ค่าเทอมมหาวิทยาลัยแพงเกินไปจริงหรือ ?


Gotoknow มีอาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้ที่ทำงานมหาวิทยาลัยมากมาย อยากขอแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กับท่านหน่อยครับว่า องค์กรของท่านเป็นอย่างไรบ้าง

การเข้ามหาวิทยาลัยได้กลายเป็นปัญหาสำคัญ เมื่อครอบครัวของเด็กที่สอบได้ไม่มีปัญญาหาเงินมาส่งลูกหลานเรียน ... ข่าวไม่ดีต่าง ๆ จึงเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าตัวตายของเด็ก ผู้ปกครองกลายเป็นอาชญากร ฉก ชิง วิ่ง ราว ทรัพย์สินของผู้อื่น

ทำให้สังคมตั้งคำถามว่า "ค่าเทอมในการเรียนระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยแพงเกินไปจริงหรือ ?"

 

เรื่องนี้ลองฟังมุมมองของอาจารย์สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการอุดมศึกษามานาน ท่านได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 27 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา

 

*************************************************************************

 

อัดมหา'ลัยค่าเทอมแพงไม่มีเหตุผล

 

อาจารย์สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีโควต้า และรับตรง ทำให้การรับนิสิตนักศึกษากระจายไปยังเด็กทุกกลุ่ม โดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส หรือยากจนเข้าสู่ระบบอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่มหาวิทยาลัยบางแห่งทำในเวลานี้ คือ ธุรกิจ มองหาลูกค้า และดึงคนเข้ามาเรียน ทำให้เกิดการคิดโปรแกรม หรือหลักสูตรใหม่ ๆ ขึ้น

 

แต่ปัญหาในขณะนี้คือ ค่าเล่าเรียนระดับอุดมศึกษาแพงมาก ทั้งที่การขึ้นค่าเล่าเรียนต้องผ่านสภามหาวิทยาลัย และในการคิดค่าใช้จ่ายรายหัวของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) คิดบนฐานของเด็กในเมือง ซึ่งค่าเล่าเรียน 1 แสนบาทก็มีแรงจะจ่ายได้ แต่ลูกชาวนา หรือกรรมกรจะเอาเงินที่ไหนมาเรียน เพราะค่าใช้จ่ายก้อนแรกที่ต้องใช้เข้ามหาวิทยาลัยประมาณ 5 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท จะเห็นว่า เด็กหลายคนที่สอบติดแต่ไม่มีเงินเรียน และหลายรายต้องฆ่าตัวตาย นี่ยังไม่พูดถึงหลักสูตรพิเศษ

 

"เวลานี้ค่าเล่าเรียนอุดมศึกษาแพงมาก จะเห็นว่า เด็ก 3 - 4 คนที่เป็นข่าวฆ่าตัวตาย เช่น ที่สอบติดคณะสัตวแพทย์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม 2.5 หมื่นบาท หรือเด็กที่ จ.ปทุมธานี ซึ่งสอบเข้าวิศวะของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งได้ แต่ค่าลงทะเบียน 8 หมื่นบาท เป็นต้น

ทำไมค่าเทอมแพงมากมายขนาดนี้ แพงแบบไม่มีคำอธิบาย ทั้งที่การขึ้นค่าเล่าเรียนต้องผ่านสภามหาวิทยาลัยที่ สกอ. บอกว่า ถ้าไม่มีเงินให้โทร.บอก จะหาให้คนหาเช้ากินค่ำเขาไม่รู้หรอกว่า จะโทรยังไง ทำให้เกิดสภาวะการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงอุดมศึกษา แต่จะขยายเรื่องความเครียดเป็นการฆ่าคนยากจนทางอ้อม และการเป็นหนี้สินของคนยากจนทั่วประเทศ

ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษาไม่พูดถึง ไม่กล้าแตะ เพราะการเข้าสู่อุดมศึกษาโดยมีกองทุน กยศ. และกองทุน กรอ.ยังไม่เพียงพอ การขยายรายได้ผู้กู้จาก 1.5 แสนบาท เป็น 2 - 2.5 แสนต่อปี ก็ไม่ใช่การแก้ปัญหา เพราะชาวบ้านจะต้องหาเงินก้อนแรกสำหรับเข้าเรียน และเป็นค่าเดินทางด้วย" อาจารย์สมพงษ์กล่าว

 

อาจารย์สมพงษ์ กล่าวว่า มีผู้บริหารในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) คนหนึ่งในภาคอีสานบอกว่า รอยต่อของการจัดการศึกษาฟรี 12 ปีถึงระดับอุดมศึกษาทำให้เกิดความยากจนขึ้นมาก เพราะพ่อแม่ต้องขายที่นาและทรัพย์สินจำนวนมหาศาล ที่นาจึงไปตกอยู่กับนายทุนอยู่มากมาย เมื่อไม่มีที่นาทำกินก็ต้องเข้าเมืองมารับจ้างแทน จึงอยากฝากว่า ค่าเล่าเรียนระดับอุดมศึกษาอย่าแพงมากเกินไป

 

************************************************************************

 

ผมทำงานอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาท้องถิ่นที่เป้าหมายหลักคือ รองรับเด็กที่มาจากครอบครัวระดับล่างของสังคมเป็นหลัก ดังนั้น ปัญหาเรื่องนี้จึงค่อนข้างหนักสำหรับครอบครัวเหล่านี้

หลังการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยกะเค้าบ้างเนี่ย ... จากการคิดค่าเทอมเป็นหน่วยกิต ผู้บริหารมหาวิทยาลัยคงกลัวว่า จะเก็บเงินเด็กได้ไม่เยอะ เดี๋ยวจะบริหารไม่ได้ จึงปรับเปลี่ยนเป็นการคิดค่าเทอมแบบเหมาจ่าย ช่วงเวลานั้น ก็สายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เริ่มต้นที่ 4,500 บาทต่อเทอม ถ้าเป็นสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เริ่มต้นที่ 5,500 บาทต่อเทอม ทั้งนี้ทั้งนั้นยังไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่น ๆ เช่น ค่าหอพัก ค่าอาหาร ค่ากิจกรรม ฯลฯ

ผ่านไป 4 ปี ... สายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ กลายเป็น 6,000 บาทต่อเทอม สายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กลายเป็น 7,000 บาทต่อเทอม

ที่กล่าวมานี้ เป็นนักศึกษาภาคปกติ เรียนจันทร์ - ศุกร์ แต่ถ้าเป็นภาคพิเศษก็เพิ่มมากกว่านี้

 

ผมเคยเห็นพ่อ แม่ ที่เป็นชาวไทยภูเขาขับรถกระบะขนกระหล่ำปลีเก่า ๆ พังแหล่ ไม่พังแหล่ เข้ามาส่งลูกในมหาวิทยาลัย พ่อแม่ผู้มีผิวคล้ำดำกร้าน เหี่ยวย่นตามภาระงานที่ใช้ร่างกายเป็นหลัก ยื่นเงินให้ลูก โบกมือให้ลูก แววตาแสดงถึงความห่วงใย

นี่คือ สภาพที่แท้จริงของครอบครัวนักศึกษาในมหาวิทยาลัยท้องถิ่นแห่งนี้

 

ผมคิดว่า การคิดค่าเทอมแบบเหมาจ่าย คือ ความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้น ลงเยอะ ลงน้อย ก็จ่ายเท่าเดิม มหาวิทยาลัยต้องการแค่การนำเงินค่าหน่วยกิตไปใช้ในการบริหาร แต่ไม่คิดถึงปัญหาของการหาเงินของคนยากจน


หลังการออกข่าวของอาจารย์สมพงษ์ วันต่อมามีผู้บริหารหน่วยงานระดับสูงของ สกอ. ก็มาออกข่าวโต้ตอบว่า จริง ๆ แล้วไม่แพงอย่างที่คิด อย่างแพทยศาสตร์ ก็ไม่เกิน 300,000 บาทตลอดหลักสูตร .. เชื่อหรือเปล่าครับ

เดี๋ยวขอเวลาไปหาข่าวนี้มาให้อีกครั้งนะครับ

 

Gotoknow มีอาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้ที่ทำงานมหาวิทยาลัยมากมาย อยากขอแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กับท่านหน่อยครับว่า องค์กรของท่านเป็นอย่างไรบ้าง

 

เรื่องนี้การแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ครับ

 

ขอขอบพระคุณด้วยจิตคารวะ ครับ :)

หมายเลขบันทึก: 185403เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2008 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (40)

บางครั้งผมก็แอบคิดไปว่า ระบบมหาวิทยาลัย คัดกรองระดับของคนในสังคม

คนที่เป็นคนชายขอบ ถูกทำให้เป็นชายขอบยิ่งกว่า

-------

*** ขอกลับมาแลกเปลี่ยนอีกครั้งนะครับ/กำลังอยู่ในที่สัมมนาฯครับ

ขอบคุณครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร  :)

ระบบมหาวิทยาลัย คัดกรองระดับของคนในสังคม

ประเด็นนี้ ผมยังเห็นด้วยกับคุณเอกเลย ...

อันมหาวิทยาลัยมีผู้บริหารอยู่หลายคน ... ผมก็ไม่แน่ใจว่า เขาได้คิดเรื่องนี้บ้างไหม ... เห็นแต่มุ่งคิดแต่เรื่องเอาเงินจากนักศึกษามาบริหารอย่างเดียว รายได้ส่วนอื่นไม่หา แปลกดี :)

อันนั้นเป็นหลักสูตรอินเตอร์หรือเปล่าคะอาจารย์ ไม่ได้ตามเรื่องค่าเรียนมหาวิทยาลัยของเด็กมานาน เคยทราบว่าอยู่ในระดับหลักหมื่นกว่าบาท แต่น้องๆ ที่สนิทกันเรียนหลักสูตรอินเตอร์วิศวะเกษตร คนหนึ่งประมาณหกหมื่นกว่าบาท/เทอม พี่น้องสองคนเรียนที่เดียวกันรวมแสนสอง พ่อเขาจ่ายได้เพราะเป็น CEO บริษัทน้ำมัน ถ้าเป็นคนอื่นก็หืดขึ้นเหมือนกันกันค่ะ สมัยที่เราเรียนถูกๆ กันนี่ไม่น่าจะเป็นไปได้เลยถ้าไม่มีรัฐอุดหนุน ค่าเรียนเทอมละแค่สองสามพัน

ไม่รู้นะอาจารย์ว่าเขาพยายามทำเหมือนเมืองนอกหรือเปล่า ที่ให้ค่าเล่าเรียนระดับมหาวิทยาลัยแพงๆ เพื่อเป็นเพดานกันไม่ให้มันเกร่อ และมีเงินไปอุดหนุนซื้ออุปกรณ์ทำสถานที่ให้ดีมีคุณภาพโดยพึ่งรัฐน้อยลง พอราคาสูงคนที่ไม่พร้อมหรือไม่มีคุณสมบัติพอจะได้หันไปเรียนสายอาชีพบ้าง คือสักสิบปีที่ผ่านมารู้สึกว่ามหาวิทยาลัยมันเรียนง่ายเกิน มหาวิทยาลัยด้อยคุณภาพก็เกิดเพียบ แล้วก็ผลิตเด็กไร้คุณภาพกันออกมาเป็นดอกเห็ด แต่ถ้าค่าเรียนแพงเด็กที่มาเรียนไปวันๆ แบบไม่คิดอะไรอาจจะลดลง เรียนเล่นๆ ไม่ได้แล้วเพราะมันแพง อาจจะต้องไปเรียนสายอื่นก่อน หางานทำ พร้อมหรือรู้ว่าเราอยากเรียนอะไรแล้วค่อยกลับมาเรียน (อันนั้นเมืองนอก แต่เมืองไทยไม่รู้ว่าทำได้หรือเปล่าเพราะมหาวิทยาลัยกลายเป็นค่านิยมไปแล้ว)

สวัสดีครับ คุณซูซาน Little Jazz \(^o^)/ :)

  • ยินดีที่แวะเข้ามาคุยแลกเปลี่ยนครับ
  • หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรปกติในประเทศไทย ครับ ... ถ้าเป็นอินเตอร์ที่มหาวิทยาลัยผม จะต้องเพิ่มอีก 10,000 บาท ต่อ เทอมครับ
  • การเลือกให้ค่าเล่าเรียนแพง แล้วทำให้เด็กตั้งใจเรียนมากขึ้น ก็ถือเป็นอีกมุมมองอีกด้านหนึ่งครับ
  • ผมเรียน ป.ตรี หน่วยกิตละ 30 บาท ... เทอมหนึ่งก็เสียสัก 1,000 - 2,000 บาท ครับ หรือเรียน ป.โท หน่วยกิตละ 300 บาท ครับ แต่ระยะหลัง ๆ มานี้ มีบางทีมีค่าธรรมเนียมกินเปล่า เทอมละ 3,000 บาทบ้าง 5,000 บาทบ้าง ครับ รวมไปรวมมาก็รากเลือด ครับ เพราะนี่เป็นค่าลงทะเบียนอย่างเดียว ไม่รวมค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอีก
  • " ... การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การฝึกอบรม หรือ ความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะทำมิได้" รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30
  • กลัวผู้บริหารคิดแบบนี้เหมือนกันครับ ...

ขอบคุณมาก ๆ เลยครับสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ :)

องค์การอนามัยโลกให้คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก ว่า เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจต้านภัยบุหรี่

ขอบคุณครับ ท่าน ผอ.นายประจักษ์  ... ว่าแต่ ท่าน ผอ.ไม่แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันหน่อยหรือครับ เพราะว่า Animation นี้ ท่านได้แปะให้ผมที่บันทึกอื่นแล้วอ่ะครับ :)

ขอเชิญชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันยามค่ำ ครับ :)

ตอนตัวเองเรียนป.ตรีหน่วยกิตละ 20 บาท บวกพวกค่าบำรุงโน่นนี่เล็กน้อยหลักร้อยบาทละมั้ง

ตอนนี้ค่าเทอมน่าจะอยู่ในหลักหมื่นกว่าๆ ไม่น่าเกินสองหมื่อนนะคะ เด็กที่ไม่มีสตางค์ก็กู้กยศ.เีรียน ถ้าถามว่าแพงขึ้นไหม ก็แพงขึ้นจริง พวกเรียนหลักสูตรสมทบน่าจะเสียเพิ่มอีก 15,000 มั้งคะ

ปัญหาเรื่องค่าเทอมมีหลายอย่างค่ะ ยอมรับว่ามีบางคณะที่เก็บเงินเกินจริงๆ ไม่ได้เน้นเอาเิงินที่เก็บมา มาลงทุนกับนักศึกษา แต่เป็นเงินสะสมของคณะแทน แล้วแต่ความคิดของผู้บริหารจริงๆ ที่ว่าเก็บเงินมาแล้วจะเอามาแจกจ่ายเป็นค่าสอน เงินสะสม เงินวิจัย หรือเงินลงทุนให้กับนักศึกษา

ส่วนตัวแล้วเห็นว่าค่าเล่าเรียน/เิงินสนับสนุนจากรัฐในการเรียนการสอนน้อยเกินไป แล้วก็ที่เก็บมาแล้วก็้ใช้กันไม่เป็น ในสาขาวิศวะต้องใช้เงินในการทำ lab ปรับปรุงสถานที่ รวมถึงฝึกงานมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันสอนเหมือนกินข้าวกับปลาทูให้ดูรูปปลาแล้วกินข้าวคลุกน้ำปลาเอา

สรุปแล้วตัวเลขเงินลงทุนยังไม่พอที่จะทำการศึกษาให้ดีได้.. ตัวเด็กก็แย่ลงทั้งด้านความรู้พื้นฐานและจิตใจ ตัวผู้บริหาร/อาจารย์ก็คิดสั้นลง สังคมมีคุณธรรมจริยธรรมลดลง..เออ..แรงไปไหมนี่ สงสัยจะไม่ได้ตอบคำถามว่าค่าเล่าเรียนแพงไปไหม..

ขอบคุณครับ อาจารย์ กมลวัลย์ ... สำหรับอาจารย์ไม่มีอะไรที่แรงไปเลยนะครับ ... อาจารย์ได้เล่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงให้ฟังครับ ... ส่วนกองทุนกู้ยืม กยศ. นั้นถือเป็นเหมือนดาบสองคมเหมือนกันครับ ข้อดีคือ ช่วยเหลือครอบครัวนักศึกษาที่ยากจน แต่ข้อเสียที่ชัดเจนคือ เงินมันได้มาง่ายเกินไป คุณค่าของเงินจึงกลายเป็นดูไม่มีคุณค่า ครับ ... ตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องนี้ คงไม่พ้นเรื่องการเมือง ครับอาจารย์ ... อดีตนายกฯ ไปตรวจเยี่ยมคนยากจน ยากไร้ ทุกคนทำหน้าเศร้า ๆ อดีตนายกฯ เลยถือเงินสดไว้ล้านนึ่ง เป็นใบละพัน ... พบใครน่าสงสาร ก็หยิบเงินให้ ... ได้มาก็หมดไป หามีการนำไปทำให้งอกเงยไม่

อาจารย์  กมลวัลย์  ครับ กยศ. ก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ ครับ เด็กหลายคนนั่งงอมืองอเท้าจากกองทุนนี้ รอเงินออกเท่านั้น ไม่ได้ทำงานพิเศษอะไร หรือสู้ชีวิตอะไร พอเงินออกช้า สิ่งที่พวกเขาทำคือ เรียกร้องสิทธิ์ที่เขาต้องได้ กลายเป็นความวุ่นวายกลาย ๆ ครับ

อาจารย์เคยมีประสบการณ์เป็นผู้บริหารมาก่อน อาจารย์คงทราบแนวคิดวิธีการบริหารได้ดีกว่าผม ผมแค่แหงนมองขึ้นไป แล้วทำตาปริบ ๆ เท่านั้นเองครับ

แต่ประสบการณ์ที่ทำงานผม เป็นเช่นนั้นจริง ๆ ครับ ที่ว่า บริหารโดยใช้เงินนักศึกษาเป็นหลัก อันแจ้งในที่ประชุมให้ทราบแต่ว่า มหาวิทยาลัยเราเป็นมหาวิทยาลัยเกิดใหม่ และ เล็ก ... งบประมาณที่ได้จากรัฐก็น้อย (ตรงกับที่อาจารย์ได้ให้ความรู้ไว้)

คณะฯ ผม 1 งบประมาณได้ไม่เกิน 9 ล้าน และลดลงทุกปี (ผมเคยอยู่คณะคุณหมอ มหาวิทยาลัยช้าง เทียบงบประมาณคณะเดียวกันไม่ได้เลย เงินหมุนเวียนต่อปี น่าจะบริหารสบาย ๆ แต่กลับบริหารแบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมากทีเดียว อันนี้น่าชมมากครับ)

อุ้ย ชักยาว ... STOP ก่อนนะครับ :)

บุญรักษาอาจารย์นะครับ

เรียนอาจารย์เสือค่ะ

·         แม้มิได้ทำงานในวงการ แต่ขออนุญาต แทะ นะคะ

·          ...  ต้องปฏิบัติตามจุดยืน แฟนพันธุ์แทะ ค่ะ J

·         เมื่อก่อนมช. ช่วงปูเรียนหน่วยกิตละ 40 บาท  ...

·         ... แล้ว ท่านอ. เรียนปีไหนค่ะ จ่าย 30 ปี ?  

·         ... สำหรับเด็กจะรักเรียนหรือไม่นั้น ปูคิดว่าไม่เกี่ยวกับ เงิน ค่ะ

·         … ….

·         การเรียน การศึกษา ... พ่อแม่ส่วนใหญ่เต็มใจลงทุนในเรื่องนี้

·         เด็กที่มีจิตสำนึก มีความคิด เขาจะขยันเรียน เพื่ออนาคต มิใช่

·         เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินค่าเทอม ... เพราะไม่ใช่การลงทุนเชิงธุรกิจ

·         ... ...  รัฐที่ดีควรส่งเสริม ให้สวัสดิการด้านนี้ให้เข้าถึงทั่วที่สุด ... ...

·         แน่นอนว่า สุดท้ายด้านตัวเลขก็ต้องขาดทุน แต่คุ้มค่าระยะยาว ค่ะ

·         ...

·         มองว่า การศึกษาเดี๋ยวนี้กลายเป็นธุรกิจไปหมดแล้ว ... ซึ่งแย่

·         จนถึงกับมีประโยค .. จ่ายค่าเทอมครบ จบแน่ .. ไม่จ่าย ได้มส.

·         ... นั่นเป็นการแก้ที่ปลายเหตุค่ะ .. เพราะบางคนจำเป็นจริงๆ ..

·         เดี๋ยวนี้จึงดูเหมือนว่า สถาบันการศึกษา แบ่งแยกระดับนศ.

·         ก็คงคล้ายๆ กับการบริการ สวัสดิการ ของรัฐ เอกชน รพ. เป็นต้น

·         ... ทำให้คิดไปว่า ทุกอย่างบนโลกนี้ก็เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ

·         ที่จะจัดวาง กลยุทธ์ด้านการตลาด วางตำแหน่งสินค้า ณ จุดใด

·         ... ....

·         ถ้างั้นมองต่อไปจนจบการศึกษา .. ผลตอบแทนจากรายได้จะคุ้มค่า

·         หรือต้องใช้ระยะเวลาในการคืนทุนกับการศึกษาเท่าใดด้วย? คะ

·         แล้วหาก ค่าเทอมที่สูงมากๆ .. เรามิต้องเดินสายเพื่อให้ได้มาซึ่ง

·         ผลตอบแทนจากการงานนั้นๆ รึคะ ... แล้วจะต่างอะไรจากนักการเมือง

·         ...

·         สำหรับส่วนตัวแล้ว คิดว่าเงินมิสมควรเป็นตัวหลักชี้ถึง ความเอาใจใส่

·         ความตั้งใจ ความจริงใจ และความมุ่งมั่น ทั้งของผู้เรียน และผู้สอน ..

·         ก็คงคล้ายกับ การงาน .. หากคุณหมอ ทนายความ เภสัช หรือคุณครู

·         ทำงานตามปริมาณเงินที่ได้รับ .. อะไรจะเกิดขึ้นค่ะ ท่านอาจารย์.. ?

·         ... ....

·         ปัญหาต่าง ๆ ทั้งนร. ครู น่าจะอยู่ที่ ทัศนคติ สามัญสำนึก ค่านิยมสังคมค่ะ

·         ความช่วยเหลือจากรัฐ ควรกระทำอย่างรอบคอบ และติดตามผลต่อเนื่อง

·         ... เสนอความคิดเห็นมาด้วยความเคารพค่ะ ...

·         เรียนตรงๆ ว่าไม่ต้องการแค่ คำชม คะแนน แต่ต้องการต่อความ กับอ.ค่ะ J

·         ... ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ ...

 

 

สวัสดีครับ คุณ poo แฟนพันธุ์แทะ :)

  • บันทึกนี้ต้องการการ "ต่อความ" อย่างยิ่ง
  • และคุณ poo ได้ทำดังนั้นแล้ว อิ อิ
  • ผมมีความจำเป็นจะต้องให้คะแนนเต็ม 10 ไว้ก่อน แล้วตามต่อทีหลัง
  • เขียนได้ดีจังเลย ถูกใจวัยโจ๋ ครับ
  • "เงิน" ภาพลักษณ์ของทุนนิยม ...
  • เมื่อทุกคนหายใจเป็น "เงิน" แล้วคนที่ไม่หายใจด้วย "เงิน" ล่ะ จะอยู่กันอย่างไร หนีเข้าป่ากันเนอะ
  • เราได้นักการเมืองที่เป็นนักธุรกิจหมื่นล้านเข้ามาบริหารประเทศ ทำให้ระบบทุกภาคส่วนซึบวิธีคิดแบบนี้ไป ทำให้สภาวะของประเทศน่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการศึกษา
  • เรากำลังล้ม เหมือน ตัวโดมิโน แล้วล่ะ คุณ poo
  • ถ้าการศึกษาล้ม ประเทศก็ล้ม

ขอบคุณมาก ๆ ประเด็นนี้ชอบ ครับ :)

สวัสดีครับอาจารย์ ปัญหานี้การขึ้นค่าเทอมนี้มีมานาน นายผีเคยแต่งกลอน คัดค้าน นโยบายขึ้นค่าบำรุงการศึกษา สมัยที่ มล.ปิ่น มาลากุล เป็น รมต.กระทรงศึกษา เดี๋ยวจะหานำมาลงไว้นะครับ

ขอบคุณมากครับ คุณ กวิน  ... อยากฟังเพลงของนายผีแล้วล่ะครับ จะได้สอดรับกับบันทึกนี้พอดีเลย

เขียนแล้วอย่าลืมทำลิงค์บันทึกนี้ให้ด้วยนะครับ โยงกันไปมา :)

 

 

 

  • เรียน ท่านอ. เสือ ค่ะ
  • ..
  • หากไม่ทราบ คิดว่าอ. จบกฎหมายนะคะเนี่ย หัวหมอน่าดูเลย เฮอๆ
  • แต่หากพูดผิด ก็พูดใหม่ได้นะคะ .. ถูกใจวัยโจ๋ นี่ รับไม่ได้อย่างยิ่งค่ะ
  • ..
  • เชิญ อ. เสือหนีเข้าป่า ไปคนเดียวนะคะ .. เพราะเสือคงไม่กลัวอ.
  • แน่นอนกระมังคะ .. ส่วนปูไม่ไปกับอ. หรอกนะ สิบอกให้ .. กลัว J
  • ..
  • เราต้องสู้ค่ะ เพราะ ธรรมะย่อมชนะอธรรม .. อ. ก็สู้มามากมายแล้ว?คะ
  • .. ก็แค่บางส่วนนะคะ ปูว่า บ้านเราฐานยังแน่นดีโดยเฉพาะทรัพยากร
  • ความหวัง กำลังใจ และ บุญญาบารมี ของพ่อหลวง .. ไม่ล้มค่ะ
  • ..
  • นิมิตหมายที่ดีตอนนี้คือผู้คนเริ่มตาสว่างแล้ว และเรากำลังจะเริ่มต้นใหม่
  • แม้ว่าจะเริ่มจาก 0 แต่ก็คุ้มนะคะ .. ถ้าปรับความคิด ทัศนคติได้ ซำบายค่ะ
  • เมื่อปชช. เข้าใจ ในหลักการ อะไรสำคัญสุด ประเทศนะ มิใช่ จังหวัด ..
  • ..
  • ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ (เงิน) ก็คงเป็นเรื่องขี้ปะติ๋ว ท้องหิวไม่ตาย? อ.
  • แต่ขอให้การศึกษา (จิตใจ) สำคัญสุด มีใจ ก็มีชีวา .. มีพลังมากมาย
  • ค่ะอ. การศึกษาเราจะไม่ล้มค่ะ .. เพราะเรามีครู อ. นักวิชาการดีๆ มากมาย
  • ..
  • ขอบพระคุณนะคะ ที่ได้ 10 .. แต่ไง ฝันปูก็ยังมาไม่ถึงครึ่งทางเลย .. J

 

เขียนเก่งจัง คุณ poo  :) ....

ขอบคุณสำหรับการแทะ เพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นะครับ

ตรงไปตรงมาใช้ได้ทีเดียว :)

.... มาเก็บตกยามสายัณห์ตะวันตกดินค่ะ อ.

 

เป็นไงค่ะ อ. ได้ภาพอะไรมาบ้างคะ ไปเดินเล่น .. J ..

... ไม่ยักกะทราบว่า อ. เขียนแบบชมนก ชมไม้เป็นโตย ...

ตกลงว่า อ. เรียนช่วงปีไหนคะ จ่าย 30 บาท ??

... อ้าว .. คุยแบบเปิดใจตั้งนาน .. คิดว่าอ. ทราบแล้วซะอีก

... ปูก็ตรงแบบนี้แหละค่า .. ตรงไปตรงมาใช้ได้ทีเดียว .. ??

แล้วอ. จะใช้ปูซื้ออะไรรึ? อย่าเข้าใจผิดนะคะ ย๊ากค่ะ J

ก่อนนี้ยังค้างเรื่อง ความฝันปูต่อนะคะ .. ไม่อยากคาใจ

.... ปูดีใจนะ ที่อ. กลับมาเขียนบันทึก จนปูได้ แทะ ต่อค่ะ ..

.... ตั้งแต่บันทึกที่ 200 .. นี่ก็ฝันมาครึ่งทางใช่ไหมคะ :.. J

ส่วนฝันอีกที่เหลือก็คือ เมื่อไหร่อ. จะไปว้ากบันทึกปูคะ?

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์

"ค่าเทอมในการเรียนระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยแพงเกินไปจริงหรือ ?"

 เป็นทั้งคำถามและปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดมาของระบบการศึกษาในสังคมไทย  รัฐต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนทางด้านการศึกษาของประเทศ

"...รอยต่อของการจัดการศึกษาฟรี 12 ปีถึงระดับอุดมศึกษาทำให้เกิดความยากจนขึ้นมาก..."

เป็นประเด็นที่น่าสนใจถึงเรื่อง  การต่อยอดทางการศึกษาหลังจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีแล้ว  ควรมีทางเลือกทางการศึกษาที่หลากหลายขึ้นหรือไม่?  รวมทั้งการเปลี่ยนค่านิยมต่อเรื่องการศึกษาที่มุ่งเข้าสู่อุดมศึกษาเป็นกระแสหลัก  อันเนื่องมาจากโอกาสในการประกอบอาชีพ/การมีงานทำ ก็มีส่วนทำให้เกิดค่านิยมที่ต้องเรียนให้ได้ปริญญา  ดังนั้นครอบครัวจึงยอมลงทุนเพื่อการศึกษาของบุตรหลานในอนาคต

  • ขอแลกเปลี่ยนแค่นี้ก่อนค่ะ  
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณ poo :)

แฟนพันธุ์แทะ หรือ ปลวกหลวง ครับเนี่ย อิ อิ

ปี 33 มั้งครับ ถ้าจำไม่ผิด อาวุโสน้อยกว่าคุณปูหรือเปล่า

ตอนเรียนอยู่ครับ ถ้ามีข่าวว่าจะขึ้นล่ะก้อ องค์กรนิสิตฯ ก็จะเริ่มเคลื่อนไหว (ประท้วงนั่นแหละครับ)

ถ้ามหาวิทยาลัยจะขึ้น ก็ต้องขึ้นกับนักศึกษาที่เพิ่งเข้ามาใหม่เท่านั้นครับ เพราะถือเป็นจุดเริ่มต้นของหลักสูตรใหม่

จะให้มาขึ้นครึ่ง ๆ กลาง ๆ ประท้วงกันอย่างเดียวครับ (สมัยโน้น)

นี่กะให้ผมเขียนสัก 400 บันทึกเลยหรือครับ ไม่ไหวมั้งเนี่ย เยอะมาก ๆ

นี่ก็สัก 220 แล้วล่ะครับ ท้อใจเป็นระยะ ๆ เบื่อ GURU

ผมไม่ค่อยไปแทะหรือครับ เลยมาชวนไปแทะเนี่ย

เอาเมื่อชาติต้องการได้หรือเปล่าครับ ตอนนี้กำลัง BUSY ครับ

ขอบคุณที่ชอบมาแทะ และ ชวนคุยนะครับ

นอกจากคุณเบิร์ดแล้ว เจออีกคนแล้วครับเนี่ย 555

 

สวัสดีครับ อาจารย์ ศิริพร :)

ที่ ม.หัวเฉียวฯ เป็นอย่างไรบ้างครับ

สงสัยเรื่องนี้เป็นปัญหาระดับชาตินะครับ

ปัญหาที่รัฐไม่เคยสนใจ ปล่อยไปตามขึ้นลงของหุ้นล่ะมั้งครับ

แวะมาใหม่นะครับอาจารย์ :)

อรุณสวัสดิ์ค่ะ อ.ปู่เสือ

 

...  ใสเจียค่ะ ...  ถ้าตอบนี้ ถ้าจำไม่ผิด L

 ใช่ค่ะ จำได้ว่า เคยมีจะขึนครั้งสองครั้ง แต่

ก็จะมีหนุ่มๆ รัฐสาด นำทีมประท้วงเลย .. สะใจ

... 400 ยังน้อยไปค่ะ .. สำหรับบันทึกคนตรงชิน อย่างท่าน

... คนเขียนบันทึกดีๆ ได้สาระ .. จะท้อก็แย่สิคะ

... วันนี้แทะนิด ค่ะ .. ปลวกหลวง เป็นไงรึคะ งอลลล

... งั้น ตามสบายค่ะ คงไม่มีวันที่ชาติจะต้องการ ฮึ

... แค่มาเชิญชวนค่ะ  .. ไม่ชอบบังคับจิตใจใคร บาป

... มีความสุขกับลูกศิษย์ที่น่าร้ากก และงาน งาน งาน นะคะ J

ขอบคุณครับ คุณ poo  ที่กลัวบาป กลัวกรรม อิ อิ :)

สวัสดีครับ

ปริญญาตรีอัตราเท่าไหร่ไม่ทราบ แต่เห็นอัตราของระดับปริญญาโทหลายที่แล้ว ค่อนข้างสูง จนถึงสูงมาก นักศึกษาที่หนึ่งบอกว่า ยังไงก็ถูกกว่าไปเมืองนอก (สงสัยจะพูดปลอบใจตัวเอง)

สวัสดีครับ คุณ ธ.วั ช ชั ย

  • อัตราปริญญาตรี ผมยกตัวอย่างให้อยู่ในบันทึกครับ
  • ส่วน ป.โท หลายหมื่นครับ จำตัวเลขไม่แม่น
  • ถ้า ป.เอก ก็ เหมาจ่ายทั้งหลักสูตร 300,000 บาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ครับ (ที่เคยมอง ๆ อยู่ แต่ไม่ได้ไปเรียนครับ)

ขอบคุณครับ :)

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์

ที่อาจารย์ถามเรื่องที่ทำงาน  ไว้คราวหน้าจะเขียน บันทึกเรื่องที่ทำงาน มาแลกเปลี่ยนด้วยค่ะ

เรื่องปัญหาการศึกษา  เห็นด้วยกับที่อาจารย์ให้ความเห็นไว้ค่ะ

  • ขอบคุณค่ะ

ยินดี และ ขอบคุณครับ อาจารย์ ศิริพร  :)

สวัสดี ยามเย็น อาจารย์

เรื่องค่าเทอมนั้นทำให้คนจบปริญญาตรี อย่างผมๆๆ ที่เป็นชายขอบอยู่เลยคิดว่า เราจะเรียนต่อเพื่อหาความรู้กับค่าเล่าความเรื่องเรียนที่แพงมากขึ้น

ถามใจตนแล้ว อยากเรียน เพื่อประสิทธิประสาทความรู้ แต่ดูค่าเทอมคงต้องอืมๆๆ หลายรอบเลย

ผมจำได้ ตอนสมัยเรียนที่ มหาวิทยาลัย.ชายขอบ ของปักต์ใต้ ค่าเทอม ไม่เกิน 7000 บาท เมื่อ 2 ปีที่แล้ว มหาวิทยาลัยก็ขึ้น ตามภาวะทางเศรษกิจ ค่าครองชีพ ค่าแรง ค่าตามความรุนแรงของสถานการณ์ปักต์ใต้ เพิ่มเป็น เท่าตัวเลย

ผมเคยไม่เห้นด้วย และเรียกร้องผู้ใหญ่ในมหาวิทยาลัย ตอนนั้นก็จะจบแล้ว ทั้งที่ไม่มีผลใดๆ กับตัวเองเลย แต่ด้วยความสงสาร เรารู้สภาพเรามาจากคนยากไร้ กู้เงินเรียน เพื่อเรียนจบ จริงๆๆ แต่ก็อดไม่ได้ที่จะมองข้ามและเห็นว่ามันไม่สำคัยอะไร กับตัวเอง ยอมลุกขึ้นภามผุ้บริหาร พร้อมป้ายแปะ ตามที่ต่างๆ ในรั่ว สถานที่ศึกษา ด้วยความรัก และเคารพสถาบัน ไม่อยากเห็นอะไร เปลี่ยนแปลงไป เพียงข้ามคืน น่าจะมีกระบวนการค่อยๆเปลี่ยน หรือกลืนทางการศึกษา ก็ว่าได้

ค่อยๆๆ เปลี่ยนเปลี่ยนจะดูไม่หนัก จนเกินไป

สุดท้ายมหาวิทยาลัย ก็ใจดี ยินดี รับข้อเสนอ

แต่ แค่ 2 ปี ก็ยังดี

แต่การเปลี่ยนแปลงต้องมีเหตุผล นักศึกษาจะได้อะไร จากมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่เพิ่มค่าเทอม เพื่อการศึกษา

แต่มหาวิทยาลัยเอกชน ผมว่าการขึ้นค่าเทอมนั้น ก็คงอยุ่กับความอยุ่รอดของมหาวิทยาลัย ด้วย เพราะเขาต้องติดสินใจเอง บริหาร เอง จัดการเอง ทุกอย่างไม่มีผู้ใหญ่ใจดี ที่จะมาค่อยให้ สนับสนุน

ผมว่า มหาวิทยาลัยคงมีเหตุผลที่ดี เพียงพอกับการขึ้น และเปลี่ยนแปลง ต้องมองคนที่ไม่มี....จริงๆๆ

เพราะว่าคนที่กู้เงิน มี 2 แบบ

1. ยากจน ไม่มีเงิน

2. อยากจน กู้เงินมาพลางเพื่อตัวเอง

แต่ทั้งสอง 2 ก็ไม่ดีเท่ามหาวิทยาลัยนักศึกษา สามารถเรียนด้วยเงิน ที่เท่าเขาสามารถสงตัวเองเรียนได้

อย่าง น้อยๆๆ อนาคต ของชาติ จะได้มาพัฒนาชาติมากกว่าที่จะต้องเสียเวลา คึ่งอายุของชีวิต มาตอบแทน เงินที่เขาหยิบยืมไป

ด้วยความคาระต่อระบบการศึกษาที่ทำให้คนมีความรู้

และสถานศึกษา ปักต์ใต้ท ช่วยให้ความรู้ และเคารพต่อสถาบันที่รัก เสมอมา ไม่ได้เขียนเพื่ออื่นใด นอกเหนือจากความรักที่มี และรักสถาบันการศึกษา ของตัวเอง ที่สอนให้มีปัญยาในระดับหนึ่ง ณ ปัจจุบัน

ด้วยความคาระ

คนตานี ปักต์ใต้

ขอบพระคุณมากเลยครับ คุณ พี่หนุ่มคนตานี :)

หากผู้เรียนได้เล่าเรียนให้คุ้มกับเงินที่ได้มา คงจะดีไม่น้อยครับ เราคงมีอนาคตของชาติเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ครับ

รัฐ ช่วยเปิดกองทุน กยศ. และ กรอ. ... แต่อันระบบยังไม่ลงตัว และมีปัญหาค่อนข้างมากครับ ทั้งผู้จ่าย และ ผู้รับ

ผมกำลังเฝ้ารอว่า รัฐจะทบทวนเมื่อไหร่ หรือ ต้องรอให้คนเข้ามาประท้วงกระตุ้นเตือนก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ :)

เดี๋ยวนี้ประเทศในยุโรปที่เคยเรียนแบบประชาบาลบ้านเราจนจบมหาวิทยาลัยนอกจากเรียนฟรีเสียค่าบำรุงนิดหน่อยพ่อแม่ยากจนมีเงินค่าใช้จ่ายให้ด้วยก็เปลี่ยนมาเป็นระบบเก็บเงินแบบบ้านเราถึงแม้จะไม่เก็บแพงชนิดหูดับตับไหม้ก็ตามก็มีการเดินขบวนต่อต้านกันไปตามระเบียบ.....ยายโชคดีที่เกิดหลังสงคราม...สงสารคนรุ่นหลังที่อยู่ในสงครามเงินๆทองๆจ้ะ

ขอบคุณ คุณยายธี มาก ๆ ครับ สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ :)

ผมขอบอกถึงความลำบากของผมด้วยครับ คือ ของผมก็น่าสงสาร ผมเรียนราชภัฏชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ค่าเทอมรุ่นพี่ตอนปี 48 ประมาณ 4000- 5000 บาท/เทอม แต่ ปี 49 เป็นต้นมาค่าเทอม ขึ้นเป็น 16000 - 18000/เทอม (นี่คือ ค่าเทอมภาคปกตินะครับ)

ขอบคุณมากครับ น้อง นักศึกษาราชภัฏ .. ที่ได้แจ้งข้อมูลได้ทราบครับ ... ขึ้นมาเกือบ 2 เท่าตัว ... มหาวิทยาลัยของน้องคงคิดว่า นักศึกษามีสตางค์เหมือนกับผู้บริหารล่ะมั้งครับ ... เห็นใจมาก ๆ ครับ ... ขอให้กำลังใจ สู้ต่อไปนะครับ เรียนให้จบครับ คุณพ่อคุณแม่จะได้ดีใจ ภูมิใจในตัวของน้องเอง สู้ สู้ ครับ :)

 

หลังการออกข่าวของอาจารย์สมพงษ์ วันต่อมามีผู้บริหารหน่วยงานระดับสูงของ สกอ. ก็มาออกข่าวโต้ตอบว่า จริง ๆ แล้วไม่แพงอย่างที่คิด อย่างแพทยศาสตร์ ก็ไม่เกิน 300,000 บาทตลอดหลักสูตร ..

คงจะได้แค่แพทย์นวดแผนโบราณวัดโพธิ์มั้ง

"แพทย์นวดแผนโบราณ" ;) ... 300,000.- เฉพาะค่าลงทะเบียน

อื่น ๆ อีกรอบตัวไม่ได้คิดไว้

ขอบคุณครับ คุณ noom ;)

ข้ออ้างคือ "มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ต้องเลี้ยงตัวเองได้" เลยคิดตังก์หมดทุกอย่างแหละครับ

ทำไงก็ได้ให้ลูกค้า เข้ามาเยอะๆ จริงครับ เพื่อให้ลูกค้าเข้าเยอะ ก็ต้องให้จบกันง่ายๆ ครับ นี่แหละสิ่งที่จะตามมา แล้วอะไรจะเกิดใน สังคมไทยยุคต่อไปละครับท่าน

การแข่งขัน ธุรกิจการศึกษา กำลังเข้ามาเต็มรูปแบบแหละครับท่าน เน้นปริมาณ ไม่เน้นคุณภาพ

ดังนั้นรูปแบบต่อไปในการรับเข้าทำงานคือ ทดสอบเชิงปฏิบัติการ ว่าทำได้จริงเปล่า ที่เรียนมาหนะ ^^

เป็นข้ออ้างจริง ๆ ครับ ท่านอาจารย์ตี๋ ครูgisชนบท ;)...

เป็นข้ออ้างของผู้บริหารที่ไม่มีศักยภาพในการคิดหารายได้ส่วนอื่น

นอกเหนือไปจากค่าเทอมของเด็ก ทำให้ปริมาณจึงเกิดล้นมากกว่าคุณภาพ

ตอนเรียนยังทำอะไรไม่เป็น แล้วทำงานก็คงต้องใช้วิธีการ "บน" น่าจะดีนะครับ

ขอบคุณครับ ;)

  • ขอผู้ใจบุญช่วยอุปการะค่าเล่าเรียนให้น้องสาวด้วยน้องจะจบ ม.6 ในเทอมนี้อยากเรียนทันตแพทย์ที่ ม.อีสเทอนแต่ทางครอบครัวไม่มีเงินจ่ายค่าเทอมให้น้องเนื่องจากคุณแม่ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกผ่าตัดหมดเงินไปกับการรักษาและยังนอนที่ รพ.ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตอนนี้ครอบครัวลำบากมากแต่ก็สงสารน้องอยากให้เขามีอนาคตที่ดี ท่านใดที่สามารถช่วยได้ขอความเมตตาน้องสาวหนูด้วยค่ะ ทางครอบครัวจะทยอยจ่ายคืนให้นะคะขอให้น้องได้เรียน ขอบพระคุณจริงๆค่ะ ประภาพร 0855164492

ขอผู้ใจบุญช่วยอุปการะค่าเล่าเรียนให้น้องสาวด้วยน้องจะจบ ม.6 ในเทอมนี้อยากเรียนทันตแพทย์ที่ ม.อีสเทอนแต่ทางครอบครัวไม่มีเงินจ่ายค่าเทอมให้น้องเนื่องจากคุณแม่ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกผ่าตัดหมดเงินไปกับการรักษาและยังนอนที่ รพ.ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตอนนี้ครอบครัวลำบากมากแต่ก็สงสารน้องอยากให้เขามีอนาคตที่ดี ท่านใดที่สามารถช่วยได้ขอความเมตตาน้องสาวหนูด้วยค่ะ ทางครอบครัวจะทยอยจ่ายคืนให้นะคะขอให้น้องได้เรียน ขอบพระคุณจริงๆค่ะ ประภาพร 0855164492


ผมจะประชาสัมพันธ์ต่อให้นะครับ ...

นี่มันเป็นการแบ่งชั้นวรรณะชัดๆ..

น่าสงสารคนเรียนดีแต่ไม่มีตังแท้..

แทนที่จะได้ที่เรียนดีๆเหมือนที่หวังแต่ต้องพังลงเพราะธุรกิจการศึกษา..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท