GotoKnow

AAR : KM แบบ The Toyota Way

บอย สหเวช
เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2549 21:42 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 14:32 น. ()
เน้นการตรวจสอบให้มากขึ้นในการทำประกันคุณภาพและการควบคุมภายใน จะนำไปใช้ ในการประชุมของสำนักงานเลขานุการทุกครั้ง เพื่อให้เป็นวัฒนธรรมแบบเล็ก ๆ และต่อ เนื่องในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

   การไปศึกษาดูงานด้าน KM ของภาคเอกชน ในครั้งนี้เป็นครั้งแรกของผม และคุณเมตตา (ผู้ประสานงานหลัก ม.สงขลานครินทร์) ได้จัดเตรียมเอกสารประกอบการดูงานของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รวมถึงข้อปฏิบัติสำหรับผู้มาเยี่ยมชมโรงงาน ไว้ให้อย่างเรียบร้อย เป็นอันว่าได้ทำการบ้านก่อนไปดูงานครั้งนี้ ความจริงตอนแรกผมอยากทำสมองให้ว่าง ๆ ไว้ก่อน แต่อดอ่านไม่ได้ เพราะอาจารย์หมอวิจารณ์เขียนลงไว้ใน Blog อย่างน่าสนใจ

    ก่อนไปท่านอาจารย์วิบูลย์ได้เชิญทีม NUKM ประชุมก่อนที่จะไปดูงาน และอาจารย์คาดหวังไว้พอสมควร กับการที่จะนำวิถีโตโยต้า Toyota way มาประยุกต์ใช้ในมหาวิทยาลัยนเรศวร ท่านอาจารย์มาลินี เป็นหัวหน้าทีมในการไปครั้งนี้ ได้ซักซ้อมให้ทุกคนบันทึกข้อมูลที่ได้จากการไปดูงานในครั้งนี้ เพราะอาจารย์บอกว่า แต่ละคนจะได้อะไรไม่เหมือนกัน ในวันที่ 15 มีนาคม 49 จะได้มีประชุมกันหลังจากกลับมา 

     ผมได้อ่าน KM แบบ The Toyota Way ช่วงตอนกลางคืนก่อนเข้านอน อ่านแล้วยังเห็นภาพ KM แบบไม่ชัด ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า นี่คือ KM ฉบับโรงงาน ซึ่ง Key word สำคัญของ Toyota Way มี 2 คำหลัก และ 5 หลักการ คือ  DNA Toyota ขออนุญาตอ้างอิงจาก Blog ของอ.สมลักษณ์ (Beeman) link

     ทีม NUKM ไปช้ากว่าเวลาเล็กน้อย แต่เป็น error ที่สามารถยอมรับได้ (พูดแบบเข้าข้างตัวเอง) คุณสุทิน เห็นประเสริฐ เป็นผู้บรรยายบอกว่า ผมไม่รู้เรื่องของ KM แต่มีการบรรยายช่วงหนึ่งที่ได้บรรยายให้เห็นภาพของไหลเวียนของความรู้และยกระดับความรู้ คือ Kaizen ที่ถูกฝังลึกในพนักงานทุกคน พนักงานทุกคนทำงานเหมือนเจ้าของบริษัท "เป็นค่านิยมที่รับการปลูกฝังที่ดีมาก" Key word ของ Kaizen คือ การกำหนดมาตรฐาน (Standardization) เมื่อทำได้ตามมาตรฐานแล้ว จะมีการถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นไปใช้ต่อ (Yokoten - ภาษาญี่ปุ่น) มาตรฐานจะมีการยกระดับไม่นิ่งอยู่กับที่ ทำให้เกิดการพัฒนาความคิดและความรู้จากปฏิบัติงานใหม่ ๆ ตลอด  Kaizen เกิดจากพนักงานระดับล่างไปสู่ระดับบน เปิดโอกาสให้เท่าเทียมกัน หัวหน้างานไม่มีการตำหนิ เมื่อตัดสินแล้วเดินหน้าทันที แต่ก่อนตัดสินใจข้อมูลจะแน่นมาก   ต้องทำไมถึง 5 ครั้ง เพื่อความมั่นใจสำหรับการตัดสินใจบนข้อมูลที่ถูกต้อง บริหารด้วยปัญหา ปัญหาคือเรื่องปกติ ปัญหาต้องถูกแก้ไข  ช่องว่างของเป้าหมาย (Gap) คือ ปัญหา เมื่อมีปัญหา แล้วคุยกัน แก้ตรงนั้น ปัญหาไม่เกิดซ้ำ  ผมนึกถึงเรื่องการควบคุมภายในของส่วนราชการที่ถ้าหน่วยงานทำเรื่องการควบคุมภายในให้เข้มแข็ง จะช่วยอุดรูรั่ว หรือ สิ่งที่ไม่จำเป็นได้มาก (lean)แล้วจะทำให้การทำงานพัฒนาไปได้เร็ว ความจริงผมยังมองว่า A 4 ที่เป็นแบบฟอร์มของการควบคุมภายในยังสามารถประยุกต์ไช้ได้ เพียงแต่เมื่อทำแล้วต้องมีความต่อเนื่อง Check บ่อย ๆ ว่าปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว แก้ได้ตรงรากเหง้าของปัญหาหรือเปล่า มีผู้รับผิดชอบ และกำหนดเวลาแล้วเสร็จที่ชัดเจน

AAR : KM แบบ The Toyota Way

   สิ่งที่คาดหวังจากการไปดูงานในครั้งนี้
     - ผมอยากทราบถึงวิถีของโตโยต้า แบบที่ไม่เรียกว่า KM ว่าทำอย่างไร มีวิธีการอย่างไร ที่ทำให้ความรู้ภายในองค์กรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกระดับความรู้จากงานประจำวันได้
     - ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณกิจตัวจริง ในการปฏิบัติงาน

    สิ่งที่ได้ตามความคาดหวังในการไปดูงานในครั้งนี้
      - เห็นภาพรวมของ KM  แบบ The Toyota Way
      - ได้ความรู้ในส่วนที่เป็นภาคทฤษฎี และ  ภาคปฏิบัติ ถึงแม้จะไม่ลงรายละเอียดแบบลึก ๆ ก็
        ตาม ซึ่งได้ประโยชน์อย่างมาก  
      - ได้เยี่ยมชมการผลิตรถโตโยต้า ที่น่าทึ่งคือ 1 นาที ต่อ 1 คัน
      - เห็นวิถีชีวิตของคนทำงานโตโยต้า  

    สิ่งที่ได้น้อยไปจากการไปดูงานในครั้งนี้
    -  ไม่มีโอกาสได้สอบถามรายละเอียดรอบ ๆ ในส่วนของการดูงานในสายการผลิต ซึ่งน่าสนใจ
       มาก

     สิ่งที่จะกลับไปทำหลังจากการดูงานในครั้งนี้
     - นำวิธีการบริหารปัญหาของ Tayota way มาประยุกต์ใช้กับการควบคุมภายในของ
       สำนักงานเลขานุการ
     - การกลั่นกรองข้อมูลให้มากขึ้นก่อนเสนอให้ผู้บริหารตัดสินใจ
     - เน้นการตรวจสอบให้มากขึ้นในการทำประกันคุณภาพและการควบคุมภายใน จะนำไปใช้
       ในการประชุมของสำนักงานเลขานุการทุกครั้ง เพื่อให้เป็นวัฒนธรรมแบบเล็ก ๆ และต่อ
       เนื่องในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

     สิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะได้ในการดูงานครั้งนี้
     - ได้รับเสื้อสามารถจากคุณธวัช พร้อมกับ อ. สมลักษณ์ (Beeman) แบบไม่ทันตั้งตัว
     - ได้รับฟังธรรมะภาคปฏิบัติจากรศ.มาลินี ธนารุณ ระหว่างเดินทางกลับในรถตู้ เป็นประโยชน์
       ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก
    -  ได้รับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เป็นประโยชน์ จากอ.สมลักษณ์  Beeman และ อ.รุจโรจน์ ระหว่าง
        เดินทางในรถตู้
    -  ได้ถ่ายรูปกับอาจารย์ JJ
    -  มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในจากม.มหาสารคาม ฝากความคิดถึงคุณหนุ่ย (หัวหน้าหน่วย
       สอบภายในของม.นเรศวร)

     ขอบคุณอาจารยวิบูลย์ สคส. บริษัทโตโยต้าฯ  และหลายท่าน ๆ ที่ทำให้ได้ผมได้รับความรู้
     ที่เป็นประโยชน์ รวมถึงคนขับรถที่ทำให้ผมกลับถึงบ้านโดยปลอดภัยและนอนหลับฝันดีครับ

บอย

ชุมชนสำนักงานเลขานุการ

 

    

   

 

 

คำสำคัญ (Tags): #nukm #ukm #aar 


ความเห็น

วิบูลย์ วัฒนาธร
เขียนเมื่อ

ขอบคุณครับคุณบอยที่ทำหน้าที่ตัวแทน มน. ที่ดี และขอบคุณอีกครั้งสำหรับ AAR นี้ด้วยครับ

มาลินี ธนารุณ
เขียนเมื่อ

จริงด้วยค่ะ คุณบอยได้ช่วยเตือนความจำ ในสิ่งที่ดิฉันลืมอีกแล้ว คือการขอบคุณ

สิ่งดีๆ ทั้งหลายที่ได้รับในวันดูงานบริษัทโตโยต้า ดิฉันขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอวิจารณ์  ท่านอาจารย์พิชิต หัวหน้าทีมมหาวิทยาลัยเครือข่าย UKM และท่านอาจารย์วิบูลย์  ที่มอบโอกาสอันมีค่านี้แก่ดิฉัน

ขอขอบคุณ คุณเมตตา เลขานุการผู้ประสานงานเครือข่าย คุณเจนจิต ผอ.หน่วยประกันฯ มน. ผู้เอื้ออำนวยความสะดวกแทบทุกอย่างทั้ง ก่อน ระหว่างและหลังการเดินทาง

ขอขอบคุณ อ.เทียมจันทร์  อ.สมลักษณ์  อ.เอกรินทร์  อ.รุจโรจน์  คุณมาดา และคุณอนุวัทย์ เพื่อนร่วมเดินทางอันแสนดี กัลยาณมิตรที่ผูกพันด้วยใจที่เอื้ออาทรกันอย่างแท้จริง

รวมถึงคุณวิทยา พขร.ของพวกเรา ที่ขับรถได้นิ่มมากและนำเราไปและกลับโดยสวัสดิภาพ 


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย