ภูมิปัญญาในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว


การกำจัดศัตรูข้าว

สวัสดีคะ   ต้อนรับฝนต้นปี ที่ตกมามากเหลือเกิน  หลายพื้นที่น้ำเต็มนา  บางแห่งท่วมซะแล้ว(โดยเฉพาะในเขตเทศบาล)  เรื่อง Hot ที่เข้ามาติดต่อกับสำนักงานเกษตรจังหวัดสัปดาห์นี้คือ จะหาซื้อพันธุ์ข้าวหอมมะลิได้ที่ไหน...  ประกาศ.. พันธุ์ข้าวที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจัดหน่ายนั้นหมดเกลี้ยงแล้วนะคะ..  คนที่มีที่มีทาง(โดยเฉพาะข้าราชการ)  ที่ผ่านมาปล่อยให้ที่ที่ตัวเองมีทิ้งร้างไม่เคยสนใจ..เดี่ยวนี้ตื่นกระแสราคาข้าวหอมมะลิที่รมต.พาณิชย์ คาดหมายว่าน่าจะไม่ต่ำกว่าตันละ 20,000 บาท   เป็นเหตุให้ทุกคนอยากทำนา.. ปลูกข้าว ..ผลผลิตเอาไว้กิน  เหลือขาย  นำสตางค์เพิ่มพูนเข้ามาในครอบครัวบ้าง.. 

      เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่นจัดสัมมนาสกัดองค์ความรู้ภูมิปัญญาของครูติดแผ่นดินในการผลิตพืชยุทธศาสตร์จังหวัดได้แก่ ข้าว  อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลัง    ในวันนั้นได้รับทราบภูมิปัญญาหลายๆอย่าง ที่น่าสนใจ ดิฉันจะทยอยนำมาเล่าให้ฟังนะคะ   วันนี้จะเล่าเรื่องการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวก่อน เพราะถึงฤดูทำนาแล้ว..

     ในจังหวัดขอนแก่นศัตรูข้าวที่เป็นปัญหา ในช่วงต้นข้าวเจริญเติบโตคือ ปูนา   หอยเชอรี่ 

     ครูติดแผ่นดิน   บอกเล่า

     วิธีกำจัดหอยเชอรี  คือ ในที่นาใดที่พบหอยจำนวนมาก  ให้นำมุ้งเขียวรองพื้นนา  แล้วนำผักขม  หรือใบมะละกอ  หรือต้นกล้วย  หรือเปลือกทุเรียน  มากองทิ้งไว้บนมุ้งเขียวในช่วงเวลาเย็น  พอรุ่งเช้าจะพบว่าหอยจะมารวมตัวกันกิน ใบพืชเหล่านี้  ก็ดึงมุ้งเขียวขึ้นมารวบรวมหอยแล้วนำมาทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ  หรือแกะหัวเพื่อจำหน่ายเป็นอาหาร

      วิธีกำจัดปูนา มีดังนี้

       วิธีที่ 1  ใช้หัวกลอย  หัวมันสำปะหลัง  ใบยูคา  ใบสาบเสือ  มาสับให้เข้ากันแล้วหว่าน  ปูจะไม่ตาย  แต่ตัวจะนิ่มและไต่ขึ้นมาบนคันนาให้หยิบนำไปทิ้งหรือทำน้ำหมัก (สามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการใช้สาร พด7ของกรมพัฒนาที่ดินร่วมด้วย)

       วิธีที่ 2    ใช้หัวของต้นปรง  นำหัวสดมาสับแล้วหว่านลงในนา  ประมาณ 10 หัวต่อไร่  ปูกินแล้วตาย 

               ภูมิปัญญาการใช้หัวปรงนี้  ที่ประชุมซักถามกันมาก  หลายคนถามว่าต้นปรงมีลักษณะอย่างไร   ดิฉันเลยสืบค้นภาพ นำมาเผยแพร่คะ  โดยนำมาจากเว็บไซด์ www.petgang.com

 

 

 

        และในเว็บไซค์ดังกล่าว ได้เล่าถึงสารพิษ ที่มีในต้นปรง  ด้วยนะคะ.. สาระมีดังนี้

       สารพิษในต้นปรง  มีอยู่ที่ใบและผล คือสารพิษที่เป็นสารไกลโคไซน์  ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อตับและเป็นสารก่อมะเร็ง  สารที่ว่าคือ อะโซซี่ไกลโคโซล ได้แก่ไซเคซิและนีโอไซเคซิน

     .. แสดงว่าที่เกษตรกร นำหัวปรงมาสับ หว่านในนาแล้วปูตาย คงเพราะสารพิษตัวนี้แหละ  .. แล้วเกิดคำถามในใจว่า สารพิษตัวนี้อยู่ในนานานแค่ไหน   ต้นข้าวจะดูดเข้าไป และติดมากับผลผลิตข้าวหรือปล่าว   มนุษย์นำมาหุงบริโภค จะปล่อยภัยหรือไม่   ใครรู้ช่วยบอกที..

หมายเลขบันทึก: 185095เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2008 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

บอกแล้วไงไม่ต้องอาศัยสารเคมีฝรั่ง เราเองมีสมุนไพรในบ้านเยอะแยะ ช่วยกันแนะนำให้เกษตรกรให้มากๆ พี่หญิงอ้อสุดยอดมาก คนอื่นจะได้รู้ด้วย

  • โห..หัวปรงต้นเท่าไหร่กันเชียว แค่ 10 หัวต่อไร่เองเนาะ

ดีครับ แต่ทำอย่างดีที่ข้อมูลเหล่านี้จะไปถึง ชาวนา ที่ใช้สารเคมีกำจัดหอยอยู่  

หน้าจะมีการวิจัยเรื่องสารตกค้างเพื่อให้เกิดความชัดเจนนะ

้ดเ่้ดเีน้ืกสหระ่ตก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท