ปริมาณแคดเมียมในปลาหมึก


การศึกษาปริมาณแคดเมียมในปลาหมึกเพื่อการส่งออกโดยใช้เทคนิค ICP-AES

 

การศึกษาปริมาณแคดเมียมในปลาหมึกเพื่อการส่งออกโดยใช้เทคนิค ICP-AES

Determination of Cd in Exporting Cephalopod by ICP-AES Method

 

ในประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลแช่เยือกแข็งส่งออกที่สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง โดยมีตลาดอยู่ที่ประเทศต่างๆ ในเอเชีย ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ในระยะแรกๆ นั้น การส่งออกยังไม่มีการแปรรูปมากนัก คือซื้อวัตถุดิบมาแล้วแช่แข็งส่งออกไปทั้งตัวต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการส่งออกโดยพัฒนาการส่งออกให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด และเป็นเพิ่มมูลค่าของสินค้าขึ้นภาวการณ์ค้าและการส่งออกปลาหมึกของไทยในตลาดโลกไม่พบปัญหาเกี่ยวกับมาตรการกีดกันทางการค้ามากนัก แต่ที่พบปัญหาบ้างได้แก่ ปัญหาการปนเปื้อนของโลหะหนักตกค้าง ซึ่งบางประเทศมีกฎหมายที่เข้มงวดกว่ามาตรฐานสากล เช่น ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีการนำเข้าปลาหมึกและผลิตภัณฑ์เช่นกัน โดยสินค้าที่นำเข้ามากได้แก่ หมึกกระดอง หมึกยักษ์ หรือหมึกสาย และหมึกกล้วยแช่แข็ง แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทยได้แก่ โมรอกโค เยเมน มอริตาเนีย และสเปน

ปัญหาที่สำคัญของการส่งปลาหมึกแช่เยือกแข็ง ได้แก่ ปัญหาการปนเปื้อนของสารแคดเมียมในเนื้อเยื่อปลาหมึก จะเห็นว่า ที่ผ่านมาปลาหมึกแช่เยือกแข็งส่งออกได้ถูกประเทศผู้ซื้อสุ่มตัวอย่างและตรวจสอบสารพิษและพบปริมาณแคดเมียมสูงเกินกว่าเกณฑ์กำหนดเพื่อการส่งออก ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกปลาหมึกแช่เยือกแข็งตื่นตัวและระมัดระวังในการตรวจสอบคุณภาพมากขึ้น

จากผลการวิเคราะห์ปริมาณแคดเมียมในผลิตภัณฑ์ปลาหมึกแช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออก ของหน่วยเครื่องมือกลาง คณะวิทยาศาสตร์ ในเนื้อปลาหมึกและองค์ประกอบต่างๆ ของปลาหมึก 3 ชนิด ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ คือ ปลาหมึกกล้วย ปลาหมึกสาย  ปลาหมึกกระดอง โดยเก็บตัวอย่างจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารทะเลเพื่อการส่งออก ในจังหวัดสงขลาและปัตตานี ปี 2547 จำนวน 1590 ตัวอย่าง  เป็นผลิตภัณฑ์ 1415 ตัวอย่าง และวัตถุดิบ 175 ตัวอย่าง ในจำนวนนี้เป็นปลาหมึกกล้วย 525 ตัวอย่าง หมึกสาย 554 ตัวอย่าง และหมึกกระดอง 511 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการเตรียมตัวอย่างชนิดเผา (dry ashing) แล้ววิเคราะห์แคดเมียมด้วยเทคนิค ICP-AES พบว่า ในผลิตภัณฑ์ปลาหมึกแช่เยือกแข็งทั้ง 3 ชนิด หมึกกล้วยมีปริมาณแคดเมียมต่ำสุด คืออยู่ในช่วง 0.01-0.50 ppm ซึ่งมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเพื่อการส่งออก ส่วนหมึกกระดอง และหมึกสายมีค่าปริมาณแคดเมียมสูงกว่าเกณฑ์เล็กน้อยประมาณ 5% และ 3% ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์แคดเมียมในองค์ประกอบส่วนต่างๆ ของปลาหมึก คือหนวด เนื้อ เครื่องใน เช่น มัน (brain) ถุงทราย (digestion gland) ไข่ (overy) ดีหมึก (ink sac) พบว่าในเครื่องในโดยเฉพาะในมัน และถุงทราย มีปริมาณแดดเมียมเฉลี่ยสูงที่สุด ถึงมากกว่า 1 ppm โดยเฉพาะในหมึกยักษ์ ที่พบปริมาณแคดเมียมมากถึง 30 ppm แต่สำหรับส่วนอื่นๆ ของปลาหมึกทุกชนิด มีปริมาณแคดเมียมต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนดเพื่อการส่งออก คือ 1 ppm ดังนั้นเพื่อเฝ้าระวังแคดเมียมในปลาหมึกเพื่อการส่งออก ควรตัดแต่งเครื่องในออกให้มากที่สุด ให้เหลือแต่ส่วนเนื้อและหัว เพื่อจะได้ลดปริมาณแคดเมียมที่อาจปนเปื้อนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้

 

คำสำคัญ (Tags): #icp-aes#ปลาหมึก
หมายเลขบันทึก: 185763เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2008 19:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคค่ะ

สวัสดีคะ

ยินดีที่ได้รู้จักคะ ...และขอบคุณมากคะ...

ผมซวยแน่ๆเลยครับ

เมื่อคืนกิน หมึกกระดอง ไป 2ตัว

สุกบ้างไม่สุกบ้าง

ไม่เคยรู้มาก่อนเลยนี่พึ่งรู้ละครับ

วันนี้ มา ผม เหมือนเป็นตะคริวที่ นิ้วมือ ขวา TT

ตอนนี้ กำลังกินเกลือแร่ เรื่อยๆ เผื่อว่ามันจะขับ สารแคดเมียม ออกบ้าง

ใครมีทางช่วย ก็ โพสบอกกันหน่อยนะครับ

ยาคิดมากเลยคะ....ไม่เป็นไรหรอก สารพวกนี้ มันต้องสะสมเป็นปีๆ คะ....ถึงจะออกฤทธิ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท