้ากำลังสนใจการเพาะเห็ดฟางค่ะแต่ไม่เคยทำมาก่อนจึง

อยากทราบว่า

-วัสดูต่าง ๆ เช่น เชื้อเห็ดฟาง ปุ๊ยหมัก สามารถหาซื้อได้ที่ไหน (เป็นคนสงขลา)

-ถ้าไม่มีวัสดูเหลือใช้เช่น ฟาง ก้อนเชื่อเห็ดเก่า หรืออื่น ๆ จะใช้อะไรทดแทนได้บ้างเพราะอย่ามากก็มีแต่ทุ่งหญ้าขน เศษไม้ กล่องโฟมที่พอจะหาได้

-ถ้าไม่เคยเพาะเลยทำตามวิธึจะสำเร็จไหมค่ะหรือควรจะไปเรียนที่ไหนที่สอนวิธีเพาะเห็ด

-มีที่ไหนบ้างที่สอนวิธีเพาะเห็ดบ้าง

กรุณาช่วยให้ความรู้ด้วยนะค่ะจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

ขอบคุณค่ะ

ขอให้ผู้ให้ความรู้จงมีแต่ความสูขความเจริญ

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไรครับดีกว่าหรือต่างกับปลูกในโรงเรื่อนอย่างงัยครับ

สนใจการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกมากอยากขอรายละเอียดพร้อมรูปภาพจะหาได้ทีไหกรุณาแนะนำด้วยหากไม่มีผักตบชวาจะใช้วัสดุอะไรทดแทนได้บ้าง

สวัสดีครับ ได้พอทราบมาว่า 1 ตะกร้าให้ผลผลิต 0.5 - 1 ก.ก. อันนี้ต่อหนึ่งวัน หรือ สัปดาห์ หรือ เดือนนึงอะคับ ? แล้วตะกร้านึงอยู่ได้นานขนาดไหนเหรอคับ ?

ขอบคุณมากครับ

สามารถเพาะในพื้นที่ที่มีจำกัดได้หรือไม่เพราะอาศัยอยู่แฟลต และจะมีผลต่อผู้อยู่อาศัยหรือเปล่า

จำหน่าย ปุ๋ยคอก และฟางข้าว โทร 08 05577 099 ที่ อ.เดชอุดม จ.อุบลฯ

การเพะเห็ดฟางในตะกร้าถ้าไม่มีผักตบชวา ใช้ใส้นุ่นแทนใด้ไหม

- อยากรู้ข้อมูลด้านการเพาะเห็ดฟางหลายๆ วิธี

- ข้อมูลด้านการเกษตรต่างๆ ช่วยส่งข้อมูลให้ทาง อีเมล์ได้ใหมค่ะ

[email protected]

เป็นบทความที่ดีมากมีรูปภาพประกอบ ดีมากครับจะลองไปทำนะครับ ว่างๆอยู่ตอนนี้

อยากทำเห็ดฟางขายแต่กลัวขายไม่ได้อยู่ อ.บ้านแท่น จ. ชัยภูมิ

ช่วยบอกวิธีหน่อยครับ

อ่านแล้วได้ความรู้เยอะเลย

อ่านแล้วสนใจอยากลงมือทำแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง

มีที่เรียนไหมแถวๆๆกรุงเทพฯพอดีเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯเวลากับไปบ้านจะได้ไปทำที่บ้าน

ขอบคุณคับ [email protected]

AnonBiotec

โดย ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล

(ผู้เชี่ยวชาญเห็ด องค์การสหประชาชาติ ปี 2524-2548)

ขอเชิญท่านผู้สนใจเข้าฝึกอบรม

หลักสูตรการเพาะ เห็ดฟาง แบบ มืออาชีพ

เสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553 ตั้งแต่เวลา 9:00 ถึง 18:00 น.

ณ ศูนย์ฝึกอบรมอานนท์ไบโอเทค (แผนที่ตามแนบ)

ฝึกอาชีพรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ อย่างพอเพียง

อบรมวันเดียว เรียนรู้ทั้งทฤษฎี ฝึกอบรมโดยตรงกับ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล

พร้อมลงมือฝึกปฏิบัติ ทำจริง ได้จริง มีอาชีพเลี้ยงตนเอง

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับทันทีในวันฝึกอบรม

1. ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

2. อุปกรณ์ และเอกสารประกอบคำบรรยาย (Seminar Kit)

3. อุปกรณ์ในการฝึกอบรม และก้อนเชื้อเห็ดที่ทำเองจากการฝึกภาคปฏิบัติ

4. ประกาศนียบัตรรับรองการฝึกอบรม โดย ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล

5. ได้รับสิทธิ์เป็นสมาชิกตลอดชีพ www.AnonBiotec.com

6. ได้รับความรู้-ข่าวสาร ความเคลื่อนไหว จากศูนย์อานนท์ไบโอเทคตลอดชีพ

7. ได้รับสิทธิ์เข้าทบทวนการฝึกอบรมเรื่องการเพาะเห็ด จากศูนย์อานนท์ไบโอเทคตลอดชีพ

ขั้นตอนการขอยืนยันเข้ารับการฝึกอบรม

- แจ้งชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก

- โอนชำระค่าฝึกอบรม จำนวน 2,000 บาท (สองพันบาท) เข้าบัญชีต่อไปนี้

บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเมืองทองธานี

ชื่อบัญชีนายรุ่งประเสริฐ อาศิรพงศ์พิศิษฐ์ เลขที่บัญชี 328-2-23220-1

- จัดส่งหลักฐานทาง fax 0 2527 0474 หรือ [email protected] ก่อนอบรม 3 วัน

- ทีมงานแจ้งเลขที่สมาชิกยืนยันเข้ารับการฝึกอบรมกลับทาง Email หรือโทรศัพท์

- สมาชิกที่มีความประสงค์จะอบรมซ้ำ รบกวนโอนชำระเงินล่วงหน้าเพื่อยืนยันการเข้า

ฝึกอบรม ท่านละ 200 บาท พร้อมนำบัตรสมาชิกและหลักฐานการโอนมาแสดงในวันฝึกอบรมด้วย

ติดต่อสมัครอบรม - สอบถามเพิ่มเติม

Tel. 0 2527 0474 # 102

Fax. 0 2527 0474 # 108

Email [email protected]

Web Site www.anonbiotec.com ค่าธรรมเนียมการฝึกอบรม

ท่านละ 2,000 บาท

ฟรี อาหารกลางวัน

ด่วน !! จำนวนจำกัด

  • สวัสดีครับ
  • ชื่นชมผลงานครับ

อยากด้ายรายละเอียดเกียวกับการหาก้อนเชื้อเห็ดครับช่วยเเนะหรือบอกเบอรโทรหน่อย ขอบคุนครับ

สวัสดีค่ะคุณขัญติภาณ

สนใจมากค่ะ ซื้อเขากิน แพงมาก

จะลองเพาะ แต่หาวัสดุยากโดยเฉพาะก้อนเชื้อเห็ด

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆจะนำไปทำเพื่อเป็นธุรกิจดีๆใด้บ้างนะครับทุกอย่างต้องเริ่มจากน้อยไปหามากครับ บายๆๆ

อยากรู้ว่าเชื้อเห็ดทำได้ไหมโดยง่ายหนะ

 

ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร

ศูนย์อบรม/จำหน่ายเชื้อเห็ดฟาง " วังมะนาว "

เปิดแล้วครับ อบรมเห็ดฟางโรงเรือน เพื่อเป็นอาชีพหลัก 1 เดือน 1 วัน 1 รุ่น 20 ท่าน อบรมเห็ดฟางเชิงลึก เช้า วิชาการ บ่าย ชมฟาร์มเพาะสูตรปาล์มน้ำมัน ฟาร์มเห็ดห้วยชินสีห์ เย็น สรุป สาระ/ถาม/ตอบ/ปัญหาข้อข้องใจ รุ่นแรก เสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 54 ที่ ศูนย์วังมะนาว สามแยกวังมะนาว ติดปั๊ม Esso บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี โทร.089-850-5103.ควบคุมโดย. ทีมงานเผยแพร่ความรู้ ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร .

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท