ยี่สิบสามปีกับการอยู่กับสังคมชนบท


สังคมมองเห็นแก่นแท้ของชนบทหรือยัง

บันทึกนี้ผู้เขียนขอเล่าในประสบการณ์จริงในชนบท ซึ่งเขียนจากประสบการณ์และสิ่งที่ได้พบเห็น

"ความจริงก็คือความจริง"

ก่อนที่ผู้เขียนเข้ามาสัมผัสกับ "ช้างเผือกมีอยู่ในป่า" ความหมายนี้ที่ผู้เขียนกำหนดไว้ในตัวเอง

 หมายถึง สิ่งที่บริสุทธิ์ ความยุติธรรม สิ่งที่สวยงาม และสิ่งที่ดีดีอีกหลายอย่าง...เมื่ออดีต

ประมาณ ปี 2528 ที่ผู้เขียนได้สัมผัสมา....เป็นอย่างนั้นจริงๆครับ (ในความคิดส่วนตัว)

สังคมไทยเรามีอยู่ 2 ประเภท คือ สังคมเมือง  ชนบท...สังคมเมืองยังแบ่งไปอีกว่า...สังคมชั้นสูง

(ไฮโซ)  สังคมชั้นกลาง และสังคมชนบท...จากความคิดของผู้เขียนขณะนั้น (เพราะจบช่างยนต์

ไม่ได้จบรัฐศาสตร์) ในที่นี้จะไม่พูดถึงสังคมเมือง...เพราะสัมผัสมาตั้งแต่เกิด พบแต่สิ่งที่ไม่มีความ

จริงใจ หรือมีก็เพียงแค่ผิวเผิน มีแต่การแข่งขัน หลอกลวงซึ่งกันและกันเพื่อผลประโยชน์....แต่ในบันทึกนี้จะพูดถึงสังคม

ชนบท ซึ่งเป็น รากหญ้า รากแก้ว หรือรากต่างๆที่แต่ละยุคแต่ละสมัยจะเรียกหรือให้ความจริงใจ

(หรือหลอกหลวง)

จากประสบการณ์การทำงานที่ได้สัมผัสมาถึงทุกวันนี้....

            ปี 2528 ได้เข้าไปสัมผัสและทำงานร่วมกับพี่น้องชาวชนบทในเขตตำบล 

แม่สลองใน    อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายได้แค่สามเดือน...เป็นสามเดือนที่น่าประทับใจ 

จนเกิดแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง(ทั้งๆที่เกลียดระบบข้าราชการที่เป็นเจ้าขุนมูลนาย) 

ว่า "งานพัฒนาชุมชน จะเป็นงานแรก และงานสุดท้าย"ชาวบ้านทั้งตำบลใช้หลักการอยู่ร่วมกัน 

เห็นใจกัน สามัคคี โดยยึดหลัก "บวร"หรือคนทำงานชุมชนในสมัยนั้นจะบอกว่า  

"บ้าน วัด โรงเรียน" แนะพอเราได้ยินเอะ แล้วพัฒนากร เกษตร สาธารณสุข ฯลฯ  

ไปอยู่ตรงไหน เขาตอบว่าอยู่รวมในโรงเรียนไง เพราะเป็นข้าราชการพื้นที่... 

สังคมในชุมชนอยู่กันอย่างเป็นสุขร่วมกันทั้งชาวบ้าน วัด ซึ่งมีเจ้าอาวาส 

และข้าราชการซึ่งเรายกให้ท่านครูใหญ่เป็นผู้นำทีมเพราะใกล้ชิดชาวบ้านมากที่สุด...

ความสามัคคีเกิดขึ้นทุกกลุ่มไม่พบความ แตกแยก เพราะเราทุกคนใช้หลัก รวมกันคิด

 ร่วมกันทำ ร่วมกันแก้ปัญหา ร่วมกันติดตามผลการทำงาน...และอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าหญิง 

 หรือชาย เราอยู่ พักกิน นอน ในหมู่บ้าน  อยู่กันแบบพี่น้อง ให้ความจริงใจต่อกัน.... 

 ปัญหาต่างๆจึงไม่เกิด เหมือนทุกวันนี้..เราไม่มีคำว่า "สมภารกินไก่วัด" เราไม่มีคำว่า 

 "คนจน คนรวย" เราไม่มีคำว่า "รองบประมาณ" เราใช้พลังที่เรามีอยู่ร่วมกันสร้างถนน 

 ถึงแม้เป็นถนนดินโดยไม่ใช้เครื่องจักร(เพราะไม่มี) เราใช้จอบใช้เครื่องมือที่มีในชุมชน

 ร่วมกันทั้งชาวบ้าน ครู เกษตร พัฒนา สาธารณสุข และพระคุณเจ้า 

 ทำงานทุกสิ่งทุกอย่างจนสำเร็จ(เหมือนกับบันทึกสร้างรั้วโรงเรียนเสร็จในวันเดียว 

ของครูจุฑารัตน์นั้นแหละ ผู้เขียนชื่นชมมาตลอดเพราะเป็นพลังที่บริสุทธิ์ "บวร"

ยังคงมีอยู่และมีอยู่อีกมาก   เพราะว่าชนบทเกิดจากพลังของชุมชนจริงๆ)....

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของงานที่เกิดจากแรงพลัง  ความศรัทธาซึ่งกันและกัน 

และยังมีอีกมากมาย แม้กระทั้งการเมืองในชนบทขณะนั้น  ใช้หลักประชาธิปไตย... 

ไม่ใช้เงินเป็นตัวตัดสิน  ไม่มีแต่แยกทางความคิด

           และเมื่อผู้เขียนจากเชียงรายมา...มาสัมผัสชีวิตทางชนบทภาคเหนือตองล่าง

 อำเภอศรีสำโรง    จังหวัดสุโขทัย...วิถีชีวิตของชาวชนบทยังไม่เคยเปลี่ยนแปลง  

 ยังคงยึดหลัก  "บวร" คนในชนบท  ยังมีความรัก ความสามัคคีกันเหนียวแน่น

       พอถึงปัจจุบัน..ชนบทเริ่มเปลี่ยนไปทั้งทางที่ดี และไม่ดี ..วัฒนธรรมประเพณี

ยังคงมีให้เห็นอยู่..  

      ความเจริญเริ่มเข้ามา.. แต่ "บวร" เริ่มจางหาย...เพราะเกิดการแข่งขัน

ทั้งทางการเมือง  ระบบราชการ   ชุมชน  รวมไปถึงวัดวาอาราม(เรื่องตำแหน่ง)..

      เริ่มมีคำว่า   "สมภารต้องดูแลไก่วัด"    "อำนาจต้องมาก่อนคุณธรรม" 

"เงินมาก่อนความถูกต้องไว้ทีหลัง"  ผู้เขียนเลยไม่รู้ว่า "คนในชนบทและคน

ทำงานกับชนบทเปลี่ยนแปลงเอง" หรือ "คนภายนอกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง"

      ผู้เขียนเคยเจอรุ่นพี่สอนการเป็นข้าราชการไว้ว่า " 1.นายทำอะไรไม่ผิด " 

ถ้า "นายทำผิดกลับไปดูข้อ 1"

      แต่ผู้เขียนถามว่า " ถ้านายสั่งให้พี่ไปกระโดดเหวตาย พี่ทำไหม " พี่ชายตอบว่า

"ไม่ไป"

      ผู้เขียนเลยบอกว่า"นั้นแหละ ถ้านายทำอะไรถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติ (นายที่ดี)คือไม่ผิด" 

แต่ถ้านายสั่งการเราให้ทำในสิ่งที่ผิด นายต้องผิดไม่ใช้กลับไปดูข้อ 1"

     และมีอีกคำแนะนำจากรุ่นพี่(บางคน) "อำเภอนี้ไม่ใช่ของเราคนเดียว หน่วยงาน 

ใครหน่วยงานมัน"

     ผู้เขียนก็สะท้อนในใจเหมือนกัน...เลยบอกว่า "พี่คิดอย่างไรแล้วแต่พี่"

แต่ "ผมคิดว่าคนทุกคนเป็นคนไทยเป็นชาวบ้านเหมือนกัน เหมือนโลกนี้เป็นโรงละคร 

มีบทละครให้แต่ละคนเล่นบทบาทที่แตกต่างกัน แต่เมื่อละครจบ  

 เราต้องกลับเป็นตัวของเราเอง คือ คน ไม่มีใครเกิดมาแล้วมีรวงข้าวติดมา

 มีเข็มฉีดยาติดมา มีกระดานดำติดมา ฯลฯ " แต่เราทุกคนเกิดมามีจิตใจ มีความรับผิดชอบ 

มีสามัญสำนึก ของความเป็นคนติดตัวมา...ฉะนั้น ชุมชน  สังคม ประเทศไทย ไม่ใช่ของใคร

คนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของเราทุกทุกคน.....เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด

           บทความนี้เป็นเพียงความรู้สึกส่วนตัวของผู้เขียนที่ได้ประสบมา และยึมมั่นมาตลอด

ยี่สิบกว่าปี มาเล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเท่านั้น......"เหรียญยังมีสองด้าน"

 

หมายเลขบันทึก: 184632เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2008 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ พี่อดิศักดิ์

บันทึกนี้ถอดบทเรียนชีวิตพี่เลยนะครับ ผมตามอ่านอย่างเพลิดเพลิน เวลารับราชการผมมีไม่เท่าไหร่ ก็ชิงออกมาล่าฝันเสียก่อน และได้เดินทางตะลอนไปสมใจอยาก

เข้าใจและพอนึกภาพออกครับ...สิ่งที่เล่ามาทั้งหมด เป็นแบบนั้นเอง สิ่งที่หล่อเลี้ยงเราก็คือ กำลังใจ ความตั้งใจที่ดี และความมุ่งมั่นที่จะทำอนาคตให้ดีที่สุด

น่าภูมิใจแทนพี่อดิศักดิ์นะครับ ถึงวันนี้เป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ

ขอเป็นกำลังใจให้พี่ชายนะครับผม

ขอบคุณมากน้องเอก... P

  • พอดีห่างหายไปจากการเขียนนาน พอทำรายงาน ป.โทเสร็จ เลยอยากเขียนความรู้สึกจากการทำงานของตัวเอง..มือใหม่อาจจะเขียนยังไม่ดีเท่าที่ควร..แต่มาจากเรื่องจริงที่พบเห็น
  • เหมือนการมองคนนั้นและต้องมองให้ลึกถึงจิตใจ อย่าดูแค่ภายนอก (พี่คิดอย่างนั้นนะ)
  • รักษาสุขภาพด้วยนะ ชีพจรลงเท้าบ่อยนี้ ถ้าผ่านมาคอนหวันบอกด้วยนะ...จะเป็นไกด์นำเที่ยวครับ

พี่อดิศักดิ์

ผมไปทางนครสวรรค์ ผมไปหาพี่แน่ๆครับ ไม่ได้เกรงใจแล้ว ที่สำคัญผมมีเบอร์โทรศัพท์พี่แล้ว :)

ขอบคุณมากครับ ต้องขออภัยที่ไปสองครั้งแล้ว ไม่ได้ติดต่อพี่ไป  เช่นกันหากมา กทม. บอกผมด้วยนะครับ

ดูแลสุขภาพครับพี่ชายครับ

เข้ามาในฐานะที่ถูกพาดพิงค่ะ สร้างรั้วโรงเรียนเสร็จในวันเดียวพลังชุมชนถูกกำหนดขึ้นจากจิตสำนึก สวนดอกไม้ในใจเรา ความจริงใจของสังคมชนบท น้ำใจที่ใสสะอาด และบันทึกอ้างอิง น้ำดีที่เติมลงไปในน้ำเสีย ในสถานการณ์ปัจจุบันอยากให้หลายๆคนหันมามองความสำคัญของ ความเป็นคนไทย วิถีไทยแต่ดั้งเดิมที่มีแต่ความสงบร่มเย็นมาตลอด ขอบคุณบันทึกดีดี..มากๆๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท